องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

การดำเนินการ

 สาขาวิชาฯ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ด้วยการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตร โดยได้เชิญ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต และคณบดีคณะบริหารธุรกิจ เข้ามาทำการร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้และวิพากย์หลักสูตร หลังจากนั้นได้ทำการทวนสอบกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้งผ่านการวิพากย์หลักสูตร เพื่อทำให้มั่นใจว่าหลักสูตรได้มาตรฐานและตรงตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อสิ้นปีการศึกษาของแต่ละรายชั้นปีดังนี้

ชั้นปีที่ 1

(1) มีความรับผิดชอบและบุคลิกภาพที่ดี สามารถแสดงออกในการติดต่อสื่อสารได้ถูกต้องและ เหมาะสมในสังคม

(2) มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษด้านการพูด การฟัง การเขียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในชั้น เรียนที่สูงขึ้นต่อไปการเรียนในหลักสูตร และศัพท์เทคนิคทางด้านการบิน

(3) สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ในห้องฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ

(4) มีความรู้พื้นฐานทั่วไปด้านกฎการจราจรทางอากาศ เพื่อนำไปใช้และปฏิบัติในการให้การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงระบบการจัดการท่าอากาศยานซึ่งมีความสัมพันธ์กับการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน

ชั้นปีที่ 2

(1) สามารถอ่าน เข้าใจและตีความภาษาอังกฤษที่มีความยาวและซับซ้อนมากขึ้น เขียนรายงาน และ นำเสนอได้ถูกต้องตามระบบ

(2) มีความรู้พื้นฐานด้านการให้บริการข่าวสารการบิน และอุตุนิยมวิทยาทางด้านการบิน เพื่อ ให้บริการอากาศยาน ใช้ในการเดินอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

(3) มีความรู้เรื่องพื้นฐานและทฤษฎีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการการควบคุมจราจรทางอากาศ แก่อากาศยานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

(4) สามารถให้การปฏิบัติในการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานในการขึ้น-ลง บริเวณ สนามบินและอากาศยานเข้า-ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์ในห้องฝึกปฏิบัติการจำลองควบคุมได้ อย่างถูกต้องและตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ICAO กำหนด

ชั้นปีที่ 3 

(1) มีความรู้เรื่องกฎหมายด้านการบิน ว่าด้วยบุคลากรที่จะดำเนินการด้านการบิน อาทิ นักบิน เจ้าหน้าที่การควบคุมจราจรทางอากาศ และเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาอากาศยาน และกฎหมายการ บินว่าด้วยการกระทำความผิดด้านอาญาทางด้านการบิน อาทิ การจี้อากาศยาน การวางระเบิด อากาศยาน การก่อวินาศกรรมอากาศยาน

(2) มีความรู้และเข้าใจในพื้นฐานด้านมนุษยปัจจัย ที่มีผลต่อบุคคลที่จะเข้าสู่สายงานด้านการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาด และเป็นอันตรายต่อการ เดินอากาศ ตามข้อกำหนดของ ICAO ที่ระบุไว้ใน ANNEX1

(3) มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับนิรภัยการบิน และการบริการหลุมจอดสายการบิน เพื่อความปลอดภัย ขณะให้บริการในลานจอดและพื้นที่ขับเคลื่อนบริเวณสนามบิน ตามข้อกำหนดของสนามบินได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด

(4) มีความรู้พื้นฐานทฤษฎี และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออก สนามบินด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ โดยฝึกปฏิบัติการจำลอง

ชั้นปีที่ 4

  (1) สามารถปฏิบัติงานการให้บริการการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานเข้า-ออกสนามบิน ด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ รวมถึงการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์ ได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด

(2) มีทักษะประสบการณ์กับงานอาชีพด้านการบินจริงจากการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษานอก หน่วย ณ สถานประกอบการจริงโดยสามารถนำเสนอและรายงานการฝึกปฏิบัติทั้งด้วยวาจาและ เอกสารเป็นรูปเล่มตามที่วิทยาลัยกำหนดได้อย่างถูกต้อง

(3) มีทักษะด้านวิชาชีพจากการฝึกประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการสมัครสอบแข่งขันเข้าสู่ อาชีพงานด้านการบินต่อไป

หลังจากหลักสูตรผ่านการเห็นชอบจาก สป.อ.ว. ได้สื่อสารให้กับคณาจารย์ผู้รับผิดหลักสูตรทุกท่านทราบผ่านการประชุมภายในของสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ สื่อสารให้กับนักศึกษาทุกชั้นปีทราบผ่านการปฐมนิเทศน์และชั่วโมงของการพบที่ปรึกษาประจำสัปดาห์ สื่อสารให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาทุกท่านทราบผ่านการประชุมโปรโมทหลักสูตรของทางวิทยาลัย และสื่อสารให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศทราบผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยฯและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อาทิเช่น Facebook  และ Tiktok เพื่อโปรโมทสาขาและหลักสูตรให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาเข้ามาสมัครและทำการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป

หลักฐาน

  1. รายงานการวิพากย์หลักสูตร
  2. รายงานการปฐมนิเทศน์นักศึกษา
  3. ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
  4. Tiktok การโปรโมทหลักสูตร
  5. โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

การดำเนินการ

        หลักสูตรได้ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นการบูรณาการเนื้อหาในวิชาต่าง ๆ ภายในหลักสูตรของแต่ละชั้นปี โดยใช้ตารางแสดงการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบผลการเรียนรู้สู่รายวิชาในการออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลลัพธ์ของผู้เรียน 3 ด้าน คือ เป็นบุคคลรอบรู้ทางวิชาการ เป็นผู้คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้เพิ่มเติมและความรู้ความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษและด้านทักษะศตวรรษที่ 21 โดยแต่ละรายวิชาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้ในการปัญหา โดยหลังจากการออกแบบหลักสูตรและได้รับการอนุมัติหลักสูตรฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว ทางสาขาวิชาฯได้มีการสื่อสารเรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปยังอาจารย์ผู้สอนของแต่ละรายวิชาผ่านการประชุมภายในของสาขาวิชาฯ อ้างอิงตามตารางแสดงการกระจายน้ำหนักผลลัพธ์การเรียนรู้ในเล่ม มคอ. 2 เพื่อให้อาจารย์แต่ละท่านได้ทำการสอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ได้มีการกำหนดไว้ในหลักสูตร รวมถึงทำให้อาจารย์สามารถจัดการเรียนการสอนได้ง่ายและได้ผลลัพธ์ตรงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

      โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนการสอนภายในหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ พบว่า เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วนั้น สามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผ่านการประเมินของผู้ใช้บัณฑิตหรือนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามกลับมายังคณะ และผลจากการเดินทางมาจัดทำ MOU ของผู้ประกอบการจาก บริษัท Bangkok Flight Service ที่ได้เล็งเห็นถึงความสามารถและทักษะด้านต่างๆ ของนักศึกษาและเชื่อมั่นว่านักศึกษาของสาขาเราสามารถปฏิบัติงานให้แก่องค์กรของตนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าหลักสูตรของเรามีการจัดการเรียนรู้ที่ดี รายวิชาต่าง ๆ มีความทันสมัยและมีความรู้ที่ดี นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  

หลักฐาน

  1. รายงานการประชุมภายใน เรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  2. ตารางการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  3. Satisfaction of employees to graduates 2022

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

การดำเนินการ

แต่ละรายวิชา มีการระบุผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างชัดเจน ทั้งผลลัพธ์การเรียนรู้แบบทั่วไปและผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง มีการกำหนดแนวทางการประเมินผลความสำเร็จตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละรายวิชามีการระบุแผนการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่แตกต่างกัน หลากหลายทักษะตามรายวิชาที่ศึกษาเล่าเรียน โดยสามารถนำความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้ 

หลักฐาน

  1. ตารางการกระจายน้ำหนักผลการเรียนรู้ (Mapping)

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินการ

สาขาวิชาฯ ดำเนินการตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ สถานประกอบการ ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565 โดยได้ปรับปรุงรายวิชาที่มีอยู่ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้น และปรับลดรายวิชาที่อาจจะไม่จำเป็นและล้าสมัยลง เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้หลังสำเร็จการศึกษาตามคำชี้แนะของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิเช่น รายวิชา 223 116 Airline Ramp Control ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาภายในให้ทันสมัยและนำความรู้เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ระบบ VDGS (Visual Docking Guidance System) รายวิชา 222 407 Airport Operation Management ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี และอุปกรณ์อัตโนมัติในสนามบินเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือการเดินทางได้ถูกต้อง เช่นระบบเช็คอินด้วยเอง ระบบโหลดกระเป๋าอัตโนมัติ ระบบปริ้นบัตรโดยสารด้วยเครื่อง KIOSK รายวิชา 223 226 Radar Approach Control Simulation ได้มีการเพิ่มเติมหาเกี่ยวกับ ระบบ GPS,  RNAV,  GNSS, and Satellite เข้ามาในการเรียนการสอนในการฝึกปฏิบัติ ณ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น  

