ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4              ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้          ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะต้องบริหารจัดการหลักสูตร บริหารคณาจารย์ บริหารการจัดบริการและกิจกรรมนักศึกษา  อย่างเหมาะสมและครบถ้วน เพื่อให้การพัฒนานักศึกษาเกิดผลลัพธ์ตามที่สังคมคาดหวัง คือ 1)ผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาและตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้แก่ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความรอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  และ 2)ผลลัพธ์ผู้เรียนที่จำเป็น ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผลการดำเนินการของแต่ละคณะ ที่สามารถสะท้อนคุณภาพของผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา  พิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

เกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ที่  1.4

ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวบ่งชี้ย่อย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย คือตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน คิดเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

รายละเอียดในแต่ละตัวบ่งชี้ย่อย มีดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.1           ผลการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะต้อง ผลิตบัณฑิตให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้  เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาผู้เรียนที่สำคัญคือ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมีความรอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ดังนั้นคณะจึงควรกำหนดผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียนของคณะ เพื่อให้แสดงออกถึงผลการพัฒนานักศึกษา หรือความก้าวหน้าของนักศึกษา ในการพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียนตามที่มาตรฐานการอุดมศึกษากำหนด ดังนี้

1)กรณีนักศึกษาระดับปริญญาตรี พิจารณาจากจำนวนนักศึกษาที่มีผลงานที่แสดงถึง การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกัน

2)กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ประกาศนียบัตร) พิจารณาจากจำนวนนักศึกษาที่มีผลงานที่แสดงถึงคือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกัน

3)กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท ปริญญาเอก) พิจารณาจากจำนวณบัณฑิตที่มีผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้รับการยอมรับตามประกาศฯของการอุดมศึกษา

เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละของนักศึกษาที่มีผลงานการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียนที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 60 ขึ้นไป

ในกรณีที่คณะจัดการศึกษาหลายระดับการศึกษา ใช้ค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียนของทุกระดับ

ผลการดำเนินงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.2           ผลการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะต้อง ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะที่จำเป็น ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 หรือความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ  ดังนั้น นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาจึงควรมีผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยจัดให้มีการประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนา ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ตามเกณฑ์ที่คณะและสถาบันร่วมกันกำหนด

ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่กำหนด ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 60 ขึ้นไป

ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ที่กำหนด ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 60 ขึ้นไป

เกณฑ์การประเมิน

ค่าเฉลี่ยคะแนนการผ่านเกณฑ์ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ คะแนนการผ่านเกณฑ์ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ผลการดำเนินงาน

ตัวชี้วัดที่  1.4.1 ผลการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน

   ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตร คณะให้ความสำคัญกับหลักการในมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ที่ระบุว่า “การจัดการศึกษาให้ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด” ภายใต้หลักการนี้ คณะได้พัฒนาคณาจารย์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ต้องให้เวลาและใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม ก็จะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทุกคน การจัดประสบการณ์สำหรับผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ(ฉบับ 2561) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีสมรรถนะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

   1. Learner Person and Master Learner : การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้เรียนที่รอบรู้  ในประเด็นนี้ จะต้องสร้างผู้เรียนให้ใฝ่รู้ และเรียนรู้ในรายวิชา อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความรอบรู้และมีทักษะสำคัญตามที่หลักสูตรกำหนด  รวมถึงทักษะทางวิชาชีพ ตัวชี้วัดสำคัญ คือ นิสัยรักการอ่าน และคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรายวิชา(GPA)  รวมถึงผลงานของนักศึกษาที่นำมาแสดงเมื่อสิ้นภาคการศึกษา หรือสะสมไว้ในแฟ้มสะสมงาน

   2. Co-Creator : ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน  ในประเด็นนี้ ผู้เรียนจะต้องมีทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ผลงาน หรือเสนอทางเลือกใหม่ๆในการพัฒนางาน  รวมถึงมีทักษะในการทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และมีความสามารถด้านการสื่อสาร การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนางาน  ผลลัพธฺ์สำคัญที่แสดงถึงสมรรถนะด้านนี้ คือ ผลงานโครงงานของนักศึกษา งานประดิษฐ์คิดค้น งานสร้างสรรค์  ที่นักศึกษาผลิตและสั่งสมไว้ใน E-Portfolio  หรือนำไปเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านวารสารหรือการสัมมนาทางวิชาการ หรือนำมาจัดนิทรรศการเมื่อสิ้นภาคเรียน

   3. Active Citizen  : คณะมุ่งมั่นพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีวินัย มีน้ำใจและมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคณะ  ฝึกให้เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม(มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม)  เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนหรือสังคมประเทศ  โดยประกาศย้ำให้นักศึกษารับทราบคุณลักษณะเหล่านี้ ในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่หลักสูตร(จัดทำเป็นคู่มือนักศึกษา) กำหนดกิจกรรมไว้ในกิจกรรมเสริมความเป็นครู ทั้งระดับป.ตรีและระดับบัณฑิตศึกษา  ให้ทำกิจกรรมผ่านรายวิชาทำกิจกรรมอาสาสมัครภายใต้โครงการบริการทางวิชาการของนักศึกษา(วิทยาลัยให้การสนับสนุนงบประมาณ) เช่น สอนน้องในโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม  โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน  หรือร่วมกิจกรรมค่ายอาสาภาคฤดูร้อน เป็นต้น


   ในการตรวจสอบหรือประเมินสมรรถนะทั้ง 3 รายการนี้ พบว่า นักศึกษาทุกคน(ร้อยละ 100) จะมีผลผลิตเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่นำมาแสดงบนเวทีหรือในห้องสัมมนา  และนักศึกษาทุกคนมีแฟ้มสะสมงานที่สะท้อนการมี-การเกิดคุณสมบัติหรือสมรรถนะเหล่านี้ในระดับดีขึ้นไป  อีกทั้งเมื่อนักศึกษาออกฝึกปฏิบัติงานในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะถูกประเมินสมรรถนะเหล่านี้จากครูพี่เลี้ยงหรือผู้บริหารสถานศึกษา ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 พบว่ามีค่าเฉลี่ยสู่กว่าคะแนนประเมินในเรื่องเดียวกันที่ประเมินในภาคต้น  คะแนนผลการประเมินภาคปลายเป็นดังนี้  ผลการประเมินสมรรถนะ 3 รายการหลัก พบว่า 1) การเป็นผู้รอบรู้ (ครอบคลุมเรื่องความรู้และทักษะทางปัญญา) 2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(ครอบคลุมทักษะทางปัญญา การทำงานเป็นทีม และความสามารถด้านการสื่อสาร ไอซีที หรือเชิงตัวเลข)  และ 3) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง(การเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และอัตลักษณ์ ) โดยประเมินนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แบบครบถ้วน 100 %  พบว่า ได้ระดับคุณภาพทั้ง 3 ด้าน  เท่ากับ 4.37  4.44 และ 4.53 ตามลำดับ(คะแนนเต็ม 5.00)

    คะแนนผลการประเมินสมรรถนะบัณฑิต 6 รายการ ตามมาตรฐาน TQF รุ่นที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2562(มีงานทำ 1 ปี)  จำนวน 21 คน พบว่า ศึกษาต่อ 2 คน เข้าสู่วิชาชีพครู 19 คน ซึ่งทุกคน(100%)ได้คะแนนผลการประเมินสมรรถนะในระดับดีมาก(ในระบบคะแนนเต็ม 5.00) โดยปรากฏคะแนนผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.62

2) กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ประกาศนียบัตร) พิจารณาจากจำนวนนักศึกษาที่มีผลงานที่แสดงถึงคือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกัน

    กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่ม ป.บัณฑิต พบว่า ทุกคนปฏิบัติงานตามชุดกิจกรรมเสริมความเป็นครู มีผลงานเข้าลักษณะทั้ง 3 ประการ ก่อนสำเร็จการศึกษาได้ส่งผลงานเป็นแฟ้มสะสมงาน(นักศึกษารุ่น 2561 ซึ่งจบการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2562  ยังเป็นแฟ้มเอกสารเป็นส่วนใหญ่)  ในกรณีของนักศึกษารุ่น 2562 ที่จบการศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2563 ทุกคนได้เตรียมผลงานที่แสดงถึงศักยภาพทั้งสามประการ ผ่าน E-Portfolios เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับขั้นการนำเสนอต่อคุรุสภา เมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งปรากฏว่า ทุกคนหรือร้อยละ 100 (178 คน) ได้ส่งแฟ้มสะสมงานเพื่อยืนยันผลการประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่พร้อมในการยื่นขอรับรับในอนุญาตประกอบวิชาชีพครู(คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ระหว่างร้อยละ 78 ถึงร้อยละ 87 ของคะแนนเต็ม(เทียบน้ำหนักคะแนน เท่ากับ 4.10 คะแนน)

     ในส่วนของนักศึกษาระดับปริญญาโทบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 มีผู้สำเร็จการศึกษา  3 ราย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ สกอ.(100 % ของผู้สำเร็จการศึกษา)

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.2   ผลการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

     ในด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 คณะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ  การเป็นนักอ่าน  ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรม  ทักษะไอซีทีเพื่อการดำเนินชีวิต ทักษะการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้  ทักษะจัดการ-ทำงานเป็นทีม  รวมถึงการสร้างความตระหนักในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก(Education for Well Being) ตามแนวคิดของ OECD ที่เห็นว่าโลกในอนาคตจะไม่ผาสุก ด้วย 3 ปัจจัย คือ ภัยธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม/โรคภัยไข้เจ็บ   การมีรายได้/การมีงานทำ   และการเคารพความแตกต่าง/ความเห็นต่าง/เห็นในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์….ปัจจุบัน คณะได้นำแนวคิดนี้ มาใช้ในงานบริการทางวิชาการ ร่วมพัฒนากลุ่มโรงเรียนในรัศมีใกล้วิทยาลัย จำนวน 7 โรงเรียน ภายใต้โครงการ “พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง” ที่ดำเนินการต่เนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2563(จบที่กันยายน 2563) โดยได้ขยายแนวคิดนี้ ให้นักศึกษาป.บัณฑิตและนักศึกษา ปี 4-5 รับทราบทุกคน และให้สมัครเข้ามามีบทบาทร่วมในโคารงการดังกล่าว

      ในด้านทักษะไอซีที และ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปี 2563 ทุกคน ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทุกคนมีทักษะไอซีที่ สามารถพัฒนา E-Teaching Portfolio  อย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม  ทุกคนมีผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คนละ 1 รายการ   มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล TCI  มากกว่า 5 ราย

   สำหรับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 3-5 มากกว่าร้อยละ 70 เข้าฝึกทักษะและประเมินสมรรถนะตนเองเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่สำเร็จการศึกษา มากกว่าร้อยละ 50  มีคะแนนผลการประเมินทักษะภาษาอังกฤษ TOEIC มีพัฒนาการดีขึ้นและได้คะแนนมากกว่า 550 คะแนน 

รายการหลักฐาน

1.4.1(1) แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษา 3 สมรรถนะ และคะแนนผลการประเมิน
1.4.2(1) รายงานการประเมินทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษารุ่น 2563
1.4.2(2) โครงการจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก
ผลการประเมินตนเอง
——————————————–
ตัวชี้วัด 1.4.1 ผลการประเมิน 5.00
ตัวชี้วัด 1.4.2 ผลการประเมิน 4.17
——————————————–
คะแนนเฉลี่ย ตัวบ่งชี้ 1.4 เท่ากับ (5+4.17)/2 = 4.58