Quality Standard 1: Learners’ Outcomes

พันธกิจที่สำคัญในการจัดการการอุดมศึกษาคือการผลิตบัณฑิต ด้วยการใช้ทรัพยากรต่างๆในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ และมีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของคณะวิชา และอัตลักษณ์ของสถาบัน สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีผลการเรียนรู้เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ผู้เรียน ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561  ที่ประกอบด้วย การเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

การผลิตบัณฑิตของแต่ละคณะ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่สมบูรณ์ได้นั้น ต้องให้ความสำคัญกับหลักสูตร อาจารย์ และนักศึกษา ที่อยู่ในกระบวนการจัดการศึกษา จึงจะเกิดผลลัพธ์ผู้เรียนที่ดี คือ การเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ดังนั้นมาตรฐานคุณภาพด้านผลลัพธ์ผู้เรียน คณะต้องดำเนินการในเรื่อง การบริหารหลักสูตร การบริหารอาจารย์ การจัดการบริการให้กับนักศึกษา และการจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็น ตลอดจนการมีผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนานักศึกษา อย่างมีคุณภาพ

ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ

Indicator 1.1  Curricular Management

Indicator 1.2  Faculty members/Lecturers Management

Indicator 1.3  Students’ services and activities

Indicator 1.4  Students’ development outcomes

มีรายละเอียดดังนี้


ผลการประเมิน ปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการประเมินได้ให้ข้อสังเกตและเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

คณะส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาทุกคนมีแผนการพัฒนาคุณภาพของตนเองเพื่อเป็นครูที่ดีอย่างชัดเจนและเก็บรวมรวมผลการดำเนินงานไว้ใน E-portfolio ของแต่ละคน

ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมจุดเด่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

1. คณะควรพัฒนาทักษะของนักศึกษาในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของการอบรมระยะสั้น การเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนให้บริการวิชาการกับชุมชน รวมถึงสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยี

2. คณะควรจัดทำวิจัยและพัฒนาระบบประเมินผลสมรรถนะชั้นปี เพื่อนำผลมาปรับปรุงคุณภาพนักศึกษาต่อไป