2. กลยุทธ์ 2.1 การจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Development)

คำอธิบายเกณฑ์ Education criteria for Performance Excellence 2019-2020 ฉบับภาษาไทย (แปล)

2. กลยุทธ์ [85 pts.]
2.1 การจัดทำกลยุทธ์ สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำกลยุทธ์ (45 pts.)

ก. กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (Strategy Development PROCESS)
(1) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning PROCESS)
สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนกลยุทธ์
ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีอะไรบ้าง ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญคือใครบ้าง กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวเป็นอย่างไร และสถาบันมีวิธีการอย่างไรในการทำให้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ ได้คำนึงถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างไร
– การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (transformational change)
– การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ริเริ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (prioritization of change initiatives)
– ความคล่องตัวขององค์กร (organizational agility) หรือ ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน (operational flexibility)
(2) นวัตกรรม (Innovation)
กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ของสถาบันกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร
สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดโอกาสเชิงกลยุทธ์ (strategic opportunities) และมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินเลือกใจว่า โอกาสเชิงกลยุทธ์เรื่องใดเป็นความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้เสียแล้วอย่างรอบด้าน (intelligent risks) และโอกาสเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง
(3) การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Considerations)
สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาสารสนเทศเพื่อใช้ในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์
สถาบันคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญของความเสี่ยงต่อไปนี้อย่างไร ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว
– ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ และ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ของสถาบัน
– การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากกฎระเบียบ ข้อบังคับ และสภาวะแวดล้อมภายนอก
– จุดบอดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการและสารสนเทศที่ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์
– ความสามารถของสถาบันในการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
(4) ระบบงานและสมรรถนะหลัก (WORK SYSTEMS and CORE COMPETENCIES)
สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่ากระบวนการสำคัญใดจะดำเนินการโดยบุคลากรของสถาบันและกระบวนการใดจะดำเนินการจากภายนอกโดยผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC OBJECTIVES)
(1) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ (KEY STRATEGIC OBJECTIVES)
ของสถาบันมีอะไรบ้าง ตารางเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นเป็นอย่างไร
เป้าประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ KSO เหล่านั้นมีอะไรบ้าง
สถาบันวางแผนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ถ้ามี) อะไรบ้าง ในด้านหลักสูตร วิจัย และบริการฯ ลูกค้าและตลาด ผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือที่เป็นทางการ และการปฏิบัติการ
(2) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC OBJECTIVE Considerations)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของสถาบันสามารถสร้างความสมดุลอย่างเหมาะสมกับความต้องการที่มีความหลากหลายและที่มีโอกาสจะแข่งขันกันเองได้อย่างไร
SO ตอบสนอง strategic challenges และใช้ประโยชน์จาก core competencies, strategic advantages และ strategic opportunities และ
สร้างสมดุลระหว่างกรอบเวลาระยะสั้นและระยะที่ยาวขึ้น และพิจารณาสมดุลระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

ผลการดำเนินงาน

2.1-1 กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning PROCESS)

แผนกลยุทธ์ (Strategic plan) เป็นแผนรวมของทุกหน่วยงานของทั้งวิทยาลัยฯ แบ่งตามพันธกิจอุดมศึกษา ได้เป็น 5 ยุทธศาสตร์ ๆ หนึ่งจะประกอบด้วย 1-2 เป้าประสงค์ และ 2 กลยุทธ์
กลยุทธ์ จะบอกว่าใครหรือหน่วยงานใด (ในวงเล็บ) เป็นผู้รับผิดชอบงานอะไรหรือด้านไหน
เป้าประสงค์ จะบอกว่าใคร (ในวงเล็บ) เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ได้รับประโยชน์จากงานอะไร
ซึ่งคณะ หน่วยงาน และสำนักต่าง ๆ จะการออกแบบโครงการหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ และใช้เป้าประสงค์นี้กำหนดตัววัดหรือชี้วัดความสำเร็จที่เหมาะสมของแผนปฏิบัติการ (Action plan) ประจำปีของตน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานของวิทยาลัยมีจุดประสงค์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน (alignment) และบรรลุเป้าหมายของแผนร่วมกัน
แผนกลยุทธ์มีกรอบระยะเวลา 3 ปี โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายแผนและวิจัย เป็นผู้กำกับและรับผิดชอบการจัดทำแผนกลยุทธ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของสถาบันทุก 1 ปี ดังนี้

