ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1             การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม

ชนิดของตัวบ่งชี้                   กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วนเพื่อให้สามารถมีผลงานวิจัยที่เป็นการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบัน มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการจำเป็นของสังคม หรือ ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประเทศ ผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมมีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือการสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ

ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพระบบการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

เกณฑ์มาตรฐาน

1. มีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้เกิดผลงานการวิจัยตามนโยบายและทิศทางของสถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือบริบทของสถาบัน หรือ ความต้องการจำเป็นของสังคม ชุมชน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน

2. มีระบบสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น ห้องปฎิบัติการวิจัยหรือหน่วยวิจัยหรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัย สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย

3. มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันในการพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ และบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นทุนวิจัยและงานสร้างสรรค์ และเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

4. มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน หรือผลงานบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนและพันธกิจอื่นๆเพื่อสร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียน

5. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม กับสถาบัน หรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกัน

6. มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาสังคม

7. มีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบัน ที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือ การสร้างคุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน5

มีการดำเนินการ

1 ข้อ

มีการดำเนินการ

2-3 ข้อ

มีการดำเนินการ

4-5 ข้อ

มีการดำเนินการ

6 ข้อ

มีการดำเนินการ

7 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

     ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มีผลการดำเนินการ 7 ข้อ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่ได้กำหนดไว้ คือ
     1. วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มีระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัย สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการวิจัยของวิทยาลัย
          วิทยาลัยฯ กำหนดระบบและกลไกการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม(2.1.1.1) มีการดำเนินการการวิจัยตามนโยบายและทิศทางการวิจัยของวิทยาลัยฯ (2.1.1.2) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัดนครนายก ทำให้เกิดผลงานการวิจัย ที่ตอบสนองทั้งบริบทสถาบัน ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และตอบสนองยุทธศาสตร์ นครนายกเมืองน่าอยู่ เป็นไปตาม ความต้องการจำเป็นของสังคม ชุมชน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของวิทยาลัย (2.1.1.3)
     2. วิทยาลัยฯ มีระบบสารสนเทศและสิ่งสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางสังคม ที่ตอบสนองบริบทสถาบัน ยุทธศาสตร์ชาติ และตอบสนอง ความต้องการจำเป็นของสังคม ดังนี้
         วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซามีระบบสารสนเทศเพื่อบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ บุคลากรทุกคณะและหน่วยงานของวิทยาลัยสามารถใช้ฐานข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและวางแผนการดำเนินงานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ โดยระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยสามารถเข้าได้ที่ mis.stic.ac.th (2.1.2.1) ห้องปฏิบัติการวิจัยหรือศูนย์เครื่องมือกรณีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้ห้องปฏิบัติการต่างๆของคณะวิชาในการวิจัย เช่นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการทางอาชีวอนามัย เป็นต้น (2.1.2.2) มีคณะกรรมการวิจัยเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัย โดยมีคณะกรรมการวิจัยหรือผู้ได้รับมอบหมาย ให้คำปรึกษาได้ตลอดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ (2.1.2.3)
         ศูนย์วิทยบริการ เป็นแหล่งสารสนเทศในการสืบค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนงานวิจัย (2.1.2.4) โดยมีฐานข้อมูลสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ได้แก่ ตำรา วารสาร และมีการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นงานวิจัยในฐานข้อมูลที่ เชื่อมโยงเว็บไซต์ห้องสมุดกับเว็บไซต์เพื่อการสืบค้นงานวิจัยของหน่วยงานภายนอกอีกด้วย (2.1.2.5) มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย โดยจัดหาคอมพิวเตอร์ให้แก่อาจารย์เพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตผลงานวิจัย บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จุดเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย และมีระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ของกลุ่มงานในการเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยของวิทยาลัยโดยกำหนดรหัสผู้ใช้งานในการเข้าสู่ระบบ (2.1.2.6)
          กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมเสริมงานวิจัย มีการจัดทำวารสารวิชาการของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ชื่อ St Theresa International of Humanities and Social Sciences ที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI กลุ่ม 2 ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2.1.2.7) และจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยให้อาจารย์ทุกคณะ นำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ (2.1.2.8)
          วิทยาลัยฯ ได้อนุมัติทุนวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคตะวันออกของไทย(Research Mentoring System Development for Faculty Members in Thailand Eastern Region Higher Education Institutions) โดยคณะผู้วิจัย พงศ์เทพ จิระโร อุบล ธนเนศชัยคุปต์ อรรณพ โพธิสุข ในปีการศึกษา 2563 มีการทดลองใช้ระบบกับคณาจารย์ในวิทยาลัย นำไปสู่การผลิตผลงานวิจัยที่เพิ่มขึ้น (2.1.2.9) อาจารย์ผู้สอนได้ผลิตสื่อช่วยสอนเป็นคลิปบรรยายความรู้ชุดกระบวนการทำวิจัยจำนวน 17 คลิปแขวนไว้ใน facebook มีคำอธิบายการทำการวิจัย ตั้งแต่เริ่มกำหนดปัญหาวิจัย จนถึง แนวทางการเขียนบทความวิจัยเพื่อส่งนำเสนอ หรือเผยแพร่ตีพิมพ์ลงวารสาร คณาจารย์และนักศึกษาสามารถศึกษาได้ตลอดเวลาที่ต้องการใช้ความรู้เสริมจากช่องทางปกติ(2.1.2.10)
      3. วิทยาลัยฯ มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย และจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความวิจัยหรือผลงานวิชาการในวารสารต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้การจัดหาแหล่งทุนวิจัยภายนอกให้กับคณาจารย์ ในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
         วิทยาลัยได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้แก่คณาจารย์ทุกคณะและบุคลากร ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย โดยในปีงบประมาณ 2563 (2.1.3.1) วิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยให้ทุกคณะ เป็นเงินจำนวน 747,337 (2.1.3.2) และในการปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 4 เรื่อง เป็นเงินจำนวน 4,700,000 บาท (2.1.3.3)
         ในปีงบประมาณ 2563 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้มีนโยบายสนับสนุนนักวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ โดยวิทยาลัยได้มีนโยบาย การจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์วารสารดังกล่าวซึ่งอยู่ในอัตราเรื่องละ 200-300 เหรียญดอลลาห์สหรัฐ พร้อมมีค่าใช้จ่ายในการโอนค่าตีพิมพ์ไปยังสำนักพิมพ์อีกด้วย โดยในปีการศึกษา 2563 ทางวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท โดยมีนักวิจัยได้รับอนุมัติเงินค่าตีพิมพ์วารสาร เป็นจำนวนเงิน 157,992 บาท (2.1.3.4)
     4. วิทยาลัยฯมีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ที่ตอบสนองทั้งบริบทสถาบัน ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ และตอบสนองความต้องการจำเป็นของสังคม ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน ที่สร้างสมรรถนะการวิจัยแก่ผู้เรียน
         การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย โดยการจัดประชุม ให้ความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น โครงการอบรมการพัฒนาการเขียนผลงานวิชาการเป็นการจัดให้อาจารย์ผู้มีประสบการณ์การเขียนบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติมาบรรยายแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัยให้แก่อาจารย์รุ่นใหม่ (2.1.4.1) มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย (2.1.4.2) มีโครงการการจัดการความรู้ด้านการวิจัยของอาจารย์ (2.1.4.3) มีการจัดนักวิจัยพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ (2.1.4.4) มีการจัดทำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (2.1.4.5)
         การสร้างขวัญและกำลังใจ ตลลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัย โดยให้รางวัลกับอาจารย์และนักวิจัย ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น รางวัลผลงานในการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน และรางวัลผลงานบูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอนและพันธกิจอื่นๆ เพื่อสร้างสมรรถนะแก่ผู้เรียน ตามโครงการรางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปี 2563 (2.1.4.6)
     5. วิทยาลัยฯ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม กับสถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกัน
         การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ เช่นความร่วมมือด้านการพัฒนาการวิจัยร่วมกับเครือข่ายการวิจัยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนานาชาติ ในการทำวิจัยร่วมกัน เครือข่ายการวิจัยกับ มหาวิทยาลัยบูรพา ตัวอย่างงานวิจัยเครือข่ายเช่น การวิจัยกํากับติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของเครือข่ายทางการศึกษาที่รับเงินทุนอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของคุรุสภา : กรณีศึกษาภูมิภาคตะวันออก (2.1.5.1)
         การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยและนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน มีการสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างวิทยาลัย กับภาครัฐ คือ สำนักงานอำเภอองครักษ์ สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนองครักษ์ และภาคเอกชน คือ ศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนา สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จังหวัดนครนายก จัดทำผลงานวิจัยร่วมกัน มีการสร้างผลงานวิจัยหรือผลงานนวัตกรรมร่วมกันที่สำคัญ เช่น การวิจัยเรื่อง ความสามารถในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์กรณีศึกษา ปะพวน (The Phuan People) ปากพลี มิวเซียม จังหวัดนครนายก ประเทศไทย (2.1.5.2)
          นอกจากนี้ ยังเกิดโครงการวิจัยต่อยอดจากเครือข่ายการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอกระดับชาติเพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่วิทยาลัยตามตาราง ดังนี้

