1.1 Curricular Management

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1                         การบริหารหลักสูตร

ชนิดของตัวบ่งชี้                   ผลลัพธ์

คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะพึงบริหารหลักสูตรในทุกหลักสูตร ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และจุดเน้นของหลักสูตร เป็นไปตามอัตลักษณ์ของคณะวิชา และอัตลักษณ์ของสถาบัน  เพื่อให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง การเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

ผลการดำเนินการของแต่ละหลักสูตรในคณะวิชา สามารถสะท้อนคุณภาพของบัณฑิต ในหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ

เกณฑ์การประเมิน

ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินทุกหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิชา

ผลการดำเนินงาน

   คณะศึกษาศาสตร์ ใช้หลักการบริหารจัดการแบบเสริมพลังอำนาจ(Empowerment Approach) ที่มีกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ-Mission Analysis 2) วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน-ปัญหา หรือระดับคุณภาพงานตามตัวชี้วัดที่กำหนด-Taking Stock  3) กำหนดเป้าหมายคุณภาพของงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ-Setting Goal  4) กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาและกำหนดแผนงานโครงการรองรับ -Developping Strategies 5) ดำเนินการตามแผน ที่มีการกำกับติดตามการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง-Implementing with the best Monotoring Technique  6) รวบรวม วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน-Documenting Progress   โดย การดำเนินงานทั้ง 6 ขั้นตอน เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของโปรแกรมวิชาหรือหลักสูตรต่างๆ  ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติได้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ฐานคุณภาพปีการศึกษาที่ผ่านมา(ปีการศึกษา 2562)ของแต่ละหลักสูตรและในภาพรวมของคณะ ยึดคะแนนผลการประเมินระดับหลักสูตรในปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็น Baselineในการพัฒนาปีการศึกษาต่อไป มีการตั้งเป้าว่า “โดยเฉลี่ยแต่ละหลักสูตรควรบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ผลการประเมินในปีการศึกษาถัดไป คือ 2563 ควรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนส่วนที่เหลือในการขึ้นสู่คุณภาพระดับสูงสุด”  หลังจากนั้นจะจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนระยะ 3 ปี(2561-2563) มีโครงการสำคัญ 2 รายรายคือการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี และ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษา แล้วให้แต่ละหลักสูตรดำเนินงานตามแผนปรับปรุงพัฒนา ที่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะของปีที่ผ่านมา  มีการกำกับติดตาม  ประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหลักสูตรเป็นระยะๆ เพื่อร่วมแก้ปัญหา และศึกษาจุดเด่นของแต่ละหลักสูตร โดยมีปฏิทินการบริหารหลักสูตรในระดับภาพรวมของคณะและในระกับหลักสูตรที่เป็นรูปธรรม 

   ผลการดำเนินงานในระดับหลักสูตร ทำให้ทุกหลักสูตรจำนวน 7 หลักสูตร ที่จัดการศึกษาในปี 2563 ได้รับคะแนนผลการประเมินคุณภาพจากกรรมการที่วิทยาลัยแต่งตั้งในระดับที่สูงขึ้น ทุกหลัสูตร  คะแนนเฉลี่ยจากปี 2562 ที่มีค่าเท่ากับ 4.01 เป็น 4.20 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ของช่วงคะแนนที่เหลือ

Operational Results

CurriculumScore
1. B.Ed-Eng4.59
2. B.Ed-Math4.21
3. B.Ed-Sci4.17
4. G-Dip Inter4.60
5. G-Dip Thai4.40
6. M.Ed-Admin3.98
7. M.Ed-LMS3.42

                      เกณฑ์การประเมิน

ผ่าน (/)/

ไม่ผ่าน (x)

 

       คะแนนประเมิน      หลักสูตร

2562

2563

ระดับปริญญาตรี

1. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

/

4.22

4.59

2. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์    

/

4.07

4.21

3.หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

/

3.77

4.17

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

1.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณ     ฑิตสาขาวิชาชีพครู (หลักสูตร   ภาษาไทย)

/

4.17

4.40

2.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรนานาชาติ)

/

4.16

4.60

ระดับปริญญาโท

1. หลักสูตรศึกษาศาสตร    มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา(หลักสูตรนานาชาติ)

/

3.66

3.98

2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

/

ยกเลิก

3.หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้

หลักสูตรนี้เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2563

3.42

คะแนนรวมทุกหลักสูตร

24.5

29.39

จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ

6

7

คะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรที่ได้

4.01

4.20

Average Score 1.1 = (29.37/7) = 4.20 

รายการหลักฐาน

1.1.1 Results Self-Assessment Report – B.Ed-Eng
1.1.2Results Self-Assessment Report – B.Ed-Math
1.1.3Results Self-Assessment Report – B.Ed-Sci
1.1.4Results Self-Assessment Report – G.Dip-Inter
1.1.5Results Self-Assessment Report – G.Dip-Thai
1.1.6Results Self-Assessment Report – M.Ed-Admin
1.1.7 Results Self-Assessment Report – M.Ed-LMS
ผลการประเมินตนเอง
4.20
ประเด็นที่ควรพัฒนาต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2564 โดยหลักสูตรใหม่ต้องประเมินตนเอง และนำเสนอ BP ทุกภาคการศึกษา