ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การสถาบัน
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การของสถาบัน
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้
สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลุ่มสถาบัน มีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มีการบริหารงานตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ ที่บริหารจัดการบุคลากรและทรัพยากรการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฏกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารองค์การของสถาบัน พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
- สถาบันมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้ข้อมูลจาก การวิเคราะห์ SWOT เพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ ตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์
- สถาบันมีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นๆที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์การดำเนินการผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก เสริมสร้างความเป็นเลิศในการบริหารงานตามพันธกิจ และสร้างโอกาสในการแข่งขัน
- สถาบันมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีการจัดสรรบุคลากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ มีผลลัพธ์การดำเนินการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- สถาบันมีการกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ 1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ 3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ
- สถาบันมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินการจัดระบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่เหมาะสม และมีการใช้ข้อมูลหรือผลที่ได้จากแนวปฏิบัติที่ดีหรือการจัดการความรู้จากการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สถาบันมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากร สร้างความผูกพันต่อองค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด
- สถาบันมีการวัดวิเคราะห์ผลลัพธ์ และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อค้นหาความต้องการใหม่ รวมถึงค้นหาโอกาสในการพัฒนา หลักสูตร การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของสถาบัน
- สถาบันมีการประเมินความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี มีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผนต่อสภาสถาบัน ตลอดจนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปพัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานประจำปี เพื่อให้การบริหารองค์การมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับความต้องการในอนาคต
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ | มีการดำเนินการ 2-3 ข้อ | มีการดำเนินการ 4-5 ข้อ | มีการดำเนินการ 6-7 ข้อ | มีการดำเนินการ 8 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
- การพัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อสรางความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์
คณะกรรมการนโยบายและแผน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา(5.1.1.1)ได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์ (พ.ศ. 2558-2562) (5.1.1.2) โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT มากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ให้สอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน (5.1.1.3) ตลอดจนวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์กับกรอบแผนอุดมศึกษา (5.1.1.4) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง คณะกรรมการนโยบายและแผน จึงมีการปรับแผนยุทธศาสตร์(พ.ศ. 2560-2562) ในปีการศึกษา 2560 เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2560-2562 (5.1.1.5)
การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ประจำปีการศึกษา 2562 ดำเนินการในปลายปีการศึกษา 2561 โดยใช้ข้อมูลจากผลการดำเนินการตามแผน ปีการศึกษา 2561 ข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT ตามแผนยุทธศาสตร์(พ.ศ. 2558-2562) ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2560-2562) และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติประจำปีการศึกษา 2562 (5.1.1.6) แผนปฏิบัติประจำปีการศึกษา 2562 มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด และเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ มีการใช้ความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ คือการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรแบบนานาชาติ และความเชี่ยวชาญในการพัฒนานักศึกษาที่มีพื้นความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ หรือค่อนข้างต่ำ ให้เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นที่ยอมรับในสถานประกอบการต่างๆ ตลอดจนใช้ความได้เปรียบนี้ในการดำเนินการตามพันธกิจอื่น คือการวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรมด้วย (5.1.1.6) แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อให้ความเห็นชอบ(5.1.1.7)และนำเสนอต่อสภาสถาบันเพื่ออนุมัติ ตามระยะเวลาที่กำหนด (5.1.1.8)
2. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นๆที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกัน เพื่อใช้ในการบริหารงาน
คณะกรรมการนโยบายและแผน ส่งเสริม กำกับ ติดตามการดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ของทุกหลักสูตรผ่านทางคณะวิชา และคณะวิชาได้ใช้ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของหลักสูตร ที่ประกอบด้วยข้อมูล สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการพัฒนานักศึกษา การพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรสนับสนุน สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการศึกษา มาทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรทุกหลักสูตรของคณะวิชาในปีการศึกษา 2561 ซึ่งพบว่า หลักสูตรส่วนใหญ่มีความคุ้มค่าในการดำเนินการ ยกเว้นหลักสูตรในระดับปริญญาโททั้ง 3 หลักสูตร มีความคุ้มค่าทางรายได้ต่ำ แต่ยังคงมีความคุ้มค่าในการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่การให้บริการทางการศึกษา จึงยังคงมีการเปิดสอนทั้ง 3 หลักสูตร แต่ปรับแนวทางการบริหารงาน และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติประจำปีการศึกษา 2562 (5.1.2.1) โดยภาพรวมผลการบริหารหลักสูตร ปีการศึกษา 2562 มีความคุ้มค่า ตามมิติของผลลัพธ์การดำเนินการผลิตบัณฑิต ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของประเทศในภาพรวม (5.1.2.2)
วิทยาลัยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มีจุดเน้นใกล้เคียงกัน จัดการเรียนการสอนในคณะวิชาที่ใกล้เคียงกัน พบว่าในมิติของการรับนักศึกษาเข้าศึกษาพบว่า วิทยาลัยมีอัตราการรับนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นมีอัตราการรับนักศึกษาลดลง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบตาม 4 มิติของบาลานซสกอร์การ์ด พบว่าวิทยาลัยมีผลการพัฒนาไม่แตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ของ Webometric Thailand พบว่า ผลการจัดอันดับในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 วิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 117 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 183 สถาบัน ซึ่งมีผลการประเมินแต่ละด้านเพิ่มสูงขึ้น แสดงถึงการดำเนินการ การบริหารหลักสูตรเป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง (5.1.2.3)
- การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ที่นำไปสู่การปฏิบัติ
คณะกรรมการนโยบายและแผน มีหน้าที่ในการรับผิดชอบถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งแผนระยะยาวคือแผนยุทธศาสตร์(พ.ศ. 2558-2562) ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2560-2562) และแผนระยะสั้นคือแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการถ่ายทอดให้กับบุคลากรผ่านการประชุมบุคลากรประจำปี(5.1.3.1) การถ่ายทอดให้กับนักศึกษาผ่านการประชุมคณะกรรมการนักศึกษา(5.1.3.2) การถ่ายทอดให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ ชุมชน สถานประกอบการ ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นประจำปี(5.1.3.3)
คณะกรรมการนโยบายและแผน มีการจัดสรรบุคลากร งบประมาณ ในการดำเนินงานตามพันธกิจและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจอุดมศึกษา โดยในปีการศึกษา 2562 การจัดสรรบุคลากรเป็นไปตามโครงสร้างการทำงาน การจัดสรรงบประมาณ จัดสรรให้คณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม และการจัดสรรงบประมาณในภาพรวมเป็นไปตามสัดส่วนการดำเนินงานตามพันธกิจ โดยพันธกิจการบริหารจัดการ มีสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือ พันธกิจการผลิตบัณฑิต พันธกิจการวิจัยและนวัตกรรม พันธกิจการบริการวิชาการแก่สังคม และ พันธกิจศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามลำดับ (5.1.3.4)
ผลการพัฒนาบรรลุผลตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และเอกลักษณ์ของวิทยาลัย อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลลัพธ์การดำเนินการที่โดดเด่น คือความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการประกอบอาชีพของบัณฑิต ทำให้บัณฑิตมีงานทำอย่างรวดเร็วหลังสำเร็จการศึกษา และมีค่าตอบแทนในระดับสูง แม้ว่าจะอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 (5.1.3.5)
- การกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญตามมาตรฐานการอุดมศึกษา
อธิการบดีมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายและแผน ทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี และรายงานผลการกำกับติดตามให้กับอธิการบดีและผู้บริหารรับทราบผลการกำกับ ติดตาม อย่างสม่ำเสมอ ในการประชุมกรรมการผู้บริหาร(5.1.4.1) ตลอดจนมีการรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี ทั้งการรายงานในระยะครึ่งปีการศึกษา(5.1.4.2) และสิ้นสุดปีการศึกษา(5.1.4.3) เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ผลการดำเนินการกำกับ ติดตาม ของอธิการบดี ทำให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามเป็นไปตามแผนของวิทยาลัย และเกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ ทั้งผลลัพธ์ตามพันธกิจ ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร และ ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ (5.1.4.4) มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ 1)ด้านผู้เรียน สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ และให้มีคุณลักษณะผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา 2561 คือเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่ดี 2)ด้านการวิจัยและนวัตกรรม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น และ ยกระดับขีดความสามารถของคณาจารย์ ให้มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยเพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ตามเกณฑ์ที่ สป.อว. กำหนด ได้มากกว่าร้อยละ 90 3)ด้านการบริการวิชาการ วิทยาลัยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุนชนในการพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง ทางด้านสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ร่วมพัฒนาชุมชนตามโครงการโรงเรียนพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตยต้นแบบ จำนวน 11 แห่งในระดับประเทศ 4)ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในอำเภอองครักษ์และในจังหวัดนครนายกอย่างต่อเนื่อง เช่นอนุรักษ์ประเพณีการแข่งเรือยาวชุมชนคลอง 14 การอนุรักษ์วิถีชุมชนชาวพวนบ้านฝั่งคลอง เป็นต้น
4.2 ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ มีระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเอง ในการกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผน ตามพันธกิจ และตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย เช่น 1)การจัดทำระบบการจัดทำฐานข้อมูล STIC-CHE QA เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานประจำให้เป็นงานคุณภาพ 2)การพัฒนาฐานข้อมูลการจัดทำ TQF 3, TQF 5 ในระบบ MIS ของวิทยาลัย เพื่อการเปลี่ยนวิธิคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง 3)การพัฒนาระบบการใช้ Moodle ในการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา 4)การจัดทำระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ Covid-19 5)การจัดทำระบบบันทึกการเข้า-ออกด้วยคิวอาร์โคด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ Covid-19 6)การจัดทำระบบการนิเทศการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นต้น
4.3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผู้บริหารทุกระดับมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากร มีกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะๆตลอดทั้งปี ทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นกันเองแบบครอบครัว เป็นการสร้างความผูกพันต้ององค์กร ตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยในหลายระดับ ทั้งการเปิดโอกาสให้พบเป็นรายบุคคล การทำงานในรูปคณะกรรมการต่างๆ และการมอบอำนาจคณะวิชา ให้บุคลากรร่วมเสนอความเห็น ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมกันพัฒนา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ทำให้ยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร ทั้งที่เป็นรายบุคคล เช่น มีอาจารย์ที่เป็นวิทยากรระดับชาติในทุกคณะวิชา อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น และทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของวิทยาลัย เช่น การยอมรับวิทยาลัยในการเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการต่างๆ ในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ
4.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ อธิการบดี และผู้บริหารทุกระดับ มีความมุ่งมั่นในการนำองค์การให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ คือการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงมีการสื่อสารกับบุคลากร ทั้งในการประชุม การให้ข้อมูล อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนการปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งความมุ่งมั่นในการทำงานและดำรงตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ การปฏิบัติตามเกณฑ์ กฎ ระเบียบ และพระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา ผลลัพธ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือ วิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นผู้นำองค์การที่สำคัญคือ 1)สามารถบริหารจัดการให้ทุกหลักสูตรจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 2)สามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำให้เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการประกอบอาชีพได้ 3)เป็นผู้นำในการกำหนดการทดสอบสมรรถนะภาษาอังกฤษรายชั้นปี 4)เป็นผู้นำในการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ กฎกระทรวงฯ ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และ มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 5)เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดจากการปรับรื้ออุดมศึกษา (University Disruption) ทำให้มีผู้เข้าศึกษาใหม่ในระดับที่ไม่ลดลงทุกปี ติดต่อกันมากกว่า 4 ปี 6)เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนและการทำงานแบบออนไลน์ได้ทันทีที่มีการประกาศของภาครัฐ เป็นต้น
- การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และการใช้ข้อมูลหรือผลที่ได้จากแนวปฏิบัติที่ดีหรือการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วิทยาลัยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบ MIS ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งที่เกี่ยวข้องกับ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ที่ผู้บริหารทุกระดับ คณาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเรียกดูข้อมูลได้จากอุปกรณ์การสื่อสารส่วนบุคคล ตลอดจนมีการใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการเก็บผลงานของนักศึกษาใน e-port folio เป็นต้น (5.1.5.1)
วิทยาลัยมีคณะกรรมการจัดการความรู้ทั้งในระดับคณะ และระดับสถาบัน เพื่อให้มีการดำเนินการจัดเก็บความรู้ หรือแนวปฏิบัติที่ดี โดย ในปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการจัดการความรู้ระดับวิทยาลัย(5.1.5.2) ได้จัดกิจกรรม นำเสนอผลการจัดการความรู้ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้ง ผลการดำเนินการจัดเก็บความรู้ในด้านการจัดการเรียนการสอน/ด้านวิชาการ ในระดับคณะวิชา ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสอน และการบูรณาการสอนกับพันธกิจต่างๆ ในระดับสถาบันมีแนวปฏิบัติที่ดี รวม 2 เรื่องคือ “การใช้ Test Blue Print ในการพัฒนาวัดผลประเมินผล” และ “การใช้แอปพลิเคชั่นในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” สำหรับการจัดเก็บความรู้ด้านการวิจัย ในระดับคณะวิชา ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยที่บูรณาการกับการจัดประสบการณ์ในการเรียนของนักศึกษา ในระดับสถาบันมีแนวปฏิบัติที่ดี รวม 2 เรื่องคือ “การใช้นักวิจัยพี่เลี้ยงในการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่” และ “การพัฒนาการวิจัย 3 ประเภท” (5.1.5.3
วิทยาลัยมีการใช้ข้อมูลที่ได้จากการบริหารงาน ข้อมูลที่สะท้อนกลับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลที่ได้จากการจัดการความรู้ ผลที่ได้จากการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปปฏิบัติในหน่วยงานอื่น และข้อมูลป้อนกลับจากการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ และจากช่องทางอื่นๆ มากำหนดแนวทางใหม่ๆ/พัฒนาระบบและกลไกต่างๆ ที่สำคัญเช่น การพัฒนากระบวนการเสนอข้อรับทุนวิจัย การพัฒนากระบวนการวัดผลที่หลากหลาย การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษากับนักศึกษา การพัฒนาการบูรณาการการเรียนการสอนกับพันธกิจการบริการวิชาการและการวิจัย เป็นต้น ทำให้เกิดการส่งเสริมการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การบริหารงานโปร่งใส บนความรับผิดชอบของผู้บริหารทุกระดับ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการใช้ข้อมูลในการบริหารงาน ทำให้ผลการประเมินการบริหารงานของอธิการบดี จากคณะกรรมการประเมินที่แต่งตั้งโดยสภาวิทยาลัย(5.1.5.4) มีผลการประเมินการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลมีคะแนนเฉลี่ย 4.97 อยู่ในระดับดีมาก และมีผลการประเมินการบริหารงานในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 4.86 อยู่ในระดับดีมาก(5.1.5.5)
6. การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริหาร(5.1.6.1) ให้เป็นไปตามแผนบริหารงานบุคคล(5.1.6.2) และแผนพัฒนาบุคลากร(5.1.6.3) ผลการดำเนินการการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผน พบว่า 1)ผลการดำเนินการตามแผนการบริหารงานบุคคล เป็นไปตามแผนที่กำหนด เช่น มีการรับอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอก และอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น จำนวนอัตราการลาออกของอาจารย์และบุคลากรลดลง เป็นต้น (5.1.6.4) และ 2)ผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรเป็นไปตามแผนที่กำหนด เช่น มีอาจารย์ที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้น มีอาจารย์ที่เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น การอบรม/พัฒนาความรู้ให้กับอาจารย์และบุคลากร เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 17 ชั่วโมง/คน/ปี เป็นต้น (5.1.6.5) ดังนั้นผลการบริหารงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ทำให้วิทยาลัยมีผลการพัฒนาเป็นไปตามเป้าหมาย คือเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามที่วิทยาลัยกำหนด ตลอดจน อาจารย์มีคุณวุฒิการศึกษาและมีตำแหน่งทางวิชาการ สูงกว่าเป้าหมายที่วิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้วิทยาลัยได้ทำการสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินการตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ของอาจารย์และบุคลากร ผลสำรวจพบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (5.1.6.6)
- การวัดวิเคราะห์ผลลัพธ์ เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการ และการจัดการความเสี่ยง
วิทยาลัยมีการวัดและวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ ดังนี้
7.1 การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอน พบว่า หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา ที่ดำเนินการร่วมกับ “สควค.” ภาครัฐมีแนวโน้มไม่ขยายระยะเวลาของโครงการ มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีการรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จึงดำเนินการจัดการความเสี่ยง ด้วยการปิดหลักสูตร และจากข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับคุรุสภาซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาวิชาชีพครู จึงทำการพัฒนาหลักสูตรใหม่ซึ่งมีความต้องการในอนาคตทดแทน คือหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการการเรียนรู้ (5.1.7.1)
