4. การวัด การวิเคราะห์ และ KM 4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินงานของสถาบัน

หมวด 4 การวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ (Measurement, Analysis and Knowledge Management)
หัวข้อ 4.1 การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุงผลการดำเนินงานของคณะ (Measurement, analysis, and improvement of organizational performance)
คำถามพื้นฐาน (Basic requirement):
สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการวัด วิเคราะห์ และเพื่อนำมาปรับปรุงผลการดำเนินการของสถาบัน (45 คะแนน)

หัวข้อ 4.1 นี้ ประกอบด้วย 3 ประเด็นพิจารณา (area to address) คือ 4.1ก 4.1ข และ 4.1ค ตามลำดับ
แต่ละประเด็นพิจารณาจะแบ่งเป็น 6 ข้อย่อย (subparts) คือ 4.1ก1 4.1ก2 4.1ก3 4.1ข 4.1ค1 และ 4.1ค2 ตามลำดับ
แต่ละข้อย่อยจะมีคำถามตาม 2 แบบ คือ คำถามโดยรวม (Overall requirement) ซึ่งอยู่หลังข้อย่อย และอาจมี คำถามย่อย (Multiple requirements) เรียงต่อกันมาด้วย ดูตัวอย่าง 4.1ก1
ทั้งสถาบันและคณะจะใช้คำถามโดยรวมของหัวข้อเกณฑ์ ในการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx  โดยจะใช้เลขที่และชื่อของแต่ละข้อย่อย เพื่อการอ้างถึงในการสรุปคะแนนของผลการประเมิน ดังนี้คือ
4.1ก. การวัดผลการดำเนินการ (Performance measurement)
     (1) ตัววัดผลการดำเนินการ (Performance measures)
     (2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative data)
     (3) ความคล่องตัวของการวัดผล (Measurement agility)
4.1ข. การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ (Performance analysis and review)
4.1ค. การปรับปรุงผลการดำเนินการ (Performance improvement)
    (1) ผลการดำเนินการในอนาคต (Future performance)
    (2) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรม (Continuous improvement and innovation)

โปรดอ่าน แนวทางการประเมิน ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ STIC IQA และ EdPEx

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ
คะแนน (band)คำอธิบายคะแนน (band)คำอธิบาย
0% หรือ 5%
(A1)
A: ไม่ปรากฏแนวทางอย่างเป็นระบบ มีสารสนเทศเพียงผิวเผิน
D: แทบไม่ปรากฏหลักฐานการถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ
L: ไม่แสดงให้เห็นว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา
I : ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับสถาบันแต่ละส่วนหรือหน่วยงานดําเนินการอย่างเอกเทศ
10%, 15%, 20% หรือ 25%
(A2)
A: แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางที่เป็นระบบที่ตอบสนองต่อคําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: การนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเพียงอยู่ในขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกส่วนหรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุผลของคําถามพื้นฐานของหัวข้อนั้น
L: เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหามาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงแบบพื้น ๆ
I: มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับส่วนหรือหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา
30%, 35%, 40% หรือ 45%
(B1)
A: แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อคําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางส่วนหรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น
L: เริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางเริ่มมีความสอดคล้องกับความจําเป็นพื้นฐานที่สถาบันต้องทํา/มีตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
50%, 55%, 60% หรือ 65%
(B2)
A: มีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อคําถามโดยรวมของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดีถึงแม้การปฏิบัติอาจแตกต่างกันในบางส่วนหรือบางหน่วยงาน
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร ซึ่งรวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางมีความสอดคล้องกับความจําเป็นโดยรวมที่สถาบันต้องทํา/มี ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
70%, 75%, 80% หรือ 85%
(C1)
A: ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้
นที่ หรือหน่วยงานส่วนใหญ่
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร
รวมถึงการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมืที่สําคัญในการจัดการ ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร
I: มีแนวทางที่บูรณาการกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
90%, 95% หรือ 100%
(C2)
A: มีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยไมมีจุดอ่อนหรือความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใด ๆ
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรผ่านการสร้างนวัตกรรม โดยนํามาใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันความรู้
I: แนวทางมีการบูรณาการอย่างดีกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ

4.1ก1

4.11 ตัววัดผลการดำเนินการ (Performance measures)
A-O คณะมีวิธีการติดตามข้อมูล และสารสนเทศ (track data and information) ของการปฏิบัติงานประจำวัน (daily operations) และการดำเนินการโดยรวม (overall performance) ของคณะอย่างไร
A-M คณะมีวิธีอย่างไรในการ
– เลือก รวบรวม ปรับให้สอดคล้อง และบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ เพื่อติดตาม daily operations และ overall performance ของคณะ
– ติดตามความก้าวหน้า (track progress) ของการบรรลุ strategic objectives และ action plans
ตัววัดผลการดำเนินการที่สำคัญ (key performance measures) ของคณะ รวมถึงตัววัดด้านการเงินและงบประมาณทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอะไรบ้าง

measurementdescription of performance measure per action plantime to track daily operations or collect datatime to track the overall performance or integrate the tracked data
ว1.0TOEIC mock test results for each studentmonthly during term 1 and 2
ว1.1 ร้อยละของรายวิชาที่เปิดสอนที่มีข้อสอบกรณีศึกษาที่นักศึกษาต้องอ่านทำความเข้าใจแล้วจึงคิดวิเคราะห์2 times/term (midterm, final of term 1 and 2)
ว1.2ร้อยละของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจที่สอบ TOEIC ได้คะแนนตามเกณฑ์ตามระดับชั้นปี
(ปี 1: 300, ปี 2: 350, ปี 3: 450, ปี 4: 500)
2 weeks after the final exam of term 1 and 2
ว2.1ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำภายใน 1 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา6-12 months after graduation2 times a year
ว2.2คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญ6-12 months after graduation2 times a year
ว.3 ร้อยละของนักศึกษาฝึกงานที่ได้รับการประเมิน โดยผู้ฝึกสอนงานในแหล่งฝึกร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในด้านทักษะการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ได้ระดับดี (4.0/5) หรือสูงกว่าafter the cooperative education1 time a year
ว4.1 ร้อยละของแผนงานวิจัยหรือการสร้างนวัตกรรมของอาจารย์ในคณะที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและมีคุณภาพ1 time a year
ว4.2ร้อยละของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ได้มีระดับคุณภาพ1 time a year

– คณะบริหารธุรกิจติดตามข้อมูลและสารสนเทศของการปฏิบัติงานประจำวัน โดยให้อาจารย์และบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรม ส่งรายงานสรุปหรือย่อ (summary operating report) หรือบทสรุปสำหรับผู้บริหาร (executive summary) รายงานให้คณบดีได้รับทราบเกี่ยวกับ daily operations  
– ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ประธานหรือตัวแทนของแต่ละหลักสูตรรายงานปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน การสอบและการวัดผล การทำวิจัยหรือผลิตผลงานทางวิชาการ รวมถึงผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) ในแผนปฏิบัติการ
– พิจารณาข้อมูลและสารสนเทศที่บันทึกในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC MIS) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการเข้าเรียนของนักศึกษา (Attendance) ข้อมูลผลคะแนนภาษาอังกฤษ TOEIC ข้อมูลแผนการสอนและรายละเอียดของรายวิชา หรือ มคอ.3/4 และข้อมูลรายงานผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา หรือ มคอ.5/6 และข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
– คณะบริหารธุรกิจ ถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่แผนปฏิบัติการประจำปีตามพันธกิจ และมอบหมายคณะทำงาน ประกอบด้วย รองคณบดีและเลขานุการสำนักงานคณะ กำกับติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลตัวชี้วัดในแต่ละหลักสูตร
การเรียนรู้
คณะบริหารธุรกิจ วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่เป็นจุดแข็ง และความท้าทาย หรืออุปสรรคที่ส่งผลให้การดำเนินการยังไม่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด ซึ่งได้นำไปวิเคราะห์กระบวนการและประเมินระดับความเสี่ยง และวางแผนบริหารความเสี่ยงในลำดับถัดไป
การบูรณาการ
คณะบริหารธุรกิจ บูรณาการตัวชี้วัดในระดับคณะวิชาลงสู่ระดับหลักสูตรและระดับบุคคล ดังนี้
– ตัวชี้วัดระดับคณะวิชา ตามแผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมทุกภารกิจ คือ การจัดการเรียนการสอน (การผลิตบัณฑิต) การวิจัย การบริการวิชาการสู่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
– ตัวชี้วัดระดับหลักสูตรลงสู่รายบุคคล คือ จำนวนผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรในรอบ 5 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และการพัฒนาตนเอง ตลอดทั้งการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามแผนพัฒนาบุคลากร

4.1-2 (4.1ก2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Data)
A-O
คณะมีวิธีการเลือกและใช้ข้อมูล สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบอย่างไร เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง (fact-based decision making)

การดำเนินการ   คณะบริหารธุรกิจ ได้เริ่มนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งเป็นข้อมูลการดำเนินการปัจจุบัน มาเปรียบเทียบกับ
– ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
– ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา
การนำไปสู่การปฏิบัติ   คณะบริหารธุรกิจ มีเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา 2563 – 2565
การเรียนรู้   คณบดีและรองคณบดี สามารถติดตามผลการดำเนินงานได้เป็นปัจจุบัน ครอบคลุมทุกพันธกิจ
การบูรณาการ   คณะบริหารธุรกิจ บูรณาการการปฏิบัติงานตนให้สอดคล้องกับภาระงานตามสัญญาจ้างและความเหมาะสมตามความเชี่ยวชาญตามที่คณะวิชาพิจารณามอบหมาย

4.13 (4.1ก3) ความคล่องตัวของการวัดผล (Measurement agility)
A-O
คณะมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการวัดผลการดำเนินการของคณะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด และให้ข้อมูลที่ทันเวลา

การดำเนินการ คณะบริหารธุรกิจใช้ระบบติดตามประเมินผลตัวชี้วัด การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ตามผลการดำเนินการข้อ 1. โดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC MIS) และการรายงานสรุปผลในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ
การนำไปสู่การปฏิบัติ
คณบดีมอบหมายเลขานุการประจำคณะ เป็นผู้บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC MIS) และรายงานผลให้คณบดีทราบอยู่เป็นระยะ เมื่อมีการดูรายงานผลในระบบตามพันธกิจ และข้อมูลหรือสารสนเทศใดที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอน เมื่อข้อสงสัย ก็จะเรียกซักถามเป็นคราว ๆ ไป
การเรียนรู้ ข้อมูลและสารสนเทศที่บันทึกลงในระบบสารสนเทศของวิทยาลัย (STIC MIS) นั้น ค่อนข้างเป็นระบบเนื่องจากเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเรียกดูได้ตามความต้องการอย่างรวดเร็ว และมีความแม่นยำกว่าการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นแฟ้มเอกสาร
การบูรณาการ คณะบริหารธุรกิจจะพัฒนาระบบการทำงานโดยใช้ระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลให้มากขึ้น เพื่อความแม่นยำ รวดเร็ว และเอื้อต่อการบริหารจัดการ และการตัดสินใจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและสารสนเทศอย่างรวดเร็ว

4.1-4 (4.1ข) การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ (Performance analysis and review)
A-O คณะมีวิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของคณะอย่างไร
A-M คณะมีวิธีการใช้ตัววัดผลการดำเนินการที่สำคัญ (key performance measures) อย่างไร รวมถึงการใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในการทบทวนเหล่านี้
คณะวิเคราะห์อะไรบ้างเพื่อสนับสนุนการทบทวนและทำให้มั่นใจว่าผลสรุปนั้นใช้ได้
สถาบันและผู้นำระดับสูงใช้ผลการทบทวนในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
– ประเมินความสำเร็จของคณะ/สถาบัน ผลการดำเนินการในเชิงแข่งขัน ความมั่นคงทางการเงิน และความก้าวหน้าของการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
– ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านความต้องการของสถาบัน และความท้าทายในสภาพแวดล้อมที่สถาบันดำเนินการอยู่
คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบัน มีวิธีการอย่างไรในการทบทวนผลการดำเนินการของสถาบัน และความก้าวหน้าของการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ

การดำเนินการ
– คณะบริหารธุรกิจ พิจารณาทบทวนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) และพันธกิจ
– คณะบริหารธุรกิจ พิจารณาทบทวนตนเอง เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายใน ตามเกณฑ์คุณภาพของวิทยาลัย
การนำไปสู่การปฏิบัติ
คณบดี กำหนดให้รองคณบดีและเลขานุการคณะ ติดตาม ทบทวน ผลการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาในกำหนดในแผน และสรุปผลการดำเนินงานไปยังสำนักนโยบายและแผน ทุกไตรมาส และทุก 6 เดือน
การเรียนรู้   คณะบริหารธุรกิจ วิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินงานโดยคณบดี รองคณบดี และฝ่ายเลขานุการคณะ ร่วมกับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ตามพันธกิจ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการปรับปรุง (Improvement Plan) โดยกำหนดเป้าให้การดำเนินงานในปีการศึกษาถัดไปควรดีขึ้น/สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน
การบูรณาการ  คณะบริหารธุรกิจ วิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กรณีที่เป็นปัจจัยนอกที่ส่งผลกระทบให้ไม่สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมาย ก็จะนำข้อมูลและสารสนเทศมาบรรจุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง

4.1-5 (4.1ค1) ผลการดำเนินการในอนาคต (Future performance)
A-O คณะคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคตอย่างไร
A-M คณะใช้ผลจากการทบทวนผลการดำเนินการ ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบและเชิงแข่งขันที่สำคัญเพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินการของคณะอย่างไร

การดำเนินการ  คณะกรรมการบริหารคณะ มีการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต โดยดำเนินการดังนี้
– นำข้อมูลสรุปผลการดำเนินการประจำปีมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
– พิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นไปตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด และอย่างไร โดยใช้กระบวนการ PDCA
– หลังจากนำผลการพิจารณาไปประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุง และดำเนินการพัฒนาปรับปรุงแล้ว ติดตามความก้าวหน้าอีกครั้ง โดยทบทวนผลการดำเนินการ
– หากการดำเนินการปรับปรุงได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว จะพิจารณาปรับค่าเป้าหมายให้มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยพิจารณาถึงทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ และปัจจัยภายนอก โอกาสหรืออุปสรรค ร่วมด้วย โดยอาจลองนำคู่เทียบที่เป็นคณะบริหารธุรกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ/รัฐ มาพิจารณาเพื่อนำไปสู่การยกระดับขีดความมสามารถในการแข่งขัน
การนำไปสู่การปฏิบัติ  คณะกรรมการในแต่ละชุดตามพันธกิจ ของคณะบริหารธุรกิจ เสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการ หรือปรับกิจกรรมการดำเนินการสำหรับผลลัพธ์ที่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย โดยเสนอผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนนำไปปฏิบัติและประเมินผลอีกครั้ง
การเรียนรู้  ข้อมูลและสารสนเทศด้านการผลิตบัณฑิต (การจัดการเรียนการสอน) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกรดของนักศึกษา การขาดเรียนของนักศึกษา ไปจนถึงด้านผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยเฉพาะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร เหล่านี้นำไปจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 
การบูรณาการ  คณะบริหารธุรกิจ กำหนดแนวทางการรับมือและป้องกันปัญหาทั้งในด้านการผลิตบัณฑิต และการวิจัย ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ

4.1-6 (4.1ค2) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรม (Continuous improvement and innovation)
A-O คณะใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการ นำไปจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร
A-M คณะมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดเรื่องที่จัดลำดับความสำคัญและโอกาสดังกล่าวสู่การปฏิบัติ ให้ไปสู่
– คณาจารย์ บุคลากร คณะทำงานและระดับปฏิบัติ
– สถาบันอื่นที่ส่งผู้เรียนเข้ามาศึกษาและรับผู้เรียนของคณะเข้าศึกษาต่อ ผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่สอดคล้องในแนวทางเดียวกันกับคณะ

