องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

การดำเนินการ

สาขาวิชามีการดำเนินการตรวจสอบการประเมินผู้เรียน ตั้งแต่ การกำหนด Test Blue Print เพื่อกำหนดแนวทางในการออกข้อสอบและการกำหนดวิธีการวัดประเมินผล โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบการวัดผล และการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สาขาวิชามีการประเมินผู้เรียน ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามที่กำหนดในหลักสูตร

หลักฐาน

  1. การประเมินผู้เรียน (Test Blue Print)
  2. Mapping 

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

การดำเนินการ

ผลการประเมินผู้เรียนของอาจารย์ในทุกรายวิชา มีการกระจายของคะแนนเป็น Normal Curve นอกจากนี้ กรณีที่ผู้เรียนขออุทธรณ์ผลการประเมิน สามารถยื่นเรื่องผ่านประธานสาขาวิชา และ/หรือ คณบดี กรณีเป็นรายวิชาที่สอนโดยประธานสาขาวิชา ได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังประกาศผลการศึกษาในระบบของวิทยาลัยฯ โดยทางสาขาวิชาฯได้มีการประกาศแจ้งข่าวให้แก่นักศึกษาทุกชั้นปีทราบผ่านแอพพลิเคชั่นกลุ่มไลน์และมอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาดำเนินการเช็คเกรดของนักศึกษาในความดูแลเป็นรายบุคคลผ่านระบบ MIS ของทางวิทยาลัยฯ เพื่อติดตามผลและรายงานต่อหัวหน้าสาขาวิชาฯ

ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาไม่มีนักศึกษาเข้ามายื่นอุทธรณ์ผลการศึกษาแต่อย่างใด

หลักฐาน

  1. การประกาศแจ้งนักศึกษาผ่านกลุ่มไลน์ของแต่ละชั้นปี

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

การดำเนินการ

สาขาวิชา มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรายงานผลการศึกษา และการตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทั้งภายในสถาบัน และภายนอกสถาบัน

หลักฐาน

  1. ระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา (MIS)
  2. ตัวอย่างระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

การดำเนินการ

สาขาวิชา มีการปฏิบัติการประเมินผลตามปฏิทินการศึกษาของวิทยาลัยฯ และผลการประเมินของสาขาวิชาฯ จะส่งต่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล ตามระยะเวลาที่กำหนด  เพื่อทำการทวนสอบการประเมินผล  การกระจายค่าน้ำหนัก และการตัดเกรด ตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรและวิทยาลัยฯกำหนด เพื่อให้ผลการประเมินมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรมกับผู้เรียน

หลักฐาน

  1. ระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา (MIS)
  2. ตัวอย่างระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

การดำเนินการ

สาขาวิชาฯ นำผลการประเมินรายวิชาที่ผ่านการทวนสอบแล้ว มาจัดทำรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา  และรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรายชั้นปี เพื่อให้มั่นใจว่า มีผลการดำเนินการเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด

หลักฐาน

  1. ผลการทวนสอบ

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

การดำเนินการ

สาขาวิชา มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษา ทำการให้ข้อมูลป้อนกลับในการประเมินผลการเรียนรู้กับผู้เรียนหลังการประกาศผลการประเมินอย่างเป็นทางการ ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนซ้ำในบางรายวิชา (ถ้ามี) หรือวางแผนการเรียนเพิ่มในบางรายวิชา(ถ้ามี) หรือใช้วางแผนในการพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

หลักฐาน

  1. รายงานการให้คำปรึกษาประจำชั้น

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้นำข้อเสนอแนะจากรายงานผลการบริหารหลักสูตรการควบคุมจราจรทางอากาศ ในปีการศึกษา 2564 มาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรในปีการศึกษา 2565 ผลการดำเนินการตามแผนที่กำหนด (Improvement Plan) ทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  สูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2564 จะพบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลักฐาน

  1. รายงานผลการบริหารหลักสูตรการควบคุมจราจรทางอากาศ 2562-2564

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

การดำเนินการ

สาขาวิชาฯและวิทยาลัยฯ ได้ทำการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการทดสอบ ก่อนการเรียน (Pre-Test) และหลังการเรียน (Post-Test) เพื่อดูถึงพัฒนาการด้านการเรียนของผู้เรียน ซึ่งผลรับการเรียนรู้ที่ไว้ได้จากแบบทดสอบอยู่ในเกณฑ์ระดับ “ดี”

หลักฐาน

  1. ผลการทดสอบก่อนการเรียน (Pre-Test) และหลังการเรียน (Post-Test)

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

การดำเนินการ

ทางหลักสูตรได้จัดตั้งให้มีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2565 เพื่อประเมินระบบการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มคอ.2

หลักฐาน

  1. รายงานผลการทวนสอบ
  2. Verification of Learning Outcome

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 ….6ข้อ….

IQA(1-9)

1,3,4,5,6,7,8

 7 ข้อ

 5 คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,3,5,6,7

ระดับ 4

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
5.1.1.1การประเมินผู้เรียน (Test Blue Print)
2.1.1.2Mapping
5.1.1.3 การประกาศแจ้งนักศึกษาผ่านกลุ่มไลน์ของแต่ละชั้นปี
5.1.1.4 TQF 5
5.1.1.5ระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา (MIS)
5.1.1.6ตัวอย่างระบบตรวจสอบผลการศึกษา และการตรวจสอบผลการสำเร็จการศึกษา
5.1.1.7ผลการทวนสอบ
5.1.1.8รายงานการให้คำปรึกษาประจำชั้น
5.1.1.9 รายงานผลการบริหารหลักสูตรการควบคุมจราจรทางอากาศ 2562-2564
5.1.1.10 ผลการทดสอบก่อนการเรียน (Pre-Test) และหลังการเรียน (Post-Test)
5.1.1.11Verification of Learning Outcome

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.154

Leave a Reply