ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาต้องมีนโยบาย แผนงานและการบริหารจัดการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย มีการจัดการเรียนรู้ การวิจัย การบริการวิชาการซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศอย่างเหมาะสม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลลัพธ์ของการจัดการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เกณฑ์มาตรฐาน
1. สถาบันมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทย ของสถาบัน กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และมีการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการธำรงรักษา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม หรือการต่อยอดสร้างคุณค่าใหม่ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
2. สถาบันมีการจัดกิจกรรมตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการสืบสาน ถ่ายทอด ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเป็นฐานข้อมูลหรือการบริการ หรือแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม และเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม มีสุนทรียทางศิลปวัฒนธรรม ความภูมิใจในความเป็นไทย บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
3. สถาบันมีการบูรณาการสาระด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ของท้องถิ่นและของชาติ กับรายวิชาในหลักสูตร ที่เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ฐานความรู้ และการเรียนรู้ในเชิงสหวิทยาการหรือการเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อสร้างความตื่นตัว ความภูมิใจในความเป็นไทย ความเข้าใจในจุดร่วมบนความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีการนำทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นทักษะชีวิต
4. มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไทย ในการดำเนินการวิจัย หรือพัฒนาองค์ความรู้ หรือการสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชน ที่เหมาะสมตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน
5. มีการกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 | คะแนน 2 | คะแนน 3 | คะแนน 4 | คะแนน 5 |
มีการดำเนินการ 1 ข้อ | มีการดำเนินการ 2 ข้อ | มีการดำเนินการ 3 ข้อ | มีการดำเนินการ 4 ข้อ | มีการดำเนินการ 5 ข้อ |
ผลการดำเนินงาน
1.วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซากำหนดให้ คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย(4.1.1.1) รับผิดชอบ ในการกำหนดนโยบายและทิศทางการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทย ดำเนินการจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีการประสานความร่วมมือกับคณะวิชาในการดำเนินงาน ทั้งในภาพรวม และสนับสนุนการดำเนินการของคณะวิชา เพื่อการธำรงรักษา สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม สร้างคุณค่าใหม่ และความเป็นไทย ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ความเป็นนานาชาติ(4.1.1.2)
2.คณะกรรมการดำเนินการตามแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย มีการดำเนินการทุกกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของทุกโครงการและกิจกรรม จัดกิจกรรมสืบสาน ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาให้เป็นที่สนใจของภายนอก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมทางวัฒนธรรมบนความหลายหลายทางวัฒนธรรม
คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ผลการดำเนินงาน มีผลงานที่ก่อให้เกิดคุณค่าก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน สังคม ระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า และเน้นให้นักศึกษามีความตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทย เปิดโอกาสให้นักศึกษา อาจารย์ร่วมจัดโครงการร่วมกับองค์กร ชุมชนสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นการเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าอนุรักษ์ของความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีรายละเอียด ดังนี้
โครงการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม กิจกรรมเพื่อเป็นการสืบสาน ถ่ายทอด ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มีกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ His Majesty the king’s Birthday (4.1.2.1), Mother’s Day กิจกรรม“วันแม่แห่งชาติ” ( 4.1.2.2), His Majesty the Queen’s Birthday(4.1.2.3), Activity on the day of His Majesty King Bhumibol Adulyadej กิจกรรมวันคล้ายสวรรคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (4.1.2.4), Father’s Day and Earth Day กิจกรรม“วันพ่อแห่งชาติ”และวันดินโลก(4.1.2.5), Loy Krathong Day(4.1.2.6), Wai Khru กิจกรรม“วันไหว้ครู”(4.1.2.7), Song Kran Festival“วันสงกรานต์(4.1.2.8), Training and contests for Thai etiquette มารยาทไทย(4.1.2.9), Buddhism Christianity Promotion Activities ส่งเสริมสัปดาห์พระพุทธศาสนา (วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา) (1.4.2.10)
กิจกรรมเพื่อให้เกิดการบริการ หรือแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น Learn art and culture and Culture and local Knowledge in Nakhon Nayok Province กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดนครนายก(4.1.2.11)
กิจกรรมเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม มีสุนทรียทางศิลปวัฒนธรรม เช่น Freshmen night (1.4.2.12)
กิจกรรมเพื่อการเรียนเรียนรู้ความหลายหลายทางวัฒนธรรม มีการบูรณาการวิถีชีวิตแบบไทย และวิถีชีวิตในวัฒนธรรมประเทศต่าง ๆ ของนักศึกษา และคณาจารย์ที่เป็นคนไทย และคนต่างชาติ เช่น Christmas and New Year’s Students Party กิจกรรมวันคริสต์มาสและวันปีใหม่( 4.1.2.13)
3. มีการบูรณการสาระด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี กับของท้องถิ่นและของชาติ กับรายวิชาในหลักสูตร โดยส่งเสริมให้หลักสูตรสอนสอดแทรกในการกิจกรรมการเรียนรู้ ในลักษณะการเรียนแบบบูรณาการ ตลอดจนประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพ หรือทักษะชีวิต ในการออกแบบสร้างสรรค์ในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบไทย เช่น การออกแบบสร้างสรรค์พานไหว้ครู (4.1.3.1) การออกแบบกระทงกิจกรรมลอยกระทง (4.1.3.2) เป็นต้น
กิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการรายวิชา นำไปใช้เป็นฐานความรู้ เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ส่งเสริมสร้างความภูมิใจในความเป็นไทย เพื่อสร้างคุณค่าความเป็นไทยให้ประจักษ์ มีการนำทักษะการเรียนรู้ละความคิดสร้างสรรค์ในวิชาชีพและเป็นทักษะชีวิต ผลการบูรณาการการนำทักษะรายวิชาไปสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมศิลปะความเป็นไทยด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชน เช่น โครงการภาพยนตร์สารคดีสั้น หนังใหญ่วัดขนอน ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (4.1.3.3),โครงการภาพยนตร์สารคดีสั้น “ปรุง” ขนมไทยสู่เวทีโลก วิสาหกิจชุมชนเพียรหยดตาล ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี(4.1.3.4)
4. วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา มีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นไทย ในการดำเนินวิจัย หรือพัฒนาองค์ความรู้ หรือการสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชนที่เหมาะสมตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ เช่น สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลอง ชมรมไทยพวนนครนายก ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวน เป็นต้น
ผลการดำเนินการ นักศึกษาและคณาจารย์ ของวิทยาลัย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรม เช่นกิจกรรม Learning Activities to Enhance Knowledge of arts and culture in Nakorn Nayok Province 2021ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเป็น และภูมิปัญญาท้องถิ่นกับชุมชนไทยพวน จังหวัดนครนายก นักศึกษา คณาจารย์ได้รับการเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ของชาวไทยพวน เกี่ยวกับภาษาไทยพวน การแต่งกายไทยพวน อาหารไทยพวน และ การละเล่นพื้นบ้านไทยพวน(4.1.4.1) มีการจัดทำงานวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับการประยุกต์ประเพณีสารทพวน กับการสร้างคุณธรรมด้านความกตัญญูกับเยาวชน ของชาวพวน ในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ชื่อเรื่อง The Applied Model of Creating the Youth’s Gratitude: Case Study of the Phuan People at Pak-Phli District, Nakhon Nayok Province, Thailand ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติ Psychology and Education (4.1.4.2) และมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดการในการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ปากพลี ชาวพวน นครนายก ประเทศไทย ชื่อเรื่อง Management Ability in Discovery Museum Tourism Case Study on pak phli Museum, the Phuan People, Nakhon Nayok,Thailand(4.1.4.3)
นอกจากนี้ วิทยาลัยได้เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิคืนคุณแผ่นดิน จัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยด้วย เช่น โครงการภาพยนตร์สารคดีสั้น “อะโวคาโดกับการพัฒนาชุมชน ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าย จังหวัดน่าน(4.1.4.4) โครงการภาพยนตร์สารคดีสั้น หาดทรายดำ ชุมชนหาดทราย ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด (4.1.4.5) เป็นต้น
5. การกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งการนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยมีการดำเนินการ ดังนี้
5.1 การกำกับติดตาม การดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นระยะ (4.1.5.1) หลังจากดำเนินการจัดกิจกรรมแล้ว มีการจัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม(4.1.5.2) และสรุปผลวิเคราะห์ความพึงพอใจในการของนักศึกษาในการร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลการประเมิน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 3.92- 4.07 และภาพรวมการดำเนินการอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 3.97
5.2 การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน แผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ เพียง 1 ข้อ คือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวชึ้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์คือ นักศึกษามีความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น สูงกว่า 3.51 ผลการประเมินความสำเร็จในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ในแต่ละด้าน อยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ยแต่ละด้าน 3.92-4.07 และภาพรวมการดำเนินการอยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ย 3.97 ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผน(4.1.5.3)
5.3 การนำผลการประเมินความสำเร็จไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินการดังนี้
การดำเนินการในปีการศึกษา 2562 พบว่ามีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในวงจำกัด คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงเสนอให้เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ผลการดำเนินการเพิ่มเครือข่าย ทำให้กิจกรรม มีความน่าสนใจมากขึ้น เกิดการเรียนรู้ และมีผลงานวิจัยเกิดขึ้นจากความร่วมมือ
สำหรับปีการศึกษา 2563 จากผลการประเมินความสำเร็จของแผน พบว่า การจัดกิจกรรมยังไม่ครอบคลุมประเด็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมชุมชนและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการเรียนรู้จากการบูรณาการการสอนโดยการนำความรู้จากผู้รู้หรือปราชญ์ทางศิลปะทางวัฒนธรรมของชุมชนแขนงต่างๆ ในจังหวัดนครนายกมา ในการ สืบสาน ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงกำหนดเป็นกิจกรรม บรรจุเรื่อง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครือข่ายการพัฒนา และได้ กำหนดไว้ในแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2564 แล้ว (4.1.5.4)
การบรรลุเป้าหมาย
บรรลุเป้าหมาย เพราะสถาบันกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยไว้ 5 ข้อ สถาบันดำเนินการได้ 5 ข้อ
เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน | คะแนนที่ประเมินตนเอง |
5 ข้อ | 5 ข้อ | 5 คะแนน |
หลักฐานเอกสารอ้างอิง
ข้อสรุปโดยรวมมาตรฐานที่ 4
จุดแข็ง
- การออกแบบการจัดกิจกรรมตามแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
- ความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆในการจัดกิจกรรม และศึกษาวิจัยร่วมกัน ทำให้เกิดผลงานวิจัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
จุดที่ควรพัฒนา
- ควรเพิ่มการบูรณาการ เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การวิจัย และการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในรายวิชา
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
- ควรพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อยกระดับแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เป็นที่แพร่หลาย บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้