ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การบริหารคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การบริหารคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3             การบริหารคุณภาพการศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้                   กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้

          สถาบันมีหน้าที่กำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและคณะ โดยมีการดำเนินการตั้งแต่ การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษาและการดำเนินการตามพันธกิจ เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา เกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง   ที่สามารถสะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนผลการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถาบัน พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

 

เกณฑ์มาตรฐาน

1. มีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ

2. มีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานบรรลุตามพันธกิจ มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในในระดับหลักสูตรและระดับคณะตามระยะเวลาที่กำหนด

3. มีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่ครอบคลุมความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา ในด้าน 1)ผลลัพธ์ผู้เรียน 2)การวิจัยและนวัตกรรม 3)การบริการวิชาการ 4)ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และ 5)การบริหารจัดการ ตลอดจนการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ ที่ประกอบด้วย 1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย 2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ 3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร และ 4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ ต่อคณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

4. นำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณา

5. นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงการดำเนินการ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3-4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ

ผลการดำเนินงาน

     1. มีระบบและกลไกในการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ โดยมีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ

         วิทยาลัยมีระบบประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ (5.3.1.1) เพื่อควบคุมกำกับ ติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะวิชา โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ (5.3.1.2) เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับติดตามการประกันคุณภาพหลักสูตรทุกหลักสูตร และการประกันคุณภาพทุกคณะของวิทยาลัย ให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

     2. มีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และการสร้างสภาพแวดล้อม ให้เกิดผลตามระบบและตามระยะเวลาที่กำหนด

          วิทยาลัยมีการจัดสรรบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ และสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานตามพันธกิจ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตร ซึ่งเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฐานข้อมูลการวิจัย ฐานข้อมูลด้านหลักสูตร ฐานข้อมูลการประเมินผู้สอน ฐานข้อมูลการวัดและประเมินผล เป็นต้น (5.3.2.1) มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามระบบที่กำหนด และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและระดับคณะ ตามแผนการกำกับติดตามการประกันคุณภาพ (5.3.2.2)ตามระยะเวลาที่กำหนด

      3. มีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ต่อคณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

         วิทยาลัยมีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2563 ครอบคลุมความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา  และผลลัพธ์การพัฒนาที่สำคัญ(5.3.3.1) ต่อคณะกรรมการผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา  ซึ่งเป็นกรรมการระดับสถาบัน (5.3.3.2)ดังนี้

          3.1 ความสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พบว่ามีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาได้ครอบคลุมและเป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษาทุกด้าน ดังนี้

          1)ผลลัพธ์ผู้เรียน พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินตนเองว่ามีความรอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่ดี อยู่ในระดับดี

          2)การวิจัยและนวัตกรรม พบว่าคณาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเป็นจำนวนสูง

          3)การบริการวิชาการ พบว่าชุมชนที่รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          4)ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย พบว่า มีการบูรณาการวิจัย การบริการวิชาการ กับศิลปวัฒนธรรม ผลงานที่ได้นำไปเผยแพร่ในระดับนานาชาติ  

          5)การบริหารจัดการ พบว่ามีการบูรณาการหลักธรรมาภิบาล และการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารงาน ทำให้ผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จ บุคลากรมีความผูกพันกับองค์การสูง

           3.2 ผลการพัฒนาผลลัพธ์ที่สำคัญ พบว่ามีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาได้ครอบคลุม ผลลัพธ์ที่สำคัญทุกผลลัพธ์ ดังนี้

          1)ผลลัพธ์ตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นการบูรณาการกับการทำงาน(WIL) ด้านการวิจัยและนวัตกรรม คณาจารย์และนักศึกษามีการใช้งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการเรียนรู้ และนวัตกรรมทางสังคม ด้านการบริการวิชาการ คณาจารย์และนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการร่วมกันในการรับใช้สังคม ด้านศิลปวัฒนธรรม คณาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกับชุมชนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกัน

          2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฎิบัติการ มีการปรับวิธีคิด เปลี่ยนแปลงวิธีการงาน ในระบบการทำงานต่างๆผ่านระบบสารสนเทศ เช่น การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชั่นในการเรียนการสอน และการวัดผล การใช้ข้อมูลสารสนเทศในการให้คำปรึกษา การแนะแนว และนิเทศการสอน เป็นต้น

         3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร บุคลากรมีขีดความสามารถในการทำงานสูงขึ้น มีความสุขในการทำงานในการช่วยเหลือนักศึกษา เกิดเป็นความผูกพันต่อองค์การแบบครอบครัว

         4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร และนำองค์การไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถแข่งขันได้กับสถาบันที่มีจุดเน้นและขนาดที่ใกล้เคียงกัน

           ในปีการศึกษา 2562  มีการรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ไปยังการประชุมผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งเป็นกรรมการระดับสถาบันในเดือนสิงหาคม 2563 ก่อนนำเสนอสภาวิทยาลัยพิจารณา ให้ความเห็น(5.3.3.3)

             สำหรับปีการศึกษา 2563  คาดว่าจะนำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ไปยังการประชุมผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ซึ่งเป็นกรรมการระดับสถาบัน ภายในเดือน สิงหาคม 2564

     4. นำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณา

         ผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ของวิทยาลัย พบว่า เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการอุดมศึกษา เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

         วิทยาลัยจึงนำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร การประเมินคุณภาพระดับคณะทุกคณะ และการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสถาบัน รายงานเสนอต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณา โดยปีการศึกษา 2562  เสนอในการประชุมสภาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2563 (5.3.4.1) สำหรับปีการศึกษา 2563 จะนำเสนอในการประชุมสภาวิทยาลัยครั้งต่อไป ประมาณเดือนกันยายน  

      5. นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงการดำเนินการ

          วิทยาลัยนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบัน มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง(5.3.5.1)

     6. มีผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบด้านการกำกับมาตรฐาน ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

         การประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ทุกหลักสูตรของวิทยาลัยมีผลการประเมินผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง – ระดับดี(3.13 – 4.60)  (5.3.6.1)

การบรรลุเป้าหมาย

          บรรลุเป้าหมาย เพราะวิทยาลัยกำหนดเป้าหมายของตัวบ่งชี้ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะไว้ 6 ข้อ 5 คะแนน

เป้าหมายผลการดำเนินการคะแนนที่ประเมินตนเอง
6 ข้อ6 ข้อ5 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
5.3.1.1 ระบบกลไกการประกันคุณภาพ หลักสูตร และคณะ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.3.1.2 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการประกันหลักสูตรและคณะ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
5.3.2.1 ภาพระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตร
5.3.2.2 แผนการกำกับติดตามการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ปีการศึกษา 2563
5.3.3.1 รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2563
5.3.3.2 รายงานการประชุมผู้บริหาร วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ครั้งที่ 6/2563
5.3.3.3 รายงานการประชุมผู้บริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2564
5.3.4.1 รายงานการประชุมสภาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2564
5.3.5.1 แผนพัฒนาคุณภาพจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบัน 
5.3.6.1 รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

ข้อสรุปโดยรวมมาตรฐานที่ 5

จุดแข็ง

  1. ผู้บริหารทุกระดับใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการจัดการให้บรรลุผลลัพธ์ ตามพันธกิจและนโยบายของสถาบัน
  2. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพงานและคุณภาพสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  3. มีเครือข่ายการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทำให้มีการพัฒนาทุกพันธกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนานาชาติ เครือข่ายกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เป็นต้น

 จุดที่ควรพัฒนา

  –

 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  –