Quality Standards 3.1 Academic Servicing

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1             การบริการวิชาการแก่สังคม

ชนิดของตัวบ่งชี้                   กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการเป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันควรให้บริการวิชาการแก่สังคมที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน โดยมีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้เกิดรายได้ และเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน มีการบริหารจัดการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีความโปร่งใส ชัดเจน และตรวจสอบได้ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ของผู้เรียน ชุมชน หรือสังคม ประเทศชาติ

ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพบริการวิชาการแก่สังคม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

 

เกณฑ์มาตรฐาน

  1. มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของสถาบันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหรือองค์กรเป้าหมาย ตามจุดเน้นและประเภทของสถาบัน และนำนโยบายมาใช้ในการจัดทำแผนการบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่เป็นการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งการให้บริการแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า หรือแบบไม่หวังผลกำไร ตลอดจนมีแผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ที่พิจารณาจากรายได้หรือการสร้างคุณค่าที่ไม่เน้นรายได้ ของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ตามจุดเน้นและประเภทของสถาบัน
  2. มีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้เกิดรายได้ และ เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน
  3. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน มีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม และเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคม
  4. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคมให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน เช่น การพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง คุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี เป็นต้น
  5. มีการติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการประเมินผลการบริการกับผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง มีการประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและแผนการบริการวิชาการ และมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการ
  6. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายสามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนา ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เป็นผลกระทบเชิงบวก เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเอง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2คะแนน3คะแนน 4คะแนน5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3-4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

1. คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากคณะวิชาทั้ง 5 คณะ (3.1.1.1) ทำหน้าที่ในการกำหนดแผนการบริการวิชาการโดยการเชิญชุมชน/องค์การเป้าหมายเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดการให้บริการวิชาการแก่สังคม และใช้ข้อมูลที่ได้จากการร้องขอหรือประสานงานขอรับการบริการ มากำหนดแผนการให้บริการวิชาการทั้งแบบการบริการทั่วไป และการบริการแบบเฉพาะเจาะจง  ส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการ แบบให้เปล่า มีเพียงบางโครงการที่เป็นการให้บริการแบบมีรายได้ (3.1.1.2) ที่สอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม (3.1.1.3)  สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของสถาบันที่กำหนด(3.1.1.4) โดยชุมชน/องค์กรเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม แบบให้เปล่า ในปีการศึกษา 2562 คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล จังหวัดนครนายก ต่อเนื่องจากปีการศึกษา  2558 (3.1.1.5) และขยายการบริการวิชาการไปยังกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งได้นำเสนอสภาวิชาการในการประชุมสภาวิชาการของวิทยาลัยฯรับทราบแล้ว โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก เป็นพื้นที่นำร่อง ต่อเนื่องจากปีการศึกษา  2561(3.1.1.6, 3.1.1.7) และองค์กรเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม แบบมีรายได้ ในปีการศึกษา 2562 คือ สภาการพยาบาล ในการร่วมผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม ซึ่งเป็นความขาดแคลนเร่งด่วน ต่อเนื่องจากปีการศึกษา  2554 (3.1.1.8)

2. วิทยาลัยมีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีการดำเนินการร่วมกับคณะวิชาให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายตลอดปีการศึกษา และมีผลลัพธ์การดำเนินการที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตลอดจนตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน ดังนี้

2.1. การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบทั่วไป เป็นการให้บริการแบบให้เปล่า ดำเนินการร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล และ องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ดำเนินการ สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ และการท่องเที่ยววิถีชุมชน สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในอำเภอองครักษ์ที่มีผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น และเป็นพื้นที่ที่การพัฒนาแหล่งปลูก/จำหน่ายต้นไม้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน โดยนำอัตลักษณ์/จุดเด่นของวิทยาลัยคือ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านการบริการและสุขภาพ ดำเนินการจัดกิจกรรมที่สำคัญเช่น การพัฒนาคนในพื้นที่ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ความสามารถจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน การจัดการคุณภาพการศึกษา การพัฒนาทักษะการใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาการประกอบอาชีพ การพัฒนาสุขภาวะที่ดีให้กับคนในชุมชน ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ด้วยจากการให้ความรู้ด้วยการเยี่ยมบ้าน และการทำกิจกรรมดูแลสุขภาวะตนเอง เช่น การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม กิจกรรมการออกกำลังกายป้องกันภาวะสมองเสื่อม และกิจกรรมออกกำลังกายด้วยการรำวงผ้าขาวม้า เป็นต้น ผลลัพธ์ที่สำคัญที่ได้จากการให้บริการวิชาการกับชุมชนแบบทั่วไป คือ การพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี (3.2.1.1)

