7. ผลลัพธ์ 7.1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนของผู้เรียน และบริการที่ตอบสนองต่อลูกค้ากลุ่มอื่น และด้านกระบวนการ

องค์ประกอบที่ 7 ผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ผลด้านผู้เรียน (ผลลัพธ์ด้านผู้เรียน และบริการ/กระบวนการ ต่อลูกค้ากลุ่มอื่น)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐานEdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 120 คะแนน ประเมินแบบ LeTCI

ผลการดำเนินการ

1 ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่มุ่งเน้นลูกค้า ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านบริการที่ตอบสนองผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นคืออะไร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ผู้เรียน และบริการลูกค้ากลุ่มอื่น ดังนี้

     1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลลัพธ์ผู้เรียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะภาษาอังกฤษ

    2. ผลลัพธ์ด้านการบริการที่มุ่งเน้นลูกค้า ได้แก่ ร้อยละการมีงานทำของบัณฑิตใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษา

ผลการดำเนินการ :

     แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละรายด้าน และการบริการที่มุ่งเน้นลูกค้า เปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง – ปีปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2563 – 2565) ดังตาราง 

ผลลัพธ์การดำเนินการที่มีต่อผู้เรียนและลูกค้า

ปีการศึกษา

2563

2564

2565

1. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (คะแนนเต็ม 5)

   1.1 ผลลัพธ์ผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF 5 ด้าน)

4.49

4.45

4.48

4.54

4.23

4.17

   1.2 ผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 จำนวน 3 ด้าน

4.56

4.44

4.20

   1.3 ผลลัพธ์ผู้เรียนตามสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 และอัตลักษณ์ด้านภาษาอังกฤษ

4.37

4.46

4.31

2. ร้อยละการมีงานทำของบัณฑิต

83.00

91.67

91.27

2 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน(ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ) ผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการคืออะไร

ผลการดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ มีกระบวนการทำงานตามพันธกิจหลักของคณะวิชา และมีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการทำงานใน 2 ส่วน ดังนี้

     1) ผลการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

     2) ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ

3 ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน(ความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน) ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยและการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ มีผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยโดยการติดตามอุบัติการณ์ภาวะฉุกเฉินในด้านต่าง ๆ ดังนี้

     1) อุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานของอาจารย์ บุคลากร และอุบัติเหตุของนักศึกษา ของคณะบริหารธุรกิจ ตลอดทั้งอัคคีภัยและอุทกภัย

     2) ข้อร้องเรียนจากการดำเนินงานผิดกฎหมาย

     3) จำนวนผู้ติดเชื้อจากการระบาดของโรคโควิด-19

ผลการดำเนินการ : 

     ปีการศึกษา 2565 ปรากฏผลการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

     1) ไม่ปรากฏอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของอาจารย์ บุคลากร และอุบัติเหตุของนักศึกษา ของคณะบริหารธุรกิจ ภายในเขตพื้นที่ของวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน วิทยาลัยมีรถรับ-ส่งฉุกเฉิน เพื่อส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด คือ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

          นอกจากนี้วิทยาลัยมีการดำเนินการตรวจสอบสภาพการใช้งานของถังดับเพลิง ให้มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา รองรับเหตุอัคคีภัย และมีบ่อหน่วงน้ำ จำนวน 5 จุด โดยรอบวิทยาลัย รองรับอุกภัย

     2) ไม่มีข้อร้องเรียนจากการดำเนินงานผิดกฎหมาย

     3) มีมาตรการป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยแบ่งให้บุคลากรส่วนหนึ่งปฏิบัติงานจากที่บ้าน บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และจัดเตรียมหอพักสำหรับให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่ติดเชื้อ เข้ากักตัวได้ทันท่วงที  มีการจัดจุดตรวจคัดกรองให้กับบุคลากรและนักศึกษาก่อนเข้าใช้อาคาร และวิทยาลัยยังผ่านการประเมินการปฏิบัติตามมาตรการของสาธารณสุขจังหวัดนครนายก และมาตรการอื่น ๆ ที่ศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาอนุญาตให้จัดการเรียนการสอนแบบ onsite ได้อย่างปลอดภัย

4 ผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทาน ผลลัพธ์ด้านการจัดการเครือข่ายอุปทานเป็นอย่างไร

ผลการดำเนินการ :

    คณะบริหารธุรกิจมีการสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการในประเทศและสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ เพื่อรองรับด้านการผลิตบัณฑิต (การจัดการศึกษา)

5 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเป็นไปตามเป้าหมาย

ผลการดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจมีการประเมินผลลัพธ์ผู้เรียน พบว่า นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย นักศึกษามีผลลัพธ์การเรียนรู้ บรรลุเป้าหมาย

6 การประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเป็นไปตามเป้าหมาย

ผลการดำเนินการ :

   คณะบริหารธุรกิจมีการประเมินสมรรถนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งพบว่าในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของคณะบริหารธุรกิจ มีผลคะแนนสอบโทอิก (TOEIC) มากกว่า 600 คะแนนจาก 990 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 15.38 จากจำนวนนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่เข้าสอบทั้งหมด

    แสดงผลลัพธ์ด้านสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง – ปีปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2563 – 2565) ดังตาราง สะท้อนแนวโน้มที่ดีขึ้นทุกปี

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านสมรรถนะภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย

ปีการศึกษา

2563

2564

2565

ร้อยละนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่มีผลคะแนนสอบโทอิก ตั้งแต่  600 คะแนนขึ้นไป

6.48

12.70

15.38

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-6)

1,2,3,4,6

…..5…… ข้อ

……4…. คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ …..5…….

…….. คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
7.1.1.1ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
7.1.2.1ผลการประเมินการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 คณะบริหารธุรกิจ
7.1.3.1ภาพจุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ให้กับอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ก่อนเข้าใช้อาคารต่าง ๆ
7.1.4.1หนังสือขอทำความร่วมมือ กับ Middlesex University, UK (ความร่วมมือด้านหลักสูตรของคณะบริหารธุรกิจ)
7.1.5.1ผลประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (สำรวจ ณ วันปัจฉิมนิเทศ)
7.1.6.1ผลคะแนนสอบโทอิค (TOEIC) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง – ปีปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2563 – 2565)