ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การสถาบัน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การสถาบัน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1             การบริหารองค์การของสถาบัน

ชนิดของตัวบ่งชี้                   กระบวนการ

 

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลุ่มสถาบัน มีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มีการบริหารงานตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ ที่บริหารจัดการบุคลากรและทรัพยากรการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฏกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพการบริหารองค์การของสถาบัน พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

 

เกณฑ์มาตรฐาน

1. สถาบันมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้ข้อมูลจาก การวิเคราะห์ SWOT เพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ ตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์

2. สถาบันมีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น ต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นๆที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์การดำเนินการผลิตบัณฑิต ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก เสริมสร้างความเป็นเลิศในการบริหารงานตามพันธกิจ และสร้างโอกาสในการแข่งขัน

3. สถาบันมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีการจัดสรรบุคลากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ มีผลลัพธ์การดำเนินการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4. สถาบันมีการกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ คือ 1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ 3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ

5. สถาบันมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินการจัดระบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่เหมาะสม และมีการใช้ข้อมูลหรือผลที่ได้จากแนวปฏิบัติที่ดีหรือการจัดการความรู้จากการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6. สถาบันมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากร สร้างความผูกพันต่อองค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

7. สถาบันมีการวัดวิเคราะห์ผลลัพธ์ และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อค้นหาความต้องการใหม่ รวมถึงค้นหาโอกาสในการพัฒนา หลักสูตร การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของสถาบัน

8. สถาบันมีการประเมินความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี มีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผนต่อสภาสถาบัน ตลอดจนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปพัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานประจำปี เพื่อให้การบริหารองค์การมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับความต้องการในอนาคต

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2-3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4-5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6-7 ข้อ
มีการดำเนินการ
8 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

     1. การพัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์ มีการดำเนินการดังนี้

         การจัดทำแผนกลยุทธ์ คณะกรรมการนโยบายและแผนวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา(5.1.1.1) ได้มีการดำเนินการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 โดยการวิเคราะห์ศักยภาพของสถาบัน (SWOT) และได้นำข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT มากำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถาบันเพื่อสร้างความได้เปรียบและโอกาสเชิงกลยุทธ์(5.1.1.2) รวมไปถึงการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำตามกรอบวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัย อันได้แก่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพบนพื้นฐานความเป็นนานาชาติ และการมีสมรรถนะทางวิชาชีพและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษที่เป็นเลิศ(5.1.1.3) ตลอดจนมีความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย กับ ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มาตรฐานการศึกษาของชาติกรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา และยุทธศาสตร์การวิจัย (5.1.1.4)

          การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการนโยบายและแผนได้รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการปีการศึกษา 2562 และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 ซึ่งเป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้กระบวนการจัดทำแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์โดยกำหนดและจัดสรรแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด พันธกิจ นโยบาย และเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ (5.1.1.5) พร้อมทั้งนำเสนอแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 ไปยังคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเพื่อขอความเห็นชอบ และได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบันตามระยะเวลาที่กำหนดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 (5.1.1.6)

     2. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นๆที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกัน เพื่อใช้ในการบริหารงาน

          คณะกรรมการนโยบายและแผน มีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนผ่านการจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้คณะวิชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามแผนปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ(5.1.2.1) รวมไปถึงให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินโดยคณะวิชาได้วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของทุกหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย สัดส่วนรายได้และสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้แก่ สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน เช่น การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรสนับสนุน และสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการศึกษา มาทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรทุกหลักสูตรของคณะวิชาในปีการศึกษา 2563 ซึ่งพบว่าทุกคณะวิชามีความคุ้มค่าในการดำเนินการ โดยคณะที่มีความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรมากที่สุดได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ฯ ตามลำดับ (5.1.2.2)

          วิทยาลัยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับสถาบันที่มีจุดเน้นอย่างเดียวกันเพื่อใช้ในการบริหาร โดยสถาบันที่เลือกมาวิเคราะห์นั้นมีการเรียนการสอนในคณะวิชาที่ใกล้เคียงกัน  ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบตามหลักการ 4 มิติของบาลานสกอร์การ์ด พบว่าทั้งสองสถาบันมีอัตราการรับนักศึกษาใหม่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด19 ส่วนด้านการพัฒนา ด้านกระบวนการ และด้านประสิทธิภาพการทำงานนั้นทั้งสองสถาบันมีการพัฒนาที่ไม่ต่างกันมากนัก นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจาก Webometric Thailand พบว่าผลการจัดอันดับประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาอยู่ในอันดับที่ 118 จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 189 สถาบัน(5.1.2.3) ถึงแม้ว่าจำนวนสถาบันอุดมศึกษาในประเทศจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่วิทยาลัยยังคงรักษาอันดับอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับปีที่แล้วซึ่งแสดงให้ถึงการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ การบริหารหลักสูตรที่เป็นไปอย่างคุ้มค่าทำให้เกิดประสิทธิผลและการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

