5. บุคลากร 5.1 สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร

องค์ประกอบที่ 5 คณาจารย์และบุคลากร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ความคาดหวัง (สภาวะแวดล้อมด้านบุคลากร)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(ความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง) คณะมีวิธีการอย่างไรในการประเมินด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรที่จำเป็นต้องมี

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2564 – 2569) โดยกำหนดคุณสมบัติและจำนวนผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ ของคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา จำนวน 5 คนต่อสาขาวิชา และจำนวน 3 คนต่อวิชาเอก โดยมีสัดส่วนจำนวนอาจารย์ประจำต่อนักศึกษาเต็มเวลา (FTES) ไม่เกิน 1:25 และใช้แผนนี้เป็นแนวทางในการจัดหา คัดเลือก และพัฒนาอาจารย์

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณบดีและรองคณบดี จะเป็นผู้แนะนำและส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาอาจารย์ ระยะ 5 ปี โดยมีการปฐมนิเทศอาจารย์ที่บรรจุใหม่ให้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติงานตามพันธกิจ ร่วมกับสำนักทรัพยากรมนุษย์ในการแนะนำแนวทางการปฏิบัติตนตามระเบียบและข้อบังคับของวิทยาลัย ผ่านการประชุมบุคลากร และคู่มือบุคลากร

การเรียนรู้ :

    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร มีการวางแผนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประชุม สัมมนา อบรม และเวทีวิชาการต่าง ๆ นำไปสู่พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอน การออกแบบข้อสอบ การวัดและการประเมินผล การทำวิจัย และการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

การบูรณาการ :

   ประธานหลักสูตรแต่ละหลักสูตร จะเป็นผู้กำหนดแผนพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ประจำ โดยบูรณาการเข้ากับพันธกิจต่าง ๆ และรายงานไปยังคณบดี

2 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(บุคลากรใหม่) คณะมีวิธีการอย่างไรในการสรรหา ว่าจ้าง และดูแล บุคลากรใหม่

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจดำเนินการสรรหาอัตรากำลังตามแผนอัตรากำลัง โดยประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์จัดหางาน และเว็บไซต์ของวิทยาลัย เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการบริหารคณะ และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ตรวจสอบผู้สมัครตั้งแต่คุณวุฒิการศึกษา ผลงานทางวิชาการ ประสบการณ์การสอนและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา/ศาสตร์ และผลการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ หากพิจารณารับเข้าแล้วก็จะบรรจุแต่งตั้ง ทำสัญญาจ้าง และทดลองปฏิบัติงานตามข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     เมื่อดำเนินการให้ได้อาจารย์ประจำที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงตามสาขาวิชาแล้ว จะมีการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และมีระบบพี่เลี้ยงเพื่อดูแลและให้คำปรึกษาอาจารย์ในขณะทดลองงานเป็นระยะเวลา 4 เดือน

การเรียนรู้ :

     คณะบริหารธุรกิจ โดยคณะกรรมการบริหารและประธานหลักสูตร ร่วมกับสำนักทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลอาจารย์ใหม่ ตลอดทั้งหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ ที่มีบทบาทในฐานะพี่เลี้ยงที่ให้คำปรึกษาและแนะนำได้ เช่น คณบดีและประธานหลักสูตรให้คำแนะนำในการจัดทำแผนการสอน การออกข้อสอบ การตัดเกรด และการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สำนักวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีคลินิกวิจัยให้คำปรึกษาด้านการทำวิจัย สำนักประกันคุณภาพการศึกษา จัดอบรมให้ความรู้ด้านเกณฑ์คุณภาพและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) สำนักวิชาการ ให้คำแนะนำในการดำเนินการตาม มคอ.3/4 และ มคอ.5/6 และการจัดทำหลักสูตร สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จัดอบรมการใช้งานระบบ Moodle และระบบ STIC’s MIS และศูนย์วิทยบริการที่จัดอบรมการใช้งานฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

3 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร) คณะมีวิธีการอย่างไรในการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความจำเป็นด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง

การดำเนินการ :

     อาจารย์ประจำที่เข้าใหม่ทุกคนจะได้รับการปฐมนิเทศ และการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย จากอาจารย์พี่เลี้ยง การอบรม หรือ Workshop จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคู่มือหรือเอกสารต่าง ๆ และอาจารย์ประจำที่ยังอยู่จะได้รับการฝึกอบรมหรือมีชั่วโมงการพัฒนาตนเองไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อปี

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ระหว่างอาจารย์ใหม่และอาจารย์พี่เลี้ยงและหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างกัลยาณมิตร และกรณีที่เป็นอาจารย์ประจำอยู่แต่เดิม จะต้องมีชั่วโมงการพัฒนาตนเองเพื่อการ Re-skill และ Up-skill และเพื่อประกันได้ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ :

     การมอบหมายอาจารย์นอกจากต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจแล้ว ต้องมีงานที่ได้รับมอบหมายอื่น ๆ เพื่อเสริมความรู้และทักษะใหม่ ๆ และทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การบูรณาการ :

     อาจารย์ประจำทั้งที่บรรจุใหม่และที่ยังอยู่แต่เดิม สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจ และพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบ PDCA ได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

4 ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร(การทำงานให้บรรลุผล) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดระบบการทำงานและบริหารบุคลากร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจมีการกำหนดโครงสร้างองค์กรและดำเนินการบริหารบุคคลตามพันธกิจ โดยมีรองคณบดีฝ่ายต่าง ๆ ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะ และประธานหลักสูตรมอบหมายภาระงานสอนตามรายวิชาตามความเหมาะสมให้กับอาจารย์ ส่วนภาระงานอื่น ๆ จะมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติไว้ในคู่มือ เพื่อการกำกับและประเมินผลการปฏิบัติงาน

     การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี จะมีการประเมินผลโดยผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ประกอบกับการพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลเสนอให้กับผู้บริหารระดับสูงต่อไป

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณบดี รองคณบดี และประธานหลักสูตร จะชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามขอบเขตและหน้าที่ทีรับผิดชอบ มีการกำกับดูแลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ และสะท้อนผลการประเมินไปยังอาจารย์ประจำ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงตนเองต่อไป

การเรียนรู้ : 

     ผลการปฏิบัติงานตามกรอบภาระงาน ตามพันธกิจ สามารถพิจารณาได้จากการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติในระบบ STIC’s MIS บันทึกข้อความขอพิจารณาจัดสรรทุนตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย และการส่งข้อสอบ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินในแต่ละครั้ง

การบูรณาการ :

     ผู้บริหารและอาจารย์ประจำจะใช้ระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC’s MIS) ในการเป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานตามพันธกิจ เพื่อความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และทันเวลาต่อการใช้ข้อมูล

5 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร(สภาวะแวดล้อมของการทำงาน) คณะมีวิธีการอย่างไรเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถานที่มีสุขภาวะ ความมั่นคง และความสะดวกในการเข้าทำงานของบุคลากร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ และวิทยาลัย ดำเนินการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนการทำงาน และการจัดการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมและพร้อมต่อการใช้งาน เช่น ห้องพักอาจารย์ ที่มีสัดส่วนพื้นที่ต่ออาจารย์เหมาะสม ตามประกาศของกระทรวงฯ ห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการที่มีพื้นที่ต่อจำนวนที่นั่งของนักศึกษา และสื่อการสอนที่ครบถ้วน อาคารเรียนและหอประชุมมีระบบปรับอากาศ ทางหนีไฟ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ มีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก ซึ่งเหมาะสมกับการพักผ่อนตามอัธยาศัย และกิจกรรมนันทนาการ ต่าง ๆ และการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดตามจุดต่าง ๆ และจุดรวมพล เป็นต้น

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณะบริหารธุรกิจ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับคณะวิชาและหน่วยงานต่าง ๆ ของวิทยาลัย เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดี และเนื่องจากวิทยาลัยมีขนาดไม่ใหญ่มาก บรรยากาศการทำงาน และการอยู่อาศัยทำให้อาจารย์และนักศึกษาค่อนข้างใกล้ชิด และมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้องและบรรยากาศ

การเรียนรู้ :

     เมื่อการดำเนินการและนำสู่การปฏิบัติ เกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร ย่อมเกิดพลังความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การแก้ไขปัญหาและเกิดความสุขในการทำงาน ได้รับความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ เป็นอย่างดี

การบูรณาการ :

     อาจารย์สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแรงผลักดันในการทำงานเชิงบวกให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาศักยภาพไปสู่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ และของวิทยาลัยได้

6 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร(นโยบายและสิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร) คณะสนับสนุนบุคลากรโดยจัดให้มีการบริการ สิทธิประโยชน์ และนโยบายอย่างไร

การดำเนินการ :

     วิทยาลัยกำหนดระบบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไว้ในการประชาสัมพันธ์รับสมัครอาจารย์และบุคลากรตามตำแหน่ง และมีการประกาศให้ทราบโดยสำนักทรัพยากรมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ด้านทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น กองทุนประกันสังคม การตรวจสุขภาพประจำปี สวัสดิการรถรับ-ส่ง และที่พักอาศัย ไปจนถึงการช่วยเหลือครอบครัวกรณีที่อาจารย์ประจำและบุคลากรเสียชีวิต

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณบดีร่วมกับสำนักทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ของอาจารย์ประจำและบุคลากร ตามระเบียบหรือประกาศที่วิทยาลัยกำหนด

การบูรณาการ :

    สิทธิประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการคงอยู่และเจตคติที่ดีต่อองค์กร

7 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อยกระดับสมรรถนะอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ : 

     คณะบริหารธุรกิจ กำหนดให้อาจารย์ประจำและบุคลากรทุกคน ต้องมีชั่วโมงการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อปี และเสนอให้ทุกคนพิจารณาทบทวนเพื่อกำหนดหรือปรับแผนการพัฒนาตนเอง เสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะทุกปี ไม่ว่าจะเป็นความต้องการการศึกษาต่อในระดับสูง หรือความต้องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นต้น

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     แผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี จะนำลงสู่แผนปฏิบัติการประจำปี โดยต้องมีการรายงานสรุปผลการพัฒนาเพื่อให้คณะกรรมการบริหารคณะรับทราบ ผ่านการประชุมคณะกรรมการฯ 

การเรียนรู้ :

     ผู้บริหารและอาจารย์ประจำคณะ มีการพิจารณาทบทวนผลการพัฒนาหรือความก้าวหน้าในแต่ละปี และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ในการลดอุปสรรคที่ทำให้การพัฒนาความก้าวหน้าของตนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปีที่ผ่านมา

การบูรณาการ :

     การพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การผลิตผลงานทางวิชาการหรือนวัตกรรมที่ยกระดับการจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการสู่สังคมและชุมชนให้สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าได้

8 มีระบบการบริหารงานที่ส่งเสริมการนำศักยภาพบุคลากรมาใช้อย่างเต็มที่

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ มีอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการสู่สังคม และนำผลงานทางวิชาการไปให้บริการ ตลอดทั้งบูรณาการองค์ความรู้ทั้งจากการบริการวิชาการ และการวิจัยลงสู่การสอนในชั้นเรียน

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     หลักสูตรต่าง ๆ นำการบริการวิชาการและการวิจัย ลงสู่การสอนในชั้นเรียน

การเรียนรู้ :

     นอกจาการนำการบริการวิชาการและการวิจัย ลงสู่การสอนในชั้นเรียนแล้ว ยังอาศัยการสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการ เช่น โรงเรียนการบินและบริษัทในอุตสาหกรรมการบิน การท่องเที่ยวและการโรงแรม มาเป็นวิทยากรบรรยายในชั้นเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ผู้สอน

การบูรณาการ :

     ระบบการบริหารงานที่ส่งเสริมศักยภาพบุคลากร ผ่านชุดคณะกรรมการต่าง ๆ ตามพันธกิจและตามสายงาน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-8)

1,2,3,6,7

…..5…… ข้อ

……4…. คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,6

ร้อยละ …..5…….

…….. คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
5.1.1.1แผนพัฒนาบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ
5.1.2.1คู่มือบุคลากร
5.1.4.1ภาพคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ร่วมประชุมบุคลากรประจำปี
5.1.5.1-5.1.6.1ภาพถ่ายห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และพื้นที่ Campus Life
5.1.7.1-5.18.1ภาพกิจกรรมโครงการที่คณาจารย์เข้าร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