Criterion 5 – Academic Staff

Criterion 5 – Academic Staff

Operational Result

5.1 The programme to show that academic staff planning (including succession, promotion, re-deployment, termination, and retirement plans) is carried out to ensure that the quality and quantity of the academic staff fulfill the needs for education, research, and service.

……..ผลการดำเนินงาน……  

           หลักสูตรมีการวางแผนบุคลากรสายวิชาการตามแผน 5 ปีของคณะฯด้านบุคลากร โดยในแผนมีการกำหนดปีที่จะมีการเพิ่มจำนวนอาจารย์ ปีที่อาจารย์ผลิตผลงานวิชาการ และปีที่อาจารย์แต่ละคนกำหนดด้วยตนเองในการขอตำแหน่งทางวิชาการ

           ในการคัดเลือกอาจารย์หลักสูตรมีการพิจาณาคุณสมบัติของอาจารย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตร โดยการพิจารณาจากคุณวุฒิและประสบการณ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยอาจารย์ใหม่จะต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก หรือเทียบเท่าในสาขาภาษาอังกฤษ/บริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการสอน มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและบริหารธุรกิจ มีความมุ่งหวังในความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการ และมีจริยธรรม คุณธรรม โดยประเมินการสอนและสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการที่คณบดีแต่งตั้ง ก่อนรับเข้าทำงาน

           ในการพัฒนาอาจารย์ หลักสูตรมีระบบส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ดังนี้

1.การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่ ดังนี้

          1) จัดหลักสูตรการอบรมสำหรับอาจารย์ใหม่ ซึ่งอาจจัดขึ้นในระดับวิทยาลัย หรือคณะ

          2) ให้อาจารย์ใหม่ศึกษาการสอนของอาจารย์ผู้มีประสบการณ์

          3) จัดระบบแนะนำระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) และการฝึกสอนแก่อาจารย์ใหม่

          4) จัดเตรียมคู่มืออาจารย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้อาจารย์ใหม่

          5) จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ เรื่อง บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ รายละเอียดหลักสูตร และ การจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

2.การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่อาจารย์

          1) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล

              – จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน กลยุทธ์ในการสอนและการวัดและการประเมินผลในรายวิชา

              – สนับสนุนให้สอนร่วม จัดให้เข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการในด้านการเรียนการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นกับผู้สอนหรือผู้ชำนาญการทั้งในและต่างประเทศ

          2) การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ

               – สนับสนุนให้ผู้สอนทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

          3) การพัฒนาเชิงวิชาการและวิชาชีพด้านอื่น ๆ

               – พัฒนาให้ผู้สอนได้ศึกษาต่อเมื่อทำงานได้ระยะหนึ่ง

               – ให้ผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ปรับปรุงรายวิชา หรือพัฒนาหลักสูตรใหม่

               – สนับสนุนให้ผู้สอนได้รับประสบการณ์จริง โดยเข้าร่วมฝึกงานในสถานประกอบการและจัดสวัสดิการในการฝึกงานให้ตามสมควร

               – สนับสนุนให้ผู้สอนให้บริการทางวิชาการที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมเพื่อให้สามารถนำประสบการณ์มาพัฒนาการเรียนการสอน

               – เปิดโอกาสหรือจัดงบประมาณให้ผู้สอนซื้อตำราเรียนใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรวมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านการจัดหาอุปกรณ์ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการให้เพียงพอ

          นอกจากนี้หลักสูตรยังมีการกำหนดให้อาจารย์ในหลักสูตรทุกคนต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการและวิชาชีพ จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/คน/ปีการศึกษา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชา

          หลักสูตรมีการกำหนดภาระงานของอาจารย์โดยใช้เกณฑ์ของวิทยาลัย ซึ่งกำหนดให้อาจารย์มีภาระงาน 40 ภาระงาน/สัปดาห์ (1 ภาระงาน= 1 ชั่วโมง) ซึ่งได้กำหนดให้บุคลากรสายวิชาการมีภาระงาน 4 ด้าน คือ

               – ภาระการสอน ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หลักที่สำคัญของอาจารย์

               – งานวิจัยและ/หรือผลงานวิชาการ (รวมทั้งเผยแพร่/นำเสนอ)

               – งานบริการวิชาการแก่สังคมและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

