5.2 ความผูกพันของบุคลากร

องค์ประกอบที่ 5 คณาจารย์และบุคลากร

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความผูกพัน (ความผูกพันของบุคลากร)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(ปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพัน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ ให้มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและมีความผูกพันธ์ต่อคณะวิชา จึงมีการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และระบบสวัสดิการที่เหมาะสม

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณบดีแจ้งนโยบายการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ผ่านการประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้อาจารย์ และบุคลากร สามารถเข้าพบเพื่อคุยปัญหาในประเด็นต่าง ๆ โดยง่ายและเป็นกันเอง

การเรียนรู้ :

     คณาจารย์ และบุคลากร มีพฤติกรรมแสดงออกถึงการปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจ มีความสุข และเกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ

การบูรณาการ :

     ผู้บริหารคณะและอาจารย์พี่เลี้ยงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของการทำงานที่สร้างสรรค์ คิดบวก ให้กับอาจารย์และบุคลากร 

2 การประเมินความผูกพันของบุคลากร(การประเมินความผูกพัน) คณะประเมินความผูกพันของบุคลากรอย่างไร

การดำเนินการ :

     คณะวิชาดำเนินการสำรวจความพึงพอใจและความสุขของอาจารย์และบุคลากรต่อการปฏิบัติงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในโอกาสพิเศษของวิทยาลัย เพื่อประเมินความผูกพันธ์ของบุคลากรต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน ตลอดทั้งการประเมินอัตราการคงอยู่/ลาออกของอาจารย์ประจำ

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมสำคัญ เช่น สำนักทรัพยากรมนุษย์ สำนักนโยบายและแผน สำนักประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักกิจการนักศึกษา ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ

การเรียนรู้ :

     คณะบริหารธุรกิจ และหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาต่าง ๆ ของวิทยาลัย วิเคราะห์และประเมินผลการสำรวจความพึงพอใจและความสุขต่อการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจต่อกิจกรรมต่าง ๆ ไปปรับปรุงกระบวนการ เพื่อให้กิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่จัดทำต่อเนื่องทุกปี มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

การบูรณาการ:

     การปรับปรุงและเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีย่อมส่งผลต่อความพึงพอใจ ความผูกพันและอัตราการคงอยู่ของอาจารย์และบุคลากร เมื่อมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งย่อมเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งความร่วมมือ เอื้ออาทร และบุคลากรมุ่งมั่นพัฒนาตน เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นไป

3 วัฒนธรรมองค์กร คณะมีวิธีการอย่างไรในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีลักษณะการสื่อสารที่เปิดกว้าง มีผลการดำเนินการที่ดี และบุคลากรมีความผูกพัน

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ ขับเคลื่อนองค์กรตามปรัชญามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถเชิงนวัตกรรมทางธุรกิจและความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ และภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรมและตลาดแรงงานสากล ดังนั้น คณะวิชาจึงใช้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัย แผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาบุคลากร และแผนพัฒนาความเป็นเลิศตามกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา เป็นกรอบในการสร้างบรรยากาศและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     คณะบริหารธุรกิจไม่สามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรคุณภาพได้ หากปราศจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวของของวิทยาลัย ซึ่งมีความรับผิดชอบตามพันธกิจและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไป และยังต้องอาศัยระบบการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอด้วย

การเรียนรู้ :

     คณะบริหารธุรกิจร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวของของวิทยาลัย นำกระบวนการ PDCA ไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานตามพันธกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามยังมีบางเรื่องที่การสื่อสารยังสร้างการรับรู้และการยอมรับได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะต้องแก้ไขต่อไป

การบูรณาการ :

     การบูรณาการจากทุกภาคส่วนควรสะท้อนที่ผลการประประเมินคุณภาพการศึกษาภายในอยู่สูงกว่า 3.51 คะแนน โดยต้องนำผลการประเมินที่ได้รับ ตลอดทั้งจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในรอบปีถัดไป

4 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การจัดการผลการปฏิบัติงาน) ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีอย่างไร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร” โดยเมื่อครบรอบปีประเมินเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง คณบดีจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจและงานที่ได้รับมอบหมาย อาทิเช่น การดำเนินการตาม มคอ.3/4 และ มคอ.5/6 ในระบบ STIC’s MIS การส่งข้อสอบเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิทวนสอบตามกำหนดเวลา บันทึกการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา รายงานการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปี ซึ่งคณบดีจะมีการสัมภาษณ์/พูดคุยกับบุคลากร เพิ่มเติม และจะส่งผลประเมินไปยังสำนักทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำเสนอรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     สำนักทรัพยากรมนุษย์นำผลการประเมินจากคณะวิชามาวิเคราะห์ความต้องการหรือความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรตามศาสตร์หรือตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยนำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์ต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป

การเรียนรู้ :

     สำนักทรัพยากรมนุษย์นำผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรมาจัดลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการ กำหนดวิธีการพัฒนาบุคลากร โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ และประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทราบ

การบูรณาการ :

     คณะบริหารธุรกิจบูรณาการ เรื่อง ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ลงสู่การบริหารจัดการหลักสูตรในแต่ละหลักสูตร ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา

5 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสนับสนุนความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรและความจำเป็นของคณะอย่างไร

การดำเนินการ :

     คณะบริหารธุรกิจ โดยคณบดีนำสารสนเทศที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมาเป็นวาระการพิจารณาและให้ข้อมูลป้อนกลับไปยังบุคลากรในสังกัด ให้ทราบจุดเด่น และจุดที่ควรต้องพัฒนาในแต่ละรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาตนเองต่อไป

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     อาจารย์ประจำและบุคลากร นำข้อมูลป้อนกลับจากคณบดี ไปประเมินตนเอง เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและผลงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของวิทยาลัย กฎกระทรวง เกณฑ์คุณภาพ และเกณฑ์มาตรฐาน หรือระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแนวทางการพัฒนาความรู้ จะมีตั้งแต่ การเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานประกอบการในความร่วมมือ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเองในระบบ Moodle และให้นับเป็นชั่วโมงการพัฒนาตนเองที่ต้องมีไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อปี

การเรียนรู้ :

     คณะบริหารธุรกิจจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร โดยสำรวจความต้องการการพัฒนาตนเองของบุคลากรในสังกัด กำหนดเป็นเป้าหมายและกิจกรรม และงบประมาณสำหรับการพัฒนา

การบูรณาการ :

     บูรณาการลงสู่การบริหารจัดการหลักสูตรในแต่ละหลักสูตร ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา

6 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา) คณะมีวิธีประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไร

ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างรูปธรรม

7 การจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา(ความก้าวหน้าในการงานอาชีพ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความก้าวหน้าในอาชีพการงานของบุคลากรและผู้นำในอนาคตของคณะ

การดำเนินการ :

     จากการดำเนินการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาความก้าวหน้าตามเส้นทางในอาชีพแล้ว ยังได้มีการกำหนดเป็นนโยบายและสื่อสารให้บุคลากรทราบระดับความก้าวหน้าและการตอบแทนตามการเติบโตในเส้นทางอาชีพ ผ่านการประชุมคณะ

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     ระดับความก้าวหน้า การเติบ และการตอบแทน ได้ถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ซึ่งสำนักทรัพยากรมนุษย์จะมีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรของวิทยาลัยรับทราบผ่านคู่มือบุคลากร การประชุมบุคลากรประจำปี และการประชุมอื่น ๆ ในโอกาสพิเศษ

การเรียนรู้ : 

     คณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับสำนักทรัพยากรมนุษย์ ใช้ผลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร พิจารณาการสนับสนุนความก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการยกย่องชมเชย การได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ การเลื่อนตำแหน่ง การสนับสนุนทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำต่อในอนาคต

การบูรณาการ :

     คณะบริหารธุรกิจนำเรื่องความก้าวหน้าและตัวอย่างความก้าวหน้าของบุคลากร มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในคณะวิชาผ่านการประชุมคณะกรรมการ

8 มีการกำกับ ติดตาม การดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

การดำเนินการ :

     คณบดีมอบหมายรองคณบดี และประธานหลักสูตร ไปดำเนินการกำกับ ติดตาม การดำเนินการพัฒนาทั้งของตน และผู้ใต้บังคับบัญชา ตามกรอบแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการปฏิบัติการประจำปี และรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร

การนำไปสู่การปฏิบัติ :

     บุคลากรนำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนพัฒนาบุคลากร เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาตนตามเป้าหมายที่กำหนด

การเรียนรู้ :

     บุคลากรพิจารณาทบทวนผลการพัฒนาตนเองว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ เพื่อปรับวิธีการในการพัฒนาตนเองในปีต่อไป และผู้บริหารพิจารณาผลการพัฒนาตนเองในภาพรวมทั้งคณะวิชา เพื่อการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่บุคลากรในสังกัด ในการไปพัฒนาตนเอง

การบูรณาการ:

    คณะบริหารธุรกิจบูรณาการ เรื่อง แผนพัฒนาบุคลากร ลงสู่การบริหารจัดการหลักสูตรในแต่ละหลักสูตร ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา

9 มีการสร้างขวัญ กำลังใจ และการยกย่องให้กับบุคลากรที่มีผลงานได้สูงกว่าเป้าหมาย

การดำเนินการ:

     ปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ ได้รับรางวัลยกย่องชมเชยในกิจกรรมนำเสนอผลงานวิชาการ KM’s Day และเกียรติบัตรในฐานะการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความวารสารระดับชาติ ในวันประชุมบุคลากรประจำปี

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐานรายการ
5.2.1.1-5.2.1.2ผลการประเมินความพึงพอใจและความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากร
5.2.3.1ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ทุกหลักสูตร
5.2.8.1แผนพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี
5.2.9.1ภาพกิจกรรมการรับรางวัลและเกียรติบัตรของอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-9)

1,2,3,6,7

…..5…… ข้อ

……4…. คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,6,7

ร้อยละ …..5…….

…….. คะแนน

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 5.14……..
ตัวบ่งชี้ที่ 5.24………
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 4………