ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 การบริหารอาจารย์

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2              การบริหารอาจารย์

ชนิดของตัวบ่งชี้          กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะพึงมีอาจารย์ที่มีคุณภาพคณาจารย์ ทั้งในด้านคุณวุฒิ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ที่มีการพัฒนาคณาจารย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ในเนื้อหาวิชาที่รับผิดชอบ ให้สามารถก้าวทันวิทยาการสมัยใหม่ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยและพัฒนาศาสตร์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนพึงมีจำนวนคณาจารย์ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับนักศึกษา ตามเกณฑ์การยอมรับในแต่ละวิชาชีพ

ผลการดำเนินการของคณะ ที่สามารถสะท้อนคุณภาพของคณาจารย์ ในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญ และการมีจำนวนที่เหมาะสม พิจารณาจากคุณวุฒิปริญญาเอก การดำรงตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ในสถาบัน และ จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์

เกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ที่  1.2

ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ย่อย คือตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.2.1 ค่าเฉลี่ยของอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.2.2 ค่าเฉลี่ยของอาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และ ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.2.3 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ในคณะ  คิดเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

รายละเอียดในแต่ละตัวบ่งชี้ย่อย มีดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.1  อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความลุ่มลึกทางวิชาการ ในการผลิตบัณฑิต การศึกษาวิจัย ทั้งเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนั้น คณะจึงควรมีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาเอกในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพันธกิจหรือจุดเน้นของหลักสูตร และการบรรลุตามอัตลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของอาจารย์ประจำคณะที่มีวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 40 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.2  อาจารย์ประจำคณะที่มีตำแหน่งทางวิชาการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการตามวิชาชีพ จึงจะถือว่าเป็นขุมปัญญาของชาติ ในการรับผิดชอบการผลิตบัณฑิต และการรับผิดชอบต่อสังคม  คณะจึงต้องมีความรับผิดชอบที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ตลอดจนส่งเสริมให้อาจารย์ในคณะทำการศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาสังคมชุมชน และการพัฒนาประเทศ ให้เกิดความเชี่ยวชาญทางวิชาการตามวิชาชีพ  ที่นำไปสู่การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้คณะมีจำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพันธกิจหรือจุดเน้นของหลักสูตร และการบรรลุตามอัตลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของอาจารย์ประจำสถาบันที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 60 ขึ้นไป

ผลการดำเนินงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.3  จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ในคณะ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

ปัจจัยสำคัญในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือ สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ ที่เป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับในแต่ละวิชาชีพ คณะจึงต้องมีจำนวนอาจารย์ที่เพียงพอ ตลอดจนมีการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหา การจัดภาระงาน การพัฒนา การสร้างขวัญและกำลังใจในการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้มีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง(FTES) ไม่เกินจำนวนที่ยอมรับได้ขององค์กรวิชาชีพ

เกณฑ์การประเมิน

ในกรณีที่จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง(FTES) น้อยกว่า หรือเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  กำหนดเป็น คะแนน 5 

ในกรณีที่จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง(FTES) มากกว่า หรือเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  ให้คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และนำค่าความแตกต่างมาพิจารณาดังนี้

-ค่าความแตกต่างของ จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ ร้อยละ 20 กำหนดเป็น คะแนน 0

-ค่าความแตกต่างของ จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ ร้อยละ 0.01 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ให้นำมาเทียบบัญญัตไตรยางค์ เพื่อเป็น คะแนน ที่ได้รับ

หมายเหตุ

1)การคิดค่า จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) ใช้วิธีการตามที่ต้นสังกัดกำหนดล่าสุด  ในกรณีที่วิธีการที่ต้นสังกัดกำหนดแตกต่างจากสภาวิชาชีพ ให้ใช้วิธีการตามที่สภาวิชาชีพกำหนดล่าสุด

2)ในกรณีที่คณะ มีหลายกลุ่มสาขา ให้แยกแต่ละกลุ่มสาขา นำมาค่าคะแนนของแต่ละกลุ่มสาขาก่อน แล้วนำมาคิดคะแนนเฉลี่ยเป็นของคณะ

สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

กลุ่มสาขา

สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ประจำ

1.วิทยาศาสตร์สุขภาพ

     -พยาบาลศาสตร์

     -สาธารณสุขศาสตร์

6:1

8:1

2.บริหารธุรกิจ บัญชี การจัดการ

25:1

3.วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การจราจรทางอากาศ การบิน

25:1

4.ศึกษาศาสตร์

30:1

5.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์

25:1

3)ในกรณีที่คณะ มีการจัดการศึกษาหลายระดับการศึกษา ให้แยกระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา  นำมาหาค่าคะแนนของแต่ละระดับการศึกษาก่อน แล้วปรับค่าจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าในระดับบัณฑิตศึกษาให้เป็นระดับปริญญาตรี เพื่อนำมารวมคำนวณหาสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำ ดังนี้

