ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
คำอธิบายตัวบ่งชี้
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาต้องมีนโยบาย แผนงานและการบริหารจัดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย มีการ จัดการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจใน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศอย่างเหมาะสม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลลัพธ์ของการจัดการจัดการด้าน ศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
1. สถาบันมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทย ของ สถาบัน กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และมีการจัดทำแผนต้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการธำรงรักษา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม หรือการต่อยอดสร้างคุณค่าใหม่ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
2. สถาบันมีการจัดกิจกรรมตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสืบสาน ถ่ายทอด ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเป็นฐานข้อมูลหรือการบริการ หรือแหล่งเรียนรู้ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม และเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม มีสุนทรียทางศิลปวัฒนธรรม ความภูมิใจในความเป็นไทย บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
3. สถาบันมีการบูรณาการสาระต้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ของ ท้องถิ่นและของชาติ กับรายวิชาในหลักสูตร ที่เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ฐานความรู้ และการเรียนรู้ในเชิงสหวิทยาการ หรือการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อสร้างความตื่นตัว ความภูมิใจในความเป็นไทย ความเข้าใจในจุตร่วมบนความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม มีการนำทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นทักษะชีวิต
4. มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไทย ในการดำเนินการวิจัย หรือพัฒนาองค์ความรู้ หรือการ สร้างนวัตกรรม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชน ที่เหมาะสมตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
5. มีการกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ | มีการดำเนินการ 2 ข้อ | มีการดำเนินการ 3 ข้อ | มีการดำเนินการ 4 ข้อ | มีการดำเนินการ 5 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
1. วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา กำหนดนโยบายและทิศทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความเป็นไทย ให้มีความตระหนัก เห็นคุณค่า และอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ บูรณาการกับวัฒนธรรมสากลอย่างผสมกลมกลืน บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย (4.1.1.1) รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางที่วิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เพื่อการธำรงรักษา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม สร้างคุณค่าใหม่ และความเป็นไทย ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของวิทยาลัยในด้านความเป็นนานาชาติ (4.1.1.2)
2. คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา การจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีทั้งการประสานความร่วมมือกับคณะวิชาในการดำเนินงาน ทั้งในภาพรวม และสนับสนุนการดำเนินการของคณะวิชา กิจกรรมที่สำคัญ มีดังนี้
กิจกรรมเพื่อเป็นการสืบสาน ถ่ายทอด ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มีการรักษาวัฒนธรรม การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ทั้งนักศึกษา และคณาจารย์ ทั้งที่เป็นชาวไทย และชาวต่างประเทศ มีการอนุรักษ์การแต่งการด้วยผ้าไทยในโอกาสต่างๆ ตลอดจนมีการแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรม ในกิจกรรมต่างๆ เช่น Activities His Majesty the king’s Birthday กิจกรรม “วันเฉลิมพระชนม์พรรษา ร.10 (4.1.2.1) , Queen Mother’s Brithday/Mother’s Day 2019 กิจกรรม “วันแม่เห่งชาติ” (4.1.2.2) , Activity on the day of His Majesty King Bhumibol Adulyadej กิจกรรมวันคล้ายสวรรคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช (4.1.2.3) , Activity “Father’s Day” And Earth Day กิจกรรม “วันพ่อแห่งชาติ” และวันดินโลก (4.1.2.4) , Loy Krathong Dayกิจกรรม”วันลอยกระทง (4.1.2.5) Wai Khru Day Activity กิจกรรม “วันไหว้ครู” (4.1.2.6)
กิจกรรมเพื่อให้เกิดการบริการ หรือแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น Learning activities of local wisdom in Nakhon Nayok Province กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดนครนายก (4.1.2.7) กิจกรรมการเรียนรู้ประเพณีการแข่งเรือยาว ชุมชนคลอง 14 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก (4.1.2.8) เป็นต้น
กิจกรรมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม มีสุนทรียทางศิลปวัฒนธรรม ความภูมิใจในความ เป็นไทย ผ่านการแสดงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรำอวยพร การรำวง การแต่งกาย การแสดงละครต่างๆ ในงานที่สำคัญของวิทยาลัย เช่น Madam’s Birthday (4.1.2.9), Rector’s Birthday (4.1.2.10) Freshmen night Prince and Princess 2019 (4.1.2.11) กิจกรรม วันลอยกระทง (4.1.2.12) เป็นต้น
กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้บนความหลายหลายทางวัฒนธรรม มีการบูรณาการวิถีชีวิตแบบไทย และวิถีชีวิตในวัฒนธรรมประเทศต่างๆ ทั้งของนักศึกษา และคณาจารย์ ที่เป็นคนไทย และคนต่างชาติ ให้เกิดการเรียนรู้การใช้ชีวิตบนวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งในด้าน อาหาร การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ในกิจกรรมต่างๆ เช่น International Day (4.1.2.13) Christmas and New Year activities กิจกรรมวันคริสต์มาสและวันปีใหม่ (4.1.2.14) เป็นต้น
3. การบูรณาการสาระด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี กับรายวิชา หลักสูตร และกับกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
นักศึกษาทุกคณะวิชา มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี กับรายวิชาในหลักสูตร และกับกิจกรรมการเรียนรู้ การบูรณาการที่ชัดเจนคือการนำทักษะการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรม ไปใช้ในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องวิชาชีพ เช่น การออกแบบพานไหว้ครูในกิจกรรมไหว้ครู (4.1.3.1) การออกแบบกระทงในกิจกรรมลอยกระทง (4.1.3.2) การออกแบบการก่อเจดีย์ทรายในกิจกรรมวันสงกรานต์ (4.1.3.3) เป็นต้น
ผลการบูรณาการการนำทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เกิดเป็นทักษะชีวิต ทำให้นักศึกษาเรียนรู้ความเป็นไทย และจุดร่วมบนความแตกต่างทางวัฒนธรรม ระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เกิดเป็นมารยาททางวัฒนธรรม คือ ความเป็นนักศึกษานานาชาติที่มี มารยาทไทย (4.1.3.4)
4. วิทยาลัยมีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา เช่น มีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนานาชาติ หน่วยงานภาครัฐ เช่น มีเครือข่ายกับหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกและหน่วยงานภาคเอกชน เช่น มีเครือข่ายกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนา สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จังหวัดนครนายก ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไทย
ผลการดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา มีการนำนักศึกษาและคณาจารย์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เช่น นำผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมไปร่วมจัดนิทรรศการ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย เรื่องการใช้หินกรวดมนในการนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ ในกิจกรรมพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านวัดฝั่งคลอง (ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง) จังหวัดนครนายก (4.1.4.1) การร่วมมือกับ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอองค์รักษ์ และศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนา สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จังหวัดนครนายก ร่วมกันจัดทำผลงานวิจัยเกี่ยวกับประเพณีแข่งเรือยาว ของชุมชนคลอง 14 ชื่อเรื่อง The Participation of the Local Community in the Long-boat Racingof Klong 14 Community, Tumbol Buengsan, Ongkarak Sub-district, Nakhon Nayok. ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร SJHS ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) (4.1.4.2)
5. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นประธานคณะกรรมการกิจการนักศึกษา(4.1.5.1) มีหน้าที่ในการกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินความสำเร็จและการนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีการประชุมติดตามผลการทำงานเป็นระยะ(4.1.5.2) และ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษาได้ทำการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ผลการประเมินพบว่า การดำเนินกิจกรรมตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประสบความสำเร็จทั้ง 2 วัตถุประสงค์ของแผน คิดเป็นร้อยละ 100.00 (4.1.5.3) จากผลการประเมินความสำเร็จพบว่า การดำเนินการ ยังไม่ครอบคลุมประเด็นทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนของจังหวัดนครนายก โดยนำวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินวิถีชีวิต ป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นศักยภาพและทุนที่สำคัญยิ่งของชุมชนท้องถิ่นและสังคมไทยที่ได้แสดงออกในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญา เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากินความเชื่อและอื่นๆอีกมาก จึงได้กำหนดเป็นประเด็นที่นำไปปรับปรุงการจัดทำแผนการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2563 (4.1.5.4)
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะสถาบันกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยไว้ 5 ข้อ สถาบันดำเนินการได้ 5 ข้อ
การประเมินตนเอง
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | คะแนนที่ประเมินตนเอง |
5 ข้อ | 5 ข้อ | 5 คะแนน |
หลักฐานเอกสารอ้างอิง