2.2 การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการให้บริการทั้งแบบให้เปล่า และแบบมีรายได้
        การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า ดำเนินการร่วมกันกับหน่วยงานในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เช่นหน่วยทางการศึกษา หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข หน่วยงานทางด้านการบริหารธุรกิจ ให้บริการกับหน่วยงานต่างๆตามที่มีการประสานงานขอรับบริการ ตามอัตลักษณ์/จุดเด่นของวิทยาลัยคือ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านการบริการและสุขภาพ ส่วนใหญ่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอองครักษ์ และมีบางส่วนที่ให้บริการนอกพื้นที่อำเภอองครักษ์ การดำเนินการที่สำคัญ เช่นการพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษให้กับครู การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดการขยะ ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท คือ การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษให้กับครูในกลุ่มโรงเรียนบ้านช่องตะเคียน อำเภอองค์รักษ์ ทำให้สอนนักเรียนได้ดีมีผลการสอบสาระวิชาภาษาอังกฤษสูงขั้น (3.2.2.1) ผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น/ชุมชน/สังคมคือ การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงของประชาชนในตำบลบึงศาล และตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ทำให้ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย/ผู้ดูแล มีสุขภาวะที่ดีขึ้น และมีความเครียดลดลง (3.2.2.2) การบริหารจัดการขยะของชุมชนตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สร้างการบริหารจัดการในการแยกขยะครัวเรือน และลดปริมาณขยะที่สะสมได้ (3.2.2.3)
        การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบมีรายได้ ดำเนินการสำเร็จ 1 โครงการ อยู่ระหว่างการพัฒนา 1 โครงการ โครงการที่ดำเนินการสำเร็จคือ การจัดอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลให้กับผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ช่วยพยาบาลที่มีสมรรถนะทางการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย และสมรรถนะทางการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สอดคล้องกับบริบทสถาบัน คือวิทยาลัยมีหลักสูตรและบุคลากรทางด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง ได้รับการรับรองการสภาการพยาบาล ผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ท้องถิ่น/ ชุมชน/สังคม/ประเทศ คือ การร่วมผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม ที่เป็นความขาดแคลนเร่งด่วนของประเทศ ดังนั้นผู้สำเร็จการศึกษาจึงมีงานทำทันทีที่สำเร็จการศึกษา มีรายได้สูง (3.2.2.4) สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 1 โครงการ คือการพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมและทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ดำเนินการเตรียมการไปในบางส่วนแล้ว คาดว่าจะให้การบริการได้ในปีการศึกษาต่อไป การดำเนินการผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม มีระบบการรับสมัคร ระบบการลงทะเบียน ระบบการจัดการเรียนรู้ ระบบการฝึกปฏิบัติ และระบบการสำเร็จการศึกษา ที่ดำเนินการอย่างโปร่งใส มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ที่สามารถตรวจสอบการดำเนินการได้

3. วิทยาลัยดำเนินการให้บริการกับชุมชน/สังคม อย่างต่อเนื่อง ในการลงพื้นที่ปฏิบัติการให้บริการกับชุมชน สังคม ได้จัดให้ทุกคณะวิชามีส่วนร่วมวางแผนและสนับสนุนกำลังคน ในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน ตลอดจนมีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย ดังนี้

3.1 การมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน
การดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม ที่มีตัวแทนของทุกคณะวิชาของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ดังนั้นคณะวิชาจึงมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ตั้งแต่การวางแผน การกำหนดกิจกรรม และการสนับสนุนกำลังคน ทั้งในการลงพื้นที่บริการในแต่ละกิจกรรม และในภาพรวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์จากคณะวิชาต่าง ๆ ร่วมกิจกรรมจำนวน 41 คน จากอาจารย์ 151 คน คิดเป็นร้อยละ 27.15 ดังนี้