               – งานอาจารย์ที่ปรึกษา

          โดยการกำหนดจำนวนที่เหมาะสมนั้นต้องสอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาเป็นพื้นฐาน และทางคณะฯ ได้จัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร (พ.ศ.2563-2567) ประกอบไปด้วย

  1. แผนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก การอบรมระยะสั้น การประชุมสัมมนา
  2. แผนการจัดหาอาจารย์ในอนาคต

          หลักสูตรได้ใช้ระบบและกลไกในการรับอาจารย์ใหม่ โดยมีระบบและกลไกการดำเนินการพอสังเขป ดังนี้

          2.1 หลักสูตรมีการวิเคราะห์อัตรากำลัง กำหนดสาขาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของอาจารย์ที่หลักสูตรต้องการ โดยสำรวจความเชี่ยวชาญและความต้องการให้สอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของคณะและหลักสูตร และเสนอกรอบอัตรากำลังให้กับคณะและวิทยาลัยเพื่อพิจารณา

          2.2 คณะ/วิทยาลัย ประกาศรับสมัครอาจารย์ตามแผนการรับ และเข้าสู่ขั้นตอนการสอบคัดเลือกตามที่วิทยาลัยกำหนด

3.แผนการพัฒนาอาจารย์เพื่อความก้าวหน้าทางคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ

4.แผนการรักษาอาจารย์

          เพื่อเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้า ทางวิชาการหลักสูตร ส่งเสริม ให้อาจารย์ทำวิจัย และ/หรือผลิตผลงานทางวิจัย วิชาการ เพื่อตีพิมพ์ ในวารสารระดับนานาชาติ บนฐานข้อมูล SCOPUS โดยวิทยาลัยมีงบประมาณ สนับสนุนงานวิจัยและสนับสนุนการตีพิมพ์

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.1-1

แผนการพัฒนาบุคลากรของคณะ (แผน 5 ปี)

5.1-2

คู่มือบุคลากร

5.1-3

แผนปฏิบัติการประจำปี

 

5.2 The programme to show that staff workload is measured and monitored to improve the quality of education, research, and service.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          หลักสูตรจัดภาระงานของบุคลากรสายวิชาการตามข้อกำหนดของวิทยาลัย โดยอาจารย์มีภาระงาน 40 ภาระงาน/สัปดาห์ (1 ภาระงาน = 1 ชั่วโมง) ซึ่งงานที่ต้องรับผิดชอบ มีดังต่อไปนี้

1.ภาระสอน

          ซึ่งเป็นภาระหลักที่สำคัญของอาจารย์ มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

          1.1 อาจารย์ประจำ มีภาระการสอนขั้นต่ำต่อภาคการศึกษา ดังต่อไปนี้

               – อาจารย์ประจำที่มิได้ดำรงตำแหน่งบริหาร ให้มีภาระการสอนปกติ ไม่เกิน 15 ภาระงาน/สัปดาห์ ในระดับปริญญาตรี และไม่เกิน 9 ภาระงาน/สัปดาห์ในระดับบัณฑิตศึกษา

               – อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่ง คณบดีและรองคณบดีหรือเทียบเท่า มีภาระการสอนไม่เกิน 9 ภาระงาน/สัปดาห์ ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

               – อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า มี มีภาระการสอนไม่เกิน 12 ภาระงาน/สัปดาห์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา

               – จำนวนวิชาที่สอนอาจารย์ประจำจะสอนในภาคปกติไม่เกิน 5 รายวิชา

โดยมีลักษณะและแนวปฏิบัติ กำหนดภาระการสอน ดังนี้

          1.2 ลักษณะการสอน อาจารย์ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะตามธรรมชาติวิธี โดยมีวิธีคำนวณภาระงาน ดังนี้

               – ระดับปริญญาตรี

               (1) รายวิชาบรรยาย/รายวิชาบรรยายและปฏิบัติ 1 หน่วยกิต เท่ากับ 1 ภาระงาน/สัปดาห์

               (2) รายวิชาปฏิบัติการตามตารางสอน 2 หน่วยกิต เท่ากับ 1 ภาระงาน/สัปดาห์

               (3) ที่ปรึกษางานนิพนธ์ โครงงานหรืองานอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นภาระงานต่อโครงงานหลักเสร็จสมบูรณ์