ยุทธศาสตร์ (Mission)เป้าประสงค์ (Goals) กลยุทธ์ (Strategy)
ย.1 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ป.1 (บัณฑิต)มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีสมรรถนะทางวิชาชีพและภาษาอังกฤษ ก.1 (คณะวิชา)พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทย
ก.2 (หลักสูตร)จัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะทางปัญญาและสมรรถนะภาษาอังกฤษของผู้เรียน
ย.2 ผลิตงานวิจัย ผลงานวิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติป.2 (อาจารย์)มีผลงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศก.3 (คณะ,อาจารย์)ผลิตผลงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ
ก.4 (คณะวิชา)พัฒนาเครือข่ายการผลิตผลงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ
ย.3 บริการวิชาการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน/สังคมป.3-1 (สถาบัน)มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิชาการและวิชาชีพ และ
ป.3-2 (สถาบัน)มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ
ก.5 (สถาบัน,คณะ)ยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรและให้บริการวิชาการที่สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
ก.6 (สถาบัน,คณะ)เร่งรัดพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญ
ย.4 สืบสานและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมและค่านิยมอันดีงามของไทยป.4-1 (บุคลากร,นักศึกษา)ตระหนักและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยและนานาชาติ
ป.4-2 (สถาบัน)มีการพัฒนาระบบนิเวศน์ อนุรักษ์พลังงานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่สถาบันอุดมศึกษาสีเขียว (green university)
ก.7 (สถาบัน,คณะ)ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของไทยและนานาชาติ
ก.8 (สถาบัน)เร่งรัดพัฒนาสถาบันให้เป็นอุดมศึกษาสีเขียว
ย.5 ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสถาบันสู่ความเป็นเลิศป.5-1 (สถาบัน)ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรที่มุ่งสู่งานได้ผลคนเป็นสุข
ป.5-2 (สถาบัน)มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สมบูรณ์
ก.9 (สถาบัน,คณะ)บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง
ก.10 (สถาบัน,คณะ)เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน

คณบดีคณะบริหารธุรกิจได้ร่วมประชุมวางแผนกลยุทธ์กับรองอธิการบดีฝ่ายแผนและวิจัยและคณะกรรมการบริหาร และจัดทำแผนกลยุทธ์ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 3 ปี (2563-2565)
ในแต่ละปีจะมีการทบทวนความคืบหน้าหรือระดับความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ และปรับปรุงตัวชี้วัดหรือคงใช้ตัวชี้วัดเดิมในการพัฒนาแผนปฏิบัติการประจำปี (ระยะสั้น 1 ปี) ของคณะบริหารธุรกิจ ที่จะขออนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการในปีการศึกษา 2565 (มิ.ย.2565 – พ.ค.2566)
โดยที่แผนปฏิบัติของคณะต้องกำหนดค่าเป้าหมายที่สามารถวัดหรือประเมินระดับความสำเร็จเพื่อให้เปรียบเทียบกันได้ระหว่างปี และสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของผลลัพธ์ซึ่งแสดงถึงการบรรลุเป้าประสงค์ของแผนกลยุทธ์ หรือความคลาดเคลื่อนหากยังไม่บรรลุ

