1. ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ
ที่ตั้งวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
เลขที่ 1 หมู่ 6 ตำบลบึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา พื้นที่ใช้สอย 26,230 ตารางเมตร

ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เดิมชื่อ “วิทยาลัยเซนต์เทเรซา อินติ (St Theresa Inti College)” จัดตั้งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อพ.ศ. 2538 โดยการร่วมทุนระหว่างโรงเรียนนานาชาติบริหารธุรกิจเซนต์เทเรซา ประเทศไทย กับวิทยาลัยอินติ ประเทศมาเลเซีย และใช้ชื่อในระยะก่อตั้งคือ วิทยาลัยเซนต์เทเรซา อินติ และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2544
ในปีพ.ศ. 2546 ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาที่เป็นสถาบันการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนทุกหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัย
ในปีการศึกษา 2552 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (St Theresa International College)” วิทยาลัยฯมีความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตร่วมกับสถาบันในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัย University of East London สหราชอาณาจักรอังกฤษ, สถาบันเทคโนโลยี Wairiki ประเทศนิวซีแลนด์ และมหาวิทยาลัย Patten ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนักศึกษาไทยและต่างชาติของวิทยาลัยฯสามารถโอนหน่วยกิตไปศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างประเทศและมีโอกาสได้รับปริญญาบัตรจากทั้งสองสถาบัน (Dual Program)
ในปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยได้รับการรับรองคุณภาพภายนอก(รอบสาม)จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทั้งในระดับสถาบันและคณะวิชา รวม 4 คณะวิชา ได้แก่่คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์
ในปีการศึกษา 2555 คณะมนุษยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ในปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยได้เปิดดำเนินการสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 4 คณะวิชา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ในปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยได้เปิดการสอนเพิ่มอีก 1 คณะวิชา โดยแยกหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาออกจากคณะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มาเปิดเป็นคณะศึกษาศาสตร์ จึงทำให้วิทยาลัยเปิดดำเนินการสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รวม 5 คณะวิชา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
ในปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยได้ดำเนินการสอนเพิ่มขึ้น 3 หลักสูตร เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) และ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ / หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558 และเป็นหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร คือหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรนานาชาติ / หลักสูตรปรับปรุง 2558)
ในปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้ดำเนินการสอนเพิ่มขึ้น 2 หลักสูตร เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 2หลักสูตรคือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบิน และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และมีการปิดหลักสูตรในระดับปริญญาโท 1 หลักสูตรคือ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรภาษาไทย/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556) ดังนั้นในปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยได้ดำเนินการสอนหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 11 หลักสูตร และหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา 5 หลักสูตร
ในปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยได้รับความเห็นชอบให้เปิดสอนเพิ่มขึ้น 2 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 1 หลักสูตร คือหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร คือหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ดังนั้นในปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยได้เปิดดำเนินการสอนรวม 18 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร และหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา 6 หลักสูตร
ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยมีการปรับปรุงหลักสูตร ทั้งการปรับปรุงตามรอบระยะเวลาการปรับปรุง และการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเกณฑ์วิชาชีพที่มีการปรับปรุงใหม่ของคุรุสภา โดยมีจำนวนหลักสูตรที่เปิดสอนคงตามเดิม รวม 18 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร และหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา 6 หลักสูตร นอกจากนี้ วิทยาลัยได้รับการตรวจรับรองวิทยฐานะจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้การรับรองวิทยฐานะในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน
ปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยได้ปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร คือหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา จึงมีหลักสูตรที่เปิดสอนรวม 17 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 5 หลักสูตร เปิดสอนใน 5 คณะวิชา คือ คณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์
อธิการบดี
ดร.ปิยะดา วรรธนะสาร
– Ph.D. (Education Management) Adamson University
– MBA. (Master in Business Administration) Management Centre, University of Bradford, England
– BBA. (Bachelor of Business Administration) Assumption University
2. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ ค่านิยมร่วม คติพจน์ พันธกิจ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษา และอัตลักษณ์และจุดเน้น/จุดเด่นของวิทยาลัย
ปรัชญา (Philosophy)
การจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพจะพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ และมีสังคมชีวิตที่ดี
ปณิธาน (Determination)
วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถาบันให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล
นโยบายการบริหาร (Administrative Policy)
วิทยาลัยฯกำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการ โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาวิทยาลัย ดังนี้
1) ผลิตบัณฑิตที่มีความโดดเด่นและความเชี่ยวชาญด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
2) เร่งผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นคนดี มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของ ประเทศชาติ
3) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาด้านภาษาอังกฤษและวิชาชีพ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
4) ส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น
5) ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดระบบองค์ความรู้นำไปสู่การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน
6) พัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพการศึกษาที่สามารถสร้างคุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริง
7) สร้างระบบการบริหารองค์กร โดยใช้หลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในวิทยาลัยและชุมชน
วัตถุประสงค์ (Objective)
- ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม ทักษะสากลและความเป็นพลเมืองดี
- วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและชุมชน
- ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
- ส่งเสริมค่านิยม ความเป็นไทย และธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไทย
- บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ก่อให้เกิดผลลัพธ์ขององค์กรสอดคล้องกับคุณภาพมาตรฐาน ระดับชาติและสากล
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ
ค่านิยมร่วม (Shared Value)
คนที่มีคุณค่าสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าส่งผลให้องค์กรทวีคุณค่า
คติพจน์/คำขวัญ (Slogan)
การศึกษาคือกุญแจสู่ความสำเร็จ
Education is the key for success.
