แนวทางการประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐาน STIC IQA และ EdPEx

แบบ A. การประเมินตามเกณฑ์ IQA ของวิทยาลัย
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาได้กำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในระดับสถาบัน (STIC-IQA หรือ IQA) และให้ใช้เกณฑ์ชุดเดียวกันนี้ในการประเมินคุณภาพระดับคณะ โดยยึดตามองค์ประกอบของเกณฑ์ EdPEx ได้แก่ หัวข้อของเกณฑ์ (criterion) ประเด็นพิจารณา (area to address) และข้อย่อยของประเด็น (subparts) และคำถามโดยรวม (overall requirement question) และเพิ่มประเด็นที่สถาบันหรือคณะต้องรายงานเพื่อให้คณะกรรมการประเมิน อีก 2-3 ข้อย่อย

ในการรายงาน คณะอาจอธิบาย PDCA ของวิธีการซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามของเกณฑ์ EdPEx หรือ เกณฑ์ IQA ที่สถาบันได้กำหนดไว้เพิ่มเติม ส่วนคะแนนที่ได้จะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อที่ทำได้ ซึ่งคณะอาจเลือกตอบข้อใดก็ได้ ไม่มีข้อบังคับว่าต้องทำข้อหนึ่งร่วมกับข้อใด หรือข้อใดทำก่อนหรือข้อใดทำทีหลัง

การให้คะแนนใช้วิธีนับจำนวนข้อที่ทำได้ หรือข้อที่คณะได้รายงานผลการดำเนินการ

ตัวอย่างเช่น ในหัวข้อ 4.1 การวัด วิเคราะห์ และ KM นี้ ทางวิทยาลัยได้เพิ่มประเด็นที่ 7 และ 8 ซึ่งเมื่อรวมกับข้อย่อยของประเด็นพิจารณาตามเกณฑ์ EdPEx อีก 6 ข้อย่อย จะมี 8 ประเด็น โดยมีระดับคะแนนดังตารางต่อไปนี้
(การนับคะแนนนี้ใช้ได้กับเกณฑ์ข้อนี้ หรือเกณฑ์ข้ออื่นที่มีประเด็นพิจารณารวม 8 ประเด็น)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

แบบ B. การประเมินตนเองตามเกณฑ์ EdPEx
คณะต้องอธิบายแนวทางที่เป็นระบบ มีประสิทธิผล ซึ่งประกอบด้วย แนวทาง (Approach) การนำไปปฏิบัติ (Deployment) การเรียนรู้ (Learning) และการบูรณาการ (Integration) ของกระบวนการที่เลือกมาให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ A-D-L และ I ซึ่งจะตอบข้อคำถามที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับของคะแนนเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้คือ
– คำถามพื้นฐาน หรือ Basic requirement (A-B) level ระดับคะแนน 10-45%,
– คำถามโดยรวม หรือ Overall requirement (A-O) level ระดับคะแนน 50-65%,
– คำถามย่อย หรือ Multiple requirement (A-M) level ระดับคะแนน 70-100%

ตัวอย่างเช่น 4.1ก1 มีคำถามที่แบ่งออกเป็น 3 หมวดโดยไม่ให้ซ้ำกันในแต่ละหมวด ดังนี้

Basic approach requirement [A-B] for 10% – 45% scoreMeasure organizational performance
Additional approach requirements at Overall [A-O] level for 50% – 65%Use data and information to track daily operations and overall organizational performance
Additional approach requirements at Multiple [A-M] level for 70% -100%– Have an effective process to select, collect, align and integrate data and information (which is also used to track daily operations and overall organizational performance),
– Track progress on achieving strategic objectives and action plans,
– Describe the key organizational performance measures, including key short- and longer-term financial measures. How frequently do you track the measure?

ส่วนคณะกรรมการจะประเมินและให้คะแนน โดยดูจากภาพรวมของการตอบคำถามทั้ง 6 ข้อย่อยข้างต้นว่าระดับของคะแนนเป็น % ควรจะอยู่ในระดับคะแนนใด โดยหากพิจารณาว่าคณะตอบคำถามระดับ A-O เพื่อคะแนน 50-65% คณะจะต้องอธิบาย ADLI อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิผล และตอบคำถามระดับที่ต่ำกว่า คือ ระดับ A-B ได้ครบถ้วนแล้วด้วย
หรือถ้าเป็นการตอบคำถามระดับ A-M เพื่อคะแนน 70-100% ก็ต้องมีคำตอบ ADLI ที่สมบูรณ์ของคำถาม A-B และ A-O ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่า A-M ด้วย

คำอธิบายช่วงคะแนนต่างๆ แบบ Rubric scores เป็นดังตารางต่อไปนี้
(คะแนนสำหรับหัวข้อ 4.1 นี้ ในตารางจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม คือ 40 คะแนน)

คะแนน (band)คำอธิบายคะแนน (band)คำอธิบาย
0% หรือ 5%
(A1)
A: ไม่ปรากฏแนวทางอย่างเป็นระบบ มีสารสนเทศเพียงผิวเผิน
D: แทบไม่ปรากฏหลักฐานการถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ
L: ไม่แสดงให้เห็นว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา
I : ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับสถาบันแต่ละส่วนหรือหน่วยงานดําเนินการอย่างเอกเทศ
10%, 15%, 20% หรือ 25%
(A2)
A: แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางที่เป็นระบบที่ตอบสนองต่อคําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: การนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเพียงอยู่ในขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกส่วนหรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุผลของคําถามพื้นฐานของหัวข้อนั้น
L: เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหามาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงแบบพื้น ๆ
I: มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับส่วนหรือหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา
30%, 35%, 40% หรือ 45%
(B1)
A: แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อคําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางส่วนหรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น
L: เริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางเริ่มมีความสอดคล้องกับความจําเป็นพื้นฐานที่สถาบันต้องทํา/มีตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
50%, 55%, 60% หรือ 65%
(B2)
A: มีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อคําถามโดยรวมของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดีถึงแม้การปฏิบัติอาจแตกต่างกันในบางส่วนหรือบางหน่วยงาน
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร ซึ่งรวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางมีความสอดคล้องกับความจําเป็นโดยรวมที่สถาบันต้องทํา/มี ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
70%, 75%, 80% หรือ 85%
(C1)
A: ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้
นที่ หรือหน่วยงานส่วนใหญ่
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร
รวมถึงการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมืที่สําคัญในการจัดการ ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร
I: มีแนวทางที่บูรณาการกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
90%, 95% หรือ 100%
(C2)
A: มีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยไมมีจุดอ่อนหรือความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใด ๆ
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรผ่านการสร้างนวัตกรรม โดยนํามาใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันความรู้
I: แนวทางมีการบูรณาการอย่างดีกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
การให้คะแนน-EdPEx

อุปมาอุปมัย-การเรียนรู้และการบูรณาการ