      3. การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ที่นำไปสู่การปฏิบัติ

         คณะกรรมการนโยบายและแผนได้รับหน้าที่ในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ รวมไปถึงการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2563-2567) และแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 โดยข้อมูลดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังบุคลากรและบุคคลที่เกี่ยวข้องผ่านการประชุมต่าง ๆ ดังนี้ การประชุมบุคลากรประจำปี(5.1.3.1) การประชุมคณะกรรมการนักศึกษา(5.1.3.2) และการประชุมผู้บริหาร(5.1.3.3) เป็นต้น

          นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายและแผนยังดำเนินการจัดสรรบุคลากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจที่กำหนด พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้คณะวิชาและหน่วยงานในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยพันธกิจที่มีการจัดสรรงบประมาณในสัดส่วนที่สูงสุดได้แก่ พันธกิจการบริหารจัดการ พันธกิจการผลิตบัณฑิต พันธกิจการวิจัยและนวัตกรรม พันธกิจการบริการวิชาการแก่สังคม และ พันธกิจทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามลำดับ (5.1.3.4)

          ผลลัพธ์ตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย และเอกลักษณ์ของวิทยาลัยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลลัพธ์ของบัณฑิตด้านสมรรถนะทางวิชาชีพและสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปตามความต้องการของสถานประกอบการ ส่งผลให้การประกอบอาชีพของบัณฑิตจบใหม่มีร้อยละสูงถึง 87.79 แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 (5.1.3.5)

      4. การกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญตามมาตรฐานการอุดมศึกษา

          คณะกรรมการนโยบายและแผนได้รับมอบหมายหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม คณะวิชาและทุกหน่วยงานในสถาบันเรื่องการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาและแผนกลยุทธ์ พร้อมทั้งรายงานผลการติดตามไปยังอธิการบดีและผู้บริหารเพื่อรับทราบอย่างต่อเนื่องผ่านการประชุมผู้บริหารและการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผน รวมไปถึงรายงานผลสรุปการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะครึ่งปีการศึกษา(5.1.4.1) และระยะสิ้นสุดปีการศึกษา(5.1.4.2) เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

          จากการกำกับ ติดตามข้างต้นทำให้การดำเนินการของคณะวิชาและหน่วยงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 จำแนกออกเป็น 3 มิติ ดังนี้ 1)มิติโครงการ บรรลุผลร้อยละ 87.92  2)มิติงบประมาณ บรรลุผลร้อยละ 95.55   3)มิติตัวชี้วัดบรรลุผลร้อยละ 87.44  อีกทั้งยังเกิดการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ ไก้แก่ ผลลัพธ์ตามพันธกิจ ผลลัพธ์ด้านระบบปฏิบัติการ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ (5.1.4.3) รายละเอียดดังนี้

           4.1 ผลลัพธ์ตามพันธกิจ 1)ด้านผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณลักษณะผลลัพธ์เป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่ดีตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ และให้มีคุณลักษณะผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษาที่กำหนด 2)ด้านการวิจัยและนวัตกรรม มีการยกระดับคณาจารย์ให้มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับประเทศและระดับนานาชาติตามเกณฑ์ที่กำหนด 3)ด้านการบริการวิชาการ มีการยกระดับความเชี่ยวชาญของอาจารย์และบุคลากรพร้อมทั้ง ให้การบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน โดยสามารถพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งทั้งด้านสุขภาพและด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต 4)ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย วิทยาลัยฯสนับสนุนให้ทุกคณะวิชามีส่วนร่วมและจัดโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับโครงการคืนคุณแผ่นดินเพื่อสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ต่อประเทศชาติและสังคม/ชุมชน เช่น โครงการภาพยนตร์หนังสั้น “ปรุง” ขนมไทยสู่เวทีโลก วิสาหกิจชุมชนเพียรหยด เป็นต้น

         4.2 ผลลัพธ์ด้านระบบปฏิบัติการ สถาบันมีระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเอง เพื่อกำกับ ติดตาม ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผน ตามพันธกิจ และตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย 1) จัดทำระบบฐานข้อมูล STIC-CHE QA เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานและทำให้การทำงานมีระบบที่ชัดเจนซึ่งนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง 2) พัฒนาระบบ MIS ของวิทยาลัยพร้อมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลการจัดทำ TQF 3, TQF 5 3) การใช้ระบบ Moodle กำหนดบทเรียนและแบบทดสอบเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา  4) การพัฒนาระบบสำหรับการเรียนการสอน การสอบ และระบบการนิเทศการสอนแบบออนไลน์ 5) ระบบการคัดกรองนักศึกษาและบุคลากรโดยบันทึกการเข้า-ออกด้วยคิวอาร์โค้ด และการซักประวัติเบื้องต้นตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19

         4.3 ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร มีการจัดกิจกรรมและการอบรมส่วนรวมอย่างต่อเนื่องภายในปีการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างความผูกพันภายในองค์กร รวมถึงทำให้เกิดความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดีร่วมกันในหมู่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลลากร  พร้อมทั้งมีการแบ่งงานเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบหน้าที่และปฏิบัติในงานนั้น ๆ รวมไปถึงให้บุคลากรมีส่วนในการวางแผน แสดงความคิดเห็น และดำเนินงาน อีกทั้งความสามารถของบุคลากรทุกระดับยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การปฏิบัติงานของคณะวิชาและหน่วยงานมีประสิทธิภาพ

         4.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ อธิการบดี ร่วมกับผู้บริหารทุกระดับ มีความตั้งใจและแน่วแน่ในการนำองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถาบันนั้นบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด คือ “การเป็นวิทยาลัยแห่งการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีทักษะการเรียนรู้แห่งอนาคต บนพื้นฐานความเป็นนานาชาติ” เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นจึงมีการสื่อสารกับบุคลากรทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีโดยการปฏิบัติตนตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพและหลักธรรมาภิบาลผู้นำ ส่งผลให้วิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ 1)สามารถจัดทำมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561และมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 2)สามารถพัฒนาภาษาอังกฤษที่มีระดับค่อนข้างต่ำของผู้เรียนไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบอาชีพได้ 3)สามารถปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด19 เช่น การเรียน การสอน การปฏิบัติงาน และการประชุมแบบออนไลน์ที่มีความพร้อมและประสิทธิภาพสูง เป็นต้น 

     5. การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และการใช้ข้อมูลหรือผลที่ได้จากแนวปฏิบัติที่ดีหรือการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          วิทยาลัยมีการพัฒนาและใช้ระบบจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร หรือ MIS (Management Information System) สำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลให้เป็นระเบียบพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลด้านวิชาการ เช่น มาตรฐานการอุดมศึกษา  ข้อมูลนักศึกษาและบุคคล  ข้อมูลทางการเงิน  ข้อมูลทางด้านผลงานวิจัย รวมไปถึงการเก็บผลงานของนักศึกษา  เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยฝ่ายไอทีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลเว็บไซต์MIS (5.1.5.1)

          นอกจากนี้วิทยาลัยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2563 (5.1.5.2) เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีในระดับคณะวิชาและระดับสถาบัน โดยการจัดการความรู้จะแบ่งออกเป็นปีการศึกษาละ 2 ครั้ง หรือภาคเรียนละ 1 ครั้ง การจัดการความรู้ที่นำเสนอแบ่งออกเป็น การจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน และการจัดการความรู้ด้านวิจัย อีกทั้งการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2563 นั้นยังได้มุ่งเน้นไปที่แนวทางการปรับตัวด้านการเรียนการสอนและแนวทางปฏิบัติในยุคของการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยหัวข้อการจัดการความรู้ทั้ง 2 ครั้ง คือ 1) Strategies and Techniques Disruption for Learning and Development 2) Disrupted University in the Transition to New Normal (5.1.5.3)

          จากการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการบริหารงาน(5.1.5.4) คณะกรรมการได้นำข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลการจัดการความรู้ไปแลกเปลี่ยนและปฏิบัติในหน่วยงานต่างๆภายในองค์กร และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบและกลไก จนส่งผลให้เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่มีการนำไปปฏิบัติต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การทำคู่มือ Hybrid learning และนำไปเผยแพร่ต่อคณะวิชาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงผู้บริหารทุกระดับมีการบริหารงานที่ตรวจสอบได้ เป็นระบบ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผลการประเมินการบริหารงานในภาพรวมมีคะแนนอยู่ในระดับดีมาก (5.1.5.5)

     6. การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

         คณะกรรมการบริหาร(5.1.6.1)ได้รับมอบหมายให้กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารงานบุคคล(5.1.6.2)และแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน(5.1.6.3) โดยแผนบริหารงานบุคคลและแผนพัฒนาบุคลากรมีการส่งเสริมให้บุคลากรสามารถพัฒนาได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานและจัดหาสวัสดิการที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากรและทำให้สามารถทำงานอย่างความสุขและบรรลุผลตามเป้าหมาย ซึ่งจากการดำเนินการตามแผนพบว่าผลลัพธ์เป็นไปตามแผนที่กำหนด เช่น บุคลากรทุกระดับร่วมกิจกรรมและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีสวัสดิการที่พัก รถรับส่งและการรักษาตามที่กำหนด บุคลากรทุกระดับมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศ มีการรับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มตามอัตราที่กำหนด เป็นต้น (5.1.6.4) ส่งผลให้วิทยาลัยมีการพัฒนาไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้แก่ 1)การมีระบบทรัพยากรบุคคลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ 2)การให้ประโยชน์แก่บุคลากรในองค์กรอย่างเท่าเทียม 3)การสร้างบุคลากรให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งผลสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินการตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ของอาจารย์และบุคลากร มีคะแนนอยู่ในระดับดีมาก (5.1.6.5)

     7. การวัดวิเคราะห์ผลลัพธ์ เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการ และการจัดการความเสี่ยง

วิทยาลัยมีการวัดและวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ ดังนี้

          7.1 วิทยาลัยได้ทำการวิเคราะห์ผลจากการจัดการเรียนการสอน ผลการตรวจสอบคุณภาพ ความต้องการของผู้ประกอบการ และวิเคราะห์ความพร้อมของวิทยาลัย พบว่าทางวิทยาลัยมีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอต่อการจัดทำหลักสูตรใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของสังคม จึงได้จัดทำหลักสูตรใหม่รวม 2 หลักสูตร ได้แก่ 1)หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 2)หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563) ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรได้ผ่านการรับทราบ จาก สป อว. แล้ว (5.1.7.1)

         7.2 จากข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมพบว่า ปีการศึกษา2563 คณะวิชามีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก โดยคณะวิชาที่มีการตีพิมพ์มากที่สุดได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามลำดับ (5.1.7.2) และเพื่อให้การวิจัยและนวัตกรรม เป็นไปตามความต้องการของระดับประเทศไทยและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทางวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการต่อยอดงานบริการวิชาการเป็นงานวิจัย จำนวน 7 โครงการ โดยได้รับทุนในการดำเนินการจากหน่วยงานภายนอก จำนวนเงิน 1,397,210 บาท

         7.3 การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดจากการให้บริการวิชาการและผลลัพธ์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทยโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ชุมชนที่รับบริการ โรงเรียนที่รับการบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางวิทยาลัยพบว่าชุมชนที่รับบริการนั้นมีความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่หลากหลาย และช่วงอายุของประชากรในชุมชนมีตั้งแต่ช่วงเด็กไปถึงผู้สูงอายุ ซึ่งการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 นั้น คณะกรรมการบริการวิชาการ(5.1.7.3) และคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการปรับและพัฒนาวิธีการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความต้องการของสังคม และดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคระบาดของไวรัสโควิด 19 พร้อมทั้งวิทยาลัยได้มีการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการให้บริการวิชาการ เช่น โครงการ STEM-Ed ที่ร่วมมือกับ SEAMEO-Enjoy-Science โดยมีจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น Non-degree จำนวน 2 หลักสูตร รวมไปทั้งการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ เช่น ศูนย์ดูแลให้คำปรึกษาด้านการดูแลผู้สูงอายุให้กับชุมชน ศูนย์ให้คำปรึกษาพัฒนา SME สู่ธุรกิจ start up เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินการพบว่าความรู้ด้านสุขภาพและด้านการวางแผนธุรกิจของชุมชนมีการพัฒนาในระดับที่ดีขึ้น (5.1.7.4)

         7.4 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง(5.1.7.5) ได้นำข้อมูลจากการการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และระดับความเสี่ยง เพื่อจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน และจากการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงพบว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนบริหารความเสี่ยง และปัจจัยความเสี่ยงทั้งหมดมีระดับความเสี่ยงลดลงพร้อมทั้งจัดทำรายงานผลเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อรับทราบ (5.1.7.6)

      8. การประเมินความสำเร็จแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี การรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามแผนและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันต่อสภาสถาบัน จากการประเมินความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563 พบว่าการดำเนินการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา(5.1.8.1)

          วิทยาลัยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน(5.1.8.2) เพื่อรับผิดชอบหน้าที่ในด้านการกำกับ ติดตาม และสนับสนุนให้อาจารย์และคณะวิชาดำเนินการด้านประกันคุณภาพได้ตามระบบและวันเวลาที่กำหนด รวมไปถึงการจัดอบรมให้ข้อมูลตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา(5.1.8.3) เพื่อให้การดำเนินงานนั้นเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีการใช้ระบบ STIC CHE QA ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบให้การดำเนินการนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ(5.1.8.4) พร้อมทั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษามีการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถาบันเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

          วิทยาลัยมีการรายงานผลความสำเร็จตามแผนและรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาต่อสภาสถาบัน และได้นำผลการประเมินพร้อมทั้งข้อเสนอแนะมาพัฒนาแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานประจำปี เพื่อให้การบริหารองค์การนั้นสามารถพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพ มั่นคง และ ปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมีความพร้อมในการรองรับความต้องการต่าง ๆ ในอนาคต(5.1.8.5)

          สภาวิทยาลัยสามารถ กำกับ ดูแล การบริหารองค์การของวิทยาลัยในทุกพันธกิจให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และกำกับดูแลการบริหารงานของอธิการบดี ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และรองรับความต้องการในอนาคต(5.1.8.6)

 การบรรลุเป้าหมาย

          บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การของสถาบัน เพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ ของกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน สามารถดำเนินการได้ 8 ข้อ

เป้าหมายผลการดำเนินการคะแนนที่ประเมินตนเอง
7 ข้อ8 ข้อ5 คะแนน

หลักฐานเอกสารอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
5.1.1.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและแผน พ.ศ. 2560
5.1.1.2 การวิเคราะห์ SWOT ปีการศึกษา 2562
5.1.1.3 แผนยุทธศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2563-2567)
5.1.1.4 ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยและยุทธศาสตร์อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม  มาตรฐานการศึกษาของชาติ กรอบแนวทางปฏิรูปการศึกษา และยุทธศาสตร์การวิจัย
5.1.1.5 แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563
5.1.1.6 รายงานการประชุมสภาสถาบัน ครั้งที่ 3/2563
5.1.2.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผน ปีการศึกษา 2563
5.1.2.2 การวิเคราะห์วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของคณะวิชา ปีการศึกษา 2563
5.1.2.3 ผลประเมินตาม Webometric Thailand ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. 2564
5.1.3.1 รายงานการประชุมบุคลากรประจำปี
5.1.3.2 รายงานการประชุมคณะกรรมการนักศึกษา
5.1.3.3 รายงานการประชุมผู้บริหาร
5.1.3.4 ตารางวิเคราะห์สัดส่วนงบประมาณปีการศึกษา 2563
5.1.3.5 รายงานผลการประกอบอาชีพของบัณฑิตปีการศึกษา 2562
5.1.4.1 รายงานผลสรุปการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 ระยะครึ่งปี
5.1.4.2 รายงานผลสรุปการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 ระยะสิ้นปี
5.1.4.3 รายงานผลการพัฒนาผลลัพธ์ในการบริหารงานของอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2563
5.1.5.1 ระบบ MIS วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.1.5.2 คณะกรรมการจัดการความรู้ระดับวิทยาลัย
5.1.5.3 รายงานผลการจัดการความรู้ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ประจำปีการศึกษา 2563
5.1.5.4 คำสั่งสภาวิทยาลัยเรื่องการประเมินผลการบริหารงานของอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2563
5.1.5.5 รายงานผลการประเมินการบริหารงานของอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2563
5.1.6.1 คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ปีการศึกษา 2563
5.1.6.2 แผนพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.1.6.3 แผนบริหารงานบุคคล วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.1.6.4 รายงานผลการดำเนินตามแผนการบริหารงานบุคคล ปีการศึกษา 2563
5.1.6.5 รายงานผลการดำเนินงานแผนพัฒนาบุคลากร ปีการศึกษา 2563
5.1.6.6รายงานความพึงพอใจในแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
5.1.7.1 หลักฐานการรับทราบหลักสูตรจากระบบCHECO
5.1.7.2 สรุปการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติของคณะวิชา
5.1.7.3 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ
5.1.7.4 ผลการดำเนินการบริการวิชาการ ปีการศึกษา 2563
5.1.7.5 คำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
5.1.7.6 รายงานผลการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง ปีการศึกษา 2563
5.1.8.1 รายงานการประเมินความสำเร็จของแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี 2563
5.1.8.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2563
5.1.8.3 การจัดอบรมให้ข้อมูลตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา
5.1.8.4 ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา
5.1.8.5 รายงานผลความสำเร็จตามแผนและรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาต่อสภาสถาบัน
5.1.8.9 Improvement Plan ปีการศึกษา 2563