          1.3 จำนวนวิชาที่สอนอาจารย์ประจำจะสอนในภาคปกติ ติไม่เกิน 5 รายวิชา

 

          สาขาวิชาฯบริหารงานด้านภาระการสอนของอาจารย์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด

          – ด้านสัดส่วนของอาจารย์ประจำกับจำนวนนักศึกษา (FTES) ไม่เกิน 25/1

          – ด้านจำนวนชั่วโมงสอนต่อสัปดาห์และรายวิชา ติดตามจากตารางสอนของอาจารย์แต่ละคนได้ได้จากตารางสอนที่จัดโดยฝ่ายทะเบียนและวัดผล

          – ด้านการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชา ติดตามจาก มคอ.3/4/5/6 ในประเด็นของผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา (CLO) เนื้อหาวิชา วิธีและกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล (มคอ.3/4) การประเมินการบรรลุตามแผนที่ระบุในมคอ.3/4 การประเมินผลรายวิชา ข้อคิดเห็นของนักศึกษา แผนการปรับปรุงการสอนรายวิอชานั้น (มคอ.5/6)

2.งานวิจัยและ/หรือผลงานวิชาการ (รวมทั้งเผยแพร่ /นำเสนองาน)

          ในแต่ละปีการศึกษาอาจารย์ต้องมีผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการที่มีการเผยแพร่หรือนำเสนอผลงาน อย่างน้อย 1 เรื่อง

          ในประเด็นนี้ คณะกรรมวิจัยของคณะให้ข้อแนะนำกับอาจารย์ที่ไม่มีความชำนาญในด้านการผลิตผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ และติดตามความก้าวหน้าของอาจารย์ที่ดำเนินการผลิตผลงาน ซึ่งผลลัพธ์บรรลุตามเกณฑ์ในระดับภาพรวม กล่าวคือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถผลิตผลงานด้านนี้ได้ในทุกปีการศึกษา

3.งานบริการวิชาการแก่สังคมและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

          3.1 อาจารย์ประจำในฐานะนักวิชาการจัดกิจกรรมให้บริการวิชาการแก่สังคมและผลงานต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอน การเป็นวิทยากร การเป็นที่ปรึกษาโครงงาน หรือการจัดฝึกอบรมให้สถาบันหน่วยงาน และชุมชนต่างๆ

          3.2 อาจารย์ประจำในฐานะของผู้ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ให้กับนักศึกษาและชุมชนทั่วไป โดยจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้ การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม การเป็นวิทยากร การเป็นที่ปรึกษาโครงงาน หรือการจัดฝึกอบรมให้ สถาบัน หน่วยงาน และชุมชนต่างๆ

          โครงการบริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรมนี้ ดำเนินการตารมโครงการของคณะฯ การติดตามจึงเป็นไปตามระยะเวลาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดในโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการอาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการสรุปและรายงานผลลัพธ์ของโครงการต่อคณะฯ ข้อเสนอแนะ และจุดอ่อนถูกนำมาใช้ในการดำเนินโครงการในปีถัดไป

          การบริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรมให้โอกาสกับอาจารย์ที่จัดทำโครงการในการนำกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาของตนไปปรับใช้ในการบริการวิชาการ จัดเป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่พัฒนาไปสู่งานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่

4.งานอาจารย์ที่ปรึกษา

          อาจารย์ประจำจะต้องมีภาระงานการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามระเบียบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาต้องรายงานผลของการให้คำปรึกษากับคณะฯ

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.2-1

แผนการพัฒนาบุคลากรของคณะ

5.2-2

คู่มือบุคลากร

5.2-3

FTES ย้อนหลัง 5 ปี

5.2-4

ตารางสอนของอาจารย์

5.4-5

มคอ.3/4

5.2-6

มคอ.5/6

5.2-7

งานวิจัยและ/หรือผลงานวิชาการย้อนหลัง 5 ปี (2562-2566)

5.2-8

โครงการบริการวิชาการ

5.2-9

โครงการการจัดการความรู้

5.2-10

คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา

5.2-11

รายงานผลของการให้คำปรึกษา

 

