ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2              การบริหารคุณภาพการศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้          กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          คณะมีหน้าที่พัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติ ที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาและการดำเนินการตามพันธกิจ เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ด้วยการกำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งในระดับหลักสูตร และในภาพรวมของคณะ ที่สามารถสะท้อนการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินการของคณะ ที่สามารถสะท้อนผลการบริหารคุณภาพการศึกษา พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

เกณฑ์มาตรฐาน

  1. คณะมีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการประจำคณะทุกภาคการศึกษา
  2. คณะมีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานบรรลุตามพันธกิจการดำเนินงานของหลักสูตร ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามระยะเวลาที่กำหนด
  3. มีการนำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะ ตลอดจน รายงานการประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
  4. มีการนำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะ และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะ มาปรับปรุงหลักสูตร และ/หรือ คณะ ให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  5. มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านมาตรฐานด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผลการบริหารคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านเกณฑ์สภาวิชาชีพ (ถ้ามี)

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2 ข้อ

มีการดำเนินการ

3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4 ข้อ

มีการดำเนินการ

5 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

ประเด็น/เกณฑ์การประเมิน   การดำเนินการและผลงาน
5.2.1 คณะมีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการประจำคณะทุกภาคการศึกษา







คณะศึกษาศาสตร์มีระบบและกลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร โดยในระดับปริญญาตรีให้หลักสูตรทำ มคอ.2 ตามกรอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(มคอ.1)   และเกณฑ์มาตรฐานด้านความรู้ และทักษะขององค์กรวิชาชีพ (คุรุสภา)  หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตและหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ สกอ.และของคุรุสภา มีคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการดำเนินการของหลักสูตร มีการกำหนดให้ทุกหลักสูตรของคณะต้องจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.4 ก่อนการเรียนการสอน และต้องทำ มคอ.5 และมคอ.6 หลังสิ้นสุดภาคการศึกษา นอกจากนั้นทุกหลักสูตรต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร (มคอ.7) ส่งมายังคณะภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 2 ของแต่ละปีการศึกษา 
การกำกับคุณภาพอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการบริหารคณะ โดยมีรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และผู้ช่วยคณบดีงานประกันคุณภาพและหัวหน้าภาควิชาเป็นผู้กำกับติดตามและรายงานผลต่อคณบดี เป็นระยะ ๆ ตามปฏิทินวิชาการ
มีคณะกรรมการทวนสอบผลการจัดการเรียนการสอนทุกหลักสูตร ทุกรายวิชา โดยคณะกรรมการจะดำเนินการทวนสอบระดับหลักสูตร และรายงานผลมายังคณะเพื่อแจ้งที่ประชุมของคณะ เพื่อเป็นการกำกับติดตามการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตรให้เป็นไปตามระบบและเงื่อนไขเวลา
5.2.2 คณะมีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานบรรลุตามพันธกิจการดำเนินงานของหลักสูตร ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากการจัดให้มีองค์คณะบุคคลที่รับผิดชอบดังข้อ 1. คณะได้จัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร โดยมีการให้บริการคอมพิวเตอร์ internet ความเร็วสูง ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ผ่านระบบฐานข้อมูลออนไลน์ ทุกรายวิชา ทุกหลักสูตรสามารถใช้ระบบ MIS ในการกำกับ ติดตาม หรือประเมินผลการดำเนินงาน  มีระบบข้อมูลออนไลน์ สนับสนุนการเรียนรู้และการทดสอบ มีห้องเรียนและห้องปฏิบัติการในการเรียนรายวิชาที่มีความพร้อม เหมาะสม อีกทั้งมีห้องฝึกปฏิบัติการสอนที่มีสื่อและอุปกรณ์ครบถ้วน
คณะมีงบประมาณจัดสรรภายใต้โครงการ ED01  ED02  ED03 และ ED05 เพื่อรองรับการพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร
5.2.3 มีการนำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะ ตลอดจน รายงานการประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา หลังจากมีการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสถาบัน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้นำเสนอผลการประเมิน/รายงานและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อกรรมการประจำคณะ (เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม2564 มีการประชุมคณะกรรมการคณะเพื่อรับทราบผลการประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา) ซึ่งคณะกรรมการคณะและคณบดีได้มอบหมายให้ทุกหลักสูตร ทั้ง 6 หลักสูตร เตรียมการสำหรับการจัดทำ Improvement Plan และนัดหมายที่จะสัมมนาประเมินผลในภาพรวม หลังจากการประเมินระดับคณะแล้วเสร็จ(ภายใน 1 เดือน หลังจาก การประเมินระดับคณะ)
5.2.4 มีการนำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะ และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะ มาปรับปรุงหลักสูตร และ/หรือ คณะ ให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  



เป็นเงื่อนไขปกติของคณะกรรมการบริหารคณะที่ทุกหลักสูตร และคณะ จะต้องนำผลการประเมินของปีที่ผ่านมา มาจัดทำ Improvement Plan ที่มีการสัมมนาเสนอแผนต่อที่ประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณา อีกทั้ง ในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี จะมีการทบทวนข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะจากการประเมินปีที่ผ่านมา เพื่อมากำหนดกิจกรรมไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมให้กำหนดค่าเป้าหมายของปีถัดไปให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนการพัฒนาที่เหลือ
    ในการเขียนรายงานการประเมิน ในรอบปีถัดไป ได้เน้นย้ำและถือเป็นมาตรการในการปฏิบัติที่ทุกหลักสูตร หรือคณะ จะต้องระบุข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะของกรรมการในปีที่ผ่านมา ก่อนการนำเสนอว่าในปีหลัง ได้ปรับปรุงพัฒนาหรือดำเนินการอย่างไรบ้าง  เป็นลักษณะของการใช้ข้อมูลในปีก่อน เป็น baseline ในการพัฒนาปีถัดไป
5.2.5 มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านมาตรฐานด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และผลการบริหารคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านเกณฑ์สภาวิชาชีพ (ถ้ามี) ผลการประเมินด้านการกำกับหลักสูตร ผ่านมาตรฐานด้านการกำกับมาตรฐาน ร้อยละ 10 ของหลักสูตร มาอย่างต่อเนื่อง 3 ปีการศึกษา(2561-2563) และผลการบริหารหลักสูตร ทุกหลักสูตร เป็นไปตามเงื่อนไขและได้รับการรับรองหลักสูตรและผู้สำเร็จการศึกษาจากครุสภา ทุกรายการหลักสูตร และบัณฑิตทุกคน


รายการหลักฐาน

5.2.1 มีองค์คณะบุคคลรับผิดชอบหลักสูตร
5.2.2 มีการจัดสรรทรัพยากรหนุน มีแผนงาน โครงการรองรับ
5.2.3 มีการรับทราบรายงานการประเมิน/ผลประเมินหลักสูตร หรือคณะ
5.2.4 มีการปรับปรุง พัฒนา มีแผนปรับปรุง หรือมีโครงการพัฒนาครอบคลุมประเด็นที่ต้องปรับปรุง
5.2.5 รายงานการประเมินระดับหลักสูตร
ผลการประเมินตนเอง
เท่ากับ 5 คะแนน