ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้
สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วนเพื่อให้สามารถมีผลงานวิจัยที่เป็นการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบัน มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการจำเป็นของสังคม หรือ ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประเทศ ผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมมีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือการสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
- มีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดผลงานการวิจัยตามนโยบายและทิศทางของสถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือบริบทของสถาบัน หรือ ความต้องการจำเป็นของสังคม ชุมชน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
- มีระบบสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น ห้องปฎิบัติการวิจัยหรือหน่วยวิจัยหรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัย สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย
- มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันในการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นทุนวิจัยและงานสร้างสรรค์ และเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
- มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน หรือผลงานบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและพันธกิจอื่นๆเพื่อสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียน
- มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม กับสถาบัน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกัน
- มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาสังคม
- มีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบัน ที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือ การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
เกณฑ์การประเมิน :
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ |
มีการดำเนินการ 2-3 ข้อ |
มีการดำเนินการ 4-5 ข้อ |
มีการดำเนินการ 6 ข้อ |
มีการดำเนินการ 7 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดผลงานการวิจัยตามนโยบายและทิศทางของสถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือบริบทของสถาบัน หรือ ความต้องการ จำเป็นของสังคม ชุมชน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
ผลการดำเนินงาน:
วิทยาลัยกำหนดระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม(2.1.1.1) มีการดำเนินการการวิจัยตามนโยบายและทิศทางการวิจัยของวิทยาลัย (2.1.1.2) นโยบายและทิศทางการวิจัยของวิทยาลัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นผลงานวิจัยของวิทยาลัย จึงตอบสนองทั้งบริบทสถาบัน ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และตอบสนองความต้องอการจำเป็นทางสังคม ชุมชน และเป็นไปตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของวิทยาลัย (2.1.1.3)
2. มีระบบสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือหน่วยวิจัยหรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัย สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย
ผลการดำเนินงาน:
วิทยาลัยมีระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีระบบสืบค้นงานวิจัยในฐานข้อมูลของศูนย์วิทยบริการ ที่อาจารย์ทุกคณะและหน่วยงานของวิทยาลัยสามารถใช้ฐานข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและวางแผนการดำเนินงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ โดยระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยสามารถเข้าได้ที่ mis.stic.ac.th (2.1.2.1)
ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือศูนย์เครื่องมือ ในกรณีเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ อาจารย์ในแต่ละคณะสามารเข้าใช้ห้องปฏิบัติการต่างๆของคณะวิชาในการวิจัย เช่นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการทางอาชีวอนามัย เป็นต้น (2.1.2.2) สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการวิจัย ที่มีคณะกรรมการวิจัยหรือผู้ได้รับมอบหมาย ประจำที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัย ตลอดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ (2.1.2.3)
ศูนย์วิทยบริการ เป็นแหล่งสารสนเทศในการสืบค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนงานวิจัย (2.1.2.4) โดยมีฐานข้อมูลสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ได้แก่ ตำรา วารสาร และอำนวยความสะดวกในการสืบค้นงานวิจัยในฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงเว็บไซต์ห้องสมุดกับเว็บไซต์เพื่อการสืบค้นงานวิจัยของหน่วยงานภายนอกอีกด้วย (2.1.2.5)
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย มีการจัดเตรียมคอมพิวเตอร์ให้บริการแก่อาจารย์เพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตผลงานวิจัย มีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มีจุดเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย และมีระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ของกลุ่มงานในการเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยของวิทยาลัยโดยกำหนดรหัสผู้ใช้งานในการเข้าสู่ระบบ (2.1.2.6)
กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมเสริมงานวิจัย เช่น มีการจัดทำวารสารวิชาการของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ชื่อ St Theresa International of Humanities and Social Sciences ที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI กลุ่ม 2 ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2.1.2.7) และจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยให้อาจารย์ทุกคณะ นำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ (2.1.2.8)
3. มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันในการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นทุนวิจัยและงานสร้างสรรค์และเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน:
วิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ทั้งที่เป็นทุนสนับสนุนการวิจัย และทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความวิจัยหรือผลงานวิชาการในวารสารต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม/อำนวยความสะดวก ในการจัดหาแหล่งทุนวิจัยภายนอกให้กับคณาจารย์ ในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ทุกคณะและบุคลากร ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย โดยในปีงบประมาณ 2562 (2.1.3.1) วิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยให้กับ คณะบริหารธุรกิจจำนวน เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จำนวน เป็นเงินจำนวน 60,000 บาท คณะศึกษาศาสตร์จำนวน เป็นเงินจำนวน 220,000 บาท คณะสาธารณสุขศาสตร์จำนวน 4 เรื่อง เป็นเงินจำนวน 80,000 บาท และคณะพยาบาลศาสตร์จำนวน 5เรื่อง เป็นเงินจำนวน 275,000 (2.1.3.2) และ วิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 3 เรื่อง เป็นเงินจำนวน 4,455,000 บาท ซึ่งได้จัดสรรให้กับคณะวิชาตามความเชี่ยวชาญและลักษณะของผลงานวิจัยในรูปคณะผู้วิจัย (2.1.3.3)
