ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้
คณะต้องมีการบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ โดยมีระบบและกลไกในการดำเนินงานที่ชัดเจน และคำนึงถึงกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตั้งแต่การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการจัดทำแผนการบริการวิชาการประจำปี ที่สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของคณะ ทั้งการบริการแบบทั่วไป และการบริการแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน และ/หรือเป็นบริการที่ทำให้เกิดรายได้ ตลอดจนมีความร่วมมือระหว่างคณะ สถาบันการศึกษา ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ร่วมกันให้บริการบริการวิชาการ และ มีการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการ ที่นำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ของผู้เรียน ชุมชน หรือสังคม ประเทศชาติ
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพบริการวิชาการแก่สังคม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
- คณะมีการนำนโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของสถาบัน มากำหนดชุมชนหรือองค์กรเป้าหมาย ตามจุดเน้นและประเภทของคณะ และใช้ในการจัดทำแผนการบริการวิชาการประจำปี ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย ทั้งแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบทั่วไป และแผนการให้บริการวิชาการแบบเฉพาะเจาะจง ที่เป็นการบริการแบบให้เปล่า หรือแบบไม่หวังผลกำไร และ/หรือการให้บริการแบบมีรายได้ ตลอดจนมีแผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ที่พิจารณาจากรายได้ หรือการสร้างคุณค่าที่ไม่เน้นรายได้ ของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ตามจุดเน้นและประเภทของคณะ
- คณะมีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ที่มุ่งเน้นการบรรลุผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของคณะ
- คณาจารย์ในคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของคณะ ตลอดจนมีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม และเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคม
- คณะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะ และหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคมให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ตามจุดเน้นและประเภทของคณะ เช่น การพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง คุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี เป็นต้น
- คณะมีการกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการประเมินผลการบริการกับผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง มีการประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและตัวบ่งชี้ของแผนการบริการวิชาการ และมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการให้ดีขึ้น
- ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่รับบริการวิชาการจากคณะ สามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนา หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบเชิงบวก ในการพัฒนาของผู้เรียน ชุมชน หรือสังคมอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ
1 ข้อ |
มีการดำเนินการ
2 ข้อ |
มีการดำเนินการ
3-4 ข้อ |
มีการดำเนินการ
5 ข้อ |
มีการดำเนินการ
6 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
ในด้านการบริการทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ ได้จำแนกระดับบริการทางวิชาการกับเป้าหมายสำคัญ จำแนกเป็น 4 ระดับ คือ ชุมชนที่ตั้งของวิทยาลัย(อำเภอองครักษ์) ท้องถิ่นหรือจังหวัดที่ตั้งของวิทยาลัยหรือรัศมีใกล้เคียง(จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และปทุมธานี) ภูมิภาค(ภาคตะวันออก) และสังคมทั่วไปของประเทศไทยหรือวงวิชาการทั่วไป โดยได้ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ(Mission Analysis) (2) วิเคราะห์สภาพบริการทางวิชาการที่ผ่านมาและ สภาพปัจจุบัน-ปัญหา(Taking Stock) (3) การกำหนดเป้าหมาย(Setting Goal) (4) การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies) (5) ดำเนินการตามแผน(Implementing) และ (6) ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress) ในการดำเนินงานตามแนวทางนี้ คณะได้ดำเนินการอย่างเป็นรุปธรรม ดังนี้
1. กำหนดนโยบายในการให้บริการทางวิชาการ ครอบคลุม 2 ลักษณะ คือ (1)บริการทางวิชาการแบบทั่วไปตามความต้องการของสังคม ชุมชน ทั่วไป และชุมชนทางการศึกษา และ (2) บริการทางวิชาการแบบเฉพาะ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สังคมการศึกษาควรได้รับการพัฒนาเป็นการเฉพาะ อีกทั้งเน้นสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับคณาจารย์และเน้นการส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตหนังสือ ตำราหรือเอกสารวิชาการ สำหรับบริการชุมชน สังคม โดยเฉพาะสำหรับสังคมการศึกษา มากขึ้น โดยในการนี้ คณะได้จัดทำโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ประกาศหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะที่พร้อมให้บริการไว้ในเว็บไซต์ของคณะ และจัดทำโครงการบริการทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา
2. คณะได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบทั่วไป เช่น (1) ไปร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน ร่วมกับวิทยาลัย (2) ร่วมประชุมกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอองครักษ์ เป็นระยะ ๆ เพื่อเสนอแนวคิดในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีและในปีต่อๆไป (3) ให้การนิเทศครูประจำการตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว(เป็นครูที่บรรจุในปี 2562-2563) ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจาก สป.อว. (4) ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง 9 โรง คือ โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน และโรงเรียนวัดราฎร์ศรัทธาธรรม โรงเรียนบ้านคลอง 22(อาบเอิบจิตรอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านปลายคลอง 22 โรงเรียนบ้านคลอง 24 โรงเรียนองครักษ์ โรงเรียนนวมราชานุสรณ์
3. ในการให้บริการทางวิชาการ คณาจารย์ในคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของคณะ เช่นไปร่วมเป็นอาจารย์นิเทศและเป็นวิทยากร ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง และมีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร ด้วยการให้นักศึกษา ปี 3-4 เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการโดยคณะ และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาภายใต้การสนับสนุนของคณะ อีกทั้งมีการวิจัยประเมินผลโครงการ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน มีประสบการณ์ในการเรียนรู้หรือถอดบทเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริการทางวิชาการแก่สังคมในอนาคตตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นโครงการที่เน้นในเรื่อง การสร้างเด็กให้เป็นนักอ่านและเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ (5) โครงการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สำหรับน้อง ที่โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม(บริหารจัดการโดยคณะนักศึกษาปี 3-4 ภายใต้การอนุมัติและสนับสนุนของวิทยาลัย) (6) การเป็นวิทยากรด้านการพัฒนาคุรภาพการศึกษาให้กับ เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษา 5-6 ครั้ง (6) การไปร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาระบบการทดสอบและประเมินเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้กับคุรุสภา (7) การเป็นกรรมการและประธานกรรมการพัฒนาระบบประกับคุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับ สมศ. เป็นต้น
4. คณะได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานภายนอก เช่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช(คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช) สถาบันการศึกษาในเครือข่ายประกันคุณภาพของวิทยาลัย เครือข่ายคุณภาพการศึกษาภาคตะวันออกที่มี ม.บูรพาเป็นแม่ข่าย สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สมศ. เครือข่ายโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 และเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว เป็นต้น ในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคมให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการชั้นใน ได้ร่วมมือกับโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนกลุ่มที่ 3 มี 7 โรงเรียน เพื่อร่วมในโครงการจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก เพื่อมุ่งพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ คุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี เป็นต้น
5. คณะได้มีการกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ทั้งกระบวนการออนไลน์และการปฏิสัมพันธ์ทางตรงในการประเมินผลการบริการกับผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง มีการประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและตัวบ่งชี้ของแผนการบริการวิชาการ ผลการประเมินส่วนหนึ่งได้เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการให้ดีขึ้น นำผลการประเมินไปใช้ในการนิเทศหรือพัฒนางานในปีถัดไป เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้ปรัขบายจาก 3 โรงเรียนในปี 2561 เป็น 7 โรงเรียนในปี 2562-63 และ 12 โรงเรียน ในปี 2563-2564 เป็นต้น
6. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่รับบริการวิชาการจากคณะ สามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนา หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้พัฒนาโรงเรียนขึ้นสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ-โรงเรียนสีเขียว ในปัจจุบัน หรือ จากการที่คณะได้ส่งบุคลากรไปเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานในการพัฒนาระบบประเมินเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของคุรุสภา ได้ปรากฏผลงานที่เป็นรูปธรรมในการทดสอบและประเมินที่จัดขึ้นในต้นปี 2564 อีกทั้งการไปทำหน้าที่กรรมการพัฒนระบบประเมินภายนอกมาระยะหนึ่ง ในปัจจุบัน คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการอีกตำแหน่งหนึ่ง และทำหน้าที่ประธานคณะกรรมส่งเสริมการนำผลการประเมินไปใช้ ของ สมศ. ในปี 2564 ซึ่งขณะนี้ ได้ออกแบบการส่งเสริมที่เป็นรูปธธรรรม
ในส่วนของการบริการทางวิชาการที่เอื้อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีบทบาทร่วม พบว่า นักศึกษาปี 3-4 ที่ออกบริการทางวิชาการมีทักษะในการสอนดีขึ้น และมีจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะที่เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น(ดูจากพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมจิตสาธารณะและในขั้นของการออกฝึกประสบกาณณืวิชาชีพในขณะเรียนชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2563)
รายการหลักฐาน
3.1.1 แผนปฏิบัติการ โครงการ ED06 ED07 ED08 ED09 | |
3.1.2 โครงการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง งปม.2563 | |
3.1.3 โครงการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก 2564 | |
3.1.4 รายงานผลโครงการสอนภาษาอังกฤษสำหรับน้อง ร.ร.วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม | |
3.1.5 ตัวอย่างผลงานการไปทำหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก | |
3.1.6 ตัวอย่างหลักสูตร Non-Degree | |
3.1.7 ตัวอย่างการพัฒนา Lecturer E-Portfolio |
ผลการประเมินตนเอง |
เท่ากับ 5 คะแนน |
