ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4             ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้                   ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้องบริหารจัดการหลักสูตร พัฒนาคณาจารย์ จัดบริการและกิจกรรมนักศึกษาต่างๆ อย่างเหมาะสมและครบถ้วน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาผู้เรียนที่สำคัญคือ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  ที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21

ผลการดำเนินการของแต่ละคณะวิชาในสถาบัน สามารถสะท้อนคุณภาพของบัณฑิต ในหลักสูตรที่แต่ละคณะวิชารับผิดชอบ โดยพิจารณาจากผลการประเมินตนเองของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญของผู้เรียน และผลการประเมินตนเองในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

เกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ที่  1.4

ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวบ่งชี้ย่อย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย คือตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน คิดเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5

รายละเอียดในแต่ละตัวบ่งชี้ย่อย มีดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.1          ผลการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญของผู้เรียน

คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้อง ผลิตบัณฑิตให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้  เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การพัฒนาผู้เรียนที่สำคัญคือ การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งดังนั้น นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาจึงควรมีโอกาสการประเมินความก้าวหน้าของตน ในการพัฒนาผลลัพธ์ผู้เรียนตามที่มาตรฐานการอุดมศึกษากำหนด

เกณฑ์การประเมิน

ค่าเฉลี่ยผลการประเมินตนเองของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

ผลการดำเนินงาน

ในรอบปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาประเมินตนเอง ในการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  โดยมีผลการประเมินคุณลักษณะในภาพรวม เท่ากับ 4.15 (ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิต) ผลการประเมินในรายผลลัพธ์ จำแนกเป็นรายคณะ มีดังนี้

คณะผู้รอบรู้ผู้ร่วมสร้างสรรค์พลเมืองเข้มแข็งเฉลี่ย
บริหารธุรกิจ4.084.014.184.09
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์4.014.064.184.08
ศึกษาศาสตร์4.144.164.274.19
สาธารณสุขศาสตร์3.933.964.073.99
พยาบาลศาสตร์4.174.174.404.25
เฉลี่ยทุกคณะวิชา4.104.084.264.15

การบรรลุเป้าหมาย

        บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย 4.15

การประเมินตนเอง

เป้าหมายผลการดำเนินงานคะแนนที่ประเมินตนเอง
นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.50คะแนนการประเมินในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 4.15

รายการหลักฐานอ้างอิง

1.4.1.1ผลการประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียนของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ปีการศึกษา 2563

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.2          ผลการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้อง ผลิตบัณฑิตให้มีความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ  ดังนั้น นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาจึงควรมีโอกาสการประเมินความก้าวหน้าของตน ในการพัฒนาผลลัพธ์ความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21

เกณฑ์การประเมิน

          ค่าเฉลี่ยผลการประเมินตนเองของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในการพัฒนาผลลัพธ์ความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ

ผลการดำเนินงาน

        ในรอบปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษาประเมินตนเอง ในการพัฒนาผลลัพธ์ความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 และผลการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย 4.01 (ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิต) ดังนั้นค่าเฉลี่ยของการพัฒนาผลลัพธ์ความก้าวหน้าในทักษะศตวรรษที่ 21 จึงเป็น (4.16+4.01)/2 เท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย 4.08  โดยรายละเอียดผลการประเมินในรายผลลัพธ์จำแนกเป็นรายคณะ มีดังนี้

คณะทักษะการเรียนรู้ความสามารถภาษาอังกฤษเฉลี่ย
บริหารธุรกิจ4.114.024.06
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์4.124.124.12
ศึกษาศาสตร์4.183.924.05
สาธารณสุขศาสตร์4.023.653.83
พยาบาลศาสตร์4.234.064.15
รวม4.164.014.08

การบรรลุเป้าหมาย

        บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย 4.08

การประเมินตนเอง

เป้าหมายผลการดำเนินงานคะแนนที่ประเมินตนเอง
นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ย มากกว่า 2.50คะแนนการประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.084.08

รายการหลักฐานอ้างอิง

1.4.2.1ผลการประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ปีการศึกษา 2563

เกณฑ์การระเมินตัวบ่งชี้ที่ 1.4

         ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวบ่งชี้ย่อย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย คือตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน คิดเป็นคะแนนระหว่าง 0-5

ผลการดำเนินการตัวบ่งชี้ที่ 1.4

          ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยดำเนินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน ได้ผลดังนี้

          1.4.1 คะแนนประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.15 และ

          1.4.2 คะแนนประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08

          ดังนั้น ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินตัวบ่งชี้ 1.4 คือ (4.15+4.08)/2 เท่ากับ 4.12

การบรรลุเป้าหมายตัวบ่งชี้ที่ 1.4

          บรรลุเป้าหมาย เนื่่องจากวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายว่า  ผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินมากกว่า 2.50 และผลการประเมินผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย 4.12 

การประเมินตนเอง

การประเมินผลลัพธ์การพัฒนานักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย 4.12

เป้าหมายผลการดำเนินงานคะแนนที่ประเมินตนเอง
ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และคะแนนประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน มากกว่า 2.50ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน และคะแนนประเมินการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน เท่ากับ 4.124.12

ข้อสรุปโดยรวมมาตรฐานที่ 1

จุดแข็ง

  1. มีอาจารย์ต่างชาติ ที่หลากหลาย สามารถพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 และทักษะภาษาอังกฤษ ตลอดจนผลลัพธ์ผู้เรียนของนักศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ ตามอัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ที่วิทยาลัยกำหนด
  2. วิทยาลัยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอาจารย์ ในด้านอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ คุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย
  3. มีการปรับรูปแบบการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการวางแผน ให้เป็นแบบบูรณาการ ออนไลน์-ออนไซด์ ตลอดจน กิจกรรมการพัฒนานักศึกษามีการบูรณาการ กับหลักการของการประกันคุณภาพ

จุดที่ควรพัฒนา

  1. อาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัย มีจำนวนน้อย ควรมีการปรับปรุงแผนการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

  1. ควรกำหนดมาตรการในการต่อสัญญาจ้าง โดยระบุระยะเวลาในการพัฒนาผลงานทางวิชาการ และระยะเวลาในการยื่นเสนอเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเอกสารแนบการต่อสัญญาจ้าง
  2. ร่วมมือกับเครือข่ายในการร่วมกันพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการของอาจารย์ต่างชาติ