ในปีงบประมาณ 2562 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้สนับสนุนนักวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ โดยวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์วารสารดังกล่าวซึ่งอยู่ในอัตราเรื่องละ 200 เหรียญดอลลาห์สหรัฐพร้อมมีค่าใช้จ่ายในการโอนค่าตีพิมพ์ไปยังสำนักพิมพ์อีกด้วย สำหรับปีการศึกษา 2562 ทางวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท และมีนักวิจัยได้รับอนุมัติเงินค่าตีพิมพ์วารสารและค่าใช้จ่ายการโอนเงิน เป็นจำนวนเงิน 85,901 บาท (2.1.3.4)
4. มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน หรือผลงานบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและพันธกิจอื่นๆเพื่อสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียนผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน:
การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการจัดประชุม ให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น มีโครงการอบรมการพัฒนาการเขียนผลงานวิชาการเป็นการจัดให้อาจารย์ผู้มีประสบการณ์การเขียนบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติมาบรรยายแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัยให้แก่อาจารย์รุ่นใหม่ (2.1.4.1) มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย (2.1.4.2) มีโครงการการจัดการความรู้ด้านการวิจัยของอาจารย์ (2.1.4.3) มีการจัดนักวิจัยพี่ลี้ยงให้กับอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ (2.1.4.4) มีการจัดทำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (2.1.4.5)
การสร้างขวัญและกำลังใจ มีการให้กำลังใจโดยการเยี่ยมชมผลการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัยในคณะวิชาต่างๆ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัย ด้วยการให้รางวัลกับอาจารย์และนักวิจัย ในโอกาสต่างๆ ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น รางวัลผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน และรางวัลผลงานบูรณาการการวิจัยและการบริการวิชาการหรือพันธกิจอื่นๆ รางวัลการสร้างสมรรถนะการวิจัยให้กับผู้เรียน และรางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปี 2562 (2.1.4.6)
5. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม กับสถาบัน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกันผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน:
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ มีความร่วมมือด้านการพัฒนาการวิจัยร่วมกับเครือข่ายการวิจัยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนานาชาติ ในการทำวิจัยร่วมกัน โดยในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยได้ร่วมกันทำวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ในงานวิจัย เรื่อง Organizations collaboration in Educational Development and Collaboration Model of International Institutions of Higher Education in Thailand (2.1.5.1)
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ มีการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกันที่สำคัญ เช่น ผลงานวิจัยของ Dr. Blassan Samuel เรื่อง Synthesis, Characterisation, Stability study, and Cytotoxic Evaluation of Novel Titanium (IV) Complexes of 8-Hydroxyquinoline and 2-Hydroxy-N-phenylbenzylamine derivatives ทำการวิจัยร่วมกับ Madhvesh Pathak จากหน่วยงาน Department of Chemistry, School of Advanced Sciences,Vellore Institute of Technology,Vellore,India (2.1.5.2)
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยและนวัตกรรมกับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน มีการสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างวิทยาลัย กับภาครัฐ เช่น สำนักงานอำเภอองครักษ์ สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนองครักษ์ และภาคเอกชน คือ ศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จังหวัดนครนายก จัดทำผลงานวิจัยร่วมกัน มีการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกันที่สำคัญ เช่น การวิจัยเรื่อง ความสามารถในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์กรณีศึกษา ปะพวน (The Phuan People) ปากพลี มิวเซียม จังหวัดนครนายก ประเทศไทย (2.1.5.3)
6. มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาสังคม
ผลการดำเนินงาน:
วิทยาลัยมีประกาศ เรื่อง ระบบคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2.1.6.1) โดยระบุสัดส่วนงานวิจัยกรณีเป็นงานวิจัยร่วม (2.1.6.2) วิทยาลัยได้ทำความตกลงในความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องปรามมิให้นิสิตนักศึกษามีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น และเพื่อใช้ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมของงานวิจัย โดยอาจารย์ทุกคณะ นักศึกษา และหน่วยงานในวิทยาลัยสามารถเข้าใช้ได้(2.1.6.3)นอกจากนี้วิทยาลัยมีการดำเนินการส่งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบปีกอากาศยาน เพื่อจดสิทธิบัตรตามระบบคุ้มครองสิทธิ์ด้วย(2.1.6.4)
7. มีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือการสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
ผลการดำเนินงาน:
การประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบัน ที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือ การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การส้รางมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามจุดอัตลักษณ์ของสถาบัน คณะกรรมการวิจัยได้ทำการประเมินผลกระทบที่เกิดจากผลงานวิจัยของอาจารย์ทุกคณะวิชา ผลการประเมินพบว่า ผลงานวิจัยในปีการศึกษา 2562 มีผลการดำเนินการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนาทั้งการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาสหรือมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการตอบสนองจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน (2.1.7.3)
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ไว้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจำนวน 6 ข้อ แต่วิทยาลัยมีการดำเนินการครบ 7 ข้อ คิดเป็น 5 คะแนน
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | คะแนนที่ประเมินตนเอง |
6 ข้อ | 7 ข้อ | 5 |
รายการหลักฐาน