ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3                      การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ชนิดของตัวบ่งชี้                   ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่าสมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการอยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาการประชุมวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานที่ทำร่วมกับอุตสาหกรรมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว และบทความตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus ที่ได้รับการอ้างอิง

          ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

เกณฑ์การประเมิน

          คะแนนที่ได้ในระดับสถาบันเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมของทุกคณะและหน่วยงานวิจัยในสถาบัน

สูตรการคำนวณ

คะแนนที่ได้ 

  =  ผลรวมของของคะแนนผลการประเมินผลงานทางวิชาการของทุกคณะและหน่วยงานวิจัย

                                 จำนวนคณะและหน่วยงานวิจัยทั้งหมดในสถาบัน

ระดับคุณภาพผลงานมีดังนี้

ค่าน้ำหนัก

ระดับคุณภาพ

0.20

·        บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ

0.40

·        บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหรือในวารสารวิชาการระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ./กกอ. ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกประกาศ

·        ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร

0.60

·        บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2

0.80

·        บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ./กกอ. ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ออกประกาศ (ซึ่งไม่อยู่ใน Beall’s list) หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1

1.00

·        บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556

·        ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร

·        ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว

·        ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ

·        ผลงานค้นพบพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน

·        ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว

·        ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ

ผลการดำเนินงาน

         ในปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้ผลิตผลงานวิจัย รวมทั้งสิ้น 65 เรื่อง ผลงานวิจัยส่วนใหญ่นำเผยแพร่ผ่านการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ. โดยสรุปแต่ละคณะมีผลการประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังนี้

ระดับคุณภาพผลงานวิจัย

หน่วยงาน

จำนวนงานวิจัย

รวม

(เรื่อง)

ผลรวมถ่วงน้ำหนัก

0.20

0.40

0.60

0.80

1.00

1. คณะบริหารธุรกิจ

1

3

10

14

12.20

2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

5

5

5.00

3. คณะศึกษาศาสตร์

12

9

21

16.20

4. คณะสาธารณสุขศาสตร์

1

9

10

9.60

5. คณะพยาบาลศาสตร์

4

5

6

15

12.40

รวม

1

20

5

39

65

55.4

สรุปผลการดำเนินงาน

 

หน่วยงาน

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ

จำนวนอาจารย์ประจำ

ร้อยละผลงาน

คะแนน

บทความวิจัย

งานสร้างสรรค์

รวม

1. คณะบริหารธุรกิจ

12.20

12.20

47

25.95

5.00

2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

5.00

5.00

12

41.66

5.00

3. คณะศึกษาศาสตร์

16.20

16.20

38

42.63

5.00

4. คณะสาธารณสุขศาสตร์

9.60

9.60

18

53.33

5.00

5. คณะพยาบาลศาสตร์

12.40

12.40

42

29.52

4.92

รวม

55.4

55.4

157

38.62

4.98

คะแนนที่ได้    =        5.00+5.00+5.00+5.00+4.92

                                                   5

คะแนนที่ได้       =    4.98

 การบรรลุเป้าหมาย

บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ 2.3 : การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม  ไว้ที่ร้อยละ 30 ขึ้นไป

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนที่ประเมินตนเอง

ร้อยละ 30 ขึ้นไป

ร้อยละ 38.62

4.98

รายการหลักฐานอ้างอิง

2.3.1 ายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะบริหารธุรกิจ
2.3.2 รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2.3.3 รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะศึกษาศาสตร์
2.3.4 รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะสาธารณสุขศาสตร์
2.3.5 รายชื่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คณะพยาบาลศาสตร์
2.3.6 เอกสารสำเนาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2563

ข้อสรุปโดยรวมมาตรฐานที่ 2

จุดแข็ง

  1. ยังมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ แม้ว่าเกณฑ์การพิจารณาการตีพิมพ์ฯ ยกระดับสูงขึ้น
  2. ภาพรวมผลงานวิจัยของอาจารย์ มีผลกระทบเชิงบวก เมื่อพิจารณาในมิติการอ้างอิงผลงานวิจัย(citation)
  3. มีความร่วมมือในการพัฒนาผลงานวิจัยในทุกระดับ และทุกภาคส่วน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงาน/แหล่งเงินทุนสนับสนุนวิจัยของหน่วยงานภาครัฐยังมีน้อย
  2. ผลงานที่เป็นนวัตกรรมต่างๆ ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร

 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง            

  1. สร้างความร่วมมือในการพัฒนาการเขียนข้อเสนอการวิจัยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายการวิจัยเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