About Curriculum

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา พ.ศ.2554 และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงแรงงาน เป็นหลักสูตรภาคปกติ 4 ปี และในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เป็นหลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต และจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัยฯ ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ

พันธกิจ (Mission)

 1) ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ

 2) พัฒนางานวิจัยและผลงานวิชาการ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

 3) พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ

 4) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติให้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

 5) บริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ


ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1.ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา 

เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งทักษะในภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตในสังคมด้วยคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมที่ดี เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์

1.2  ความสำคัญ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการปรับปรุงรายวิชาและเนื้อหาต่างๆ ในหมวดรายวิชาเฉพาะ ให้สอดคล้องกับกรอบโครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (1) ตามเกณฑ์ในการพิจารณาวุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่าตามกฏกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 (2) คำแนะนำของผู้ใช้บัณฑิตที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน และ
(3) ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2562

1.3 วัตถุประสงค์

     เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะดังต่อไปนี้

  1.3.1 เป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและความประพฤติที่ดี เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเป็นผู้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ

  1.3.2 เป็นผู้คิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้อย่างเป็นองค์รวมในปัญหาสุขภาพ อนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

  1.3.3 เป็นผู้วางแผน แก้ปัญหา และปฏิบัติงานได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1.3.4 เป็นผู้ทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ ติดต่อสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

       หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
       1.4.1 เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม
       1.4.2 เป็นผู้มีความสามารถทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
       1.4.3 เป็นผู้มีความสามารถในแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีจิตสาธารณะ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณค่า

2. แผนพัฒนาปรับปรุง หลักสูตรนี้จะดำเนินการแล้วเสร็จครบถ้วนในรอบการศึกษา (5 ปี)

2.1 แผนการพัฒนาการเปลี่ยนแปลง2.2 กลยุทธ์2.3 หลักฐาน/ดัชนีชี้วัด
1. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมและประเทศชาติ1. ติดตามและประเมินความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทุก
สิ้นปีการศึกษาและเมื่อครบวงรอบของหลักสูตร
2. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและชุมชนในด้านอาชีวอนามัย และด้านที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
1. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตรวมทั้งรายงานผลการประเมินความพึงพอใจในทักษะ ความรู้ ความสามารถในการทำงานของบัณฑิตโดยมีผลการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี
2. เอกสารความร่วมมือระหว่างสถาบันกับสถานประกอบการ
2. พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านการเรียนการสอน วิชาการ การวิจัยและบริการวิชาการให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการอาชีว
อนามัยและความปลอดภัย
1. ส่งเสริมบุคลากรให้เพิ่มพูนความรู้ และทักษะด้านการเรียนการสอน วิชาการ วิจัย และบริการวิชาการด้านอาชีว
อนามัยและความปลอดภัย
2. สนับสนุนบุคลากรให้บริการวิชาการ และร่วมมือวิจัยกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.จำนวนบุคลากรที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ การเรียนการสอน วิชาการ การวิจัย และบริการวิชาการ
2.จำนวนโครงการวิจัย (เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ) ต่ออาจารย์ในหลักสูตร
3.จำนวนโครงการวิจัยที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ

Leave a Reply