3.1 Academic Servicing
Indicator 3.1 Academic services to society
The type of process indicator
Indicator description
คณะต้องมีการบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ โดยมีระบบและกลไกในการดำเนินงานที่ชัดเจน และคำนึงถึงกระบวนการในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตั้งแต่การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการจัดทำแผนการบริการวิชาการประจำปี ที่สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน สังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของคณะ ทั้งการบริการแบบทั่วไป และการบริการแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน และ/หรือเป็นบริการที่ทำให้เกิดรายได้ ตลอดจนมีความร่วมมือระหว่างคณะ สถาบันการศึกษา ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ร่วมกันให้บริการบริการวิชาการ และ มีการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการ ที่นำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ของผู้เรียน ชุมชน หรือสังคม ประเทศชาติ
ผลการดำเนินการของสถาบัน ที่สามารถสะท้อนคุณภาพบริการวิชาการแก่สังคม พิจารณาจากการดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
Standard criteria
1. The faculty has introduced the policy and academic service direction of the institute. Come to define the community or target organization According to the focus and type of faculty And used in the annual academic service plan Caused by participation from the target community or organization Including academic service plans for general society And specific academic service plans Which is a free service Or non-profit And / or providing income services As well as having plans to make use of academic services for society That is creating value for society Considered from income Or creating value that doesn’t focus on income Of academic services for society According to the focus and type of faculty
2. The faculty has a process for providing academic services to the society in general. And specific Which focuses on achieving results that are consistent with the context Respond and benefit the local community, society, according to the level of expertise and identity of the faculty.
3. Faculty members are involved in the implementation of the academic service plan for the faculty’s society. As well as the integration of academic services With teaching and learning in curriculum and research for the faculty and students Have a learning experience that is consistent with the context Respond and benefit society And learn for social service.
4. Faculty has established a network of cooperation between faculties. And external agencies such as government and private educational institutions for community development or target organizations. In order to contribute to the society to have a change for the better in one or many areas According to the faculty’s focus and type, such as local development, community, way of life, arts and culture, environment, occupation, economy, politics, governance, quality of life, good health, etc.
5. The faculty has systematically and continuously monitored the academic service results. There is a service evaluation with clients, both general and specific. Successful assessments are based on project indicators and academic service plan indicators. And the evaluation results obtained will be used to improve or improve operations.
6. The target community or organization that receives academic services from the faculty Can use the results from the service to improve Or apply any part in development Or can be used in a concrete way The result is a positive impact. In the continuous development of learners, communities or society
Assessment criteria
Score 1 | Score 2 | Score 3 | Score 4 | Score 5 |
Has action
1 item |
Has action
2 items |
Has action
3-4 items |
Has action
5 items |
Has action
6 items |
Operational results
ในด้านการบริการทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ ได้จำแนกระดับบริการทางวิชาการกับเป้าหมายสำคัญ จำแนกเป็น 4 ระดับ คือ ชุมชนที่ตั้งของวิทยาลัย(อำเภอองครักษ์) ท้องถิ่นหรือจังหวัดที่ตั้งของวิทยาลัยหรือรัศมีใกล้เคียง(จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และปทุมธานี) ภูมิภาค(ภาคตะวันออก) และสังคมทั่วไปของประเทศไทยหรือวงวิชาการทั่วไป โดยได้ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ (1) วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ(Mission Analysis) (2) วิเคราะห์สภาพบริการทางวิชาการที่ผ่านมาและ สภาพปัจจุบัน-ปัญหา(Taking Stock) (3) การกำหนดเป้าหมาย(Setting Goal) (4) การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies) (5) ดำเนินการตามแผน(Implementing) และ (6) ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress) ในการดำเนินงานตามแนวทางนี้ คณะได้ดำเนินการอย่างเป็นรุปธรรม ดังนี้
1. กำหนดนโยบายในการให้บริการทางวิชาการ ครอบคลุม 2 ลักษณะ คือ (1)บริการทางวิชาการแบบทั่วไปตามความต้องการของสังคม ชุมชน ทั่วไป และชุมชนทางการศึกษา และ (2) บริการทางวิชาการแบบเฉพาะ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สังคมการศึกษาควรได้รับการพัฒนาเป็นการเฉพาะ อีกทั้งเน้นสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับคณาจารย์และเน้นการส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตหนังสือ ตำราหรือเอกสารวิชาการ สำหรับบริการชุมชน สังคม โดยเฉพาะสำหรับสังคมการศึกษา มากขึ้น โดยในการนี้ คณะได้จัดทำโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ประกาศหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะที่พร้อมให้บริการไว้ในเว็บไซต์ของคณะ และจัดทำโครงการบริการทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา
2. คณะได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมแบบทั่วไป เช่น (1) ไปร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน ร่วมกับวิทยาลัย (2) ร่วมประชุมกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอองครักษ์ เป็นระยะ ๆ เพื่อเสนอแนวคิดในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีและในปีต่อๆไป (3) ให้การนิเทศครูประจำการตามโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว(เป็นครูที่บรรจุในปี 2563-2564) ภายใต้งบประมาณสนับสนุนงบประมาณจาก สป.อว. (4) ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง 13 โรง เช่น โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน และโรงเรียนวัดราฎร์ศรัทธาธรรม โรงเรียนบ้านคลอง 22(อาบเอิบจิตรอุปถัมภ์) โรงเรียนบ้านปลายคลอง 22 โรงเรียนบ้านคลอง 24 โรงเรียนองครักษ์ โรงเรียนนวมราชานุสรณ์ เป็นต้น
3. การให้บริการทางวิชาการ โดยคณาจารย์และนักศึกษาในคณะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนบริการวิชาการแก่สังคมของคณะ เช่น
- ไปร่วมเป็นอาจารย์นิเทศและเป็นวิทยากร ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง และ
- มีการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนในหลักสูตร ด้วยการให้นักศึกษา ปี 3-4 เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการโดยคณะ และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาภายใต้การสนับสนุนของคณะ
- มีการวิจัยประเมินผลโครงการ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้คณาจารย์และผู้เรียน มีประสบการณ์ในการเรียนรู้หรือถอดบทเรียนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริการทางวิชาการแก่สังคมในอนาคต
- โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ปีงบประมาณ 2564 เป็นโครงการที่เน้นในเรื่อง การสร้างเด็กให้เป็นนักอ่านและเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการท้องเที่ยวเมืองนครนายก
- โครงการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สำหรับน้อง ที่โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม(บริหารจัดการโดยคณะนักศึกษาปี 3-4 ภายใต้การอนุมัติและสนับสนุนของวิทยาลัย)
- การเป็นวิทยากรด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับ เขตพื้นที่การศึกษา หรือสถานศึกษา 5-6 ครั้ง (6)
- การไปร่วมเป็นคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาระบบการทดสอบและประเมินเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้กับคุรุสภา
- การเป็นกรรมการและประธานกรรมการพัฒนาระบบประกับคุณภาพระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับ สมศ. เป็นต้น
4. คณะได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะและหน่วยงานภายนอก
- คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการกำกับคุณภาพวารสารทางวิชาการ
- สถาบันการศึกษาในเครือข่ายประกันคุณภาพของวิทยาลัย เครือข่ายคุณภาพการศึกษาภาคตะวันออกที่มี ม.บูรพาเป็นแม่ข่าย
- สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คณบดี และอาจารย์ในคณะไปทำหน้าที่อนุกรรมการด้านต่างๆ
- สมศ. คณบดีทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ประธานอุทธรณ์ผลการประเมิน ประธานส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้ กรรมการพิจารณาและกำกับทุนวิจัย สมศ.
- เครือข่ายโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 และเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว เป็นต้น ในการพัฒนาชุมชนหรือองค์การเป้าหมาย เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ต่อสังคมให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
- สำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการชั้นใน ได้ร่วมมือกับโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนกลุ่มที่ 3 มี 13 โรงเรียน เพื่อร่วมในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เพื่อมุ่งพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ คุณภาพชีวิต สุขภาพที่ดี เป็นต้น
5. คณะได้มีการกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ทั้งกระบวนการออนไลน์และการปฏิสัมพันธ์ทางตรงในการประเมินผลการบริการกับผู้รับบริการทั้งการบริการแบบทั่วไปและแบบเฉพาะเจาะจง มีการประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของโครงการและตัวบ่งชี้ของแผนการบริการวิชาการ ผลการประเมินส่วนหนึ่งได้เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และมีการนำผลการประเมินที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินการให้ดีขึ้น นำผลการประเมินไปใช้ในการนิเทศหรือพัฒนางานในปีถัดไป เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้ปรัขบายจาก 3 โรงเรียนในปี 2561 เป็น 7 โรงเรียนในปี 2562-63 และ 13 โรงเรียน ในปี 2563-2564 เป็นต้น
6. ชุมชนหรือองค์การเป้าหมายที่รับบริการวิชาการจากคณะ สามารถนำผลจากการรับบริการไปพัฒนา หรือประยุกต์ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งในการพัฒนา หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น โรงเรียนบ้านช่องตะเคียน ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้พัฒนาโรงเรียนขึ้นสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ-โรงเรียนสีเขียว ในปัจจุบัน หรือ จากการที่คณะได้ส่งบุคลากรไปเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานในการพัฒนาระบบประเมินเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของคุรุสภา ได้ปรากฏผลงานที่เป็นรูปธรรมในการทดสอบและประเมินที่จัดขึ้นในต้นปี 2564 และต้นปีการศึกษา 2565 อีกทั้งการไปทำหน้าที่กรรมการพัฒนระบบประเมินภายนอกมาระยะหนึ่ง ในปัจจุบัน คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการอีกตำแหน่งหนึ่ง และทำหน้าที่ประธานคณะกรรมส่งเสริมการนำผลการประเมินไปใช้ ของ สมศ. ในปี 2564-2566 ซึ่งขณะนี้ ได้ออกแบบการส่งเสริมที่เป็นรูปธธรรรม
- ผลการสนับสนุน สมศ.มาอย่างต่อเนื่อง ในหลายรายการ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ จน สมศ.ได้เสนอกระทรวงศึกษาธิการ ให้ประกาศเกียรติคุณ รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นบุคคลต้นแบบที่สร้างคุณูปการแก่กระทรวงศึกษาธิการ รับเข็มเสมาคุณูปการ ประจำปี 2565 1 เมษายน 2565
ในส่วนของการบริการทางวิชาการที่เอื้อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และมีบทบาทร่วม พบว่า นักศึกษาปี 3-4 ที่ออกบริการทางวิชาการมีทักษะในการสอนดีขึ้น และมีจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะที่เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น(ดูจากพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมจิตสาธารณะและในขั้นของการออกฝึกประสบกาณณืวิชาชีพในขณะเรียนชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2564)
Evidences
3.1.1.1 | แผนปฏิบัติการ |
3.1.2.1 | ผลการบริการวิชาการ U-school |
3.1.3.1 | โครงการบริการวิชาการ U-School |
3.1.4.1 | Academic Services 2564 |
Self-assessment |
5 |