ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ชนิดของตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้
ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่าสมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการอยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาการประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานที่ทำร่วมกับอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว และบทความตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus ที่ได้รับการอ้างอิง
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์การประเมิน
คะแนนที่ได้ในระดับสถาบันเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมของทุกคณะและหน่วยงานวิจัยในสถาบัน
สูตรการคำนวณ
คะแนนที่ได้
= ผลรวมของของคะแนนผลการประเมินผลงานทางวิชาการของทุกคณะและหน่วยงานวิจัย
จำนวนคณะและหน่วยงานวิจัยทั้งหมดในสถาบัน
ระดับคุณภาพผลงานมีดังนี้
ค่าน้ำหนัก |
ระดับคุณภาพ |
0.20 |
· บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
0.40 |
· บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหรือในวารสารวิชาการระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ./กกอ. ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกประกาศ · ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร |
0.60 |
· บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 |
0.80 |
· บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ./กกอ. ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกประกาศ (ซึ่งไม่อยู่ใน Beall’s list) หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 |
1.00 |
· บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 · ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร · ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว · ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ · ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน · ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว · ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ |
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้ผลิตผลงานวิจัย รวมทั้งสิ้น 65 เรื่อง ผลงานวิจัยส่วนใหญ่นำเผยแพร่ผ่านการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ. โดยสรุปแต่ละคณะมีผลการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังนี้
ระดับคุณภาพผลงานวิจัย
หน่วยงาน |
จำนวนงานวิจัย |
รวม (เรื่อง) |
ผลรวมถ่วงน้ำหนัก |
||||
0.20 |
0.40 |
0.60 |
0.80 |
1.00 |
|||
1. คณะบริหารธุรกิจ |
– |
1 |
3 |
– |
10 |
14 |
12.20 |
2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
– |
– |
– |
– |
5 |
5 |
5.00 |
3. คณะศึกษาศาสตร์ |
– |
– |
12 |
|
9 |
21 |
16.20 |
4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
– |
– |
1 |
– |
9 |
10 |
9.60 |
5. คณะพยาบาลศาสตร์ |
– |
– |
4 |
5 |
6 |
15 |
12.40 |
รวม |
– |
1 |
20 |
5 |
39 |
65 |
55.4 |
สรุปผลการดำเนินงาน
หน่วยงาน |
ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ |
จำนวนอาจารย์ประจำ |
ร้อยละผลงาน |
คะแนน |
||
บทความวิจัย |
งานสร้างสรรค์ |
รวม |
||||
1. คณะบริหารธุรกิจ |
12.20 |
– |
12.20 |
47 |
25.95 |
5.00 |
2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
5.00 |
– |
5.00 |
12 |
41.66 |
5.00 |
3. คณะศึกษาศาสตร์ |
16.20 |
– |
16.20 |
38 |
42.63 |
5.00 |
4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
9.60 |
– |
9.60 |
18 |
53.33 |
5.00 |
5. คณะพยาบาลศาสตร์ |
12.40 |
– |
12.40 |
42 |
29.52 |
4.92 |
รวม |
55.4 |
– |
55.4 |
157 |
38.62 |
24.92 |
คะแนนที่ได้ = 5.00+5.00+5.00+5.00+4.92
5
คะแนนที่ได้ = 4.92
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ 2.3 : การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไว้ที่ร้อยละ 30 ขึ้นไป
การประเมินตนเอง
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
คะแนนที่ประเมินตนเอง |
ร้อยละ 30 ขึ้นไป |
ร้อยละ 38.62 |
4.92 |
คะแนนผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินการการบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม อยู่ในระดับคะแนน 4.92
รายการหลักฐาน
2.3.1.1 | รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะบริหารธุรกิจ |
2.3.1.2 | รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
2.3.1.3 | รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะศึกษาศาสตร์ |
2.3.1.4 | รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
2.3.1.5 | รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะพยาบาลศาสตร์ |
2.3.1.6 | เอกสารสำเนาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2562 |