About Curriculum

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1.1 ปรัชญา

          เคร่งครัดมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสูงสุด รวดเร็ว และราบรื่น คือหัวใจในการให้บริการการจราจรทางอากาศ

    1.2 ความสำคัญ

          หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตในสาขาวิชานี้ เมื่อบัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะส่งผลดีต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติ

    1.3 วัตถุประสงค์

           1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศและมีทักษะในการใช้งานของ
อุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศเพื่อสื่อสารให้นักบินสามารถเดินทางจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย

           1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะและไหวพริบ ตัดสินใจได้ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
ได้อย่างถูกต้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

            1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบอาชีพในสายงานการควบคุมการจราจรทางอากาศ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน

    1.4 คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

           หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้

            1.4.1 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณ
แห่งวิชาชีพ

             1.4.2 เป็นผู้มีความสามารถในการปฏิบัติงานในสายงานการควบคุมจราจรทางอากาศและกิจการ 
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน

              1.4.3 เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับนักบินนานาชาติในสาย
งานอาชีพ

2.2. แผนพัฒนาปรับปรุง:

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ หลักฐาน/ดัชนีชี้วัด
1. ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศให้มีมาตรฐานเป็นไปตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 กำหนด และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ  ความต้องการของผู้เรียนตลาดแรงงานและแผนพัฒนาประเทศ 1. สำรวจความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อทราบถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต เพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรทุกๆ 5 ปี 1. เอกสารปรับปรุงหลักสูตร
2. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต  
2. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบิน 2. ผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร   2. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในด้านทักษะ ความรู้  ความสามารถในการทำงาน โดยเฉลี่ยในระดับดี  
3.  พัฒนาบุคลากรด้านวิชาการให้ มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ครบถ้วนและทันสมัย 3. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง    
3.1 สนับสนุนบุคลากรด้านวิชาการให้ได้รับการฝึกอบรมและปฏิบัติงานบริการวิชาการแก่องค์กรภายนอก    
3.2 ทุกรายวิชาจะมีนักศึกษาเป็นผู้ประเมินอาจารย์ ตามระบบการประเมินผลการสอนของสถาบันทุกภาคการศึกษาและนำผลมาตรวจสอบและทำการปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. หลักฐานการพัฒนาและสร้างเสริมประสบการณ์ของบุคลากร
– ใบรับรองการฝึกอบรม    
– ผลการประเมินด้านการสอน
– การบริการทางวิชาการ

Leave a Reply