องค์ประกอบที่ 6 คณาจารย์

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 คุณภาพคณาจารย์ (คุณภาพของบุคลากรสายวิชาการ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-7 ข้อ 8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. วางแผนด้านบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ ภาระงานและวางแผนให้อาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมการอบรม การให้ความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะ และความสามารถของตนเอง มากกว่า 15 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา เช่น โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านวิชาการ โครงการบริการทางวิชาการ โครงการเร่งรัดและขยายการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIEE + EEC Model Type A ในสถาบันอุดมศึกษา การสัมมนาออนไลน์ เป็นต้น เพื่อให้อาจารย์ทุกท่านมีความรู้ที่ทันสมัย ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการบินโลก และพร้อมนำความที่ได้รับมาถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาในการเรียนการสอน พร้อมกันนี้ทางสาขาวิชาฯยังได้มีการมอบหมายงานให้กับอาจารย์ทุกท่านเพื่อควบคุมปริมาณงานให้เหมาะสมและตรงกับบริบทของอาจารย์แต่ละท่าน โดยได้มอบหมายงานให้อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบงานดังนี้

 

รายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบ

 

งานที่ได้รับมอบหมาย

1. น.ท. สุรัฐ  ศรีเดช

1. หัวหน้าและประธานสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ

2. หัวหน้าโครงการสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ

3. ผู้ควบคุมดูแลปริมาณงานของอาจารย์ภายในหลักสูตร

4. อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

5. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1

2. อาจารย์ นพอนันต์  เพียรมั่นคง

1. รองหัวหน้าและรองประธานสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ

2. อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

3. เขียนรายงานการดำเนินการประจำปี

4. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1

3. อาจารย์ ชวัลณัฐ หงษ์วาณิชวงศ์

1. ติดตามภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต

2. การประเมินผลภายในหลักสูตร

3. อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

4. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 2

4. อาจารย์ เคน ตัณฑะสุวรรณ

1. จัดทำและเผยแพร่งานวิจัยประจำปีการศึกษา 2566

2. อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

3. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3

5. อาจารย์ อมรเทพ อินทศร

1. ติดตามเรื่องการฝึกงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4

2. ติดตามการนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ 4

3. รายงานผลการนิเทศศึกษา

4. อาจารย์ผู้สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย

5. อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3

หลักฐาน

  1. โครงการ พัฒนาอาจารย์ด้านวิชาการ
  2. โครงการบริการทางวิชาการ
  3. โครงการเร่งรัดและขยายการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIEE + EEC Model Type A ในสถาบันอุดมศึกษา
  4. การสัมมนาออนไลน์
  5. แผนพัฒนาอาจารย์

2. มีการควบคุมปริมาณงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการทบทวนการดำเนินงานของอาจารย์และบุคลากร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนดและได้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานในบางขั้นตอนลง เพื่อลดความยุ่งยากและความซ้ำซ้อนของงาน และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรในการทำงาน  โดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละชั้นปีดูแลนักศึกษาไปจนกระทั่งจบการศึกษา เพื่อเพิ่มความใกล้ชิดและความคุ้นเคยให้แก่นักศึกษา และมีการควบคุมกำกับดูแลทุกขั้นตอนโดยหัวหน้าและประธานสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ
น.ท. สุรัฐ  ศรีเดช

หลักฐาน

  1. แผนการปฏิบัติงาน
  2. ภาระหน้าที่ในการทำงานประจำปีการศึกษา 2565

3. กำหนดสมรรถนะ มีการประเมินผล และมีการสื่อสารให้ทราบ

หลักสูตรมีการกำหนดสมรรถนะของอาจารย์และบุคลากรเพื่อให้ป็นไปตามแผนการพัฒนาบุคลากรโดยอาจารย์และบุคลากรได้รับการปฐมนิเทศน์ในครั้งแรกที่ปฏิบัติงาน และตามรอบระยะเวลาตามที่วิทยาลัยกำหนด เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ รายละเอียดหลักสูตร และการจัดทำประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

