มาตรฐานที่ 3: การบริการทางวิชาการ

คณะต้องมีการบริการวิชาการแก่สังคม การให้บริการวิชาการนั้น นอกจากเป็นการได้นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ตามความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆของคณะ เพื่อไปประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่กับสภาพบริบทของสังคมไทย ตามความได้เปรียบเชิงทรัพยากรและความได้เปรียบเชิงพื้นที่ และ นำนักศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ ออกไปปฏิบัติการในลักษณะการให้บริการกับชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนในพื้นที่ที่ให้บริการอีกด้วย ดังนั้น ผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน จึงไม่เพียงแต่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน หรือสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน แต่ยังเป็นการนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการ มีพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นองค์ความรู้ เกิดเป็นทฤษฎีใหม่ที่เติบโตภายใต้บริบทของสังคมไทย และผลที่สำคัญคือ การพัฒนาให้นักศึกษาเป็นพลเมืองที่ดีที่รู้จักการรับใช้สังคม

ผลการบริการวิชาการของคณะที่มีคุณภาพได้นั้น คณะต้องให้ความสำคัญกับความสำเร็จของการบริการแก่สังคม ที่เกิดขึ้นจากทั้งกิจกรรมที่มีรายได้ และกิจกรรมที่ให้เปล่า กิจกรรมการสร้างคุณค่า หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรในชุมชน ตามองค์ความรู้ที่มีอยู่และตามสภาพบริบทของสังคม

ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านการบริการทางวิชาการ ประกอบด้วย 1 ตัวบ่งชี้ คือ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

มีรายละเอียดดังนี้

ในรอบการประเมิน ปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงพัฒนาดังต่อไปนี้

จุดเด่น

จุดที่ควรปรับปรุงพัฒนา

1. ควรมีการบูรณาการการบริการทางวิชาการกับการเรียนการสอน