คณะวิชาจำนวนจำนวนอาจารย์ประจำร้อยละ
1.คณะบริหารธุรกิจ124725.53
2.คณะมนุษยศาสตร์41233.33
3.คณะศึกษาศาสตร์103627.78
4.คณะสาธารณสุขศาสตร์61540.00
5.คณะพยาบาลศาสตร์94121.95
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา4115127.15

ดังนั้นจึงมีอาจารย์มาจากทุกคณะ และรวมจำนวนอาจารย์เข้าร่วมดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบันในการบริการวิชาการ(3.3.1.1)


3.2 การบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย
การดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมได้ดำเนินการตามนโยบายของวิทยาลัย โดยส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาในแต่ละคณะวิชามีการบูรณาการ การบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย ด้วยการนำความรู้ ประสบการณ์จากการเรียนการสอนในหลักสูตร มา ให้บริการกับผู้รับบริการ ตลอดจนนำประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการวิจัย ผลที่เกิดขึ้น ทำให้อาจารย์ได้รับองค์ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม/ชุมชน ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม ตลอดจนนักศึกษาเกิดการเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคม ผลการดำเนินการ ทุกคณะวิชามีผลงานวิจัยที่เกิดจากการบูรณาการ ไม่น้อยกว่าคณะวิชาละ 2 เรื่อง นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยอาจารย์หลายคณะวิชาร่วมกัน บูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน และการวิจัย โดยในปีการศึกษา 2562 มีผลงานวิจัยที่เกิดจากการบูรณาการข้ามศาสตร์ จำนวน 4 เรื่อง และบางส่วนได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติแล้ว (3.3.2.1)

4. วิทยาลัยดำเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคม ดังนี้ (3.4.1)


4.1 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย รวม 8 เครือข่าย ดังนี้
        1) การบริการวิชาการแบบทั่วไป วิทยาลัยมีความร่วมมือรวม 6 เครือข่าย คือความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน และ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงศาล จังหวัดนครนายก มีความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษา คือกลุ่มโรงเรียนบ้านคลองใหญ่ และกลุ่มโรงเรียนบ้านช้องตะเคียน มีความร่วมมือกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข คือ สาธารณสุขอำเภอองครักษ์ และ รพ.สต.องครักษ์ )
        2) การให้บริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า วิทยาลัยมีความร่วมมือรวม 1 เครือข่าย คือร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล ทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
        3) การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบมีรายได้ วิทยาลัยมีความร่วมมือรวม 1 เครือข่าย คือความร่วมมือกับสภาการพยาบาล ในการผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม


4.2 การร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคม
      ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยสร้างให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกับสังคมหลายด้าน เช่น
        1) ความเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ได้แก่ การบริการวิชาการเกี่ยวกับ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน การพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชนกับคนในพื้นที่ การจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน
        2) ความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การบริการวิชาการเกี่ยวกับได้แก่ การบริการวิชาการเกี่ยวกับ การจัดการขยะ
        3) ความเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การบริการวิชาการเกี่ยวกับ การจัดการคุณภาพการศึกษา การพัฒนาทักษะการใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เพื่อการเรียนรู้/อาชีพ พัฒนาภาษาอังกฤษให้กับครู ศูนย์ฝึกอบรมและทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ
        4) ความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ การพัฒนาสุขภาวะที่ดีให้กับชุมชน ได้แก่ การบริการวิชาการเกี่ยวกับ การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุป้องกันภาวะสมองเสื่อม การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การผลิตผู้ช่วยพยาบาล

5. วิทยาลัยมีการติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

        สภาวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นผู้ติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมของคณะกรรมการบริการวิชาการ ดังนั้นคณะกรรมการบริการวิชาการ ได้รายงานผลการดำเนินการเป็นระยะในการประชุมสภาวิชาการ และรายงานผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและแผนการบริการวิชาการเมื่อสิ้นปีการศึกษา(3.5.1)
ทั้งนี้ผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการในการบริการแบบทั่วไป พบว่า ผู้รับบริการในทุกกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับดี(3.5.2) ผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการทั้งการบริการแบบแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า และ แบบมีรายได้มีความพึงพอใจในระดับดี(3.5.3) ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการดำเนินการได้ตามบ่งชี้ร้อยละ 100(3.5.4) ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน พบว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนที่วางไว้ทั้ง 2 ประการคือ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ และ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน(3.5.5)
        คณะกรรมการบริการวิชาการได้นำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากสภาวิชาการ ไปใช้ในการปรับปรุงแผนการบริการวิชาการในปีการศึกษา 2563 ต่อไป(3.5.6)

