ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 การบริการนักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา
ชนิดของตัวบ่งชี้ ปัจจัยนำเข้า
คำอธิบายตัวบ่งชี้
นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในคณะ จะมีคุณลักษณะตามจุดเน้นของหลักสูตร ตามอัตลักษณ์ของคณะวิชา ตามอัตลักษณ์ของสถาบัน และประสบความสำเร็จในการศึกษาได้นั้น คณะต้องมีการดูแลนักศึกษาหรือให้บริการกับนักศึกษาอย่างครบถ้วนและเหมาะสม ตั้งแต่การให้คำปรึกษาทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต จัดบริการข้อมูล หน่วยงานที่ให้บริการ เช่น ทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษาต่อการบริการจัดหางาน แหล่งข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวในและนอกสถาบันที่จำเป็นแก่นักศึกษา นอกจากนี้คณะต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนักศึกษาต่างๆ อย่างเหมาะสมและครบถ้วน ทั้งกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดำเนินการโดยสถาบันและโดยองค์กรนักศึกษา ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาสติปัญญาสังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรม จริยธรรมสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยนำหลักการคุณภาพ เช่นวงจรคุณภาพของเดมมิง ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินการของคณะ ที่สามารถสะท้อนคุณภาพของการบริการนักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
- คณะมีการจัดทำแผนการบริการนักศึกษา และแผนพัฒนานักศึกษา โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะ
- แผนการบริการนักศึกษาให้มีการดำเนินการให้ครบถ้วน ได้แก่ 1)การบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การแนะแนวด้านการใช้ชีวิตและการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในคณะ 2)การให้ข้อมูล ทั้งข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ การจัดกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร การจัดหาแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา 3)การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานและการเข้าสู่อาชีพ
- แผนพัฒนานักศึกษาให้มีการดำเนินการให้ครบถ้วน ได้แก่ 1)การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะ 2)การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ คือ กิจกรรมคุณธรรม จริยธรม กิจกรรมความรู้ กิจกรรมทักษะทางปัญญา กิจกรรมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ กิจกรรมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3)การจัดกิจกรรมที่ให้เกิดผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการอุดมศึกษา คือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และ 4)การจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมให้เกิดทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
- คณะมีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา ตลอดจนมีช่องทางในการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า ทั้งการเพิ่มวิทยาการใหม่ๆ ตามศาสตร์ การพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนการประยุกต์ใช้ความรู้ตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่
- คณะมีการประเมินคุณภาพการให้บริการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการนักศึกษา และมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยคุณภาพการจัดบริการและการจัดกิจกรรมในทุกข้อย่อย ได้ผลการประเมินคุณภาพไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
- คณะนำผลการประเมินคุณภาพจากข้อ 5 มาใช้ในการปรับปรุงแผน ปรับปรุงการให้บริการนักศึกษาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมนักศึกษา เป็นการพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อให้ผลการประเมินสูงขึ้น หรือเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา หรือเพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 |
คะแนน 2 |
คะแนน 3 |
คะแนน 4 |
คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ |
มีการดำเนินการ 2 ข้อ |
มีการดำเนินการ 3 – 4 ข้อ |
มีการดำเนินการ 5 ข้อ |
มีการดำเนินการ 6 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
ในการส่งเสริมให้นักศึกษามีสมรรถนะสำคัญตามที่หลักสูตรต่าง ๆ และคณะคาดหวัง คณะฯได้ดำเนินการในลักษณะที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. คณะมีการจัดทำแผนการบริการนักศึกษา และแผนพัฒนานักศึกษา โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะ ด้วยการสำรวจความต้องการของนักศึกษาในการพัฒนางานและพัฒนาตนเอง แล้วจัดทำเป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพนักศึกษา บางโครงการ นักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบหลักภายใต้การนิเทศของอาจารย์ เช่น โครงการค่ายภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นโครงการที่มุ่งโดยตรงต่อการพัฒนานักศึกษา โดยโครงการที่มุ่งพัฒนานักศึกษา ประกอบด้วยโครงการหลัก 8 โครงการ จาก 16 โครงการ ที่กำหนดอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงกำหนดแผนเสริมประบการณ์หรือดูแลนักศึกษาต่อเนื่อง ด้วยระบบ Family System ในปี 2562-63 จัดเป็น 6 Families ช่องทางในการดูแลใช้วิธีการ 1) การพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาเดือนละ อย่างน้อย 2 ครั้ง 2) การประชุมออนไลน์ร่วมกับคณบดี 2 ครั้งต่อภาคเรียน ยกเว้นนักศึกษาปี 1 จะพบคณบดีทุกวันศุกร์ที่ 4 ของเดือน และ 3) การจัดตั้งกลุ่ม(Group) ใน facebook เพื่อให้นักศึกษาทุกชั้นปีได้พบปะ พูดคุย หรือแจ้งข้อมูล/หารือกับคณาจารย์และคณบดี ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
2. แผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนานักศึกษาได้นำสู่การปฏิบัติอย่างครบถ้วน อาจารย์ที่ปรึกษาดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในชั้นปีอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษาที่สำคัญๆ เช่น 1)การบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ การแนะแนวด้านการใช้ชีวิตและการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในคณะ 2)การให้ข้อมูล ทั้งข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ การจัดกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร การจัดหาแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา 3)การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานและการเข้าสู่อาชีพ ทั้งนี้ ในช่วงปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ คณบดีจะสอนเรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาตนเองระยะ 4 ปี เพื่อก้าวสู่การเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง สอนให้นักศึกษาแต่ละคนกำหนดเป้าหมายชีวิต เป้าหมายเกรดผลการเรียน ปฏิทินการดำเนินชีวิตประจำสัปดาห์ พร้อมให้จัดทำ e-portfolio เป็นรายบุคคล
3. การพัฒนานักศึกษาแบบมีจุดเน้น คณะได้ให้ความสำคัญกับ 1)การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะ เพื่อปลูกฝึกอัตลักษณ์ “ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย มีน้ำใจ และรับผิดชอบ” ควบคู่กับ “การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ” อันเป็นอัตลักษณ์ของสถาบัน 2)การจัดกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการอุดมศึกษา คือ การเป็นผู้รอบรู้ (ครอบคลุมเรื่องความรู้และทักษะทางปัญญา) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(ครอบคลุมทักษะทางปัญญา การทำงานเป็นทีม และความสามารถด้านการสื่อสาร ไอซีที หรือเชิงตัวเลข) และ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง(การเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และอัตลักษณ์ ) และ 3)การจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมให้เกิดทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีค่านิยมในการทำงานแบบรับผิดชอบ(Accountability)และมีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
4. คณะมีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา ตลอดจนมีช่องทางในการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า ทั้งการเพิ่มวิทยาการใหม่ๆ ตามศาสตร์ การพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนการประยุกต์ใช้ความรู้ตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่
คณะได้จัดปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา สอนให้ข้อคิดเรื่อง “The Five Year Plan for Beginner Teachers” เสนอให้นักศึกษาจัดทำแผนพัฒนาตนเองในระยะ 5 ปีแรก เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จบนเส้นทางชีวิตครู ชี้แจงให้ทุกคนยังคงเป็นสมาชิกของ facebook-Group และเข้ากลุ่มศิษย์เก่า เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือเสริมประสบการณ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย ใน 5 ปีแรก หลังสำเร็จการศึกษา