การประเมินการปฏิบัติงาน กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดอายุการทำงาน เพื่อให้บรรลุปณิธานการประเมินเพื่อการพัฒนา โดยยึดหลัก “ความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้” และแจ้งผลการประเมินพร้อมข้อปรับปรุงตามที่คณะกรรมได้ให้คำชี้แนะไว้ในใบประเมิน ตามระเบียบของวิทยาลัย

หลักฐาน

  1. การประชุมบุคลากรประจำปี

4. บุคลากรสายวิชาการมีจำนวน และ มีภาระหน้าที่ที่เหมาะสม

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการกำหนดและวางแผนงานให้กับอาจารย์และบุคลากรตามทักษะ ความรู้ ความสามารถหรือความถนัดของคนๆนั้น โดยทางสาขาวิชาฯ กำลังจะบรรจุอาจารย์ที่เป็น ดร. มาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรอีกหนึ่งท่าน ขณะนี้กำลังดำเนินการเรียนในระดับปริญญาโท เพื่อให้วุฒิการศึกษาตรงตามมาตรฐานของ สกอ. และคาดว่าน่าจะบรรจุชื่ออ.ดร. ท่านนี้ได้ภายในภาคการศึกษาที่ 2/2566 หรือ ภาคการศึกษาที่ 1/2657

หลักฐาน

  1. แผนปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร

5. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานคุณธรรม และเกี่ยวข้องกับงาน

การดำเนินการ

หลักสูตรมีการประเมินผลโดยยึดตามระเบียบของวิทยาลัยที่มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานคุณธรรมและเกี่ยวข้องกับงาน ได้กำหนดการประเมินบุคลากรสายวิชาการ ดังนี้

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ หมายถึง การประเมินภาระงาน เพื่อพิจารณาการต่อสัญญาจ้าง ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุม 4 พันธกิจ คือ งานวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  2. การประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์ใหม่ จะมีการประเมินการทดลองการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรใหม่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
  3. การประเมินการสอนของอาจารย์ ทางคณะฯได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน และทางคณะได้ใช้กระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในระดับหลักสูตรเพื่อทบทวนและประเมินการสอนของอาจารย์ให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู่ที่กำหนด โดยแบบทวนสอบที่คณะจัดทำขึ้น จะพิจารณาถึงความสอดคล้องของผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับกระบวนวิชา รวมถึงสอดคล้องของผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับกระบวนวิชากับวิธีการสอนและวัดประเมินผล อีกส่วนพิจารณาถึงผลสะท้อนกลับว่าผู้เรียนบรรลุตามผลลัพธ์ที่กำหนดหรือไม่ จากวิธีการสอนและวิธีการประเมินของผู้สอน แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์

หลักฐาน

  1. ตัวอย่างแบบประเมินการปฏิบัติงานอาจารย์ใหม่
  2. ผลการประเมินอาจารย์
  3. ผลการทวนสอบ
  4. คู่มือบุคลากร

6. กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และทำความเข้าใจให้ทุกคนทราบ

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการกำหนดหน้าที่และภาระงานของอาจารย์อย่างชัดเจน โดนระบุไว้ในแผนแผนการพัฒนาบุคลากรของคณะ และได้ทำความเข้าใจให้ทุกคนทราบในที่ประชุมของคณะ

หลักฐาน

  1. แผนปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร 

7. กำหนดและวางแผนพัฒนา ตามความต้องการของหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

การดำเนินการ

หลักสูตรมีการกำหนดและวางแผนการพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่อาจารย์ ดังนี้

  1. การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล

1.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน กลยุทธ์ในการสอนและการวัดและการประเมินผลในรายวิชา

1.2 สนับสนุนให้มีการสอนร่วมกันกับผู้ชำนาญการจากภายนอก โดยจัดให้มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกัน หรือแบ่งกันสอนคนละ 50% ของระยะเวลาการสอน

  1. การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ

2.1 สนับสนุนให้ผู้สอนทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

  1. การพัฒนาเชิงวิชาการและวิชาชีพด้านอื่น ๆ

3.1 ให้ผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ปรับปรุงรายวิชา หรือพัฒนาหลักสูตรใหม่

3.2 สนับสนุนให้ผู้สอนให้บริการทางวิชาการที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมเพื่อให้สามารถนำประสบการณ์มาพัฒนาการเรียนการสอน

3.3 เปิดโอกาสหรือจัดงบประมาณให้ผู้สอนซื้อตำราเรียนใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรวมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านการจัดหาอุปกรณ์ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการให้เพียงพอ

3.4 จัดโครงการเยี่ยมชมศึกษาคูงานและอบรม ณ สถานประกอบการ

3.5 สนับสนุนให้ผู้สอนได้รับประสบการณ์จริงด้านการทำผลงานวิจัย โดยการอบรมภายระบบออนไลน์

หลักฐาน

  1. แผนการพัฒนาบุคลากร
  2. ระบบและกลไกการพัฒนาอาจารย์และบุคลากร
  3. โครงการ พัฒนาอาจารย์ด้านวิชาการ (ฝึกอบรมการปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศโดยใช้เรดาห์ ณ บริษัท วิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด)
  4. Research Methology: A Guide for Beginners
  5. การสัมมนาออนไลน์หัวข้อการเขียนบทคัดย่อให้โดนใจบรรณาธิการ

8. นำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร

การดำเนินการ

หลักสูตรและวิทยาลัยได้มีการจัดทำแผนพัฒนา (Improvement Plan) เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยต่อผู้เรียน รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมบินในไทย และปรับตัวเข้ากับอุตสาหกรรมอนาคต หรือ New S curve ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุดบนพื้นฐานของประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์  

หลักฐาน

  1. Improvement Plan

9. คณาจารย์ ผู้เรียน และชุมชน ร่วมกันสร้างประสบการณ์การเรียนรู้

การดำเนินการ

หลักสูตรมีโครงการบริการวิชาการที่ให้นักศึกษา อาจารย์ และชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น โครงการบริการทางวิชาการ นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศได้ร่วมกันให้ความรู้ด้านการบินแก่เหล่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือเหล่าอากาศ ณ โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง โดยได้ให้ความเรื่องการควบคุมจราจรทางอากาศ กฎหมายด้านการบิน น่านฟ้าที่ใช้บิน และข้อจำกัดของการใช้น่านฟ้า ทำให้เหล่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับเหล่าลูกศิษย์ได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์เกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับด้านต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการบิน และยังได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรม “บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ชายหาดหน้าที่พักสวัสดิการทหารอากาศบ่อฝ้าย สังกัดกรมสวัสดิการทหารอากาศ จ.ประจวบคีรีขันธ์” เมื่อวันที่ 2  ธ.ค. 2565 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักรู้ ปลูกจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านการทิ้งขยะให้ถูกที่การคัดแยกขยะทุกครั้งเมื่อทำการทิ้ง เนื่องจากขยะจากมนุษย์เมื่อถูกทิ้งลงสู่ทะเลแล้วจะมีอันตรายเป็นอย่างมากต่อสัตว์ทะเลและทรัพยากรทางธรรมชาติ

หลักฐาน

  1. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
  2. โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

10.  คณาจารย์บูรณาการศิลปะและวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนรู้

การดำเนินการ

หลักสูตรได้มีการพัฒนาแผนการเรียนการสอน โดยการนำศิลปะและวัฒนธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในบางรายวิชา เช่น Air Law and Regulation , Approach Control Service, Aerodrome Control Service และ Air Navigation เป็นต้น เกี่ยวกับกฎหมายทางอากาศ และการเดินอากาศของประเพณีบุญบั้งไฟและตะไลลาน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการบินของอากาศยานพาณิชย์ที่ทำการบินผ่าน ณ สถานที่จัดงาน โดยนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อและถ่ายให้พ่อแม่ผู้ปกครองรับรู้รับรับทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับของน่านฟ้าที่จะใช้ในการจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นนักศึกษายังได้มีส่วนร่วมในโครงการ บริการทางวิชาการการอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือเหล่าอากาศ ณ โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง กรุงเทพฯ ในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เหล่าบรรดาผู้เข้าฝึกอบรมลูกเสืออากาศเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับในการขอใช้พื้นที่และน่านฟ้าของประเพณีบุญบั้งไฟอีกด้วย เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรู้และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามนี้สืบไป

