ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การบริหารคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การบริหารคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3             การบริหารคุณภาพการศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้                   กระบวนการ

 

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          สถาบันมีหน้าที่กำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและคณะ โดยมีการดำเนินการตั้งแต่ การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาและการดำเนินการตามพันธกิจ เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง   ที่สามารถสะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนผลการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถาบัน พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

 

เกณฑ์มาตรฐาน

  1. มีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ
  2. มีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานบรรลุตามพันธกิจ มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในในระดับหลักสูตรและระดับคณะตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. มีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่ครอบคลุมความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ในด้าน 1)ผลลัพธ์ผู้เรียน 2)การวิจัยและนวัตกรรม 3)การบริการวิชาการ 4)ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และ 5)การบริหารจัดการ ตลอดจนการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ ที่ประกอบด้วย 1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ 3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร และ 4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ ต่อคณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา
  4. นำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณา
  5. นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงการดำเนินการ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  6. มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3-4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

1. มีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ

          วิทยาลัยมีระบบประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ (5.3.1.1) เพื่อควบคุมกำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะวิชา โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ (5.3.1.2) เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับติดตามการประกันคุณภาพหลักสูตรทุกหลักสูตร และการประกันคุณภาพทุกคณะของวิทยาลัย ให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

2. มีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ให้เกิดผลตามระบบและตามระยะเวลาที่กำหนด

        วิทยาลัยมีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ สำหรับการจัดการศึกษา และการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตร เช่น ฐานข้อมูลด้านหลักสูตร ฐานข้อมูลการประเมินผู้สอน ฐานข้อมูลการวัดและประเมินผล ฐานข้อมูลการวิจัย เป็นต้น เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา (5.3.2.1) และมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด ตลอดจนมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในในระดับหลักสูตรและระดับคณะ ตามแผนการกำกับติดตามการประกันคุณภาพ (5.3.2.2) ตามระยะเวลาที่ สป. อว. กำหนด

3. มีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ต่อคณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

          วิทยาลัยมีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2562 รายงานผลการดำเนินการครอบคลุมความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และผลลัพธ์การพัฒนาที่สำคัญ (5.3.3.1) นำเสนอต่อคณะกรรมการผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งเป็นกรรมการระดับสถาบัน เพื่อพิจารณา (5.3.3.2) โดยผลการรายงานมีดังนี้

          3.1 ความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พบว่ามีผลการดำเนินการ เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาครบทุกด้าน โดย 1) ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินตนเองว่ามีความรอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่ดี อยู่ในระดับดี 2)ด้านการวิจัยและนวัตกรรม พบว่า อาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเป็นจำนวนมาก 3)ด้านการบริการวิชาการ พบว่า ชุมชนที่รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4)ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย พบว่า นักศึกษาและอาจารย์ เห็นคุณค่าในศิลปะวัฒนธรรมไทยและ ยอมรับความแตกต่างในความหลากหลายทางวัฒนธรรม 5)ด้านการบริหารจัดการ พบว่ามีการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารงาน ทำให้มีผลลัพธ์การพัฒนาองค์การเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และเอกลักษณ์ของวิทยาลัย บุคลากรมีความผูกพันกับองค์การแบบครอบครัว นอกจากนี้พบว่า วิทยาลัยสามารถบริหารจัดการได้อย่างผสมผสาน มีการบูรณาการการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้ผลงานเป็นบทความวิจัยที่ได้นำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ

          3.2 ความสำเร็จตามการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ พบว่ามีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาได้ครอบคลุม ผลลัพธ์ที่สำคัญทั้ง 4 ผลลัพธ์ ดังนี้
               1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ ประกอบด้วย พันธกิจด้านผู้เรียนผลลัพธ์ที่สำคัญคือ ความเป็นผู้รอบรู้ที่มีการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน(WIL) การมีผลงานตามสมรรถนะชั้นปี การมีจิตอาสา พันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรมผลลัพธ์ที่สำคัญคือ คณาจารย์และนักศึกษามีผลงานวิจัย/นวัตกรรมทางการเรียนรู้/นวัตกรรมทางสังคม พันธกิจด้านการบริการวิชาการผลลัพธ์ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมกันในการรับใช้สังคม พันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผลลัพธ์ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมกับชุมชนในการฟื้นฟูประเพณี/เรื่องราว/ประเพณีที่เป็นศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
               2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ มีระบบฐานข้อมูลเพื่อการให้คำปรึกษา ระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ระบบการจัดเก็บผลงานด้วย E-port folio ระบบการนิเทศการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น
               3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ทางด้านการวิจัย การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานขององค์การให้สูงขึ้น การยกระดับความสุขในการทำงานให้การช่วยเหลือนักศึกษา เป็นต้น
               4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ ผลลัพธ์ที่สำคัญคือ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีในการสอนออนไลน์ได้ทันทีที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 เช่นการสำรวจความพร้อมของนักศึกษาและผู้ปกครองในการเรียนแบบออนไลน์ การจัดเตรียมแนวทางการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวัดผลและประเมินผลแบบออนไลน์ การให้ความช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาที่มีปัญหาในการเรียนแบบออนไลน์ ตลอดจน การนำองค์การไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถแข่งขันได้กับสถาบันที่มีจุดเน้นและขนาดที่ใกล้เคียงกัน

4. การนำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณา

          ผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ของวิทยาลัย พบว่า เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
          วิทยาลัยได้นำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ของปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ (5.3.4.1) สำหรับผลการประเมินคุณภาพ ปีการศึกษา 2562 จะนำเสนอในการประชุมสภาวิทยาลัยครั้งต่อไป ประมาณเดือนกันยายน

5. การนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงการดำเนินการ

          สภาสถาบันได้พิจารณารับทราบผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน และได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ให้ดำเนินการเพิ่มระดับความเชื่อมั่นของการประเมินตามมาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาให้สูงขึ้น โดยเพิ่มความความเชื่อมั่นในด้านผู้ประเมิน วิทยาลัยจึงนำข้อเสนอแนะจากสภาสถาบัน มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพ โดยการพัฒนามาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัย ด้านคุณสมบัติของผู้ประเมิน ในระดับหลักสูตรและระดับคณะจากเดิมที่ประเมินจากผู้ประเมินคุณภาพภายใน เป็นประเมินจากผู้ประเมินคุณภาพภายนอกมากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการเพิ่มความเชื่อมั่นด้านผู้ประเมิน และเป็นการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัยโดยผู้ประเมินภายนอกอีกด้วย(5.3.5.1) การพัฒนามาตรฐานคุณภาพของวิทยาลัย ด้านคุณสมบัติของผู้ประเมิน ในระดับหลักสูตรและระดับคณะจากเดิมที่ประเมินจากผู้ประเมินคุณภาพภายใน เป็นประเมินจากผู้ประเมินคุณภาพภายนอกมากกว่าร้อยละ 50 นี้ได้นำเสนอต่อสภาสถาบัน ได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบัน และแจ้ง สป.อว. รับทราบแล้ว (5.3.5.2)

6. มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

          การประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ทุกหลักสูตรของวิทยาลัยมีผลการประเมินผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับดี – ระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ 3.02 – 4.23 (5.3.6.1)

การบรรลุเป้าหมาย

       บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะไว้ที่ 6 ข้อ 5 คะแนน

การประเมินตนเอง

เป้าหมายผลการดำเนินการคะแนนที่ประเมินตนเอง
6 ข้อ6 ข้อ5 คะแนน

รายการหลักฐาน

5.3.1.1 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ หลักสูตร และคณะ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.3.1.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการประกันหลักสูตรและคณะ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.3.2.1ภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตร
5.3.2.2แผนการกำกับติดตามการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ปีการศึกษา 2562
5.3.3.1รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2561
5.3.3.2รายงานการประชุมผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.3.4.1รายงานการประชุมสภาวิทยาลัย
5.3.5.1แผนพัฒนาคุณภาพจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบัน
5.3.5.2หนังสือนำส่ง สป.อว.
5.3.6.1รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร