มาตรฐานที่ 2 : การวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์

พันธกิจการวิจัยเป็นพันธกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการอุดมศึกษา คณาจารย์ต้องมีการสืบค้น ค้นหา ทดลอง ทดสอบ ด้วยกระบวนการวิจัย ให้เป็นการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของคณะ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ  ด้วยการใช้เครือข่ายความร่วมมือระหว่าง คณะ สถาบันอุดมศึกษา หรือองค์กรต่างๆ  ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้นผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สำหรับการจัดการเรียนรู้ ความสำเร็จของการวิจัยจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย

ผลงานวิจัยของคณะที่มีคุณภาพได้นั้น คณะต้องให้ความสำคัญกับการใช้ระบบและกลไกในการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม การบริหารทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก และการบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่ดีและเหมาะสม มีผลกระทบต่อการพัฒนาผู้เรียน การสร้างคุณภาพชีวิต หรือการสร้างโอกาส มูลค่าเพิ่ม และขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ

ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านการวิจัย ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 การบริหารผลงานวิจัยและนวัตกรรม

มีรายละเอียดดังนี้

ผลการประเมินคุณภาพภายใน ปี 2563: คณะกรรมการมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

1. คณาจารย์มีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่างๆเป็นจำนวนมาก

2. คณะมีการจัดหาทุนวิจัยจากภายนอกอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมจุดเด่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

1. คณะควรมีแผนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ และมีการติดตามอย่างชัดเจน โดยทำเป็นแผนระยะกลาง ระยะยาว

2. คณะควรส่งเสริมให้คณาจารย์ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารที่อยู่ในระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และ/หรือผลิตผลงานวิชาการที่มี impact factor มากๆ

3. คณะควรมีการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ที่เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเน้นการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ที่สามารถวัดสมรรถนะผู้เรียน

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น