การดำเนินการ 
คณะบริหารธุรกิจมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยนำบางประเด็นมาถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่การสร้างนวัตกรรม ลงไปยังพันธกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิตบัณฑิต (การจัดการเรียนการสอน) การวิจัย และการบริการวิชาการสู่สังคมและชุมชน
การนำไปสู่การปฏิบัติ 
คณะจัดทำโครงการบริการวิชาการตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 “Project on Training Program for Community on Sustainable Business” และนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน KM’s Day ในผลงานชื่อ “Socratic Method for Creating New Knowledge: Educators and Business Leader’s Perspective” และผลงานชื่อ “Developing Human Capital in the Society through CSR: Evidence from the Past and Future Expectation”
การเรียนรู้   คณะบริหารธุรกิจนำเสนอผลงานในงาน KM’s Day เพื่อถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้กับคณาจารย์ และนักศึกษา
การบูรณาการ  อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ บูรณาการองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงสู่การจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในชั้นเรียน

7. มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากความพึงพอใจของผู้เรียนและบัณฑิต

การดำเนินการ  คณะบริหารธุรกิจมีการวางระบบติดตามข้อมูลความพึงพอใจ จำนวน 2 ระบบ ดังนี้
– ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ระบบให้บริการ และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินออนไลน์
– ความพึงพอใจของบัณฑิต (ข้อเสนอแนะต่อหลักสูตร) โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสำรวจภาวะการมีงานทำออนไลน์

8. มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บัณฑิต

การดำเนินการ   คณะบริหารธุรกิจดำเนินการสำรวจประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต โดยพิจารณาประเด็นที่มีผลการประเมินต่ำกว่า 3.51 จาก 5 คะแนน มาพัฒนากระบวนการผลิตบัณฑิตให้ดีขึ้น

     ส่วนผลการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตของคณะบริหารธุรกิจ จำนวน 45 คน (จากทุกหลักสูตร) ปรากฏผลค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกรายด้าน เท่ากับ 4.23  โดยมีรายละเอียดดังนี้
–  ผลลัพธ์การเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เท่ากับ 4.17
–  มาตรฐานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน ได้แก่ Learner Person, Co-Creator, Active Citizen เท่ากับ 4.20
–  ทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะด้านภาษาอังกฤษ (อัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัย) เท่ากับ 4.31 ซึ่งผู้ใช้บัณฑิตมีข้อชื่นชมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของบัณฑิต ที่มีส่วนช่วยในงานองค์กร
     อย่างไรก็ตาม ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรที่มีการดำเนินการทุกหลักสูตรของคณะยังเป็นหลักสูตรปรับปรุงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2558 ซึ่งในปีการศึกษา 2568 จะมีหลักสูตรที่ต้องปรับปรุงตามวงรอบ 5 ปี และดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 และรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 (ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 กันยายน 2566 เป็นต้นไป) ซึ่งได้เริ่มเตรียมการออกแบบและพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรโดยยึดโยงกับเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA บ้างแล้ว

ผลการประเมินตนเอง

4.1 Measurement, analysis and improvement of organizational performancceระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตาม IQA1, 4, 6, 7, 8 (5/8)41. ตัววัดผลการดำเนินการ
4. การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ
6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรม
7. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนและบัณฑิต
8. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
ผลการประเมินตาม EdPEx1, 40/45ยังไม่ปรากฎแนวทาง

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
4.1.1.1รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะบริหารธุรกิจ
4.1.1.2แผนปฏิบัติการประจำปี 2565 ของคณะบริหารธุรกิจ
4.1.2.1รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนประจำปี 2563 – 2565
4.1.4.1แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2565
4.1.6.1รายชื่อผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมของอาจารย์ประจำคณะ ที่นำเสนอในงาน KM’s Day
4.1.7.1แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิต
4.1.8.1ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิต