ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ชนิดของตัวบ่งชี้ ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้
ข้อมูลสำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยของคณะ มีผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการว่าเป็นผลงานที่ดี มีประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ต้องเป็นผลงานที่มีการเผยแพร่และนำไปใช้ ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาการประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือ ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือผลงานที่ทำร่วมกับอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือผลงานตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือบทความตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus ที่ได้รับการอ้างอิง
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์การประเมิน
คะแนนที่ได้ในระดับคณะ โดยการแปลงค่าร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ของอาจารย์ประจำและนักวิจัย เป็นคะแนน ระหว่าง 0 – 5 ดังนี้
กลุ่มสาขา |
ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน |
1.วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป |
2.บริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาศาสตร์ |
กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป |
3.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ |
กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป |
สูตรการคำนวณ
- ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน
= ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานของอาจารย์ประจำและนักวิจัย x 100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย
- คะแนนที่ได้
= ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานของอาจารย์ประจำและนักวิจัย x 5
ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานของอาจารย์และนักวิจัยที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
ระดับคุณภาพผลงานมีดังนี้
ค่าน้ำหนัก |
ระดับคุณภาพ |
0.20 |
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
0.40 |
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ -ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร |
0.60 |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 |
0.80 |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 |
1.00 |
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ -ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร -ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว -ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ -ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน -ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว -ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 หรือในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ |
ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์มีผลงานวิจัยและงานวิชาการดังนี้
-งานวิจัยจำแนกตามหลักสูตร 7 หลักสูตร รวม 34 รายการ
-บทความทางวิชาการ จำนวน รายการ
-ตำรา 1 รายการ
รายการหลักฐาน
2.3.1.1 | รายชื่อผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำระดับคณะ ปีการศึกษา 2563 |
สำเนาบทความวิจัยที่เผยแพร่ (Proceeding) จำนวน 15 ฉบับ | |
ผลการประเมินตนเอง |
เท่ากับ 5 คะแนน |