5.3 The programme to show that the competences of the academic staff are determined, evaluated, and communicated.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          หลักสูตรมีการกำหนดสมรรถนะของอาจารย์และบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามแผนการพัฒนาบุคลากรตามที่กำหนดในแผน 5 ปีของคณะฯ ในประเด็นเรื่องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก การผลิตผลงานวิชาการและงานวิจัย การขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยอาจารย์แต่ละคนกำหนดระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละด้านตามความสมัครใจของตน สำหรับการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรในแต่ละปีการศึกษาหลักสูตรจัดให้อาจารย์และบุคลากรได้รับการปฐมนิเทศในครั้งแรกที่ปฏิบัติงาน เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ รายละเอียดหลักสูตร และการจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

          การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษาตลอดอายุการทำงาน เพื่อให้บรรลุปณิธานการประเมินเพื่อการพัฒนา โดยยึดหลัก “ความยุติ ติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ” ตามระเบียบของวิทยาลัย

          อีกทั้งทางหลักสูตรยังมีการประเมินผลภายในหลักสูตรเอง ได้แก่ Peer Observation/Review Exam Paper/Students Evaluation เป็นต้น หลังจากที่ทราบผลการประเมินทางหลักสูตรได้แจ้งกับผู้สอนเพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาตนเองต่อไป

          นอกจากนี้ยังมีการประเมินผู้สอนจากความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยดำเนินการในทุกภาคการศึกษาทั้งผ่านระบบประเมินอาจารย์และผ่านแบบประเมินที่ทางหลักสูตรเป็นผู้จัดทำ เพื่อนำผลไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป

          หลักสูตรฯกำหนดสมรรถนะความสามารถของบุคลากรสายวิชาการ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของวิทยาลัย โดยกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนมีผลงานวิชาการ (บทความวิจัย) อย่างน้อย 1 เรื่องในรอบ 5 ปีการศึกษา โดยหลักสูตรฯมีการส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการ ดังนี้

          – ส่งเสริมการเข้ารับการอบรมการพัฒนาผลงานทางวิชาการ

          – ส่งเสริมการเข้ารับการอบรมการเขียนตำรา/หนังสือ

          – ส่งเสริมการขอทุนวิจัย

          – ส่งเสริมการเข้ารับการอบรมการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์

          – ส่งเสริมการขอทุนในการนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.3-1

แผนการพัฒนาบุคลากรของคณะ

5.3-2

การประชุมบุคลากรประจำปี

5.3-3

Peer Observation

5.3-4

Review Exam Paper

5.3-5

Students Evaluation

5.3-6

สรุปผลงานทางวิชาการ 5 ปีย้อนหลัง

5.3-7

สรุปผลการเข้าอบรมประชุม/สัมมนา

 

5.4 The programme to show that the duties allocated to the academic staff are appropriate to qualifications, experience, and aptitude.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          หลักสูตรมอบหมายงานตามภารกิจหลักทั้ง 6  (ให้กับบุคลากรทางวิชาการ) โดยพิจารณาจากความรู้ ประสบการณ์และความถนัด ให้รับผิดชอบโครงการต่างๆ โดยคณะกรรมบริหารหลักสูตรพิจารณาอาจารย์ที่มีคุณสมบัติและความถนัดที่สอดคล้องกับโครงการต่างๆและนำชื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะฯที่มีคณบดีเป็นประธานเพื่อพิจาณาร่วมกันถึงความเหมาะสมรวมทั้งสอบถามความพร้อมและความสมัครใจของอาจารย์ที่ถูกเสนอชื่อ หลักจากนั้นจัดทำโครงการและระบุอาจารย์ผู้รับผิดชอบเป็นเอกสารนำเสนอต่อฝ่ายนโยบายและแผนของวิทยาลัย

หน้าที่ตามแผนงานระบุตามภารกิจทั้ง 6 มีดังต่อไปนี้

แผนงานที่ 1 การจัดการศึกษา

          หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ทุกคนรับผิดชอบงานด้านการเรียนการสอน โดยมีงานที่รับผิดชอบ คือ ให้อาจารย์ผู้สอนจัดรูปแบบการเรียนการสอน วิธีการสอน กลยุทธ์การสอน และการวัดและการประเมินผลในรายวิชาที่ตนได้รับมอบหมาย โดยระบุในมคอ.3/4  มคอ.5/6 ซึ่งได้รับการทบทวนละรับรองจากคณบดี