กลุ่มสาขา

จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาในหน่วยนับปริญญาตรี

1.วิทยาศาสตร์สุขภาพ

FTESระดับปริญญาตรี + FTESระดับบัณฑิตศึกษา

2.บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาศาสตร์

FTESระดับปริญญาตรี + (1.8 x FTESระดับบัณฑิตศึกษา)

3.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์

FTESระดับปริญญาตรี + (1.8 x FTESระดับบัณฑิตศึกษา)

ผลการดำเนินงาน

คณะมีระบบในการคัดเลือกอาจารย์ ที่ให้ความสำคัญกับ 1) การมีวุฒิตรงสาขาวิชา และ 2) มีศักยภาพสูงระดับปริญญาเอกหรือมีตำแหน่งทางวิชาการ(ในกรณีที่ย้ายมาจากสถาบันอื่น) 3) กรณีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานสูงแต่ไม่มีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในระบบฐานข้อมูลตามเงื่อนไขของ สป.อว.  สร้างระบบเชิญเข้าร่วมโครงการวิจัยหรือเขียนบทความทางวิชาการ ควบคู่กับอาจารย์เก่าเพื่อให้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์  4) มีการปฐมนิเทศอาจารย์เป็นรายบุคคล รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ไว้ในเว็บไซต์ของคณะ เป็นระบบ KM-Online

    คณะได้ส่งเสริมให้อาจารย์

1) พัฒนาผลงานางวิชาการประเภทผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ ทุกปีการศึกษา 

2) มีข้อตกลงกับอาจารย์ใหม่(MOU)  จะต้องเตรียมการและเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการไม่เกินปีที่ 2 หลังจากคุณสมบัติครบถ้วน โดยให้เสนอแผนเป็นรายบุคคล

3) จัดให้มีการอบรมเรื่อง กลยุทธ์การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อให้อาจารย์ออกแบบการวิจัยแบบบูรณาการในกระบวนการสอนรายวิชา เพื่อให้สามารถสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการไปในตัว

4) ในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา  ได้จัดทำห้องสัมมนาในระบบออนไลน์ ผ่าน Facebook เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ เพื่อการพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และพร้อมสำหรับการนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ

5) เฉพาะในปี 2563 ได้ใช้การสัมมนาออนไลน์เพื่อให้อาจารย์สร้างผลงานวิจัยในกระบวนการสอน ให้ระบุหรือสอดแทรกงานวิจัยในแผนการสอนแบบกลมกลืน(Built-in a Research Project into TQF3)

6) เฉพาะปี 2563 กำหนดเป้าหมายให้อาจารย์นำเสนอผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ 4 ราย จากการระเมินความก้าวหน้า พบว่ามีผลงานที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าอย่างชัดเจน 3 ราย ซึ่งน่าจะยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ในปีการศึกษา 2564

   ผลการดำเนินงาน โดยสรุป เป็นดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.1 อาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอก ;  คณะศึกษาศาสตร์มีอาจารย์จบปริญญาเอกจำนวน  28 คน จากอาจารย์ทั้งหมด 37 คน  คิดเป็นร้อยละ 75.67……เมื่อเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 40 เท่ากับ 5 คะแนน ผลการประเมินจึงได้คะแนนเท่ากับ 5.00


ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.2 อาจารย์ประจำที่มีตำแหน่งทางวิชาการ; คณะศึกษาศาสตร์มีอาจารย์ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจำนวน  17 คน จากอาจารย์ทั้งหมด 37 คน  คิดเป็นร้อยละ 45.95 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60  เท่ากับ 5. คะแนน จึงได้คะแนน เท่ากับ  3.83


ตัวบ่งชี้ที่ 1.2.3  จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ในคณะ

จากข้อมูลใน Common data set

            FTES     ระดับปริญญาตรี                =    161.75

            FTES     ระดับบัณฑิตศึกษา            =    167.85  

            FTES     รวมทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา เป็นดังนี้

             คำนวณค่า FTES ภาพรวม             =    (161.75)+(1.8 x 167.85) = 463.8

             สัดส่วนนักศึกษาเต็มเวลาต่ออาจารย์ประจำที่เป็นจริง เท่ากับ  12.21

เมื่อแปลงเป็นร้อยละ = (12.21-30)/30*100 = -59.3%

เกณฑ์การตัดสิน ในกรณีที่จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง(FTES) น้อยกว่า หรือเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  กำหนดเป็น ค่าคะแนนเท่ากับ  5  คะแนน

                         ในที่นี้ คะแนนที่ได้ คือ 5.00 คะแนน


รายการหลักฐาน

1.2.1 – 1.2.2 About Us : The Faculty of Education 2562
1.2.3 ฐานข้อมูล FTES
ผลการประเมินตนเอง ตัวบ่งชี้ 1.2
ตชว. 1.2.1 5.00 คะแนน
ตชว. 1.2.2 3.83 คะแนน
ตชว. 1.2.3 5.00 คะแนน
รวมเฉลี่ย 3 ตัวชี้วัด เท่ากับ 4.61 คะแนน
-academic rank  20 % growth
-Individual Development Plan
-Monitoring carlendar
-academic rank 20 % growth
-Individual Development Plan
-Monitoring carlendar