มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริการจัดการ

มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริการจัดการ

        การบริหารจัดการเป็นพันธกิจที่สถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิด การผลิตบัณฑิตให้มีผลลัพธ์ที่ต้องการ มีการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตลอดจนต้องกำกับติดตามให้ทุกหลักสูตรที่เปิดสอน และทุกหน่วยงาน ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พระราชบัญญัติการอุดมศึกษาเอกชน การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานการอุดมศึกษา และกฎ ระเบียบ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของสถาบันอุดมศึกษา

          ความสำเร็จของการบริหารจัดการ นอกจากการใช้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารยุทธศาสตร์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากร การจัดการความรู้ การจัดการความเสี่ยง แล้ว ยังต้องคำนึงการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล และการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สอดคล้องกับบริบทของสถาบัน ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบัน ตลอดทั้งความได้เปรียบเชิงทรัพยากร และความได้เปรียบเชิงพื้นที่ ให้พร้อมรับมือกับโอกาสทางการแข่งขัน

ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ

               ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การของสถาบัน

               ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารคณะ

               ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การบริหารคุณภาพการศึกษา

                   มีรายละเอียดดังนี้