6. ชุมชน/องค์การเป้าหมายสามารถ คือ ชุมชนตำบลโพธิ์แทน และตำบลบึงศาล ได้นำผลจากการรับบริการไปพัฒนางาน พัฒนาอาชีพ ตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับ เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน ทำให้คนในสังคมเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเอง ดังนี้
        1) การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ทางด้านการดูแลสุขภาพที่ดี และกิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุป้องกันภาวะสมองเสื่อม การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคมทางการพัฒนาด้านชุมชนมีสุขภาพที่ดี
        2) การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ทางด้านการจัดการท่องเที่ยว สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคมทางการพัฒนาด้านการพัฒนาอาชีพ ชุมชนที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
        3) การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ทางด้านการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชนกับคนในพื้นที่ และการพัฒนาทักษะการใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เพื่อการเรียนรู้/อาชีพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคมทางการพัฒนาด้านชุมชนที่มีความเป็นอยู่ที่ดี
        4) การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ทางด้านพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับครู และการจัดการคุณภาพการศึกษา สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคม ชุมชนมีความมั่นใจในคุณภาพการศึกษา
        5) การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ทางด้านการจัดการขยะ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/สังคมทางการพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

        จากการประเมินผลการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการคึกษา 2556 ถึงปัจจุบัน กับประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประโยชน์ที่สังคมได้รับอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นผลกระทบเชิงบวก คือการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (3.6.1)

การบรรลุเป้าหมาย

บรรลุเป้าหมาย เพราะสถาบันกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการวิชาการแก่สังคมไว้ 6 ข้อ ซึ่งในปีการศึกษา 2562 สถาบันดำเนินการได้ 6 ข้อ

การประเมินตนเอง

เป้าหมายผลการดำเนินงานคะแนนที่ประเมินตนเอง
6 ข้อ6 ข้อ5 คะแนน

หลักฐานเอกสารอ้างอิง

3.1.1.1คำสั่งวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ
3.1.1.2แผนการบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2562
3.1.1.3แผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม
3.1.1.4นโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
3.1.1.5รายงานการประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2562
3.1.1.6รายงานการประชุมสภาวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ครั้งที่ 1/2561
3.1.1.7รายงานการประชุมสภาวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ครั้งที่ 1/2562
3.1.1.8โครงการเปิดสอนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล จากสภาการพยาบาล
3.2.1.1สรุปผลการให้บริการวิชาการแบบทั่วไป
3.2.2.1สรุปผลการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า(การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษให้กับครูในกลุ่มโรงเรียนบ้านช่องตะเคียน อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก)
3.2.2.2สรุปผลการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า(การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียงของประชาชนในตำบลบึงศาล และตำบลโพธิ์แทน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก)
3.2.2.3สรุปผลการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า(การบริหารจัดการขยะของชุมชนตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก)
3.2.2.4สรุปผลการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบมีรายได้ (การจัดอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลให้กับผู้สนใจทั่วไป)
3.3.1.1รายชื่อคณาจารย์ที่ร่วมกิจกรรมการบริการวิชาการ
3.3.2.1สรุปงานวิจัยที่เกิดจากการบูรณาการข้ามศาสตร์ ในการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน และการวิจัย
3.4.1รายงานผลการดำเนินการเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการพัฒนาชุมชน/องค์การเป้าหมาย
3.5.1รายงานการประชุมสภาวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
3.5.2รายงานผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการ การบริการแบบทั่วไป
3.5.3รายงานผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการการบริการแบบแบบเฉพาะเจาะจง
3.5.4รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการ
3.5.5รายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน
3.5.6แผนการบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2563
3.6.1รายงานการประเมินผลการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ. 2556 – 2562