6. ระบบปฏิบัติการ 6.1 กระบวนการทำงาน

องค์ประกอบที่ 6 ระบบการปฏิบัติงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน (กระบวนการทำงาน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-7 ข้อ8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(การจัดทำข้อกำหนดของการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญ) คณะมีวิธีการอย่างไร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจมีแนวคิดในการออกแบบการจัดการศึกษา (หลักสูตร) การวิจัย และการบริการวิชาการ และกระบวนการทำงานโดยคำนึงถึงนโยบาย ระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย และกฎกระทรวง เกณฑ์มาตรฐาน และประกาศต่าง ๆ ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้ ตลอดทั้งความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนสีย (Stakeholder) ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และชุมชนในพื้นที่รับบริการ เพื่อเป็นข้อมูลนำเข้า (input) ในการออกแบบ

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     ดำเนินการโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการกำกับการดำเนินการ/ปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือหรือแนวทางการบริหารหลักสูตร คู่มือการจัดทำวิจัย/หลักเกณฑ์การขอทุนวิจัยและการดำเนินการด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ แผนการบริการวิชาการ แผนการบริหารความเสี่ยง คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา คู่มือเกณฑ์ประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัย และแผนพัฒนาความเป็นเลิศตามการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา เป็นเครื่องมือสื่อสารข้อมูล

การเรียนรู้ :

      คณะบริหารธุรกิจดำเนินการทบทวนแนวทางการดำเนินงานตามหลักการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยพิจารณาผลการดำเนินงานแต่ละด้าน และนำข้อเสนอแนะมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

การบูรณาการ :

     การทบทวนและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี ที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ เช่น โมเดลการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนที่สามารถนำไปปรับใช้กับแต่ละหลักสูตร โมเดลองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากการวิจัยที่สามารถบูรณาการสู่การสอนในชั้นเรียน หรือโมเดลการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(กระบวนการทำงานที่สำคัญ) กระบวนการทำงานที่สำคัญของคณะมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ :

การดำเนินการออกแบบการจัดการศึกษา (หลักสูตร) การวิจัย และการบริการวิชาการ มีกระบวนการที่สำคัญ และตัวชี้วัดระบบงาน ดังตาราง

BA-กระบวนการออกแบบการจัดการศึกษา-วิจัย-และบริการวิชาการ-6.1.3-1

3 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(แนวคิดในการออกแบบ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด

รายละเอียดด้านข้อกำหนดของระบบงานได้อธิบายรวมไว้ในข้อ 2 แล้ว (ดูที่ตาราง)

4 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ) คณะมั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานต่างๆเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ มีระบบและกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและติดตาม การดำเนินงานตามตัวชี้วัดของระบบงาน ดังนี้

     1) แต่งตั้งคณะกรรมการและผู้รับผิดชอบ เพื่อดูแลแต่ละพันธกิจ/ระบบงาน โดยคณบดีมอบหมายรองคณบดีแต่ละฝ่าย เลขานุการสำนักคณะ กำกับติดตาม ผ่านประธานหลักสูตรในแต่ละหลักสูตร

     2) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด และรายงานในผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 

     3) พิจารณาทบทวนผลการดำเนินงานที่สำเร็จและไม่สำเร็จตามตัวชี้วัด เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นในปีถัดไป

5 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(กระบวนการสนับสนุน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจมีการจัดการและการปรับปรุง 1) กระบวนการจัดการ (Management Process) และ 2) กระบวนการสนับสุนน (Supportive Process) ซึ่งควบคุมโดยคณบดี รองคณบดี เลขานุการสำนักงานคณะ ประธานหลักสูตร และหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักทะเบียนและประมวลผล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายอาคารสถานที่และยานพาหนะ และฝ่ายวิเทศสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อการจัดการและสนับสนุนงานตามพันธกิจ ให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี

6 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การปรับปรุง) คณะมีวิธีการอย่างไรในการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และผลการดำเนินการ เสริมสร้างสมรรถนะหลักของคณะ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ ดำเนินการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ และความแปรปรวนของกระบวนการทำงาน จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อการปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นโดยไม่ขัดต่อระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง จัดลำดับขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสม ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงาน

       ทั้งนี้ การปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้นต้องเกิดจากการนำปัญหาหรืออุปสรรคที่บุคลากรพบเจอ มาแลกเปลี่ยน ระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันกับผู้บริหาร หรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำแผนพัฒนา (Improvement Plan) สำหรับข้อสงสัย/คำถาม หรือปัญหาทางเทคนิคที่พบเจอบ่อยจะนำมาจัดทำเป็นคู่มือ และ Q&A เพื่อให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในงานได้อย่างรวดเร็ว

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     ตามคำอธิบายในการดำเนินการ โดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามแผนพัฒนา และแผนบริหารความเสี่ยง

การเรียนรู้ :

     ผู้รับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามแผนพัฒนา และแผนบริหารความเสี่ยง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

การบูรณาการ :

     บูรณาการโดยการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนการพัฒนา และแผนบริหารความเสี่ยง

7 การจัดการเครือข่ายอุปทาน คณะมีการจัดการเครือข่ายอุปทานอย่างไร

การดำเนินการ :

     วิเคราะห์เครือข่ายอุปทาน หรือห่วงโซ่อุปทาน ของคณะบริหารธุรกิจ จะประกอบด้วย 

     1) ต้นน้ำ (ผู้ส่งมอบ) หมายถึง ผู้สมัครเข้าเรียน ผู้สนับสนุน และชุมชน

     2) กลางน้ำ (ผู้ผลิต) หมายถึง วิทยาลัย

     3) ปลายน้ำ (ลูกค้า) หมายถึง สถานประกอบการ ผู้ใช้บัณฑิต และชุนชนที่รับบริการ

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ การรับเข้านักศึกษา การเตรียมความพร้อมนักศึกษา การจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนสิ่งเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลนักศึกษา การวัดและการประเมินผล และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรจากการสำรวจการมีงานทำ ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต การพัฒนาอาจารย์ผู้สอน และความพึงพอใจของชุมชนต่อการรับบริการวิชาการ

การเรียนรู้ :

     ผลจากการดำเนินการตามเครือข่ายอุปทาน เกิดเป็นผลผลิตและผลลัพธ์ตามพันธกิจ ผู้ใช้บัณฑิตพึงพอใจ ชุมชนพึงพอใจต่อการรับบริการ และนำไปสู่การสร้างชื่อเสียงให้กับวิทยาลัยต่อไป

การบูรณาการ :

     บูรณาการโดยกำหนดเป็นนโยบายและใช้เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นกรอบแนวทางในการจัดการเครือข่ายอุปทาน

8 การจัดการนวัตกรรม คณะมีการดำเนินการกับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

การดำเนินการ :

     การจัดการนวัตกรรมของคณะบริหารธุรกิจ ใช้ตัวชี้วัดด้านการผลิตผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ที่เกณฑ์คุณภาพของวิทยาลัยกำหนดไว้ โดยมีการระบุโครงการและกิจกรรมที่จะต้องเกิดขึ้นในรอบปี ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งจะต้องมีการรายงานผลการดำเนินการด้านการผลิตผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมด้วย

     สำหรับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมเพิ่มเติม จะอาศัยความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และเครือข่าย ผ่าน MOU เพื่อดำเนินโครงการวิจัยและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน

9 มีระบบการออกแบบหลักสูตรและสาระวิชาในหลักสูตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจพัฒนาหลักสูตรตามวงรอบการปรับปรุง 5 ปี ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ยังไม่มีหลักสูตรที่ถึงวงรอบการปรับปรุง อย่างไรก็ตามสำหรับหลักสูตรปรับปรุงของปีการศึกษา 2568 จะมีจำนวน 2 หลักสูตรที่ต้องดำเนินการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ) ที่ต้องยึดโยงกับแผนการอุดมศึกษา แผนพัฒนาความเป็นเลิศตามการจัดกลุ่มสถาบัน กลุ่มที่ 5 เกณฑ์คุณภาพ AUN-QA ในการออกแบบหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์ผู้เรียน หรือ Outcome-based Education: OBE ซึ่งได้มีถ่ายทอดเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องแก่อาจารย์ประจำหลักสูตร ตลอดทั้งส่งอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าอบรมการจัดทำหลักสูตรแบบ PLO ที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดไว้บ้างแล้ว

10 มีระบบการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการบำรุงรักษาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ มีการจัดงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่รองรับการดำเนินงานทุกพันธกิจ โดยจัดทำไว้ในแบบเสนองบประมาณตามโครงการที่บรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี ทุก ๆ ปี และมีการสำรวจสภาพการใช้งานสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ ได้แก่ ความพร้อมใช้งานของห้องปฏิบัติการการบิน ห้องปฏิบัติการการควบคุมจราจรทางอากาศ ห้องปฏิบัติการการท่องเที่ยวและการโรงแรม และห้องเรียนบรรยาย เป็นต้น ความพร้อมใช้งานของห้องปฏิบัติการที่จัดโดยส่วนกลาง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา เป็นต้น และยังมีการสำรวจความต้องการจัดหาหนังสือ ตำรา โดยศูนย์วิทยบริการ เป็นผู้ทำการสำรวจทุกปี

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-10)

1,2,3,6,7

…..5…… ข้อ

……4…. คะแนน

EdPEx (1-8)

1,2,3,6,7

ร้อยละ …..5…….

…….. คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
6.1.1.1คู่มือหรือระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร
6.1.7.1ภาพกิจกรรมการบริการวิชาการสู่ชุมชน
6.1.8.1 ภาพกิจกรรมแสดงผลงาน/นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษา
6.1.8.2MOU ร่วมกับสถานประกอบการ (บริษัทการบิน และโรงเรียนการบิน)
6.1.9.1แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 – 2570 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 – 2570)
6.1.9.2แผนพัฒนาความเป็นเลิศและแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ กลุ่มที่ 5 (พ.ศ. 2567 – 2571)
6.1.9.3มาตรฐานคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา พ.ศ. 2565
6.1.10.1แบบสำรวจการจัดหาครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ
6.1.10.2แบบสำรวจความต้องการจัดหาหนังสือ ตำรา ของศูนย์วิทยบริกา