แผนงานที่ 2 การพัฒนานักศึกษา

          หลักสูตรมอบหมายให้อาจารย์ทุกคนรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละชั้นปี โดยมีงานที่รับผิดชอบ คือ

          – จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านวิชาการ ประสบการณ์วิชาชีพและสังคม  รวมถึงเป็นที่ปรึกษาจัดกิจกรรมต่างๆของหลักสูตร        

          – ประสานงานและให้บริการแก่นักศึกษา

          – ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา

          – ทำการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาเพื่อนำผลมาปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะในด้านการเรียนการสอนเพื่อประเมินผลสำเร็จในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา

          – ติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม

แผนงานที่ 3 วิจัยและผลงานทางวิชาการ

          หลักสูตรมอบหมายให้รศ.ดร.บุญเรือง ชื่นสุวิมล และDr. Ekta Rana เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งดำเนินการภายใต้คณะกรรมการวิจัยของวิทยาลัยฯทำหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาในการขอทุนวิจัย การเขียนเสนอโครงการวิจัยและการเขียนทบความเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่

แผนงานที่ 4 บริการวิชาการ

          หลักสูตรกำหนดให้ผศ.ดร.อุบล ธเนศชัยคุปต์ Aj.Leo Aj.Omega Rose เป็นรับผิดชอบ โดยมีงานที่รับผิดชอบ คือ

          – กำหนดแผนด้านการบริการวิชาการ

          – จัดทำข้อเสนอโครงการบริการวิชาการ และส่งเสริมการนำรายวิชาในหลักสูตรไปบูรณาการในการบริการวิชาการ

          – กำหนดกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นประโยชน์สอดคล้องกับแผนด้านการบริการวิชาการของคณะวิชา

          – ส่งเสริมการดำเนินงานบริการวิชาการทั้งในวิทยาลัยและนอกวิทยาลัย

          – จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ในสถานการณ์จริง

          – ประเมินผลการดำเนินการตามแผนด้านการบริการวิชาการและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการบริหารคณะวิชา

แผนงานที่ 5 ทำนุบำรุงฯ

          หลักสูตรกำหนดให้ Aj.Leoและ Aj.Omega Rose เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีงานที่รับผิดชอบ คือ

           – กำหนดแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

          – จัดทำข้อเสนอโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

          – กำหนดกิจกรรมหรือโครงการที่เป็นประโยชน์สอดคล้องกับแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะวิชา

          – ส่งเสริมการดำเนินงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมทั้งในวิทยาลัยและนอกวิทยาลัย

          – จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ในสถานการณ์จริง

          – ประเมินผลการดำเนินการตามแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการบริหารคณะวิชา

แผนงานที่ 6 การบริหารจัดการ

           ในการบริหารหลักสูตร จะมีคณะกรรมการประจำหลักสูตร อันประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตร 5 คน และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิตรงกับวิชาเอก 3 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบ โดยมีคณบดีเป็นผู้กำกับดูแลและให้คำแนะนำ ตลอดจนกำหนดนโยบายปฏิบัติให้แก่คณะกรรมการประจำหลักสูตร เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหลักสูตรมีการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร วางแผนจัดการเรียนการสอนร่วมกับผู้บริหารของคณะและอาจารย์ผู้สอนติดตามและรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

          การจัดการหลักสูตรมีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

          1) พัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรและรายวิชาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

          2) จัดหาและกำหนดอาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตร ที่มีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติตรงตามรายวิชาที่สอน

          3) จัดตารางการเรียนการสอน ตารางสอบ ตารางการฝึกปฏิบัติ ตามที่กำหนดในหลักสูตร

          4) ควบคุม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ให้มีคุณภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชา

          5) การกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้คำแนะนำแก่นักศึกษา

          6) ส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ

          7) ส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามเป้าหมายด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

          8) ติดตามประเมินผลหลักสูตร โดยศึกษาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า อาจารย์และนักศึกษาปัจจุบัน

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.4-1

คู่มือบุคลากร

5.4-2

แผนปฏิบัติการโครงการ 2566

5.4-3

มคอ.3/4 

5.4-4

มคอ.5/6

5.4-5

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการนักศึกษา

5.4-6

คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา

5.4-7

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิจัย

5.4-8

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ

5.4-9

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบำรุงศิลปวัฒนธรรม

5.4-10

คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร

 

5.5 The programme to show that promotion of the academic staff is based on a merit system which accounts for teaching, research, and service.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          หลักสูตรมีการประเมินผลโดยยึดตามระเบียบของวิทยาลัยที่มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานคุณธรรมและเกี่ยวข้องกับงาน ได้กำหนดการประเมินบุคลากรสายวิชาการ ดังนี้

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ หมายถึง การประเมินภาระงาน เพื่อพิจารณาการต่อสัญญาจ้าง โดยการประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้างนี้ประเมินโดยคณบดีตามแบบฟอร์มการประเมินของวิทยาลัยบนพื้นฐานของประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจริงตลอดปีการศึกษาควบคู่ไปกับแบบสรุปผลการปฏิบัติงานนำเสนอโดยอาจารย์แต่ละคนด้านการจัดการเรียนการสอน คุณธรรมจริยธรรม และงานสร้างสรรค์ทางวิชาการในปีนั้นๆและแผนที่จะทำในปีหน้า
  2. การประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์ใหม่ จะมีการประเมินการทดลองการปฏิบัติ งานสำหรับบุคลากรใหม่ การประเมินอาจารย์ใหม่นี้เป็นไปเพื่อการพัฒนา โดยประเมินจากนักศึกษา จากการสอบถามและแบบประเมิน จากแบบประเมินรายวิชาในมคอ.5 จากอาจารย์พี่เลี่ยง ผลการประเมินจะถูกแจ้งให้อาจารย์รับทราบเพื่อการปรับปรุงเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น
  3. การประเมินการสอนของอาจารย์ ทางคณะฯได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน และทางคณะได้ใช้กระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ในระดับหลักสูตรเพื่อทบทวนและประเมินการสอนของอาจารย์ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด

          โดยแบบทวนสอบที่คณะจัดทำขึ้น จะพิจารณาถึงความสอดคล้องของผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับกระบวนวิชา รวมถึงสอดคล้องกับวิธีการสอนและวัดประเมินผล อีกส่วนพิจารณาถึงผลสะท้อนกลับว่าผู้เรียนบรรลุตามผลลัพธ์ที่กำหนดหรือไม่ จากวิธีการสอนและวิธีการประเมินของผู้สอนแบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์

          ทั้งนี้ ทางหลักสูตรได้มีการประเมินการสอนของอาจารย์ โดยมีการประเมินอาจารย์ โดยนักศึกษา และให้อาจารย์ ประเมินการสอนของตนเอง

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.5-1

ผลการประเมิน “นักศึกษาประเมินอาจารย์”

5.5-2

ผลการประเมิน “อาจารย์ประเมินตนเอง”

5.5-3

Peer Observation

5.5-4

แบบประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรสายวิชาการ

 

5.6 The programme to show that the rights and privileges, benefits, roles and relationships, and accountability of the academic staff, taking into account professional ethics and their academic freedom, are well defined and understood.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          1) คณะและหลักสูตรปฏิบัติตามข้อกำหนดของวิทยาลัยในการกำหนดบาบาทและหน้าที่ของบุคลากรสายวิชาการ โดยมีภาระงานสอนด้านจำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์และจำนวนรายวิชาที่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่อาจารย์ผู้สอนมีเสรีภาพทางวิชาการในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (CLO) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา และสามารถกำหนดวิธีและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหา การคิดวิเคราะห์ การวัดผลและประเมินผลที่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำว่านักศึกษาสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ

          ในด้านเสรีภาพทางวิชาการของตนเอง หลักสูตรและคณะให้เสรีภาพกับอาจารย์ในการเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาได้เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตนเอง นอกจากนี้อาจารย์ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเป็นวิทยากรทางวิชาการให้กับหน่วยงานที่ร้องขอมายังคณะและสาขาวิชา

          ในด้านสิทธิประโยชน์ของอาจารย์ในส่วนของสวัสดิการ อาจารย์ทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากวิทยาลัย เช่น สวัสดิการหอพัก สิทธิในการลาก็เช่นเดียวกัน อาจารย์ทุกคนมีสิทธิในการลาประเภทต่างๆ ตามจำนวนวันที่กำหนดโดยวิทยาลัย สำหรับสิทธิประโยชน์ในด้านวิชาการ อาจารย์ทุกคนสามารถเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุน หรือขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัยได้

          อาจารย์ได้รับข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในวันปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่

          2) สำหรับกิจการในสาขาวิชาและคณะฯ หลักสูตรกำหนดภาระงานของอาจารย์อย่างชัดเจน โดยระบุแผนปฏิบัติงานประจำปีและแผนพัฒนาบุคลากรของคณะฯ และแจ้งให้อาจารย์ทุกคนได้รับรู้ในการประชุมใหญ่ในภาคการศึกษาที่ 1 ของคณะฯ

          ด้านเอกสิทธิ์และผลประโยชน์ภายในสาขา อาจารย์ที่ผลิตผลงานทางวิชาการ หรือได้รับสิทธิบัตรจากผลงานทางวิชาการ หรือเข้าร่วมสัมมนาระดับนานาชาติจะได้รับจดหมายแสดงความชื่นชม (Letter of recognition) จากคณะ และคณะจะนำเสนอชื่อต่อวิทยาลัยเพื่อประกาศผลงานและความชื่นชม

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.6-1

แผนพัฒนาบุคลากร

5.6-2

คู่มือบุคลากร

5.6-3

มคอ.3/4

5.6-4

โครงการอบรมสัมมนาคณาจารย์ภายใน/ภายนอกสถานที่ (HS 12)

5.6-5

แผนปฏิบัติงานประจำปี

5.6-6

รายงานการประชุมของคณะ

5.6-7

การขอทุนวิจัย

5.6-8

การขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย

5.6-9

สรุปผลงานทางวิชาการของอาจารย์

5.6-10

การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมนานาชาติ

5.6-11

รางวัลด้านการวิจัยและพัฒนา

5.6-12

จดหมายแสดงความชื่นชม (Letter of recognition) จากคณะ

5.6-13

การรับรางวัลด้านผลงานทางวิชาการจากวิทยาลัย

5.7 The programme to show that the training and developmental needs of the academic staff are systematically identified, and that appropriate training and development activities are implemented to fulfil the identified needs.

……..ผลการดำเนินงาน……  

         หลักสูตรมีการกำหนดและวางแผนการพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่อาจารย์ในด้านต่างๆ

1.การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล

          1.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน กลยุทธ์ ในการสอนและการวัดและการประเมินผลในรายวิชา ได้แก่

          – โครงการคลินิกการเขียนข้อสอบ (HS 09)

          – โครงการพัฒนาศักยภาพทางการสอนของอาจารย์ (HS 10)

          – โครงการอบรมสัมมนาคณาจารย์ภายใน/ภายนอกสถานที่ (HS 12)

          – โครงการ Student Achievement Verification (HS 13)

          – โครงการบริหารงานฐานข้อมูลในระบบ MIS (HS 43)

          – โครงการการจัดการความรู้ (HS 45)

          – โครงการอาจารย์ประเมินตนเอง (HS 46)

          1.2 สนับสนุนให้สอนร่วม จัดให้เข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการในด้านการเรียนการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นกับผู้สอนหรือผู้ชำนาญการ ได้แก่

          – การเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาอาจารย์ระดับนานาชาติ “Adapting English Language Teaching to the 4th Industrial Revolution organized by the Department of English, Bharat Institute of Engineering and Technology”

2.การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ

          2.1 สนับสนุนให้ผู้สอนทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ได้แก่

          – โครงการทุนวิจัย (HS 24)

          – โครงการทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ (HS 25)

          – ข้อมูลงานวิจัยในปีการศึกษา 2566

          – การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมนานาชาติ The Interdisciplinary International Conference on Mahabharata Epic Across Asia: Ancient Indian Knowledge System Transcending Spatio-Temporal Boundaries sponsored by Indian Council of Social Science Research 

          – การได้รับรางวัลด้านการวิจัยและพัฒนา “Emerging Academician of the Year 2023” at the Second Global Conference on Emerging Trends in Research and Development organized by the International Journal of Innovative Research and Growth.