            นอกจากนั้นนักศึกษายังได้มีกิจกรรมร่วมกับทางวิทยาลัยในการสืบสานประเพณีอันดีงามอื่น ๆ ของไทยอีกหลายกิจกรรม เช่น การประกวดการทำพานไหว้ครู การประกวดการทำกระทง การประกวดมารยาทไทย เป็นต้น

หลักฐาน

  1. แผนการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…7 ข้อ…

IQA(1-10)

1,2,4,5,6,7,8,9

 8 ข้อ

 5 คะแนน

AUN-QA(1-8)

1,2,4,7,8

ระดับ 5

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
6.1.1.1โครงการ พัฒนาอาจารย์ด้านวิชาการ
6.1.1.2 โครงการบริการทางวิชาการ
6.1.1.3 โครงการเร่งรัดและขยายการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIEE + EEC Model Type A ในสถาบันอุดมศึกษา
6.1.1.4การสัมมนาออนไลน์
6.1.1.5แผนพัฒนาอาจารย์
6.1.1.6แผนการปฏิบัติงาน
6.1.1.7ภาระหน้าที่ในการทำงานประจำปีการศึกษา 2565
6.1.1.8 การประชุมบุคลากรประจำปี
6.1.1.9คู่มือบุคลากร
6.1.1.10แผนปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร
6.1.1.11 Research Methology: A Guide for Beginners
การสัมมนาออนไลน์หัวข้อการเขียนบทคัดย่อให้โดนใจบรรณาธิการ
6.1.1.12การสัมมนาออนไลน์หัวข้อการเขียนบทคัดย่อให้โดนใจบรรณาธิการ
6.1.1.13Improvement Plan
6.1.1.14รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
6.1.1.15โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
6.1.1.16แผนการเรียนการสอน
6.1.1.17ผลการประเมินอาจารย์
6.1.1.18ผลการทวนสอบ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 คุณวุฒิปริญญาเอก

ผลการดำเนินการ

การดำเนินการ

     สาขาวิชาฯ กำลังจะบรรจุอาจารย์ที่เป็น ดร. มาเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรอีกหนึ่งท่าน ขณะนี้กำลังดำเนินการเรียนในระดับปริญญาโท เพื่อให้วุฒิการศึกษาตรงตามมาตรฐานของ สกอ.

                        คำนวณ ร้อยละของอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก  = (0/5)*100  = 0

                                    คะแนนที่ได้ = (0/20)*5 = 0

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 20

IQA(1)

อาจารย์ปริญญาเอก 0 คน/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ 0

 0 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
6.2.1.1

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ผลงานวิจัยตีพิมพ์

การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักตามระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
0.40 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
-ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
0.60 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
0.80 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
-ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร
-ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
-ผลงานค้นพบพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 หรือในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ

ผลการดำเนินการ

คำนวณ ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน  = (1/5)*100  = 20

                                    คะแนนที่ได้ = (20/20)*5 = 5

ตารางแสดงข้อมูลผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ ประจำปีการศึกษา 2565

No.TitleName of the LecturerName of JournalIndexWeight
1FACTORS RELATED TO THE STRESS IN OPERATION OF AIR TRAFFIC CONTROLLERS AT AERODROME AND APPROACH CONTROL SERVICE, DONMUEANG INTERNATIONAL AIRPORT นายอมรเทพ  อินทศร
นายชวัลณัฐ  หงส์วาณิชวงศ์
Social Evolution and History ISSN:1681-4383 Vol. 11 No. 09 (2022) Scopus Q21.00

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 20

IQA(1)

ผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงาน(1)/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ  20

5 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
6.3.1.1 FACTORS RELATED TO THE STRESS IN OPERATION OF AIR TRAFFIC CONTROLLERS AT AERODROME AND APPROACH CONTROL SERVICE, DONMUEANG INTERNATIONAL AIRPORT

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 6.155
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 0
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 5
คะแนนเฉลี่ย3.33

Leave a Reply