1.1 Senior Leadership (การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง)

แนวทางการให้คะแนน ตามแนวทางการประเมินของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

1.1ผู้นำระดับสูง (SENIOR LEADERS) นำองค์กรอย่างไรคะแนน
TRSU IQA
1.1a1ผู้นำระดับสููง ดำเนินการอย่างไรในการกำหนดและถ่ายทอดพันธกิจ วิสัยทัศน์และค่านิยม 1
1.1a2การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรมอย่างไร1
1.1bผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งสถาบัน คู่ความร่วมมือที่เป็นทางการที่สำคัญ ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่สำคัญ1
1.1c1ผู้นำระดับสูงดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมอย่างไรเพื่อทำให้สถาบันประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคต1
1.1c2ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการทำให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบัน1

ระดับของคำถามและช่วงคะแนน (%) ตามแนวทางการประเมินของ EdPEx

Basic approach requirements [A-B] คะแนน 10-45%Additional approach requirements at Overall level [A-O] คะแนน 50-65%Additional approach requirements at Multiple level [A-M] คะแนน 70-100%
1.1Senior leadership
Senior leaders
“lead” the organization
1.1a1Senior leaders set the organization’s vision and valuesSenior leaders
* deploy the vision and values through the leadership system
– to the workforce
– to key suppliers and partners, and
– to customers and other stakeholders
* personal actions reflect a commitment to the organization’s values
1.1a2Senior leaders’ actions demonstrate their commitment to legal and ethical behaviorSenior leaders promote an organizational environment that requires legal and ethical behavior
1.1bSenior leaders
* communicate with the entire workforce
* engage the entire workforce
* communicate with key customers
* engage key customers
Seniors leaders
* encourage frank, two-way communication, including effective use of social media
* communicate key decisions and needs for organizational changes
* create an environment for the achievement of mission and for organizational agility
1.1c1Senior leaders create an environment for success now and in the futureSenior leaders
* create an environment for the achievement of mission and for organizational agility
* cultivate organization learning, learning for people in the workforce, innovation and intelligent risk taking
* create a workforce culture that fosters customer engagement
* participate in succession planning and the development of future organizational leaders
1.1c2Senior leaders create a focus on action that will achieve the organization’s missionSenior leaders
* create a focus on action that will improve the organization’s performance
* identify needed actions
* in setting expectations for organizational performance, include a focus on creating and balancing value for customer and other stakeholders
* demonstrate the personal accountability for the organization’s actions

1.1-1 (1.1ก1) กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม
ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยม

วิสัยทัศน์ คือ ภาพแห่งความสำเร็จที่คณะจะพยายามก้าวไปให้ถึงในอีก 10-15 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งซึ่งแสดงจุดยืนและจุดเน้นที่คณะจะใช้ในการแข่งขัน เพื่อทำให้นักศึกษาและผู้รับบริการอื่นรับรู้คุณค่าที่คณะจะส่งมอบ และแสดงความคาดหวังของสถาบันที่จะให้บุคลากรมีผลงานที่ดียิ่ง เพื่อจะบรรลุวิสัยทัศน์นั้น

พันธกิจ คือ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ที่คณะต้องยึดถือปฏิบัติในดำเนินการส่งมอบคุณค่าให้แก่นักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และตอบสนองนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษาต้นสังกัด

คณบดีได้กำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ ด้วยวิธีการที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับของสถาบัน และคณบดีได้ดำเนินการและปฏิบัติตนดังต่อไปนี้ คือ

  • ในการประชุมอาจารย์และบุคลากรทุกครั้ง คณบดีจะทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม และแสดงจุดยืนและความคาดหวังต่อบุคลากรของคณะ ในการที่จะปฏิบัติงานให้ได้ผลตามพันธกิจ โดยคำนึงถึงความต้องการของนักศึกษา ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานต้นสังกัด คือ สำนักงานปลัดกระทรวง อว.
  • ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติของคณะซึ่งสะท้อนวิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน เพื่อให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรับรู้และเข้าใจได้ว่า คณะกำลังขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ค่านิยม และการปฏิบัติตามพันธกิจ
  • สื่อสารวิสัยทัศน์และพันธกิจในองค์กรให้ทั่วถึง เพื่อชี้นำการตัดสินใจและเป้าหมายในการดำเนินงานของอาจารย์และบุคลากรในคณะ
  • ถ่ายทอดความเชื่อของคณบดีที่มีต่อวิสัยทัศน์และค่านิยม โดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้อาจารย์และบุคลากร
  • ทบทวนวิสัยทัศน์และค่านิยมในการประชุมจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานประจำปีของคณะ และในการประชุมติดตามงานในคณะทุกครั้ง หากมีประเด็นที่เข้าใจไม่ตรงกันให้ปรับความเข้าใจ บันทึกข้อความ และเผยแพร่ให้บุคลากรทุกคนในคณะหรือสถาบันได้รับทราบ