เอกสารอ้างอิง แผนปฏิบัติการคณะบริหารธุรกิจ ประจำปีการศึกษา 2565-66

2.1-3 การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Considerations)
ระหว่างปีการศึกษา 2565-66 วิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับคณะและสถาบันโดยอ้างอิงเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับแปลเป็นไทย ปี พ.ศ. 2563-66 ซึ่งแปลจากต้นฉบับ Baldridge’s Educational Criteria for Performance Excellence 2019-2020 โดยเสนอขออนุมัติจากสภาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นนโยบายการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพของคณะ จึงทำให้การทำแผนกลยุทธ์ประจำปี 2565-66 ของคณะบริหารธุรกิจ ไม่สามารถตอบคำถามของเกณฑ์คุณภาพฯ ดังกล่าวได้ในหลาย ๆ ประเด็น

เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2565-66 คณะต้องจัดทำรายงานการประเมินตนเองโดยใช้ผลการดำเนินงานประจำปีที่ผ่านมา และรายงานต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะซึ่งจะดำเนินการตรวจประเมินด้วยเกณฑ์คุณภาพตามมาตรฐานฉบับใหม่ดังกล่าว คณบดีจึงได้วิเคราะห์และพบว่าการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะบริหารธุรกิจ ยังไม่ได้พิจารณารายละเอียดของคำถามในเกณฑ์ และควรจะปรับปรุงขั้นตอนการทำแผนกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดทำแผนกลยุทธ์แนวทางที่คณะจะดำเนินการในปีการศึกษาหน้า (2566-67)
1. ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์
มีประเด็นความท้าทายหรือความเสี่ยงใดที่สำคัญมากพอที่คณะจะต้องพิจารณาทำการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (transformational change)
คณะจะต้องหากรณีศึกษาของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ (Strategic risk) ของสถาบันอุดมศึกษาตัวอย่าง และความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้เสียแล้วอย่างดีและรอบด้าน (Intelligent risk) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งกรณีที่มีและไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม และเสนอเพื่อพิจารณาในการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ประจำปี
2. ความเข้าใจผู้เรียนและตลาด
– ภาวะของตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในการหาผู้เรียนผนวกกับการลดลงของประชากรวัยเรียน จะมีผลต่อความเสี่ยงของหลักสูตรต่างๆ ที่สังกัดคณะอย่างไร และ
– คณะควรมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ปิด เปิด หรือปรับปรุงรูปแบบของหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร เพื่อที่หลักสูตรจะยังคงสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้อย่างยั่งยืน
คณะกรรมการบริหารซึ่งมีคณบดี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายแนะแนวหลักสูตรและรับสมัครนักศึกษา ร่วมกันวิเคราะห์ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้าที่สำคัญ สถิติการได้งานทำและอาชีพของบัณฑิตหลังจากจบหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ รวมถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เรียนและตลาด ส่วนแบ่งของตลาด (market share) พื้นที่ จังหวัด และโรงเรียนของนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร
3. การติดตามแนวโน้มความสำเร็จของแผนกลยุทธ์
– ตัววัดที่สำคัญและผลลัพธ์ของแผนระยะสั้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายของแผนระยะยาวมีความเหมาะสมหรือสร้างสมดุลดีแล้วหรือยัง
– คณะจะมีมาตรการอย่างไรหากต้องปรับปรุงผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนหรืออาจไม่บรรลุเป้าหมาย
คณะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บข้อมูล รายงาน และจัดการความรู้จากการวัดผลของแผนกลยุทธ์ รวมถึงประเมินระบบสารสนเทศ และนำมาวิเคราะห์และเสนอต่อที่ประชุมในวาระเพื่อพิจารณาของคณะกรรมการบริหารสถาบันในการทบทวนและปรับปรุงแผนกลยุทธ์ประจำปี
4. ทบทวนระบบงานและสมรรถนะหลักคณะควรพิจารณาสมรรถนะหลักว่าระบบงานในปัจจุบัน กระบวนการที่บุคลากรของคณะเป็นผู้ดำเนินการ และกระบวนการที่คู่ความร่วมมือเป็นผู้ดำเนินการ นั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ดีแล้วหรือยัง หรือควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงได้อย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้รับจากหน่วยงานหรือสถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน ซึ่งมีในทุกหลักสูตรของคณะ