5. คณะได้ทำการประเมินคุณภาพการให้บริการนักศึกษา รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการบริการนักศึกษา และความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยสุดท้ายมุ่งไปที่การประเมินสมรรถนะสำคัญตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3 ประการ คือ 1) การเป็นผู้รอบรู้ (ครอบคลุมเรื่องความรู้และทักษะทางปัญญา) 2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(ครอบคลุมทักษะทางปัญญา การทำงานเป็นทีม และความสามารถด้านการสื่อสาร ไอซีที หรือเชิงตัวเลข) และ 3) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง(การเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และอัตลักษณ์ ) โดยสุ่มประเมินนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แบบครบถ้สน 100 % พบว่า ได้ระดับคุณภาพทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 4.35 4.46 และ 4.23 ตามลำดับ (จากระบบคะแนนเต็ม 5.00)
กรณีของการประเมินบุคลิกภาพและสมรรถนะทางวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่ออกฝึกปฏิบัติการวิชาชีพหรือฝึกสอน พบว่า นศ.ชั้นทปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 ได้คะแนนผลการประเมิน ด้านบุคลิกาพ และ ทักษะการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 442 และ 4.21 ตามลำดับ
ในกรณีของการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คือ ผู้สำเร็จตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ในปี 2563(จำนวน 153 คน) พบว่า ได้คะแนนผลการประเมินด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู การจัดการเรียนรู้ และ การประสานสัมพันธ์ชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เท่ากับ 4.35 4.42 และ 4.17 ตามลำดับ
6. การใช้ข้อมูลผลการประเมินเพื่อการปรับปรุงและพัฒนางาน จากการประเมินผลในข้อ 5 คณะได้ปรับปรุงระบบดูแลช่วยเหลือ โดยจัดกลุ่มนักศึกษาแบบคละชั้นปี เป็น Family System แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 5 4 3 2 1 และเน้นให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2-5 จริงจังกับการพัฒนา e-Portfolio ที่ประกอบด้วยผลงาน 7 หมวดสำคัญ คือ 1)ข้อมูลส่วนบุคค+ผลงานโดดเด่นสมัยเรียนประถมหรือมัธยม 2)การเป็นผู้มุ่งมั่นในการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง 3) การเป็นผู้ทำงานอย่างเป็นระบบในลักษณะ PDCA 3) การเป็นนักวิจัย นักสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อยกระดับคุณภาพงาน 4) การเป็นผู้รับผิดชอบต่อนักเรียน/ผู้รับบริการ เพื่อร่วมงาน ครอบครัว 5) การเป็นผู้รับผิดชอบต่อสถานศึกษา เพื่อร่วมงานและวิชาชีพ 6) การเป็นผู้มีผลงานที่ปรากฏต่อชุมชนและวงวิชาการ และ 7) การเป็นผู้เรียนในรายวิชาด้วยความมุ่งมั่น จริงจัง ….ส่งเสริมให้นักศึกษาเตรียมพร้อมสำหรับการนำเสนอ(Submit) E-Portfolios เมื่อจบการศึกษา เพื่อขอรับในอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการสมัครงาน โดยเฉพาะผู้ที่เข้าเรียนตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นไป ซึ่งในช่วงปลายปี 2563 คณะเห็นว่า สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4-5 เพื่อเน้นให้นักศึกษาเข้าสู่วิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงไปได้ปรับเปลี่ยนให้เน้น E-Teaching Portfolio ที่สามารถเผยแพร่ต่อชุมชนในวงกว้างได้ และง่ายต่อการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
….จากการถอดบทเรียน คณะได้บทเรียนที่ดี คือ 1) การสำรวจ Baseline Competence ของนักศึกษา เป็นการตรวจสอบฐานสมรรถนะที่สำคัญในช่วงรับเข้าเรียน และวิเคราะห์ความเสี่ยงของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อส่งข้อมูลให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา จะได้รู้จักและเตรียมให้การช่วยเหลือที่ตรงกับความต้องการจำเป็นเพื่อลดอัตราเสี่ยงในการตกออก ถือเป็นวิธีการที่มีแนวโน้มเกิดประสิทธิผลที่ดี และ 2) E-Teaching Portfolio ของนักศึกษา ควรประกอบด้วยเมนูที่สำคัญ คือ Personalized Learning Community(PLC ROOM) ที่สะดวกอย่างยิ่งต่อการนิเทศ ช่วยเหลืออนักศึกษาเป็นรายบุคคล
รายการหลักฐาน
ผลการประเมินตนเอง |
เท่ากับ 5 คะแนน |