พันธกิจ (Mission)
1) ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ
2) พัฒนางานวิจัยและผลงานวิชาการ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ
4) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติให้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม
5) บริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (Graduates’ Characteristics)
ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานอย่างมืออาชีพ
1) มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและสังคม ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีวิต
2) มีความรู้ความสามารถสูงในสาขาอาชีพ
3) มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุมีผล
4) มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
5) มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6) มีความสามารถในการประยุกต์แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ
7) ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของวิทยาลัย
อัตลักษณ์ของสถาบัน (College’s Identity)
“ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ” หมายถึง นักศึกษา บุคลากรทุกระดับสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในด้านวิชาการ และวิถีชีวิตประจำวัน
เอกลักษณ์ของสถาบัน (College’s Uniqueness)
“ความเป็นนานาชาติ” หมายถึง สถาบันระดับอุดมศึกษาที่มีการจัดการศึกษามุ่งเน้นทักษะสากล (การใช้ภาษาอังกฤษ) รวมทั้งส่งเสริมความเป็นนานาชาติในด้านวัฒนธรรมสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย และความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืน (Harmony)
3. โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารตามแผนภูมิที่ 1

4. รายชื่อผู้บริหาร กรรมการสภาวิทยาลัย กรรมการบริหาร
ผู้บริหาร
1) ดร. วิรัชนี พรหมสุนทร อุปนายกสภาวิทยาลัย
2) ดร. ปิยะดา วรรธนะสาร อธิการบดี
3) ดร. ชัยภัฎ วรรธนะสาร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
4) นายสุวัฒน์ เบญจธรรมธร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
5) นายสุวัฒน์ เบญจธรรมธร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
กรรมการสภาวิทยาลัย
1) รองศาสตราจารย์ดร. สากล จริยวิทยานนท์ นายกสภาวิทยาลัย
2) ดร. วิรัชนี พรหมสุนทร กรรมการสภาวิทยาลัย
3) นายนพดล สระวาสี กรรมการสภาวิทยาลัย
4) ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อัจฉรา วงศ์โสธร กรรมการสภาวิทยาลัย
5) ศาสตราจารย์ดร.มรรยาท รุจิวิชชญ์ กรรมการสภาวิทยาลัย
6) ดร. พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง กรรมการสภาวิทยาลัย
7) นายแพทย์โกมล วงศ์ศรีศาสตร์ กรรมการสภาวิทยาลัย
8) นางพรเพ็ญ พรหมสุนทร กรรมการสภาวิทยาลัย
9) ดร. ชัยภัฎ วรรธนะสาร กรรมการสภาวิทยาลัย
10) นางสาววิภา เพ็งเสงี่ยม กรรมการสภาวิทยาลัย
11) ดร. ปิยะดา วรรธนะสาร กรรมการสภาวิทยาลัย
คณะกรรมการบริหารวิทยาลัย
1) ดร. วิรัชนี พรหมสุนทร อุปนายกสภา ที่ปรึกษา
2) ดร.ปิยะดา วรรธนะสาร อธิการบดี ประธานกรรมการ
3) ดร.ชัยภัฏ วรรธนะสาร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ
4) นายสุวัฒน์ เบญจธรรมธร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กรรมการ
5) รศ. ดร. เตมีย์ ภิรมย์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป กรรมการ
6) ผศ. ดร. วิเชียร พันธ์เครือบุตร รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย กรรมการ
7) นางสาว วิภา เพ็งเสงี่ยม คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กรรมการ
8) นางสาวศิริวรรณ ตันย้ง ผู้อำนวยการสำนักอธิการบดี เลขานุการ
คณะกรรมการสภาวิชาการ
1) ดร.ปิยะดา วรรธนะสาร อธิการบดี ประธานกรรมการ
2) ดร.ชัยภัฏ วรรธนะสาร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองประธานกรรมการ
3) ผศ. ดร. วิเชียร พันธ์เครือบุตร รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและวิจัย กรรมการ
4) คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรรมการ
5) คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กรรมการ
6) คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กรรมการ
7) คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กรรมการ
8) คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ กรรมการ
9) ผู้อำนวยการสำนักประกันคุณภาพ กรรมการ
10) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนงาน กรรมการ
11) ผู้อำนวยการสำนักอธิการบดี กรรมการ
12) ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
13) เจ้าหน้าที่สำนักวิชาการ ผู้ช่วยเลขานุการ
5. หลักสูตรและสาขาที่เปิดสอน
ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เปิดสอน 5 คณะ 17 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
ระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ระดับปริญญาตรีจำนวน 12 หลักสูตร คือ
1)หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
2)หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
3)หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
4)หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
5)หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4ปี) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
6)หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
7)หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562)
8)หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2558
9)หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (4ปี) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
10)หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบิน (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559)
11)หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (4ปี) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
12)หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560)
ระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 5 หลักสูตร คือ
1)หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
2)หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
3)หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
4)หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
5)หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรภาษาอังกฤษ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
6. จำนวนนักศึกษา
ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยมีนักศึกษาในคณะวิชาต่างๆ 5 คณะวิชาคือ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ แยกเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 1,661 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 390 คน รวมมีนักศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 2,051 คน มีรายละเอียดดังนี้
คณะ | จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี | จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | จำนวนนักศึกษารวม |
บริหารธุรกิจ | 819 | 12 | 831 |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 156 | – | 156 |
ศึกษาศาสตร์ | 195 | 375 | 570 |
สาธารณสุขศาสตร์ | 80 | 3 | 83 |
พยาบาลศาสตร์ | 411 | – | 411 |
รวม | 1,661 | 390 | 2,051 |
7. จำนวนอาจารย์และบุคลากร
ในปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยมีอาจารย์ประจำรวมทั้งหมด 151 คน ได้แก่ อาจารย์ของคณะบริหารธุรกิจจำนวน 47 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จำนวน 12 คน คณะศึกษาศาสตร์จำนวน 36 คน คณะสาธารณสุขศาสตร์ 15 คน และคณะพยาบาลศาสตร์จำนวน 41 คน เป็นอาจารย์วุฒิปริญญาเอก 59 คน และมีตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 24.5 คน มีบุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 8 คน
คณะ | จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก | จำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการ | จำนวนอาจารย์รวม |
บริหารธุรกิจ | 15 | – | 47 |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 6 | 2 | 12 |
ศึกษาศาสตร์ | 27 | 16 | 36 |
สาธารณสุขศาสตร์ | 6 | 2 | 15 |
พยาบาลศาสตร์ | 5 | 4.5 | 41 |
รวม | 59 | 24.5 | 151 |
8. ข้อมูลพื้นฐานโดยย่อเกี่ยวกับงบประมาณและอาคารสถานที่
วิทยาลัยมีการจัดอาคารเรียน อาคารประกอบ มีการจัดการสถานที่ อย่างเพียงพอและเหมาะสม เป็นไปตามเกณฑ์การใช้อาคารสถานที่ที่กำหนด มีการบริหารงานให้เกิดความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัย ดังนี้
อาคารเรียนและห้องเรียน
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มีอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด และห้องอาหาร ที่สามารถจัดการศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้อย่างพอเพียงและเหมาะสม ประกอบด้วย
1) อาคารเซนต์เทเรซา ใช้เป็นอาคารบริหารและอาคารเรียน
2) อาคารโจเซฟมาเรีย ใช้เป็นอาคารเรียนและห้องปฏิบัติการ
3) อาคารเซนต์แมรีย์ ใช้เป็นอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ และห้องประชุม
4) อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 1 หลัง
5) อาคารปฏิบัติการ จำนวน 3 หลัง
6) อาคารห้องสมุด จำนวน 2 หลัง
7) อาคารโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง
8) อาคารสระว่ายน้ำและออกกำลังกายในร่ม จำนวน 1 หลัง
9) อาคารพัสดุ จำนวน 1 หลัง
10) อาคารหอพักนักศึกษา จำนวน 3 หลัง
การจัดสถานที่
มีการจัดสถานที่สำหรับทำกิจกรรมของนักศึกษา เช่น ลานอเนกประสงค์ ลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง สวนหย่อม สวนสุขภาพ สวนสมุนไพร เส้นทางจักรยาน และสนามกีฬาต่างๆ เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล วอลเล่ย์บอลชายหาด ตระกร้อ บาสเกตบอล สนามเปตอง สนามไดรฟกอล์ฟ สนามกีฬาทางน้ำ
งบประมาณ
วิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา งบประมาณส่วนใหญ่เป็๋น งบบริหารงาน ที่เป็นงบประมาณในการบริหารงานทั่วไป บริหารงานบุคคล และการบริหารงานอาคารสถานที่ รองลงมาเป็นงบประมาณในการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตามลำดับ
9. วัฒนธรรมของสถาบัน (Organizational culture)
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม ด้วยการใช้วัฒนธรรมองค์กร ที่สำคัญคือ STIC
S = Sharing and Caring เกื้อกูลและเอื้ออาทร
T = Trustworthy ซื่อสัตย์ ถูกต้อง ตรงเวลา
I = Inter-cultural competency เข้ากันได้กับวัฒนธรรมหลากหลายชาติ
C = Commitment to Quality มุ่งมั่นสู่คุณภาพ
10. ข้อเสนอแนะจากการการประเมินคุณภาพการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา(ปีการศึกษา 2561)
การประเมินคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2561 มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (4.53) โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะในภาพรวม แต่คณะกรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะตามผลการดำเนินการเป็นรายมาตรฐาน
วิทยาลัย ได้นำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ มาดำเนินการพัฒนา ผลการดำเนินพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการประเมิน สรุปได้ ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
ข้อเสนอแนะ
จุดที่ควรพัฒนา | การดำเนินการ | ผู้รับผิดชอบ |
1.ควรจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 3 ประการ(ผู้รอบรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์ และพลเมืองที่เข้มแข็ง)โดยมีการประเมินจากผู้ที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากการให้นักศึกษาประเมินตนเอง | 1.เพิ่มการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้จัดแสดงผลงานและนำเสนอผลงานในแต่ละคณะวิชา โดยผู้ประเมินประกอบด้วยอาจารย์ในคณะ และผู้เชี่ยวชาญนอกคณะร่วมเป็นกรรมการ | คณะวิชา |
2.อาจารย์ผู้สอนควรพัฒนากระบวนการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้จากสภาพจริง | 2.จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย เช่นการประเมินจากสภาพจริง การประเมินจาก e-port folio การทำโครงงาน | คณะกรรมการวัดผลและประเมินผล/คณะวิชา |
มาตรฐานที่ 2 การวิจัย
ข้อเสนอแนะ
จุดที่ควรพัฒนา | การดำเนินการ | ผู้รับผิดชอบ |
1.อาจารย์ผู้สอนควรนำผลงานวิจัยไปบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้มากขึ้น | กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนนำผลงานวิจัยที่จัดทำไปบูรณาการกับรายวิชาที่สอนและระบุไว้ใน มคอ 3 นอกจากนี้ให้นำเนื้อหารายวิชาที่สอนไปบูรณาการกับ การวิจัย/การบริการวิชาการ/การทำนุบำรุงฯ และบันทึกผลใน มคอ 5 | ผู้สอน/คณะวิชา/สำนักวิจัย |
มาตรฐานที่ 3 การบริการวิชาการ
ข้อเสนอแนะ
จุดที่ควรพัฒนา | การดำเนินการ | ผู้รับผิดชอบ |
1.ควรบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆให้มากขึ้น โดยให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปช่วยเหลือชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น | กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนนำผลการบริการวิชาการที่ได้รับ ไปบูรณาการกับรายวิชาที่สอนและระบุไว้ใน มคอ 3 นอกจากนี้ให้นำเนื้อหารายวิชาที่สอนไปบูรณาการกับ การวิจัย/การบริการวิชาการ/การทำนุบำรุงฯ และบันทึกผลใน มคอ 5 | ผู้สอน/คณะวิชา |
2.ควรมีงานวิจัยที่สนับสนุนงานบริการทางวิชาการ | ส่งเสริม/พัฒนาอาจารย์ ใน การทำวิจัยที่บูรณาการกับการบริการวิชาการ และนำผลการวิจัยที่ได้ไปเผยแพร่ด้วยการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ | ผู้สอน/คณะวิชา/สำนักวิจัย |
3.ควรมีศูนย์บริการทางวิชาการเพื่อรับผิดชอบงานบริการวิชาการในภาพรวมของสถาบัน | ได้ทำการทดลองจัดตั้งศูนย์บริการทางวิชาการ ให้รับผิดชอบการบริการวิชาการ ด้าน การพัฒนากำลังคนในพื้นที่ให้บริการ | คณะกรรมการบริการวิชาการ |
มาตรฐานที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ข้อเสนอแนะ
จุดที่ควรพัฒนา | การดำเนินการ | ผู้รับผิดชอบ |
1.ควรจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้สำนึกและรู้คุณค่าความเป็นไทยให้มากขึ้น | เพิ่มการจัดกิจกรรมนักศึกษาโดยร่วมกับหน่วยงานภายนอก/ชุมชน จัดกิจกรรมด้านประเพณี ตลอดทั้งปี เช่น ในพื้นที่ชุมชนคลอง 14 และชุมชนบ้านฝั่งคลอง | คณะวิชา/สำนักกิจการนักศึกษา/คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม |
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ
ข้อเสนอแนะ
จุดที่ควรพัฒนา | การดำเนินการ | ผู้รับผิดชอบ |
1.ควรกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และคุ้มทุนของการบริหารหลักสูตร คณะ และสถาบัน | มีการกำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการ โดย กำหนดให้ใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ความคุ้มค่่า ไปใช้ในการบริหารหลักสูตร คณะ และสถาบัน ซึ่งในปีการศึกษา 2562 ได้มีการปิดหลักสูตรที่ไม่มีความคุ้มค้าในทุกมิติ ไปจำนวน 1 หลักสุตร | คณบดี/รองอธิการบดี |
11. สรุปภาพรวมผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2562
มาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
จุดเด่น
1)อาจารย์ มีคุณวุฒิปริญญาเอกจำนวนมาก และอาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทางวิชาชีพที่หลากหลาย สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียน สร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาอย่างได้ผล
2)นักศึกษาและบัณฑิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งตามที่วิทยาลัยกำหนด ตามมาตรฐานหลักสูตร และคุณลักษณะคนไทยตามมาตรฐานอุดมศึกษา 2561
จุดด้อย
1)อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ต้องกำหนดมาตรการส่งเสริมเพิ่มเติม ที่เอื้อต่อการทำผลงานวิชาการ และสร้างความผูกพันต่อองค์การ
มาตรฐานที่ 2 การวิจัย
จุดเด่น
1)อาจารย์มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นจำนวนมาก มีการบูรณาการการวิจัยกับพันธกิจต่างๆและงานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ การตีพิมพ์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ สป. อว. กำหนด
2)มีเครือข่ายการทำวิจัยร่วมกันจำนวนมาก ทั้งกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ และเครือข่ายต่างประเทศ และมีบทความวิจัยที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
จุดด้อย
1)ทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีงบประมาณค่อนข้างสูง ยังมีจำนวนจำกัด
มาตรฐานที่ 3 การบริการวิชาการ
จุดเด่น
1)มีเครือข่ายจากภายนอกหลายภาคส่วน ร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
2)มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการวิจัย และการเรียนการสอน เกิดเป็นบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับตามเกณฑ์ของ สป.อว.
จุดด้อย
1)การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง ประเภทมีรายได้ ยังอยู่ในวงจำกัด
มาตรฐานที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
จุดเด่น
1) มีการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการวิจัย มีกิจกรรมเพิ่มความตระหนัก และเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมสังคม ตลอดจนมีการเผยแพร่ผลการศึกษาให้แพร่หลายด้วยการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ ติดต่อกันทุกปี
จุดด้อย
1) ความร่วมมือกับ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และชุมชน ในการพัฒนาแนวทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต ยังอยู่ในวงจำกัด
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ
จุดเด่น
1)ผู้บริหารระดับสถาบันและระดับคณะวิชา มีความมุ่งมั่นในการใช้หลักธรรมาภิบาล และหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารและการจัดการที่มุ่งเน้นบุคลากร ทำให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุผลลัพธ์ ทั้งตามพันธกิจและนโยบายของสถาบัน และตามมาตรฐานการอุดมศึกษา 2561
จุดด้อย
1)การเผยแพร่องค์ความรู้/แนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัย ยังอยู่ในวงจำกัด