ที่

ชื่อเรื่อง

หน่วยงาน

งบประมาณ

ชื่อผู้วิจัย

สถานภาพ

การเผยแพร่

1

การวิจัยกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ของเครือข่ายที่รับเงินทุนอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ ของคุรุสภา ประจำปี ๒๕๖๒  : ภูมิภาคตะวันออก

คุรุสภา

110,800

ผศ.นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ  จิระโร

ดร.อาพันธ์ชนิด  เจนจิต

เสร็จแล้ว

วารสารศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา

2

การวิจัยประเมินศักยภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยบูรพาด้านผลการดำเนินงาน และ การบริหารจัดการหลักสูตร

ม.บูรพา

155,000

ผศ.นาวาตรี ดร.พงศ์เทพ  จิระโร  ผศ.ดร.ศจี  จิระโร

นายศิวาวุธ แสงนภากาศ

นางเจียรนัย จิระโร

เสร็จแล้ว

งดเผยแพร่

3

การวิจัยประเมินกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Ethics in Professional Learning Community : E-PLC)

คุรุสภา

124,410

รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  

รศ.ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์

ผศ.กุศลวัฒน์ คงประดิษฐ์ 

ดร.นงนุช สุวรรณรุจิ  

ดร.พนิดา คล้อสวัสดิ์  

ดร.อรรณพ โพธิสุข 

ผศ.นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร 

ระหว่างดำเนินการ

4

การวิจัยประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง :โครงการโรงเรียนต้นแบบจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก  จังหวัดนครนายก : โครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ วิทยาลัยนาชาติเซนต์เทเรซาปีงบประมาณ 2563

อว.

92,000

รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  

ผศ.ดร.วิเชียร พันธ์เครือบุตร

รศ.ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์

ผศ.กุศลวัฒน์ คงประดิษฐ์ 

ดร.นงนุช สุวรรณรุจิ  

ดร.พนิดา คล้อสวัสดิ์  

ดร.อรรณพ โพธิสุข 

ผศ.นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร

ระหว่างดำเนินการ

5

การวิจัยประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง :โครงการโรงเรียนต้นแบบจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก  จังหวัดนครนายก : โครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ วิทยาลัยนาชาติเซนต์เทเรซาปีงบประมาณ 2564

อว.

400,000

รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  

ผศ.ดร.วิเชียร พันธ์เครือบุตร

รศ.ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์

ผศ.กุศลวัฒน์ คงประดิษฐ์ 

ดร.นงนุช สุวรรณรุจิ  

ดร.พนิดา คล้อสวัสดิ์  

ดร.อรรณพ โพธิสุข 

ผศ.นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร

ระหว่างดำเนินการ

6

การวิจัยประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๖๓(รุ่น4) ของสถาบัน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

อว.

240,000

รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  

รศ.ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์

ผศ.กุศลวัฒน์ คงประดิษฐ์ 

ดร.นงนุช สุวรรณรุจิ  

ดร.พนิดา คล้อสวัสดิ์  

ดร.อรรณพ โพธิสุข 

ผศ.นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร

ระหว่างดำเนินการ

7

การวิจัยประเมินโครงการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๖๔(รุ่น5)  ของสถาบัน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

อว.

275,000

รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  

รศ.ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์

ผศ.กุศลวัฒน์ คงประดิษฐ์ 

ดร.นงนุช สุวรรณรุจิ  

ดร.พนิดา คล้อสวัสดิ์  

ดร.อรรณพ โพธิสุข 

ผศ.นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร

ระหว่างดำเนินการ

ตลอดจนวิทยาลัยฯ ได้พัฒนาศักยภาพนักวิจัยของเครือข่ายการวิจัยในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา พื้นที่ภูมิภาคตะวันออก รวม 2 โครงการ ดังนี้
         1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเขียนรายงาน PLC เป็นงานวิจัย (PLC to Research) สำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สพม.7” ณ ห้องประชุมโรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม อ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว
          2) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเขียนรายงาน PLC เป็นงานวิจัย (PLC to Research) สำหรับครูโรงเรียนพนัสพิทยาคาร” ณ ห้องประชุมโรงเรียนพนัสพิทยาคาร อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
      6. วิทยาลัยมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาสังคม มีการมีประกาศ เรื่อง ระบบคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2.1.6.1) ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม เพื่อให้งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการและการพัฒนาสังคม โดยระบุสัดส่วนงานวิจัยกรณีเป็นงานวิจัยร่วม และการจดสิทธิบัตรร่วม(2.1.6.2) ซึ่งดำเนินการเสนอจดลิขสิทธิ์หนังสือจำนวน 2 รายการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม คือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นผลงานที่สืบเนื่องจากงานวิจัย และวิทยาลัยได้ทำความตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องปรามมิให้นิสิตนักศึกษามีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น และเพื่อใช้ในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมของงานวิจัย โดยอาจารย์ นักศึกษา และหน่วยงานในวิทยาลัยสามารถเข้าใช้ได้ทุกคณะ ทุกหน่วยงาน(2.1.6.3)
       7. มีการประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบัน ที่มีต่อการพัฒนาผู้เรียน หรือ คุณภาพชีวิต การสร้างโอกาส การสร้างมูลค่าเพิ่มฯ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน โดยในรอบปีการศึกษา 2563 มีผลงานวิจัยที่ได้รับการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 1 เรื่อง ผลการประเมินพบว่า มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (2.1.7.1) และการประเมินผลกระทบ ในมิติการอ้างอิงผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการ(citation) พบว่า มีการอ้างอิงบทความวิจัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง(2.1.7.2)

การบรรลุเป้าหมาย

          บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ไว้ตาม เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจำนวน 6 ข้อ แต่มีการดำเนินการครบ 7 ข้อ ได้ 5 คะแนน

เป้าหมายผลการดำเนินงานคะแนนที่ประเมินตนเองการบรรลุเป้าหมาย
6 ข้อ7 ข้อ 5บรรลุเป้าหมาย

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
2.1.1.1 ระบบการบริหารและพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
2.1.1.2 นโยบายและทิศทางการวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ปีการศึกษา 2563 จากรายงานการประชุมคณะกรรมการวิจัย ครั้งที่ 1/2563
2.1.1.3 สรุปผลงานวิจัยตามนโยบาลและทิศทางของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
2.1.2.1 ระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยของวิทยาลัย mis.stic.ac.th
2.1.2.2 ภาพถ่ายห้องปฏิบัติการวิจัย ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการทางอาชีวอนามัย
2.1.2.3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิจัย ปีการศึกษา 2563
2.1.2.4 ภาพถ่ายห้องสมุดวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
2.1.2.5 เว็บไซต์การสืบค้นงานวิจัย
2.1.2.6 ระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บไซต์โดยกำหนดรหัสผู้ใช้งาน
2.1.2.7 รายชื่อวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI กลุ่ม 2
2.1.2.8 สรุปโครงการการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2563
2.1.2.9 งานวิจัยการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค
2.1.2.10 คลิปบรรยายความรู้ชุดกระบวนการทำวิจัยจำนวน 17 คลิปแขวนไว้ใน Facebook
2.1.3.1 แผนงบประมาณด้านการวิจัยปีการศึกษา 2563 ของสำนักวิจัยและพัฒนา
2.1.3.2 รายชื่องานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยหรือสร้างสรรค์ภายในสถาบัน
2.1.3.3 เอกสารสัญญาทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหน่วยงานภายนอก
2.1.3.4 บันทึกขออนุมัติค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย
2.1.4.1 โครงการพัฒนาศักยภาพการวิจัยและการเขียนผลงานทางวิชาการ
2.1.4.2 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย
2.1.4.3 โครงการการการจัดการความรู้
2.1.4.4 โครงการพี่เลี้ยงนักวิจัยรุ่นใหม่
2.1.4.5 โครงการการจัดทำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
2.1.4.6 โครงการรางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปีการศึกษา 2563
2.1.5.1 บทความวิจัย เรื่อง การวิจัยกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของเครือข่ายทางการศึกษา ที่รับเงินทุนอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของคุรุสภา : กรณีศึกษาภูมิภาคตะวันออก
2.1.5.2 บทความวิจัยของ ความสามารถในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์กรณีศึกษา ปะพวน (The Phuan People) ปากพลี มิวเซียม จังหวัดนครนายก ประเทศไทย
2.1.6.1 ประกาศ เรื่องระบบคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
2.1.6.2 เอกสารระบุการแบ่งสัดส่วนงานวิจัย
2.1.6.3 เอกสารแสดงการทำ MOU ความตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่อง โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
2.1.7.1 การประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของสถาบัน ปีการศึกษา 2563
2.1.7.2 รายชื่อผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง