องค์ประกอบที่ 9 ผลผลิตและผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 ผลการจัดการศึกษา (ผลผลิตและผลลัพธ์)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับ อัตราการสำเร็จการศึกษา การออกกลางคัน และระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา

การดำเนินการ

หลักสูตรติดตามให้นักศึกษาที่ศึกษาในหลักสูตรได้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละชั้นปีติดตามดูแลเรื่องผลการศึกษาของนักศึกษาที่ตนเองรับชอบ และพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยการปรึกษาหารือกับทางฝ่ายทะเบียนของวิทยาลัยฯ เพื่อหาทางออกร่วมกัน หรือช่วยแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาไม่ให้นักศึกษาออกกลางคัน โดยการปรึกษากับทั้งนักศึกษา ผู้ปกครอง และวิทยาลัยฯ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดกับนักศึกษาแต่ละท่าน ทั้งนี้หลักสูตรได้เก็บรวบรวมสถิติข้อมูลอัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาทุกปี เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 2563-2565 ซึ่งจากสถิตินักศึกษามีอัตรามีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปีเกินร้อยละ 60

หลักฐาน

  1. รายงานอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา

2. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับ อัตราการได้งานทำ การเป็นผู้ประกอบการอิสระ และการศึกษาต่อของผู้เรียน

การดำเนินการ

หลักสูตรมีระบบฐานข้อมูลของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา และติดตามความก้าวหน้าหลังสำเร็จการศึกษา เพื่อจะได้ทราบถึงภาวะการมีงานทำของบัณฑิตหลังจบการศึกษา และเพื่อการสอบถามถึงคุณภาพของบัณฑิตจากผู้ประกอบการ และส่งผลไปให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องของวิทยาลัย

หลักฐาน

  1. ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
  2. ข้อมูลนักศึกษาเกี่ยวภาวะการมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา

3. มีระบบการกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุง เกี่ยวกับการวิจัยและการสร้างสรรนวัตกรรมของบุคลากรและผู้เรียน

การดำเนินการ

หลักสูตรมีการวางแผนด้านการวิจัย นวัตกรรม และประชุมติดตามการทำงานวิจัยและนวัตกรรมของอาจารย์ตั้งแต่ก่อนเปิดปีการศึกษา เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการในการทำวิจัย และนวัตกรรมของอาจารย์ โดยในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ อมรเทพ อินทศร และ อาจารย์ ชวัลณัฐ  หงส์วาณิชวงศ์ ได้จัดทำวิจัยขึ้นมา 1 เรื่อง คือ FACTORS RELATED TO THE STRESS IN OPERATION OF AIR TRAFFIC CONTROLLERS AT AERODROME AND APPROACH CONTROL SERVICE, DONMUEANG INTERNATIONAL AIRPORT และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ร่วมมือกับนักศึกษาในการทำผลงานนวัตกรรมทางวิชาการ อุปกรณ์ในการคำนวณเวลาและระยะทาง (Slide Rules)  เพื่อมาใช้ในระหว่างการการสอนรายวิชา 223 308 การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (ไม่ใช้ เรดาห์)

หลักฐาน

  1. ผลงานวิจัยปีการศึกษา 2565
  2. อุปกรณ์ในการคำนวณเวลาและระยะทาง (Slide Rules)

4. มีระบบกำกับติดตามข้อมูล ที่แสดงความสำเร็จของหลักสูตรตามเป้าหมายที่กำหนด

การดำเนินการ

หลักสูตรมีระบบฐานข้อมูลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของหลักสูตร ประกอบด้วย แผนและเป้าหมายการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ตามพันธกิจของกระทรวงอุดมศึกษา ผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ และหลักสูตรได้นำมาวิเคราะห์ผลสำเร็จ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมิน

หลักฐาน 

  1. ระบบ MIS
  2. ผลคะแนนการประเมินปีการศึกษา 2564 และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมิน

5. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การดำเนินการ

     ก่อนสิ้นปีการศึกษา หลักสูตรได้มีการสอบถามความพึงพอใจของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรทั้งในส่วนของอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บัณฑิต ผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตร

     หลักฐาน

  1. แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ (TQF5)
  2. แบบประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  3. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
  4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน (TQF5)

6. มีผลลัพธ์ด้านบริการวิชาการ/การทำประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม

การดำเนินการ

หลักสูตรได้กำหนดแผนการบริการวิชาการชุมชนเป็นประจำทุกปีในรูปแบบการให้
บริการวิชาการต่าง ๆ โดยในปีการศึกษา 2565 ได้จัดให้มีโครงการ บริการทางวิชาการการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศ ณ โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ด้านการบินสู่อาจารย์ผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศที่เข้ารับการอบรม และจะได้นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่ลูกศิษย์ของตน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการกล่าวว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะได้นำความรู้นี้ไปถ่ายทอดต่อให้กับลูกศิษย์ เพื่อให้ได้รับรู้เกี่ยวกฎ ระเบียบ ข้อบังคับด้านการบิน และได้ไม่มีใครกระทำผิดหรือกระทำการอันใดให้ผิดกฎหมายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากการสัมภาษณ์เบื้องต้นทางสาขาวิชาฯ จึงสามารถสรุปความได้ว่า ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดออกไปมีประโยชน์ที่ดีต่อสังคม ชุมชน และบุคคลทั่วไป

