มาตรฐานที่ 4 : การทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

Arts and Culture and Thainess

      คณะต้องมีการบริหารจัดการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่มีคุณภาพ  โดยมีระบบและกลไกในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และกระบวนการในการดำเนินการควรคำนึงถึง การเกิดสุนทรีย์ในการดำรงชีวิต การมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองที่ยังคงดำรงความเป็นไทย  การมีวิถีชีวิตในยุคดิจิทัลท่ามกลางความหลายหลายทางวัฒนธรรมที่ยังคงอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การสืบสาน พัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรากฐานการพัฒนาของสังคม   ตามจุดเน้น ปรัชญา และธรรมชาติหรือบริบทของคณะ

       ผลการดำเนินการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่มีคุณภาพ จึงควรมีกิจกรรมเพื่อเร่งฟื้นฟู สืบสาน สร้างความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม มีการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม มีวิธีการปรับหรือประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมให้เหมาะกับยุคดิจิทัล  ตลอดจนมีความร่วมมื อกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ สร้างโอกาส สร้างมูลค่า หรือสร้างคุณค่า ให้ศิลปวัฒนธรรมไทยดำรงอยู่กับ ผู้เรียน ชุมชน สังคม ประเทศชาติตลอดไป

      ตัวบ่งชี้มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประกอบด้วย 1 ตัวบ่งชี้ คือ

       ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

       มีรายละเอียดดังนี้

ผลการประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 2 รายการ คือ

จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมจุดเด่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

1. คณะควรมีการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน

2. คณะควรมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีบทบาทร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

การปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรม/ผลงานที่โดดเด่น