หลักฐาน

  1. หลักสูตรปรับปรุงสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

การดำเนินการ

           สาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามไปยังสถานประกอบการทุกแห่งที่นักศึกษาได้เข้าไปทำด้วยหลังสำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งหมด 20 แห่ง และได้รับความอนุเคราะห์ตอบกลับมาจากสถานประการทั้งหมด 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 54.54 ของบัณฑิตที่จบการศึกษาปีการศึกษา 2564 และมีงานทำแล้ว จากการตอบกลับของสถานประกอบการพบว่ามีอัตราการตอบกลับเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลจากการประเมินจากสถานประกอบการต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. Learning Outcomes 5 Domain มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06
  2. Learning Outcome 3 indicator มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19
  3. Basic skill in English 21st Learning outcome มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.05

รวมค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 4.10 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดี”

            โดยจากสถิติตัวเลขการตอบกลับของผู้ใช้บัณฑิต สามารถแปลตีความได้ว่าบัณฑิตสาขาการควบคุมจราจรทางอากาศมีทักษะและความรู้ที่ครบถ้วนพร้อมปฏิบัติงานหลังจบการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ว่า เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะและไหวพริบ ตัดสินใจได้ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบอาชีพในสายงานการบินและการควบคุมการจราจรทางอากาศ และพร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตที่ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 ที่มีภาวการณ์การมีงานทำรวมทั้งหมด 20 คน และ ศึกษาต่อจำนวน 2 คน

หลักฐาน

  1. Satisfaction of employees to graduates 2022
  2. ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

การดำเนินการ

สาขาวิชานำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ของนักศึกษาทุกชั้นปี มาทำการแปลงค่าให้เป็น 4 ด้าน ได้ผลการดำเนินการ ดังนี้ ด้านความรู้(ความรู้) ทักษะ(ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ)  จริยธรรม(คุณธรรมจริยธรรม) และลักษณะบุคคลของนักศึกษา(ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ) ผลการดำเนินการพบว่า นักศึกษาในแต่ละชั้นปี มีผลการประเมิน ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (ค่าเฉลี่ย 4.30) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ค่าเฉลี่ย 3.88) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 (ค่าเฉลี่ย4.29) นักศึกษาชั้นปีที่ 4(ค่าเฉลี่ย4.12) นั่นคือ นักศึกษาทุกชั้นปีมีผลการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยทั้งรวมเท่ากับ 4.15 ซึ่งสูงกว่า 3.51 ตามเกณฑ์ที่กำหนด

หลักฐาน

  1. ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

การดำเนินการ

สาขาวิชานำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามหลักสูตร ของนักศึกษาทุกชั้นปี มาทำการแปลงค่าให้เป็น 4 ด้าน ได้ผลการดำเนินการ ดังนี้ ด้านความรู้(ความรู้) ทักษะ(ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ)  จริยธรรม(คุณธรรม จริยธรรมรม) และลักษณะบุคคลของนักศึกษา(ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ) ผลการดำเนินการพบว่า นักศึกษาในแต่ละชั้นปี มีผลการประเมิน ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (ค่าเฉลี่ย 4.30) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ค่าเฉลี่ย 3.88) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 (ค่าเฉลี่ย4.29) นักศึกษาชั้นปีที่ 4(ค่าเฉลี่ย4.12) นักศึกษาทุกชั้นปีมีผลการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้ง 4 ด้าน โดยค่าเฉลี่ยทั้งรวมเท่ากับ 4.15 ซึ่งสูงกว่า 3.51 ตามเกณฑ์ที่กำหนด

หลักฐาน

  1. ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ปีการศึกษา 2565

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-5)

1,2,3,4,5

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
2.1.1.1หลักฐานเกี่ยวกับรายงานการวิพากย์หลักสูตร
2.1.1.2รายงานการปฐมนิเทศน์นักศึกษา
2.1.1.3 ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
2.1.1.4Tiktok การโมทหลักสูตร
2.1.1.5โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร
2.1.1.6รายงานการประชุมภายใน เรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1.1.7ตารางการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1.1.8 Satisfaction of employees to graduates 2022
2.1.1.9 ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต
2.1.1.10หลักสูตรปรับปรุงสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565
2.1.1.11 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565
2.1.1.12 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.153

Leave a Reply