Administration and Management
คณะต้องมีการบริหารให้เป็นไปตามพันธกิจที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด ทั้งในการบริหารองค์การ และการบริหารคุณภาพการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนให้การผลิตบัณฑิตมีผลลัพธ์ตามที่กำหนด มีการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พระราชบัญญัติการอุดมศึกษาเอกชน การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานการอุดมศึกษา และกฎ ระเบียบ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของสถาบันอุดมศึกษา
ความสำเร็จของการบริหารจัดการ นอกจากการใช้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารยุทธศาสตร์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากร การใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการ การจัดการความรู้ การบริหารความเสี่ยงแล้ว ต้องคำนึงถึงการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล และการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สอดตคล้องกับบริบท ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของคณะและสถาบัน ตลอดจนความได้เปรียบเชิงทรัพยากร และความได้เปรียบเชิงพื้นที่
ผลการบริหารงานของคณะให้มีคุณภาพ คณะต้องให้ความสำคัญทั้งการบริหารองค์การที่ครอบคลุมทุกพันธกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการบริหารคุณภาพการศึกษา ที่ครอบคลุม คุณภาพการบริหารหลักสูตรทุกหลักสูตรที่คณะจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารองค์การของคณะ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารคุณภาพการศึกษา
มีรายละเอียดดังนี้
ผลการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม
- มีการกำกับติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตรจนเห็นผลอย่าเป็นรูปธรรม
- ใช้ช่องทางสื่อสังคมหรือเทคโนโลยีในหลายๆรูปแบบได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
- ควรพัฒนา Quality Improvement Plan ที่ชัดเจนและได้อย่างทันท่วงทีที่จบการประเมิน
- ควรมีการบริหารความเสี่ยงเพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย
- ควรส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนา Electronic portfolio ที่สะท้อนศักยภาพบุคคลและองค์กร
- ควรส่งเสริมให้นักศึกษารับรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขอคณะ