ข้อเสนอแนะการดำเนินการ(ปีการศึกษา 2564)

ผลการดำเนินการในปีการศึกษา 2564

StandardQuality IndicatorsAssessment ResultsAssessment Level
Component 1Regulatory Standards PassPass
Component 2Graduates N/A
Component 3Students 2.52 Fair
Component 4Instructors 4.39 Very Good
Component 5Curriculum, Learning Management and Learning Support Resources 4.25 Very Good
Overall Average Score3.77 Good

Note IF Score>4 = “Very Good” , Score>3 = “Good” , Score>2 =”Fair” and Score>=0 = “Need Improve”

       ผลดำเนินการในการประกันคุณภาพภายใน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) คณะกรรมการพบว่ามีจุดเด่นและจุดควรพัฒนาในภาพรวมดังนี้
จุดเด่น
       1. หลักสูตรได้มีการวางระบบกลไก มีการดำเนินการตามระบบ และกลไกและมีการปรับปรุงพัฒนาตัวระบบและกลไกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี
       2. มีการนำนวัตกรรมของอาจารย์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและมีการประเมินผลการใช้อย่างเป็นระบบ (ก่อนและหลัง)
       3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นต้นแบบในการพัฒนาสื่อการสอนแบบออนไลน์และ
เผยแพร่ให้กับบุคลากรในวิทยาลัย
จุดควรพัฒนา
       1. ควรมีการพัฒนาอาจารย์ในด้านตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น
       2. หลักสูตรควรจะมีการกำหนดแนวทางเพื่อที่จะให้มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี(Best Practice) 
       3. ควรมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลงานของนักศึกษาจากองค์ความรู้ของสาขาวิชาในชั้นปีที่สูงขึ้น

การสะท้อนผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ตามรายมาตรฐาน

       การสะท้อนผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 ของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) ตามมาตรฐานของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (STIC-QA) พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีดังนี้
มาตรฐานที่ 1 : ด้านการกำกับมาตรฐาน
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

มาตรฐานที่ 2 : ด้านบัณฑิต
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
1. ควรจะมีการเตรียมการในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สำเร็จการศึกษาและนายจ้าง

มาตรฐานที่ 3 : ด้านนักศึกษา
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
1. ควรมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลงานของนักศึกษาจากองค์ความรู้ของสาขาวิชาในชั้นปีที่สูงขึ้น

มาตรฐานที่ 4 : ด้านอาจารย์
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม
1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการบริหารจัดการที่ดีซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ เช่น นวัตกรรมของอาจารย์ ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และการพัฒนาอาจารย์
2. มีการนำนวัตกรรมของอาจารย์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและมีการประเมินผลการใช้อย่างเป็นระบบ (ก่อนและหลัง)
3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นต้นแบบในการพัฒนาสื่อการสอนแบบออนไลน์และเผยแพร่ให้กับบุคลากรในวิทยาลัย
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ
1. ควรมีการพัฒนาอาจารย์ในด้านตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น

มาตรฐานที่ 5 : ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
จุดแข็ง/ประเด็นที่ชื่นชม

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพ

Leave a Reply