ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้
การบริการวิชาการเป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันควรให้บริการวิชาการแก่สังคมที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน โดยมีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้เกิดรายได้ และเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน มีการบริหารจัดการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีความโปร่งใส ชัดเจน และตรวจสอบได้ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ของผู้เรียน ชุมชน หรือสังคม ประเทศชาติ
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพบริการวิชาการแก่สังคม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
1. มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของสถาบันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหรือองค์กรเป้าหมาย ตามจุดเน้นและประเภทของสถาบัน และนำนโยบายมาใช้ในการจัดทำแผนการบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่เป็นการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งการให้บริการแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า หรือแบบไม่หวังผลกำไร ตลอดจนมีแผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม ที่พิจารณาจากรายได้หรือการสร้างคุณค่าที่ไม่เน้นรายได้ ของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ตามจุดเน้นและประเภทของสถาบัน
2. มีกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ที่ทำให้เกิดรายได้ และ เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน
3. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน มีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม และเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคม
4. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคมให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน เช่น การพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง คุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี เป็นต้น
5. มีการติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการประเมินผลการบริการกับผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง มีการประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและแผนการบริการวิชาการ และมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการ
6. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายสามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนา ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เป็นผลกระทบเชิงบวก เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเอง
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน3 | คะแนน 4 | คะแนน5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ | มีการดำเนินการ 2 ข้อ | มีการดำเนินการ 3-4 ข้อ | มีการดำเนินการ 5 ข้อ | มีการดำเนินการ 6 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
1. วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซามี คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม ที่ประกอบด้วยตัวแทนทุกคณะ (3.1.1.1) ได้มีการกำหนดแผนการบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่เป็นการให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งแบบทั่วไป และแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งการให้บริการแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า(3.1.1.2) ตลอดจนมีแผนการใช้ประโยชน์จากการให้บริการวิชาการแก่สังคม ที่เป็นการสร้างคุณค่าให้กับสังคม (3.1.1.3) ที่สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการบริการทางวิชาการของสถาบันที่กำหนด(3.1.1.4) โดยชุมชนหรือองค์กรเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม แบบให้เปล่า ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครนายก ซึ่งได้นำเสนอสภาวิชาการในการประชุมสภาวิชาการของวิทยาลัยฯรับทราบแล้ว (3.1.1.6) และเป้าหมายของการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม แบบมีรายได้ คือการร่วมผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม (3.1.1.7)
2. กระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยมีการดำเนินการร่วมกับคณะวิชาดำเนินการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายตลอดปีการศึกษา และมีผลลัพธ์การดำเนินการที่สอดคล้องกับบริบท ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน ดังนี้
2.1. การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบทั่วไป เป็นการให้บริการแบบให้เปล่า ดำเนินการร่วมกันกับหน่วยงานในจังหวัดนครนายก การดำเนินการที่สำคัญเช่น การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ และการท่องเที่ยววิถีชุมชน ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท คือการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยววิถีชุมชน ความสามารถจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น(3.2.1.1)
2.2 การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการให้บริการทั้งแบบให้เปล่า และแบบมีรายได้
การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่า ดำเนินการร่วมกันกับหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก การดำเนินการที่สำคัญทางด้านการศึกษา เช่นการพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษให้กับเครือข่ายครูโรงเรียนประถมศึกษา สำหรับการดำเนินการที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข เช่นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท คือ การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษให้กับครูในกลุ่มโรงเรียนบ้านช่องตะเคียน อำเภอองค์รักษ์ ทำให้สอนนักเรียนได้ดีมีผลการสอบสาระภาษาอังกฤษสูงขั้น(3.2.2.1) ผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ ท้องถิ่น/ชุมชน/สังคมคือ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (3.2.2.2) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนกลุ่มเป้าหมาย อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สร้างรายได้เพิ่มขึ้น(3.2.2.3)
การให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง แบบมีรายได้ การดำเนินการที่สำคัญเช่น การจัดอบรมหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลให้กับผู้สนใจทั่วไป ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดำเนินการร่วมกันกับหน่วยงานที่รับผู้สำเร็จผู้ช่วยพยาบาล และ SEAMEO STEM-Ed และเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล .ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบทสถาบัน คือการมีหลักสูตรทางด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพสูงได้รับการรับรองการสภาการพยาบาล ผลลัพธ์ที่ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่ท้องถิ่น/ ชุมชน/สังคม/ประเทศ คือ การร่วมผลิตผู้ช่วยพยาบาลให้กับสังคม ที่เป็นความขาดแคลนเร่งด่วนของประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาจึงมีงานที่มีรายได้สูง เป็นการรองรับการเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุของประเทศ และตอบสนองนโยบายชาติในการเป็นศูนย์การดูแลสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน(3.2.2.4)
3. วิทยาลัยได้จัดให้ทุกคณะมีส่วนร่วม ทั้งในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน การ บูรณาการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย ดังนี้
3.1 การมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน ทุกคณะของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มีส่วนร่วมในการดำเนินการ ทั้งในการลงพื้นที่บริการในแต่ละกิจกรรม และในภาพรวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน มีอาจารย์ร่วมกิจกรรมจำนวน 36 คน จากอาจารย์ 157 คน คิดเป็นร้อยละ 22.93 ดังนี้
คณะวิชา |
จำนวน |
จำนวนอาจารย์ประจำ |
ร้อยละ |
1. คณะบริหารธุรกิจ |
9 |
47 |
19.15 |
2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
3 |
12 |
25.00 |
3. คณะศึกษาศาสตร์ |
9 |
38 |
23.68 |
4. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
5 |
18 |
27.78 |
5. คณะพยาบาลศาสตร์ |
10 |
42 |
23.81 |
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา |
36 |
157 |
22.93 |
ดังนั้นจึงมีอาจารย์มาจากทุกคณะ และรวมจำนวนอาจารย์เข้าร่วมดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของอาจารย์ทั้งหมดของสถาบันในการบริการวิชาการ(3.3.1.1)
3.2 การบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ให้อาจารย์และนักศึกษาในแต่ละคณะร่วมกันในการดำเนินการบริการวิชาการ เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน นำความรู้ ประสบการณ์จากการเรียนการสอนในหลักสูตร ให้บริการกับผู้รับบริการ และนำประสบการณ์ในการเรียนรู้จากการให้บริการมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการวิจัย เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตอบสนองและสร้างประโยชน์แก่สังคม ตลอดจนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เพื่อการรับใช้สังคม ผลการสำรวจการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร และการวิจัย ของอาจารย์และนักศึกษาพบว่ามีผลการดำเนินการในระดับดี(3.3.2.1)
4. วิทยาลัยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคม ดังนี้ (3.4.1.1)
4.1 เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย ในจังหวัดนครนายก เช่น ความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษา(กลุ่มโรงเรียนบ้านช่องตะเคียน) หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข(สาธารณสุขอำเภอองครักษ์ รพ.สต.องครักษ์) และองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต. ทรายมูล อบต. โพธิ์แทน อำเภอองครักษ์) จังหวัดนครนายก
4.2 เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน ระดับชาติ เช่น เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เครือข่าย อว.ส่วนหน้าภาคตะวันออก SEEMEO STEM-Ed เป็นต้น
5. วิทยาลัยมีการติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การติดตามผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคม มีการดำเนินการในการประชุมสภาวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา โดยคณะกรรมการบริการวิชาการ รายงานผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและแผนการบริการวิชาการ เมื่อสิ้นปีการศึกษา(3.5.1)
โดยผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไป พบว่า ผู้รับบริการในทุกกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับดี(3.5.2) ผลการประเมินการบริการจากผู้รับบริการทั้งการบริการแบบแบบเฉพาะเจาะจง แบบให้เปล่ามีความพึงพอใจในระดับดี(3.5.3) ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการดำเนินการได้ตามบ่งชี้ร้อยละ 100(3.5.4) ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน พบว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนที่วางไว้ทั้ง 2 ประการคือ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ และ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน(3.5.5)
คณะกรรมการบริการวิชาการได้นำข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประชุมสภาวิชาการ ไปใช้ในการปรับปรุงแผนการบริการวิชาการในปีการศึกษา 2564 ต่อไป(3.5.6)
6. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายสามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเอง ดังนี้
การบริการวิชาการ |
การพัฒนา/ประยุกต์ใช้ |
ความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเอง |
การสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุ |
พื้นฐานการดูแลสุขภาพที่ดี |
ชุมชนมีสุขภาพที่ดี |
การท่องเที่ยว |
พื้นฐานการจัดการท่องเที่ยว |
ชุมชนที่มีความเป็นอยู่ที่ดี |
พัฒนาภาษาอังกฤษให้กับครู |
พื้นฐานภาษาอังกฤษ |
ชุมชนมีความมั่นใจในคุณภาพการศึกษา |
การจัดการสิ่งแวดล้อม |
พื้นฐานจัดการสิ่งแวดล้อม |
ชุมชนที่มีความเป็นอยู่ที่ดี |
การผลิตผู้ช่วยพยาบาล |
การผลิตกำลังคน |
สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี |
จากการประเมินผลการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการคึกษา 2556 ถึงปัจจุบัน กับประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประโยชน์ที่สังคมได้รับอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นผลกระทบเชิงบวก คือการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (3.6.1)
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะสถาบันกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคมไว้ 6 ข้อ ซึ่งในปีการศึกษา 2561 สถาบันดำเนินการได้ 6 ข้อ
การประเมินตนเอง
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | คะแนนที่ประเมินตนเอง |
6 ข้อ | 6 ข้อ | 5 คะแนน |
หลักฐานเอกสารอ้างอิง
ข้อสรุปโดยรวมมาตรฐานที่ 3
จุดแข็ง
- วิทยาลัยใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษ การบริหารธุรกิจ การบริการ และสุขภาพ มาใช้ในการดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคม ให้สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย
- มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับจังหวัด และระดับชาติในการร่วมกันดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคม ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนา
จุดที่ควรพัฒนา
- ควรเพิ่มการให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีรายได้ตามความเชี่ยวชาญของสถาบัน
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
- ควรเพิ่มจำนวนรายวิชา ในการนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการ การบริการทางวิชา การเรียนการสอน และงานวิจัย ไปใช้ในชั้นเรียนให้มากขึ้น