            ในการนี้สาขาวิชาฯ ยังได้มีโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรม “บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ชายหาดหน้าที่พักสวัสดิการทหารอากาศบ่อฝ้าย สังกัดกรมสวัสดิการทหารอากาศ จ.ประจวบคีรีขันธ์” เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักรู้ ปลูกจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านการทิ้งขยะอีกด้วย

            หลักฐาน

  1. โครงการบริการวิชาการ
  2. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

7. มีผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการพัฒนาแผนการเรียนการสอน โดยการนำศิลปะและวัฒนธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในบางรายวิชา เช่น Air Law and Regulation , Approach Control Service, Aerodrome Control Service และ Air Navigation เป็นต้น เกี่ยวกับกฎหมายทางอากาศ และการเดินอากาศของประเพณีบุญบั้งไฟและตะไลลาน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการบินของอากาศยานพาณิชย์ที่ทำการบินผ่าน ณ สถานที่จัดงาน โดยนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อและถ่ายให้พ่อแม่ผู้ปกครองรับรู้รับรับทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับของน่านฟ้าที่จะใช้ในการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นนักศึกษายังได้มีส่วนร่วมในโครงการ บริการทางวิชาการการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศ ณ โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง กรุงเทพฯ ในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เหล่าบรรดาผู้เข้าฝึกอบรมลูกเสืออากาศเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับในการขอใช้พื้นที่และน่านฟ้าของประเพณีบุญบั้งไฟอีกด้วย เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามนี้สืบไป

            นอกจากนั้นนักศึกษายังได้มีกิจกรรมร่วมกับทางวิทยาลัยในการสืบสานประเพณีอันดีงามอื่น ๆ ของไทยอีกหลายกิจกรรม เช่น การประกวดการทำพานไหว้ครู การประกวดการทำกระทง การประกวดมารยาทไทย เป็นต้น

            หลักฐาน

  1. แผนการเรียนการสอน
  2. โครงการศิลปะและวัฒนธรรม
  3. โครงการบริการวิชาการ
  4. การประกวดการทำพานไหว้ครู

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

 7 ข้อ

 5 คะแนน

AUN-QA(1-5)

1,2,4,5

ระดับ 4

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
9.1.1.1 รายงานอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา
9.1.1.2 ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
9.1.1.3 ข้อมูลนักศึกษาเกี่ยวภาวะการมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา
9.1.1.4 ผลงานวิจัยปีการศึกษา 2565
9.1.1.5 อุปกรณ์ในการคำนวณเวลาและระยะทาง (Slide Rules)
9.1.1.6 ระบบ MIS
9.1.1.7ผลคะแนนการประเมินปีการศึกษา 2564 และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมิน
9.1.1.8แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ (TQF5)
9.1.1.9แบบประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
9.1.1.10แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
9.1.1.11แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน (TQF5)
9.1.1.12โครงการบริการวิชาการ
9.1.1.13โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
9.1.1.14แผนการเรียนการสอน
9.1.1.15โครงการศิลปะและวัฒนธรรม
9.1.1.16การประกวดการทำพานไหว้ครู

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 คุณภาพบัณฑิต

ผลการดำเนินการ

การดำเนินการ

(12*100)/20 = 60.00%

คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต = 4.10

หลักฐาน

  1. รายงานผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 50 

IQA(1)

คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต

ผู้ตอบร้อยละ 60.00

 4.10 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
9.2.1.1 รายงานผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต

ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 การมีงานทำ/ผลงานวิจัยตีพิมพ์ของบัณฑิต

ผลการดำเนินการ

การได้งานทำหรือประกอบอาชีพภายใน 1 ปี (หลักสูตรระดับปริญญาตรี)

  1. ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ = (จำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ/จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด) *100
  2. คะแนนที่ได้ = (ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ/100) *5

ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ 90.90 = (จำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ 20 /จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 22) *100

คะแนนที่ได้ 4.55 = (ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ 90.90/100) *5

ตารางแสดงการได้งานทำหรือประกอบอาชีพภายใน 1 ปี (หลักสูตรระดับปริญญาตรี)

รายการจำนวน
1. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีทั้งหมด22
2. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ตอบแบบสำรวจเรื่องการมีงานทำภายใน 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษา22
3. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา (ไม่นับรวมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ)14
4. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ประกอบอาชีพอิสระ6
5. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา
6. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา2
7. เงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือน ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ (ค่าเฉลี่ย)
8. ผลการประเมินจากความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามกรอบ TQF เฉลี่ย (คะแนนเต็ม 5)4.10
9. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว
10. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่อุปสมบท
11. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่เกณฑ์ทหาร

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 80

IQA(1) ปริญญาตรี

จำนวนผู้มีงานทำใน 1 ปี/จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ร้อยละ 90.90

4.54 คะแนน

ปริญญาโท/เอก

ผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงาน/จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ร้อยละ –

– คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ ไม่มี

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
9.3.1.1ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 9.154
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 4.10
ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 4.54
คะแนนเฉลี่ย4.55

Leave a Reply