สำหรับในปีการศึกษา 2565-66 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนกลยุทธ์ดังนี้
1. ความเข้าใจผู้เรียนและตลาด
จากการพิจารณาประเด็นการมุ่งเน้นผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นนั้น คณะกรรมการเห็นว่า คณะและหลักสูตรต่าง ๆ จะต้องหาปัจจัยผลักดัน (drivers) ที่จะทำให้นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่า และลูกค้ากลุ่มอื่น เกิคความผูกพันกับหลักสูตร คณะ และสถาบัน (student or customer engagement) เพื่อจะนำมาทบทวนและปรับปรุงเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ และตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกันต่อไป
ในเบื้องต้นหลักสูตร BBA in Airline business มีวิธีการดำเนินงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างความผูกพันกับนักศึกษา ในด้านการจัดให้นักศึกษาได้สัมภาษณ์งานเสมือนจริงกับอดีตผู้บริหารแผนกของบริษัทการบินไทย และใช้ผลการสัมภาษณ์เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ให้เข้าฝึกงานวิชาสหกิจศึกษากับสายการบินที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นแหล่งฝึกงานของหลักสูตร ทางคณะสังเกตเห็นว่านักศึกษาให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์งานเสมือนจริงนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนอย่างมีความหมายของนักศึกษาในหลักสูตร
2 ศักยภาพความพร้อมและความต้องการภายในคณะ
การวางแผนการผลิตบัณฑิตมีการสำรวจปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้คือ อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์พิเศษ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารสถานที่ ห้องสมุด และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผู้ส่งมอบ และคู่ความร่วมมือ คณบดีได้หาวิธีใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงความต้องการที่สำคัญของแต่ละหลักสูตร และศักยภาพความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต และการทำวิจัยเผยแพร่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษาของกระทรวงต้นสังกัด

ปัจจัยและองค์ประกอบที่คณะกรรมการใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ เป็นดังแผนภาพ 2.1.1 ต่อไปนี้

2.1-5 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ (KEY STRATEGIC OBJECTIVES)
คณะบริหารธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ และกรอบระยะเวลาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นดังนี้

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญแผนปฏิบัติการตัววัดผล หรือ ตัวชี้วัดค่าเป้าหมายปีที่เริ่มกรอบระยะเวลา(สั้นหรือยาว)
ป.1 (บัณฑิต)มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีสมรรถนะทางวิชาชีพและภาษาอังกฤษ A1. รายวิชาบังคับของทุกสาขาวิชาในคณะจะต้องใช้ปัญหาหรือกรณีศึกษาในการสอนและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อเสริมทักษะการอ่านและคิดวิเคราะห์ (problem or case-based reading and analytical thinking)
(เช่น อาจออกข้อสอบแบบ TOEIC reading ซึ่งใช้คำศัพท์สำคัญจาก frequent words of TOEIC ในการประเมินผู้เรียนของรายวิชา)
ว1.1 ร้อยละของรายวิชาที่เปิดสอนที่มีข้อสอบกรณีศึกษาที่นักศึกษาต้องอ่านทำความเข้าใจแล้วจึงคิดวิเคราะห์

ว1.2 ร้อยละของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่สอบ TOEIC ได้คะแนนตามเกณฑ์ตามระดับชั้นปี
(ปี 1: 300, ปี 2: 350, ปี 3: 450, ปี 4: 500)
70%
และ
60%
25655 ปี (ยาว)
ป.1 (บัณฑิต)มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีสมรรถนะทางวิชาชีพและภาษาอังกฤษA2. การคัดเลือกและร่วมมือกับแหล่งฝึก (practicum host) ทำ MOU และจัด internship placement interview เพื่อพัฒนาความพร้อมของนักศึกษาให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการฝึกงาน และพร้อมใช้ในการสมัครงานจริง
(ใช้แนวทางปฏิบัติของวิชา Airlines cooperative education เป็นแบบอย่างในการจัดการเรียนการสอนในทุก ๆ หลักสูตร)
ว2.1 ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำภายใน 1 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา

ว2.2 คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญ
100%
และ
4.0/5
25653 ปี (กลาง)
ก.2 (หลักสูตร)จัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะทางปัญญาและสมรรถนะภาษาอังกฤษของผู้เรียน A3. จัดทำข้อตกลงและอ้างอิง (term of reference) กับแหล่งฝึกและผู้ฝึกสอนงานเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนวิชาสหกิจศึกษาให้ได้ผล เช่น หัวข้อ
On-the-job authentic assessment to develop thinking and practical skills as key learning outcomes
ว.3 ร้อยละของนักศึกษาฝึกงานที่ได้รับการประเมิน โดยผู้ฝึกสอนงานในแหล่งฝึกร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในด้านทักษะการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ได้ระดับดี (4.0/5) หรือสูงกว่า 70%25663 ปี (กลาง)
ก.3 (คณะ,อาจารย์)ผลิตผลงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ A4. อาจารย์แต่ละคนในคณะมีแผนปฏิบัติการประจำปีของตนเอง ซึ่งระบุหัวข้องานวิจัยหรือนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน ซึ่งอาจารย์สามารถใช้ผลงานวิจัยตีพิมพ์นั้น ขอรับการประเมินความดีความชอบหลังจากครบสัญญาว4.1 ร้อยละของแผนงานวิจัยหรือการสร้างนวัตกรรมของอาจารย์ในคณะที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและมีคุณภาพ

ว4.2 ร้อยละของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ได้มีระดับคุณภาพ
60%
และ
40%
25665 ปี (ยาว)

2.1-7 กลยุทธ์ที่ได้จัดทำ สามารถทำให้บรรลุความสำเร็จตามที่วิสัยทัศน์กำหนด
จากการดำเนินงานของคณะซึ่งตอบสนองเกณฑ์ EdPEx ข้อ 2.1-1 ข้างต้น การจัดทำกลยุทธ์ของคณะบริหารธุรกิจ ได้มุ่งเน้นที่จะสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เกิดกับนักศึกษาโดยเฉพาะในด้านทักษะการคิด ทักษะการเรียนรู้ การพัฒนาพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อปรับปรุงงานและอาชีพ ดังจะเห็นได้จากเป้าประสงค์ ป.1 ของแผนกลยุทธ์ ซึ่งได้ถูกใช้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการ ซึ่งแสดงถึงการมุ่งที่จะบรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของคณะดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)
To ensure that our individual students and other customers are satisfied with intellectual enrichment that we provide by means of professional practice, scientific or scholarly investigation.

เราจะเสริมเติมเต็มความคิดและปัญญาให้นักศึกษาและลูกค้าแต่ละคนพอใจ ด้วยการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติแบบมืออาชีพ การศึกษาค้นคว้าหรือการวิจัย

พิจารณาตามมาตรฐาน ว.เซนต์เทเรซา (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการประเมินตนเอง

2.1 Strategy developmentระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตาม IQA1, 3, 5, 7 (รวม 4 ข้อ)3มีการดำเนินการตามแผนบางส่วน และได้ปรับปรุงแผนสำหรับใช้ในปีต่อไป
1. Strategic planning process
3. Strategy considerations
5. Key strategic objectives
7. กลยุทธ์ทำให้บรรลุวิสัยทัศน์
ผลการประเมินตาม EdPEx1, 30/45ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
2.1.1-00 แผนการดำเนินการตามแนวทาง EdPEx ของสถาบัน เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพระดับสถาบันและคณะ และ เกณฑ์ EdPEx ปี 2563-66 ฉบับภาษาไทย โดย สป.อว.
2.1.1-01 แผนปฏิบัติการประจำปี 2565 คณะบริหารธุรกิจ
2.1.1-02 รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของคณะบริหารธุรกิจ ประจำปี 2565
2.1-5-01 แผนพัฒนาวิทยาลัยตามจุดเน้นของสถาบันอุดมศึกษากลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ (กลุ่มที่ 5) ตามนโยบายด้านการอุดมศึกษาของ สป.อว.
2.1-5-02 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของคณะบริหารธุรกิจ