ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์กร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1              การบริหารองค์การของคณะ

ชนิดของตัวบ่งชี้          กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          คณะต้องบริหารองค์การให้เป็นไปตามพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา คือ การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการดำเนินการตามพันธกิจหลัก คณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมายของคณะและสถาบัน มีการดำเนินการตามแผน ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ ของคณะ ที่การบริหารจัดการบุคลากรและทรัพยากรการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฏกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา  สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ ผลลัพธ์ตามพันธกิจ ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร  และผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ

ผลการดำเนินการของคณะ ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารองค์การ พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

เกณฑ์มาตรฐาน

  1. คณะมีแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของคณะ และสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย ของสถาบัน เพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ ตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ ตลอดจน มีการประเมินความสำเร็จของแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี มีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผนต่อคณะกรรมการระดับสถาบัน และมีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ไปใช้ในการกำหนดแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ในปีต่อไป
  2. คณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับคณะ ในสถาบันอื่นๆที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกัน และใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ในการบริหารองค์การ เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์การดำเนินการผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก สร้างความเป็นเลิศในการบริหารงานตามพันธกิจ และสร้างโอกาสในการแข่งขัน
  3. คณะมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีการจัดสรรบุคลากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ มีผลลัพธ์การดำเนินการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  4. คณะมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินการของคณะให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ 1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ 3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ อย่างต่อเนื่อง
  5. คณะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินการ มีการจัดระบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูล หรือจัดการความรู้ที่เหมาะสม และมีการใช้ข้อมูล หรือผลที่ได้จากการจัดการความรู้ หรือผลที่จากแนวปฏิบัติที่ดีจากการดำเนินการต่างๆ ของคณะ มาใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  6. คณะมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากร สร้างความผูกพันต่อองค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด
  7. คณะมีการวัด วิเคราะห์ผลลัพธ์ และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อค้นหาความต้องการใหม่ รวมถึงค้นหาโอกาสในการพัฒนา หลักสูตร การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนนำผลที่ได้รับไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของคณะ เพื่อจัดการให้มีความเสี่ยงในการดำเนินการลดลง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2-3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4-5 ข้อ

มีการดำเนินการ

6 ข้อ

มีการดำเนินการ

7 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

ประเด็นการพัฒนา การดำเนินการและผลงาน
5.1.1 การพัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน-ปัญหาและความต้องการจำเป็นฯและการมีระบบ-กลไกในการพัฒนางาน ในการบริหารจัดการ คณะศึกษาศาสตร์ได้ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ด้วยกระบวนการบริหารจัดการแบบ  5 ขั้นตอน คือ
1. วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ(Mission Analysis) : ครอบคลุมในเรื่องการตรวจสอบการทำงานตามพันธกิจหลัก 4 ประการ และงานบริหารจัดการตามที่ได้รับมอบหมายจากวิทยาลัย 

2. วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา(Taking Stock):    เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถาบันและของคณะรวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ หรือระดับสถาบัน

3. การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ(Setting Goal) : เป็นการกำหนดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมายสำคัญๆ ในรอบปีถัดไป ในปัจจุบัน ยึดเกณฑ์คะแนนประกันคุณภาพภายใน โดยกำหนดค่าเป้าหมายคะแนนผลการประเมินเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนที่ยังสามารถพัฒนาได้

4. 3ารกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies) : ได้ทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี ปัจจุบัน คือแผนปี 2563-2565 ที่มีการทบทวนแผนทุกปี ก่อนที่จะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี   โดยแผนปฏิบัติการประจำปีจะต้องรองรับหรือสอดคล้องปัญหา-ความต้องการจำเป็น  ผลการประเมินคุณภาพในปีการศึกษาที่ผ่านมา และมุ่งแก้ปัญหาหรือมุ่งป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ(มีโครงการ ED12: การบริหารจัดการความเสี่ยง)
แผนยุทะศาสตร์และแผนปฏิบัติการคณะศึกษาศาสตร์ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ตามกรอบแนวคิด The Balanced Score Card(BSC) ที่ยึดมิติ Customer เป็นสำคัญ พร้อมทั้งมียุทธศาสตร์ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และการเตรียมบุคลากรให้มีศักยภาพสูง
 
5.ดำเนินการตามแผน(Implementing) : ในขั้นตอนนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำปฏิทินการกำกับติดตามงาน  การรายงานความก้าวหน้า หรือการสัมมนาประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างโปรแกรมวิชา  ระหว่างคณาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่น ตามแนวคิดและหลักการ Professional Learning Community(PLC)  ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ ไอ ซี ที เพื่อการกำกับติดตาม(E-Monitoring) และ

6.ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress): เน้นการรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนการทำงานหรือผลงาน  การจัดทำฐานข้อมูล หรือแฟ้มสะสมงานในระดับรายบุคคลของคณาจารย์ ระดับหลักสูตร และระดับคณะ    
เมื่อจบการประเมินระยะสำคัญสำคัญๆ ก็จะนำผลการประเมินหรือข้อเสนอแนะ จัดทำ Improvement Plan ซึ่งอาจจะทำการเพิ่มเติมโครงการหรือกิจกรรมระหว่างปี ในแผนปฏิบัติการประจำปี หรือรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ในปีการศึกษาถัดไป
5.1.2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน คณะศึกษาศาสตร์ได้ร่วมกับวิทยาลัยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร โดยคณะได้รับข้อมูลทางการเงินจากฝ่ายการเงินของวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2562 แล้ววิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตของทุกหลักสูตรในคณะ พบว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารหลักสูตรโดยรวมของคณะเมื่อเทียบกับรายได้มีความคุ้มค่า ในบางหลักสูตรที่มีนักศึกษาน้อย อาจเป็นการลงทุนที่สูง แต่เมื่อพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดกับสังคมวิชาการ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก็ถือว่ามีความคุ้มค่า(แม้จะต้องพึ่งพิงภาระด้านการเงิน) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเทียบเคียงกับบางหลักสูตรที่มีนักศึกษาจำนวนมาก และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการจัดการศึกษาและมีโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันการผลิตครูแห่งอื่น
5.1.3 การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีการจัดสรรปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ การจัดทำแผนการพัฒนา ที่มีการระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นรูปธรรม ที่ผ่านการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมและมีการประชาพิจารณ์ให้รับทราบตรงกัน ถือเป็นการถ่ายทอดความเข้าใจหรือการสื่อสารที่ดี  อีกทั้งได้ระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ไว้ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี และนำเสนอไว้ในเว็บไซต์ของคณะ ก็เป็นช่องทางเลือกในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี   

ในส่วนของการจัดปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ได้จัดให้มีคณะกรรมการคณะ  คณะทำงาน รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายต่างๆ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่เป็นที่รับทราบตรงกัน และจัดงบประมาณเพื่อการพัฒนางานไว้พร้อมในทุกพันธกิจ ตามโครงการ 16 โครงการ ส่งผลให้การทำงานมีความสะดวกและเป็นไปได้อย่างราบรื่น
5.1.4 การกำกับ ติดตาม การดำเนินการของคณะให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ คณะได้กำกับ ติดตาม การดำเนินการของคณะ โดยมีปฏิทินการกำกับติดตาม และใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การรายงาน การประชุม-สัมมนา  การประชุมออนไลน์ การจัดห้องนิเทศงานในระบบออนไลน์ เป็นต้น  เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา(มาตรฐานการศึกษาชาติ) มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งก่อให้เกิดผลดี คือ (1) เกิดผลิตผลตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ และด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฏิบัติการหรือกระบวนการบริหารจัดการ-มีความราบรื่น คล่องตัว เกิดปัญหาน้อยที่สุด   (3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ให้มีศักยภาพสูง มีจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา และ (4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ อย่างต่อเนื่อง ที่สะท้อนให้เห็นได้จากคะแนนผลการประเมินเมื่อเทียบระหว่างปี และการเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ 
  
การกำกับติดตามงานในทุกกรณี จะเน้นการรับทราบปัญหา การร่วมนิเทศและแก้ปัญหา และการถอดบทเรียนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี(Good Practices) เพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อๆ ไปหรือเพื่อเผยแพร่ต่อวงวิชาการ
5.1.5 การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินการ และมีการจัดระบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูล หรือจัดการความรู้ที่เหมาะสม และมีการใช้ข้อมูล หรือผลที่ได้จากการจัดการความรู้ หรือผลที่จากแนวปฏิบัติที่ดีจากการดำเนินการต่างๆ ของคณะ มาใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะได้ให้ความสำคัญกับการปรับระบบงานให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติ(Automatic Office) ใช้ระบบไอซีทีเพื่อการบริหารจัดการ ทั้งเพื่อการกำกับติดตามงาน ประชุมปรึกษาหารืองานหรือเพื่อการนิเทศงานรวมถึงการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา  ในปี 2562-2564 ได้จัดตั้งกลุ่ม facebook Group และ Line Group เพื่อการสื่อสาร ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์กับนักศึกษา  กลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษา  กลุ่มทีมบริหาร ฯลฯเพื่อความรวดเร็วในการบริหารจัดการ 
ในการกำกับติดตามงาน การรวบรวมข้อมูล-ความคิดเห็นต่าง ๆ  การใช้ระบบออนไลน์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นทางเลือกสำคัญในระบบจัดการความรู้(KM)(มีโครงการ ED11: โครงการจัดการความรู้)ที่ใช้ควบคู่กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบห้องเรียนหรือห้องสัมมนาปกติ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราสามารถรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีในหลายๆเรื่อง ยังเป็นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่สำคัญถือเป็นลักษณะหนึ่งของการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลของคณะ และถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.1.6การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากร สร้างความผูกพันต่อองค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด    คณะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ที่มีการจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน ( โครงการ ED13 โครงการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการบริหารจัดการงานตามพันธกิจ) กิจกรรมพัฒนาคณาจารย์เริ่มดำเนินการตั้งแต่แรกรับเข้าประจำหลักสูตร  การเสริมความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนหรือการทำงานตามพันธกิจในวันประชุมต้นปี  หรือ การอบรม-สัมมนาในเรื่อง การวัดผล-ประเมินผล หรือการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ในระหว่างปี รวมถึง การนิเทศงานแบบร่วมคิด-ร่วมทำในขณะปฏิบัติงาน(On-the Job Training)ซึ่งได้ใช้ทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
  
ในช่วงเกิดปัญหา COVID-19  ตั้งแต่ปลายปี 2562และตลอดปี 2563 วิทยาลัยและคณะได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ทำงานจากบ้าน(Work From Home) เป็นระยะ ๆ โดยให้เสนอแผนการปฏิบัติงาน และรายงานการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ    บุคลากรของคณะมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระบบออนไลน์ ที่ทุกคนมีโอกาสนำเสนอปัญหาและขอรับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี(Good Practices/Best Practices) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ หลายลักษณะ เพื่อเพื่อนร่วมงานจะได้มีโอกาสนำไปประยุกต์ใช้
5.1.7 การวัด วิเคราะห์ผลลัพธ์ และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อค้นหาความต้องการใหม่ รวมถึงค้นหาโอกาสในการพัฒนา หลักสูตร การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนนำผลที่ได้รับไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของคณะ เพื่อจัดการให้มีความเสี่ยงในการดำเนินการลดลง คณะให้ความสำคัญกับการวัด วิเคราะห์ผลลัพธ์ จากการดำเนินงาน เช่น การรายงานความก้าวหน้า การสัมมนาประเมินผล หรือการสัมมนาเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งคณะจะรวบรวมและนำเสนอไว้ใน Line Group ของคณาจารย์เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกัน หรือนำไปประยุกต์ใช้  รวมทั้งเมื่อทำงานไประยะหนึ่ง เช่น ครี่งปีการศึกษา หรือ จบปี ก็จะมีการวิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินงาน ทั้งการายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และรายงานการดำเนินงานโครงการพิเศษ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สป.อว.หรือองค์กรอื่น 
 
ในส่วนของการผลิตบัณฑิต จะมีการติดตามเพื่อตรวจสอบสมรรถนะบัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิต ทุกรุ่น เมื่อทำงานแล้ว 1 ปี เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการประเมินสมรรถนะผู้เรียนกลุ่มที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพ ก็จะถูกประเมิน เช่นกัน   ผลการประเมิน ทุกรายการ จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของงานตามพันธกิจ(Taking Stock) และเตรียมการสำหรับการจัดทำแผนปรับปรุง-พัฒนางานในระยะต่อไป(Improvement Plan) หรือเตรียมการสำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี  ในส่วนของแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและผลิตงานสร้างสรรค์  การบริการทางวิชาการ หรือการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทย จะเก็บเป็นบทเรียน นำไปใช้ในปีถัดไป   

ในส่วนของผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญ ๆ เช่น การออกกลางคันของนักศึกษา การรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คณะได้นำผลไปวางแผนแก้ปัญหา จนปัจจุบันเกิดแนวทางใหม่ๆ ในระบบดูแลนักศึกษา เช่น Family System for Advising  อีกทั้งได้เน้นการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ะอย่างไรก็ตาม ยังไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงเรื่องจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี และการกำกับคุณภาพให้ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาในเวลาปกติ ของหลักสูตรระดับปริญญาโท

รายการหลักฐาน

5.11 ประกาศ การมอบหมายงานบริหาร ปี 2563
5.1.2 แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี 2563operation Plan
5.1.3 ตัวอย่าง การกำหนดค่าเล่าเรียนในหลักสูตร
5.1.4 เว็บไซต์เพื่อการบริหารจัดการของคณะ
5.1.5 ตัวอย่างปฏิทินการกำกับติดตามงาน
5.1.6-5.1.7 ตัวอย่างการรายงานผลการการดำเนินงานตามแผน
ผลการประเมินตนเอง
เท่ากับ 4 คะแนน