7.2 การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยและนวัตกรรม พบว่า อาจารย์มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ แต่ผลงานวิจัยยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่ภาคการผลิต หรือการจดสิทธิบัตรได้ ซึ่ง เป็นความต้องการใหม่ของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยจึงบริหารความเสี่ยงโดยให้คณะกรรมการวิจัยทำการค้นหาโอกาสในการพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การจดสิทธิบัตรในอนาคต ผลการปรับปรุงกระบวนการให้ทุนกับนักวิจัย และการปรับปรุงกระบวนการพี่เลี้ยงนักวิจัยรุ่นใหม่ ทำให้ได้ผลงานวิจัยที่เป็นพื้นฐานการจดสิทธิบัตรได้ในอนาคต จำนวน 2 เรื่อง (5.1.7.2)
7.3 การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการ และ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และจากข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้นำชุมชนที่รับบริการ และหน่วยงานที่ให้บริการอื่นๆพบว่า ชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นขอบเขตที่กว้างและต้องใช้ทรัพยากรที่หลากหลาย แต่ก็เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย ทั้งเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีความต้องการของสังคม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยจึงบริหารความเสี่ยงโดยให้คณะกรรมการบริการวิชาการ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เช่นเครือข่ายสถาบันพระปกเกล้า เครือข่ายการศึกษานอกโรงเรียน และเครือข่ายสาธารณสุขจังหวัดนครนายก และเครือข่ายประชาธิปไตยภาคประชาชน ร่วมมือกันดำเนินการในลักษณะ โรงเรียนพลเมืองประชาธิปไตย ผลการดำเนินการพบว่า ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นใน 2 กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเด็กนักเรียน/วัยรุ่น สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองและครอบครัวได้ และกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น (5.1.7.3)
7.4 วิทยาลัยใช้ข้อมูลอื่นๆ ที่ได้จากการวัดวิเคราะห์ผลลัพธ์ ข้อมูลที่ได้จากการบริหารงาน และข้อมูลในการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของสถาบัน พบว่า ในปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (5.1.7.4) ทำการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาลัย ตามคู่มือบริหารความเสี่ยง (5.1.7.5) จัดทำเป็นแผนความเสี่ยงประจำปีการศึกษา 2562 (5.1.7.6) ผลการดำเนินการตามแผนการบริหารความเสี่ยง พบว่า ความเสี่ยงทั้ง 3 ความเสี่ยง มีระดับความเสี่ยงลดลง (5.1.7.7) และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารรับทราบ(5.1.7.8)
- การประเมินความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผนและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันต่อสภาสถาบัน
วิทยาลัยมีการประเมินความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยพบว่าในปีการศึกษา 2562 พบว่า ในภาพรวมบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี(5.1.8.1)
วิทยาลัยมีการดำเนินการใช้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือในการบริหาร โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา (5.1.8.2) ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ คณาจารย์ หลักสูตร และคณะวิชามีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่กำหนด(5.1.8.3) การควบคุมคุณภาพ มีการกำหนดเป็นนโยบายประกันคุณภาพการศึกษา (5.1.8.4) มีการชี้แจงให้บุคลากรได้รับทราบนโยบายในการประชุมประจำปี (5.1.8.5) มีการให้ข้อมูลการดำเนินการตามคู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษา (5.1.8.6) และมีการอบรมให้ความรู้ทางด้านคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง (5.1.8.7) โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ในการควบคุม และตรวจสอบการดำเนินการในทุกขั้นตอนให้มีคุณภาพ (5.1.8.8) และมีการประเมินคุณภาพภายใน ผ่านคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา
วิทยาลัยมีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผน และรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาต่อสภาสถาบัน ตลอดจนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปพัฒนาแผนกลยุทธ์และ/หรือแผนปฏิบัติงานประจำปี เพื่อให้การบริหารองค์การมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับความต้องการในอนาคต(5.1.8.9)
สภาวิทยาลัย กำกับ ดูแล การบริหารองค์การของวิทยาลัยในทุกพันธกิจให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และกำกับดูแลการบริหารงานของอธิการบดี ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับความต้องการในอนาคต (5.1.8.10 และ 5.1.8.13)
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การของสถาบัน เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ ของกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน สามารถดำเนินการได้ 8 ข้อ
การประเมินตนเอง
เป้าหมาย | ผลการดำเนินการ | คะแนนที่ประเมินตนเอง |
7 ข้อ | 8 ข้อ | 5 คะแนน |
หลักฐานเอกสารอ้างอิง