          2.2 พัฒนาให้ผู้สอนได้ศึกษาต่อเมื่อทำงานได้ระยะหนึ่ง

          2.3 ให้ผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ปรับปรุงรายวิชา หรือพัฒนาหลักสูตรใหม่ ได้แก่

          – คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2567)

          2.4 เปิดโอกาสหรือจัดงบประมาณให้ผู้สอนซื้อตำราเรียนใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านการจัดหาอุปกรณ์ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการให้เพียงพอ

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.7-1

โครงการคลินิกการเขียนข้อสอบ (HS 09)

5.7-2

โครงการพัฒนาศักยภาพทางการสอนของอาจารย์ (HS 10)

5.7-3

โครงการอบรมสัมมนาคณาจารย์ภายใน/ภายนอกสถานที่ (HS 12)

5.7-4

โครงการ Student Achievement Verification (HS 13)

5.7-5

โครงการบริหารงานฐานข้อมูลในระบบ MIS (HS 43)

5.7-6

โครงการการจัดการความรู้ (HS 45)

5.7-7

โครงการอาจารย์ประเมินตนเอง (HS 46 Act.2)

5.7-8

การเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาอาจารย์ระดับนานาชาติ

5.7-9

โครงการทุนวิจัย (HS 24)

5.7-10

โครงการทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ (HS 25)

5.7-11

ข้อมูลงานวิจัยในปีการศึกษา 2566

5.7-12

การนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมนานาชาติ

5.7-13

รางวัลด้านการวิจัยและพัฒนา

5.8 The programme to show that performance management including reward and recognition is implemented to assess academic staff teaching and research quality.

……..ผลการดำเนินงาน……  

          หลักสูตรเสริมขวัญและกำลังใจให้กับอาจารย์ในด้านงานวิจัย งานวิชาการ และนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้คณาจารย์ที่ทำงานวิจัยขอทุนสนับสนุนการทำวิจัยและทุนตีพิมพ์เผยแพร่จากวิทยาลัย และทางคณะมอบจดหมายแสดงความชื่นชมกับอาจารย์ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ สำหรับงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใดๆของอาจารย์ก็จะได้รับจดหมายแสดงความชื่นชมเช่นกัน นอกจากการแสดงความภายในแล้ว คณะและหลักสูตรยังแสดงความยินดีในผลงานนั้นผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น แฟนเพจของคณะ เว็บไซต์ของคณะและวิทยาลัย

          สำหรับผลงานที่โดนเด่น เช่น การได้รับสิทธิบัตรและหลักสูตรเสนอผลงานและชื่ออาจารย์กับทางวิทยาลัยเพื่อการยอมรับในระดับองค์กร

 

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

ชื่อหลักฐาน (พร้อมแนบลิ้งค์)

5.8-1

การประชุมบุคลากรประจำปี 2566

5.8-2

การขอทุนวิจัย

5.8-3

การขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย

5.8-4

ข้อมูลงานวิจัยในปีการศึกษา 2566

5.8-5

แฟนเพจของคณะวิชา

5.8-6

ข่าวบนเว็บไซต์ของวิทยาลัย

5.8-7

ข่าวบนแฟนเพจของคณะวิชา

5.8-8

จดหมายแสดงความชื่นชม (Letter of recognition) จากคณะ

 

Self-Assessment

Requirements Result Score
5.1 The programme to show that academic staff planning (including succession, promotion, re-deployment, termination, and retirement plans) is carried out to ensure that the quality and quantity of the academic staff fulfill the needs for education, research, and service. / 1
5.3 The programme to show that the competences of the academic staff are determined, evaluated, and communicated. /
5.2 The programme to show that staff workload is measured and monitored to improve the quality of education, research, and service. / 1
5.4 The programme to show that the duties allocated to the academic staff are appropriate to qualifications, experience, and aptitude. /
5.5 The programme to show that promotion of the academic staff is based on a merit system which accounts for teaching, research, and service. / 1
5.6 The programme to show that the rights and privileges, benefits, roles and relationships, and accountability of the academic staff, taking into account professional ethics and their academic freedom, are well defined and understood. /
5.7 The programme to show that the training and developmental needs of the academic staff are systematically identified, and that appropriate training and development activities are implemented to fulfil the identified needs. / 1
5.8 The programme to show that performance management including reward and recognition is implemented to assess academic staff teaching and research quality. / 1
Overall 5

Leave a Reply