ระหว่างการทำแผนปฏิบัติการประจำปี คณบดีร่วมกับกรรมการบริหารของคณะ ได้ดำเนินการทบทวนและปรับปรุง วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจของคณะ เป็นฉบับปรับปรุงใหม่ ดังนี้คือ

วิสัยทัศน์ (Vision)
To ensure that our individual students and other customers are satisfied with intellectual enrichment that we provide by means of professional practice, scientific or scholarly investigation.

เราจะเสริมเติมเต็มความคิดและปัญญาให้นักศึกษาและลูกค้าแต่ละคนพอใจ ด้วยการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติแบบมืออาชีพ การศึกษาค้นคว้าหรือการวิจัย

พันธกิจ (Mission)

  1. มุ่งให้ผู้เรียนแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และคุณลักษณะบุคคล
    (ดูรายละเอียดของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หรือมาตรฐานของแต่ละสาขาวิชา)
  2. ส่งเสริมให้อาจารย์ทุกคนทำวิจัยและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการหรือวิชาชีพที่ค้นพบ
  3. สนับสนุนให้อาจารย์ใช้ความรู้จากการวิจัยพัฒนาผู้เรียนและให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
  4. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทยด้วยกิจกรรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่ทุกคนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่ดีของกันและกัน
  5. พัฒนาการบริหารจัดการที่เน้นการปฏิบัติอย่างได้ผลและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.1-2 (1.1ก2) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม
การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูง แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรมอย่างไร

คณบดีให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตนอย่างถูกกฎหมายและหลักจริยธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่บุคลากรได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ในฐานะของผู้บริหาร อาจารย์ และพนักงานของสถาบันอุดมศึกษา และได้ดำเนินการดังนี้

  1. เพื่อให้ความสำคัญแก่การเคารพกฎหมายและจริยธรรม คณบดีได้วิเคราะห์หลักกฎหมายและจริยธรรมที่สำคัญสำหรับผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัย รวมถึงหลักธรรมาภิบาลที่กระทรวงต้นสังกัดอยากให้สถาบันยึดถือและปฏิบัติตาม และนำมากำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานตามกฎหมายและจริยธรรมของบุคลากรในคณะ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
  2. ในการมอบหมายงานให้แก่ประธานหรือหัวหน้างาน คณบดีได้ระบุประเด็นความรับผิดชอบ หรือ Accountability โดยใช้หลักกฎหมายและจริยธรรมเป็นเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จของหัวหน้าหรือผู้รับผิดชอบโครงการ และพิจารณาให้คะแนนผู้ปฏิบัติงานเมื่อเทียบกับเกณฑ์ เพื่อประเมินความดีความชอบประจำปีของอาจารย์และพนักงานทุกคน
  3. ระบุประเด็นการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและจริยธรรมของผู้บริหารและบุคลากรในคณะ และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงประจำปีเพื่อให้ผู้บริหารสถาบันและสภาสถาบันได้รับทราบ
  4. คณบดีปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านการเคารพกฎหมายและมีจริยธรรม โดยยอมรับความผิดพลาดและโอกาสในการพัฒนาของตนเอง หากมีข้อบ่งชี้จากการประเมินผลงาน (Performance appraisal) ประจำปีของผู้บริหารระดับสูงและคณบดี

1.1-3 (1.1ข) การสื่อสารของผู้นำ
คณบดีดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร คู่ความร่วมมือสำคัญที่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่นที่สำคัญ

คณบดีสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษา ลูกค้ากลุ่มอื่น และบุคลากร โดยเน้นความโปร่งใส เปิดเผย ตรงไปตรงมา และสม่ำเสมอ ผ่านการประชุมอาจารย์ของคณะ การประชุมเพื่อพบปะกับนักศึกษาแต่ละชั้นปี ๆ ละ 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา ในประเด็นสำคัญดังนี้

  • วิสัยทัศน์ ค่านิยม และพันธกิจ ที่มุ่งเน้นนักศึกษาและลูกค้ากลุ่มอื่น (โปรดดูคำอธิบายใน ข้อ 1.1ก1)
  • นโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ และการตัดสินใจเปลี่ยนมาตรฐานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรเป็นแบบ AUN QA ที่ทำให้อาจารย์และบุคลากรต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการสอน กาประเมินผล และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงาน
  • นโยบายการใช้เกณฑ์ EdPEx ในการประกันคุณภาพระดับคณะ ที่ต้องการให้เกิดผลดียิ่ง (Performance excellence) ซึ่งอาจารย์และบุคลกรจะต้องเรียนรู้หลักการใหม่ เพื่อออกแบบวิธีการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ และรายงานผลได้
  • สำรวจความต้องการใหม่ ๆ ของนักศึกษา ลูกค้ากลุ่มอื่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการสนทนากับกลุ่มเป้าหมายหรือตัวแทนผู้ใช้บัณฑิตโดยตรง

1.1-4 (1.1ค1) การสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ
คณบดีดำเนินการอย่างไร ในการสร้างสภาวะแวดล้อมเพื่อทำให้คณะประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

คณบดีได้ดำเนินการ ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ทำความเข้าใจและคาดการณ์ล่วงหน้าถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจะสามารถปรับกลยุทธ์ ทรัพยากร และแผนงานให้เหมาะสมที่จะทำให้คณะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังนี้
    – ความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
    – โอกาสในการให้บริการหลักสูตรการศึกษา วิจัย และบริการฯ รูปแบบใหม่ หรือใช้ผู้ร่วมมือใหม่
    – การพัฒนาด้านเทคโนโลยี หรือ รูปแบบธุรกิจใหม่
    – วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
    – ความจำเป็นด้านอัตรากำลัง และขีดความสามารถของบุคลากร
    – การเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น หรือ ส่วนการตลาด
    – ภาวะการแข่งขันของตลาด การแย่งผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน
    – การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของคู่แข่ง
    – การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบและข้อบังคับ
  2. คำนึงถึงและจัดการกับความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ การแข่งขัน รวมถึงความคาดหวังใหม่ๆ ของคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษาซึ่งเป็นบอร์ดที่ปรึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงต้นสังกัด
  3. ปรับเป้าหมายการบริหารคณะให้ตอบสนองความต้องการในระยะสั้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมลงทุน ให้สมดุลกับความจำเป็นที่คณะต้องทำหรือต้องมีตามที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกกลุ่มหนึ่งต้องการ ทั้งนี้เพื่อลงทุนในการสร้างความสำเร็จในระยะยาว
  4. มุ่งสร้างพันธะระยะยาวกับผู้เรียน ลูกค้า บุคลากรอื่น คู่ความร่วมมือ โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผน กระบวนการ และความสัมพันธ์ได้อย่างคล่องตัว เมื่อสถานการณ์บังคับ
  5. คณบดีได้วางแผนการสืบทอดตำแหน่ง สรรหาผู้สืบทอดที่มีศักยภาพเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผู้นำและฝึกการบริหารบุคลากร
  6. คณบดีมีนโยบายกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม สนับสนุนความกล้าเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างรอบด้าน

1.1-5 (1.1ค2) มุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุพันธกิจ
คณบดีดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดการมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุพันธกิจของคณะ และมีผลการดำเนินการของคณะ

คณบดี ดำเนินการมุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อบรรลุพันธกิจของคณะดังนี้

  1. มีเป้าหมายเชิงคุณภาพที่วัดหรือประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับพันธกิจการผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาฉบับใหม่ พ.ศ.2565
  2. กำกับดูแลการเรียนการสอนและการประเมินผลรายวิชาของแต่ละหลักสูตร ผ่านการทบทวน ปรับปรุง และอนุมัติ มคอ.3 และ มคอ.5 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของชั้นปี ซึ่งสอคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Learning outcomes alignment)
  3. กำกับดูแลการออกข้อสอบหรือการประเมินผลการเรียนด้วยวิธีอื่นให้ได้ผลการประเมินที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงผลลัพธ์การเรียนรู้

พิจารณาตามแนวทางการประเมินของมหาวิทยาลัย TRSU-QA

คะแนน12345
คำถามที่ตอบได้1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4 ข้อ5 ข้อ

ปรเมินภาพรวมแบบ ADLI ตามแนวทางของเกณฑ์ EdPEx (65 คะแนน)

คะแนน / bandคำอธิบายคะแนน / bandคำอธิบาย
0% หรือ 5%
(A1)
A: ไม่ปรากฏแนวทางอย่างเป็นระบบ มีสารสนเทศเพียงผิวเผิน
D: แทบไม่ปรากฏหลักฐานการถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ
L: ไม่แสดงให้เห็นว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา
I : ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับสถาบันแต่ละส่วนหรือหน่วยงานดําเนินการอย่างเอกเทศ
10%, 15%, 20% หรือ 25%
(A2)
A: แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางที่เป็นระบบที่ตอบสนองต่อ
คําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: การนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเพียงอยู่ใน
ขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกส่วนหรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรค
ต่อการบรรลุผลของคําถามพื้นฐานของหัวข้อนั้น
L: เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหามาเป็นแนว
คิดในการปรับปรุงแบบพื้น ๆ
I: มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับส่วนหรือหน่วยงานอื่น โดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา
30%, 35%, 40% หรือ 45%
(B1)
A: แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อคําถามพื้นฐานของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางส่วนหรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น
L: เริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางเริ่มมีความสอดคล้องกับความจําเป็นพื้นฐานที่สถาบันต้องทํา/มีตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร และหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
50%, 55%, 60% หรือ 65%
(B2)
A: มีแนวทางที่เป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อ
คําถามโดยรวมของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดี
ถึงแม้การปฏิบัติอาจแตกต่างกันในบางส่วนหรือบางหน่วย
งาน
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร ซึ่งรวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สําคัญ
I: แนวทางมีความสอดคล้องกับความจําเป็นโดยรวมที่สถาบันต้องทํา/มี ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
70%, 75%, 80% หรือ 85%
(C1)
A: ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้อ
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้นที่ หรือหน่วยงานส่วนใหญ่
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร
รวมถึงการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมืที่สําคัญในการจัดการ ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร
I: มีแนวทางที่บูรณาการกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ
90%, 95% หรือ 100%
(C2)
A: มีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน
D: มีการนําแนวทางไปถ่ายทอดเพื่อนําไปปฏิบัติอย่างทั่วถึง
โดยไมมีจุดอ่อนหรือความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใด ๆ
L: มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรผ่านการสร้างนวัตกรรม โดยนํามาใช้เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการจัดการ
ทั่วทั้งองค์กร ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันความรู้
I: แนวทางมีการบูรณาการอย่างดีกับความจําเป็นที่สถาบันต้องทํา/มีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการอื่น ๆ

ผลการประเมินตนเอง

1.1 Senior leadershipระบุข้อ (จำนวนข้อ) ที่ทำได้คะแนนหมายเหตุ
ผลการประเมินตนเองตาม IQA1.1a1, 1.1a2, 1.1b, (3 ข้อ)3มีการดำเนินการตามแผนบางส่วน และได้ปรับปรุงแผนสำหรับปีต่อไป
1.1a1 Establishing, mission, vision and values
1.1a2 Promoting legal and ethical behavior
1.1b Communication
ผลการประเมินตนเองตาม EdPEx1.1a1, 1.1a2, 1.1b3.25
(5%)
ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน รายการ
1.1-1-01รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2565
1.1-1-02 แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565 คณะบริหารธุรกิจ
1.1-1-03 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 คณะบริหารธุกิจ
1.1-2-01 คู่มือนักศึกษา
1.1-2-02 โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
1.1-3-01 การสื่อสารของคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
1.1-7-01 ตู้รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์