1.4 Student Development Plans Outcomes
Indicator 1. 4 Outcomes of student development
Type of result indicator
Indicator description
The faculty must manage the curriculum. Faculty management Manage services and student activities Appropriately and completely For the development of students to achieve the results that the society expects, namely 1) student results in accordance with educational standards and higher education standards, including being knowledgeable, capable, and knowledgeable Being a co-creator And strong citizenship, and 2) student results needed That is in line with global changes in the 21st century, including the ability to use English And learning skills in the 21st century
Performance of each faculty That can reflect the quality of student development outcomes Based on the results of the development of student results. And the results of skills development in the 21st century
Indicator assessment criteria 1.4
The average value of the assessment scores 2 sub-indicators Is the sub-indicator at 1.4.1. The mean score of the development of student results And the sub-indicator at 1.4.2 the mean score of the 21st century skill development of the learners was between 0 – 5
Details of each sub-indicator are as follows
Indicator 1.4.1 Results of the development of student results
Indicator description
The faculty must produce graduates for academic progress and knowledge development. In order to achieve results of student development is important Being a knowledgeable and knowledgeable person Be a collaborator And being a strong citizen Therefore, the faculty should determine the outcomes of developing the outcomes of the students of the faculty. To show the results of student development Or student progress In the development of student results as specified by the higher education standards as follows
1) In the case of undergraduate students Based on the number of students whose work represents Becoming an expert Being a co-creator Strong citizenship One Or many combinations
2) In the case of graduate students (diplomas), consider the number of students whose work represents Becoming an expert Being a co-creator Strong citizenship One Or many combinations
3) In the case of graduate students (masters, doctorate) consider the calculations of graduates whose work is published in international academic journals. That has been accepted by the Higher Education Declaration
Assessment criteria
The percentage of students whose work is to improve the results of learners who are assigned to a full score of 5 is equal to 60 percent or more.
In the case of the Faculty of Education organizing many educational levels Use the average score to improve the results of learners of all levels
Indicator 1.4.2 Results of skills development in the 21st century
Indicator description
The faculty must produce graduates with the necessary skills. That is in line with global changes in the 21st century or progress in 21st century skills, both in the ability to use English And learning skills in the 21st century in order for graduates to be able to compete internationally. Therefore, final year students before graduation should have the effect of developing skills in the 21st century by providing Assess development progress English language ability And learning skills in the 21st century according to the criteria set by the faculty and institutions
Percentage of students who have passed the English language proficiency requirements Which is assigned to be a full score of 5 equal to 60 percent or more
The percentage of students who have passed the 21st century learning skills criteria, which is assigned to a full score of 5, is equal to 60 percent.
Assessment criteria
Mean score of the English language proficiency scores and the 21st century learning skills scores
ผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดที่ 1.4.1 ผลการพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน
ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตร คณะให้ความสำคัญกับหลักการในมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ที่ระบุว่า “การจัดการศึกษาให้ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด” ภายใต้หลักการนี้ คณะได้พัฒนาคณาจารย์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน ต้องให้เวลาและใช้เทคนิควิธีที่เหมาะสม ก็จะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทุกคน การจัดประสบการณ์สำหรับผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ(ฉบับ 2561) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีสมรรถนะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. Learner Person and Master Learner : การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้เรียนที่รอบรู้ ในประเด็นนี้ จะต้องสร้างผู้เรียนให้ใฝ่รู้ และเรียนรู้ในรายวิชา อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความรอบรู้และมีทักษะสำคัญตามที่หลักสูตรกำหนด รวมถึงทักษะทางวิชาชีพ ตัวชี้วัดสำคัญ คือ นิสัยรักการอ่าน และคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรายวิชา(GPA) รวมถึงผลงานของนักศึกษาที่นำมาแสดงเมื่อสิ้นภาคการศึกษา หรือสะสมไว้ในแฟ้มสะสมงาน
2. Co-Creator : ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ในประเด็นนี้ ผู้เรียนจะต้องมีทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ผลงาน หรือเสนอทางเลือกใหม่ๆในการพัฒนางาน รวมถึงมีทักษะในการทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และมีความสามารถด้านการสื่อสาร การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนางาน ผลลัพธฺ์สำคัญที่แสดงถึงสมรรถนะด้านนี้ คือ ผลงานโครงงานของนักศึกษา งานประดิษฐ์คิดค้น งานสร้างสรรค์ ที่นักศึกษาผลิตและสั่งสมไว้ใน E-Portfolio หรือนำไปเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านวารสารหรือการสัมมนาทางวิชาการ หรือนำมาจัดนิทรรศการเมื่อสิ้นภาคเรียน
3. Active Citizen : คณะมุ่งมั่นพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีวินัย มีน้ำใจและมีความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคณะ ฝึกให้เป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม(มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม) เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว และเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนหรือสังคมประเทศ โดยประกาศย้ำให้นักศึกษารับทราบคุณลักษณะเหล่านี้ ในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่หลักสูตร(จัดทำเป็นคู่มือนักศึกษา) กำหนดกิจกรรมไว้ในกิจกรรมเสริมความเป็นครู ทั้งระดับป.ตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ให้ทำกิจกรรมผ่านรายวิชาทำกิจกรรมอาสาสมัครภายใต้โครงการบริการทางวิชาการของนักศึกษา(วิทยาลัยให้การสนับสนุนงบประมาณ) เช่น สอนน้องในโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน หรือร่วมกิจกรรมค่ายอาสาภาคฤดูร้อน เป็นต้น
ในการตรวจสอบหรือประเมินสมรรถนะทั้ง 3 รายการนี้ พบว่า นักศึกษาทุกคน(ร้อยละ 100) จะมีผลผลิตเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่นำมาแสดงบนเวทีหรือในห้องสัมมนา และนักศึกษาทุกคนมีแฟ้มสะสมงานที่สะท้อนการมี-การเกิดคุณสมบัติหรือสมรรถนะเหล่านี้ในระดับดีขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนักศึกษาออกฝึกปฏิบัติงานในชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะถูกประเมินสมรรถนะเหล่านี้จากครูพี่เลี้ยงหรือผู้บริหารสถานศึกษา ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 พบว่ามีค่าเฉลี่ยสู่กว่าคะแนนประเมินในเรื่องเดียวกันที่ประเมินในภาคต้น คะแนนผลการประเมินภาคปลายเป็นดังนี้ ผลการประเมินสมรรถนะ 3 รายการหลัก พบว่า 1) การเป็นผู้รอบรู้ (ครอบคลุมเรื่องความรู้และทักษะทางปัญญา) 2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(ครอบคลุมทักษะทางปัญญา การทำงานเป็นทีม และความสามารถด้านการสื่อสาร ไอซีที หรือเชิงตัวเลข) และ 3) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง(การเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และอัตลักษณ์ ) โดยประเมินนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แบบครบถ้วน 100 % พบว่า ได้ระดับคุณภาพทั้ง 3 ด้าน เท่ากับ 4.37 4.44 และ 4.53 ตามลำดับ(คะแนนเต็ม 5.00)
คะแนนผลการประเมินสมรรถนะบัณฑิต 6 รายการ ตามมาตรฐาน TQF รุ่นที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2562(มีงานทำ 1 ปี) จำนวน 21 คน พบว่า ศึกษาต่อ 2 คน เข้าสู่วิชาชีพครู 19 คน ซึ่งทุกคน(100%)ได้คะแนนผลการประเมินสมรรถนะในระดับดีมาก(ในระบบคะแนนเต็ม 5.00) โดยปรากฏคะแนนผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.62
2) กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา(ประกาศนียบัตร) พิจารณาจากจำนวนนักศึกษาที่มีผลงานที่แสดงถึงคือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกัน
กรณีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่ม ป.บัณฑิต พบว่า ทุกคนปฏิบัติงานตามชุดกิจกรรมเสริมความเป็นครู มีผลงานเข้าลักษณะทั้ง 3 ประการ ก่อนสำเร็จการศึกษาได้ส่งผลงานเป็นแฟ้มสะสมงาน(นักศึกษารุ่น 2561 ซึ่งจบการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2562 ยังเป็นแฟ้มเอกสารเป็นส่วนใหญ่) ในกรณีของนักศึกษารุ่น 2562 ที่จบการศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2563 ทุกคนได้เตรียมผลงานที่แสดงถึงศักยภาพทั้งสามประการ ผ่าน E-Portfolios เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับขั้นการนำเสนอต่อคุรุสภา เมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งปรากฏว่า ทุกคนหรือร้อยละ 100 (178 คน) ได้ส่งแฟ้มสะสมงานเพื่อยืนยันผลการประเมินสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่พร้อมในการยื่นขอรับรับในอนุญาตประกอบวิชาชีพครู(คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ระหว่างร้อยละ 78 ถึงร้อยละ 87 ของคะแนนเต็ม(เทียบน้ำหนักคะแนน เท่ากับ 4.10 คะแนน)
ในส่วนของนักศึกษาระดับปริญญาโทบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 มีผู้สำเร็จการศึกษา 3 ราย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ สกอ.(100 % ของผู้สำเร็จการศึกษา)
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4.2 ผลการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ในด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 คณะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การเป็นนักอ่าน ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรม ทักษะไอซีทีเพื่อการดำเนินชีวิต ทักษะการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ทักษะจัดการ-ทำงานเป็นทีม รวมถึงการสร้างความตระหนักในเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความผาสุก(Education for Well Being) ตามแนวคิดของ OECD ที่เห็นว่าโลกในอนาคตจะไม่ผาสุก ด้วย 3 ปัจจัย คือ ภัยธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม/โรคภัยไข้เจ็บ การมีรายได้/การมีงานทำ และการเคารพความแตกต่าง/ความเห็นต่าง/เห็นในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์….ปัจจุบัน คณะได้นำแนวคิดนี้ มาใช้ในงานบริการทางวิชาการ ร่วมพัฒนากลุ่มโรงเรียนในรัศมีใกล้วิทยาลัย จำนวน 7 โรงเรียน ภายใต้โครงการ “พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง” ที่ดำเนินการต่เนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2563(จบที่กันยายน 2563) โดยได้ขยายแนวคิดนี้ ให้นักศึกษาป.บัณฑิตและนักศึกษา ปี 4-5 รับทราบทุกคน และให้สมัครเข้ามามีบทบาทร่วมในโคารงการดังกล่าว
ในด้านทักษะไอซีที และ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในปี 2563 ทุกคน ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ทุกคนมีทักษะไอซีที่ สามารถพัฒนา E-Teaching Portfolio อย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม ทุกคนมีผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คนละ 1 รายการ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูล TCI มากกว่า 5 ราย
สำหรับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาชั้นปีที่ 3-5 มากกว่าร้อยละ 70 เข้าฝึกทักษะและประเมินสมรรถนะตนเองเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ในปี 2563 มีนักศึกษาชั้นปีที่ 4(รหัส17) จำนวน 34 คน เข้ารับการทดสอบ TOEIC ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ(เทียบกับเกณฑ์ของโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คือ 450) พบว่ามีนักศึกษาสอบผ่าน จำนวน 7 คน จาก 34 คน คิดเป็นร้อยละ 20.59 (ในปี 2564 นักศึกษากลุ่มนี้ เรียนชั้นปีที่ 5 เป็นการออกฝึกสอนเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา) ข้อมูลผลการทดสอบ สรุปได้ดังตาราง
ตารางแสดงจำนวนผู้เข้าสอบ TOEIC และผ่านเกณฑ์ 450 คะแนน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563(จำนวน 34 คน)
กลุ่มนักศึกษา |
เข้าสอบ |
จำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ |
||
น้อยกว่า 400 |
400-450 |
มากกว่า 450 |
||
ชั้นปีที่ 4(รหัส 17) |
34 |
20 |
7 |
7 |
การคำนวณน้ำหนักคะแนน 1.4.2 คิดจาก % ผู้ผ่าน การทดสอบ TOEIC ตามเกณฑ์ คือ 20.59 % (60 % เท่ากับ 5 คะแนน)
ได้คะแนน = (5 x 20.59)/60 = 1.73
รายการหลักฐาน
1.4.1(1) แบบประเมินสมรรถนะนักศึกษา 3 สมรรถนะ และคะแนนผลการประเมิน |
1.4.2(1) ตัวอย่าง E-Portfolio ของนักศึกษา(แสดงถึงทักษะ ICT) |
1.4.2(2) รายงานการประเมินทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษารุ่น 2563 |
ผลการประเมินตนเอง 1.4 ——————————————– ตัวชี้วัด 1.4.1 ผลการประเมิน 5.00 ตัวชี้วัด 1.4.2 ผลการประเมิน 1.73 ——————————————– คะแนนเฉลี่ย ตัวบ่งชี้ 1.4 เท่ากับ (5+1.73)/2 = 3.37 |
