3. ลูกค้า 3.1 ความคาดหวังของลูกค้า

3. ลูกค้า
3.1 ความคาดหวังของลูกค้า: สถาบันมีวิธีการรับฟังผู้เรียนและลูกค้าอย่างไร และจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ เพื่อตอบสนองผู้เรียนหรือลูกค้าอย่างไร (40 pts.)

3.1-ความคาดหวังของลูกค้า

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

3.1-1 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
คณะมีวิธีการอย่างไรในการรับฟัง ปฏิสัมพันธ์ และสังเกตผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ได้

วิธีการที่คณะบริหารธุรกิจใช้ในการรับฟังและสังเกตจากนักศึกษาหรือผู้เรียนปัจจุบันจะบันทึกว่า doing, partial หรือ initial ดังตารางข้างล่าง ส่วนวิธีการที่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่วางแผนว่าจะทำในปีการศึกษา 2566-67 คือที่ระบุว่า planning

web-based, social mediasonline form/email surveyfocus groups interviewincident reportsfront-line complaint/ commentcomplaint logslost students interview
Current and former (alumni) studentsplanningdoing, feedback actionablepartial, feedback not actionableplanninginitial, feedback not actionableplanningplanning
Potential students and prospectsdoing, acted uponplanningdoing, acted uponplanningdoing, acted uponplanning
Competitors’ studentsplanningplanningplanning

สำหรับนักศึกษาปัจจุบันรวมถึงผู้ที่เพิ่งจะสำเร็จการศึกษา คณะบริหารธุรกิจใช้แบบฟอร์มออนไลน์สำรวจระดับความเห็นด้วยของนักศึกษาในประเด็นที่มีต่อผลการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และใช้แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับกิจกรรมนอกชั้นเรียน เช่น ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน การปัจฉิมนิเทศน์ การจัดให้นักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงาน เป็นต้น

คณะบริหารธุรกิจได้ข้อมูลจาก online survey form นี้มาใช้ประกอบการพิจารณาหาวิธีปรับปรุงการสอนของอาจารย์ การประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชา (LOs) และของหลักสูตร (PLOs) โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานผลการสอนรายวิชา (มคอ./TQF5) และ รายงานผลการดำเนินการหลักสูตร (มคอ./TQF7)

สำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา คณะใช้แบบฟอร์มสำรวจการได้งานทำ ซึ่งมีคำถามที่บัณฑิตต้องแสดงความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของหลักสูตรในภาพรวม และประโยชน์ของผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร รวมถึงข้อเสนอแนะที่อยากให้ทางหลักสูตรได้มีการปรับปรุงหรือจัดให้มีในอนาคต

สำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เพิ่งผ่านการฝึกงานวิชาสหกิจศึกษา คณะใช้วิธีสัมภาษณ์แบบ focus group หลังจากที่นักศึกษาได้นำเสนอผลการเรียนรู้จากการฝึกงาน และการพูดคุยเพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการกับผู้ฝึกสอนงานในสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงาน

3.1-2 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมี
คณะมีวิธีการอย่างไรในการรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมีเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้

คณะบริหารธุรกิจดำเนินการรับฟังผู้เรียนในอนาคต (potential students) โดยผ่านทางทีมงานประชาสัมพันธ์และแนะแนวหลักสูตรซึ่งสังกัดงานบริหารส่วนกลางของวิทยาลัย ทีมงานทำหน้าที่รับสมัครและให้ข้อมูลสนับสนุนผู้ที่สนใจจะสมัครเรียน โดยใช้วิธีนัดพบและเข้าพูดคุยกับกลุ่มนักเรียนตามชั้นเรียนของโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และผู้ปกครองของนักเรียน ดังแสดงในแถวที่ 2 ของตารางในข้อ 3.1-1

วิธีการรับฟังเกิดจากการพบกับกลุ่มของนักเรียนตามโรงเรียน และการใช้ social media (facebook, messenger, Line, etc.) ในการติดต่อกับนักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายบุคคล อย่างไรก็ตามข้อมูลป้อนกลับที่ได้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้วิเคราะห์หรือจัดให้เป็นสารสนเทศที่ถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจหรือดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งทางคณะจะวางแผนใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ทีมงานได้รับและป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียนให้ได้ผลในปีต่อๆ ไป

3.1-3 การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น
คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกลุ่มผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น และส่วนแบ่งการตลาด

สำหรับการจัดกลุ่มผู้เรียน คณะฯได้ลองแบ่งกลุ่มของผู้เรียนตามประเภทของหลักสูตรที่ทางคณะเปิดสอน และพิจารณาคุณสมบัติของนักศึกษาปัจจุบัน ในด้านคุณวุฒิแรกเข้า สถานะการทำงาน – ทำงานอยู่ก่อนมาเรียน หรือยังไม่เคยทำ และความต้องการเบื้องต้นจากหลักสูตรที่สมัครเข้าเรียน เพื่อวิเคราะห์ว่าแต่ละหลักสูตรที่ทางคณะเปิดสอนมีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้หรือไม่ในเบื้องต้น
คณะบริหารธุรกิจได้ข้อมูลสนเทศที่อาจสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรหรือจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่จะเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้เรียนได้ดังตารางข้างล่างนี้

entry qualificationworking statusloan or self fundingvalue Englishboarding neededon site/ online modejob neededvalue work-based learning extra activitiesadvisor
ฺUndergraduate programs (career emphasis)M.6, Vocational Certificate, out-of-school learning (กศน.), fresh graduate / working adultstudent loanyesyeson siteyesyesneedneed
Undergraduate programs (theoretical or academic emphasis)M.6 or equivalentbothstudent loanyesyeson siteyesyesneedneed
Postgraduate programs (by research)Bachelor’s degreeworking, waiting for jobself fundingyesmay need a night stayon line (if allowed)maybemaybepreferneed research supervision

3.1-4 การกำหนดการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ
คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ

3.1-5 พัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในระดับชาติและนานาชาติ

คณะบริหารธุรกิจรับนโยบายจากวิทยาลัยในการที่จะตอบสนองต้นสังกัดของวิทยาลัย คือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งรวมถึง
– แผนพัฒนาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อผลิตกำลังคนและพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2540-2570 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพตามความต้องการของอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชนที่จะเพิ่มคุณค่าและรายได้แก่ประเทศ
– ประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ให้วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาสังกัดกลุ่ม 5 คือ กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ และ
– วิสัยทัศน์ของวิทยาลัยที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและสากล     
คณะบริหารธุรกิจจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) เตรียมปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับประกาศของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบมาตรฐานอุดมศึกษาในหลักสูตร พ.ศ.2565 ซึ่งรวมเอาเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี โทและเอก พ.ศ. 2565 และรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ซึ่งแบ่งใหม่เป็น 4 ด้าน คือความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล และการจัดการพัฒนาคุณภาพโดยรวม (planning, controlling, maintaining)
รวมถึงอัตลักษณ์บัณฑิตทางด้านภาษาอังกฤษ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของวิทยาลัย ซึ่งปรับให้เข้ากับทิศทางความต้องการกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีการสัมมนาโต๊ะกลม และประชุมปฏิบัติการ เพื่อค้นหาความต้องการและความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งรวมถึง นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ร่วมฝึกสอน และคณาจารย์

2) ออกแบบการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับประเด็นการตรวจสอบมาจรฐานอุดมศึกษาในหลักสูตรข้างต้น

3) จัดการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตร และโครงการพัฒนานักศึกษาตามแผนปฏิบัติการ โดยเน้นให้ได้หลักฐานและผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ทุกรายวิชาที่น่าเชื่อถือและนำไปใช้พัฒนาต่อได้

4) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกชั้นปี เพื่อมุ่งสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร

5) จัดทดสอบประเมินความสามารถใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 และก่อนสำเร็จการศึกษา (English Exit Exam) ประเมินและรายงานผลการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยมุ่งหมายให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีผลคะแนนสอบ TOEIC ตามค่าเป้าหมายของวิทยาลัย

6) มุ่งให้บัณฑิตของคณะบริหารธุรกิจมีอัตราการมีงานทำสูงกว่าค่าเป้าหมาย และได้ทำงานในบริษัทหรือองค์กรที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ คณะบริหารธุรกิจได้นำเกณฑ์คุณภาพสากลที่เป็นที่ยอมรัยระดับชาติและนานาชาติ ได้แก่ AUN-QA ระดับหลักสูตร และ EdPEx ระดับคณะและสถาบัน เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย วางแผนปฏิบัติการ ประเมินผลสัมฤทธฺ์และพัฒนาของคณะเพื่อจะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป

3.1-6 บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

     คณะบริหารธุรกิจมีนโยบายให้ทุกหลักสูตรที่สังกัดคณะ ปรับปรุงผลการเรียนรู้รายวิชารวมถึงวิธีการประเมินผู้เรียนให้สอดคล้องกับรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ แนบท้ายมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาฉบับใหม่ ซึ่งมีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยไม่ต้องรอให้ครบรอบที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรและยื่นผ่านระบบ CHECO เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดได้ตั้งพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรกับมาตรฐานอุดมศึกษาต่างๆ 
      ประเด็นสำคัญที่แต่ละหลักสูตรต้องทำความเข้าใจและปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุดมศึกษาฉบับใหม่ พ.ศ.2565 มีดังนี้
1. LO ด้านความรู้ ต้องมีลักษณะ comprehensive และ multi dimensional สามารถนำไปต่อยอดหรือปรับปรุงงานอาชีพได้ 
2. รวมทักษะทางปัญญา กับ ทักษะความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เป็นหมวดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้าน ทักษะ และเพิ่มทักษะทางวิชาชีพที่เป็นจุดเน้นของหลักสูตรที่เป็น career-oriented programs เช่น AB, Tourism-Hotel, ATC, Logistics และ Accountancy เป็นต้น 

ผลการประเมินตนเอง

3.1 Customer expectationระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตาม IQA1, 2, 3, 5, 6 (5)41. Listening to current students and other customers
2. Listening to potential students & customers
3. Student & customer segmentation
5. พัฒนาผู้เรียนตามแนวทางระดับชาติ
6. บริหารหลักสูตรเพื่อบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตาม มคอ.2565
ผลการประเมินตาม EdPEx 1, 32/40 ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
3.1.4.1คู่มือหรือระบบและกลไกการบริหารงานคณะวิชา
3.1.4.2ตัวอย่าง บันทึกการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา (Advisory logs) ในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (Faculty MIS)
3.1.4.3ผลการประเมินการสอนของอาจารย์แต่ละหลักสูตร
3.1.5.1ตัวอย่าง มคอ.3/4 และ มคอ.5/6 ในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (TQF MIS)
3.1.6.1 ผลการประเมินตนเองของนักศึกษา
3.1.6.2 ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2565
3.1.6.3รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2565