องค์ประกอบที่ 7 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 นักศึกษา (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีการสื่อสารเรื่องการรับผู้เรียน เกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างชัดเจน

การดำเนินการ

หลักสูตรทำการประชาสัมพันธ์ผ่านwebsite ของวิทยาลัย และแผ่นพับที่แจกไปตามโรงเรียนต่าง ๆและมีการแนะนำจากฝ่ายการรับนักศึกษาที่ออกไปประชาสัมพันธ์ในกระบวนการรับนักศึกษาใหม่รวมถึง คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ขั้นตอนการรับ ตลอดจนความเข้าใจในการมาศึกษาในหลักสูตรนี้ ในเรื่องรายวิชาที่จะต้องศึกษา โอกาสการทำงานและอาชีพที่สามารถปฏิบัติได้เมื่อสำเร็จการศึกษาในอนาคตโดยมีระบบและกลไกลดังนี้

         หลักสูตรมีระบบกลไกในการรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2565 ดังนี้          

  1. กำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร

– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง ทุกโปรแกรมการศึกษา มีคะแนนผลเฉลี่ยการศึกษาไม่น้อยกว่า 2.75

– เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีพ.ศ. 2559

– มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

– มีความประพฤติดี มีความตั้งใจที่จะใช้ความสามารถของตนในการที่จะศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

– มีพื้นฐานความรู้และทักษะภาษาอังกฤษดี

  1. ตรวจสอบคุณสมบัติ
  2. วัดความสามารถ – ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

– ผ่านการวัดผล  ดำเนินการลงทะเบียน

– ไม่ผ่านการวัดผล จัดอบรม Intensive course ทำการวัดผลอีกครั้ง ถ้าผ่าน

จะดำเนินการลงทะเบียน ถ้าไม่ผ่านก็ปฏิเสธการรับสมัคร

  1. ลงทะเบียน

                   หลักฐาน

  1. Website ของวิทยาลัย
  2.  แผ่นพับ

2. มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนที่เพียงพอและมีคุณภาพ

การดำเนินการ

      หลักสูตรกำหนดแผนกิจกรรม โครงการประจำปีที่ให้บริการสนับสนุนนักศึกษาทุกชั้นปีหลากหลายรูปแบบ เช่น โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ โครงการบริการวิชาสู่ชุมชน โครงการสืบสานวัฒนธรรม ที่ผ่านมติที่ประชุมของกรรมการหลักสูตรและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มามีส่วนร่วมในการกำหนดแผน เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยกับการทำงานนอกสถาน การทำงานเป็นกลุ่ม และการทำงานร่วมกับผู้ที่มีอายุมากและน้อยกว่าตน รวมถึงได้มีการวางแผนกับคณะในการกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่จะเข้ามาช่วยดูแลนักศึกษาภายในคณะและสาขาวิชาฯเรื่องเอกสารและการสนับสนุนต่าง ๆ

หลักฐาน

  1. คุณสมบัติบุคลากรฝ่ายสนับสนุน

3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

การดำเนินการ

       หลักสูตรจัดทำฐานข้อมูลของนักศึกษาในด้านการเรียน รายวิชาที่ศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา กิจกรรมนักศึกษา รวมถึงโครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ และยังมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพบนักศึกษาทุกคนทุกสัปดาห์ ทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความประพฤติ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพบที่ปรึกษาตามกำหนด แต่หากนักศึกษาต้องการปรึกษาปัญหาส่วนตัวแบบตัวต่อตัวกับอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาสามารถระบุวัน เวลา เพื่อเข้ามารับคำปรึกษาได้ผ่านโปรแกรมไลน์ หรือเข้ามานัดหมายได้ที่ห้องพักอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้มีนักศึกษาเข้ามาปรึกษาเรื่องรายวิชาที่ทำการสอบผ่าน ซึ่งทางอาจารย์ในสาขาได้ให้ความช่วยเหลือไปโดยจัดตารางเรียนให้เอื้อต่อการเรียนของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาสามารถออกฝึกงานได้ในภาคการศึกษาที่ 2/2565 และสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

หลักฐาน

  1. ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบ MIS
  2. ไลน์กลุ่มนักศึกษาแต่ละชั้นปี
  3. ตัวอย่างนักศึกษาที่ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์และอาจจะจบการศึกษาไม่ทันตามเกณฑ์ที่กำหนด

4. มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ และความสามารถในการทำงาน

การดำเนินการ

โดยการสนับสนุนของวิทยาลัยฯพิจารณาคัดเลือกและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณสมบัติ มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่นักศึกษา กำหนดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ที่จะนำมาใช้ในการให้บริการกับนักศึกษาและพัฒนากิจกรรมที่ประโยชน์เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นหาตัวตนที่อยากจะเป็นหรืออาชีพที่เหมาะสมกับนักศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ห้องทะเบียน ผู้ที่คอยให้คำแนะนำกับนักศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่เรียน และการลงเบียนในแต่ละภาคการศึกษา
เจ้าหน้าห้องไอที ผู้ที่คอยช่วยเหลือนักศึกษาเกี่ยวสัญญาณอินเทอร์เน็ต ไฟฟ้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ด้านอาคารและสถานที่ ผู้ที่คอยช่วยเหลือและเตรียมสถานให้กับนักศึกษาได้ใช้ในการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหลังเลิกเรียน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาในการทำงานและมาเรียน รวมทั้งการใช้ชีวิตในวิทยาลัยฯ และหลักสูตรฯ ได้ดำเนินการวางแผนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาผ่านระบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ในช่วงก่อนเปิดปีการศึกษาใหม่ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ถูกออกแบบให้สนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 และมีการนำผลการประเมินการดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาพิจารณาและให้อาจารย์ในหลักสูตรฯได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิทยาลัย (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ) (2) กิจกรรมคณะ (ส่งเสริม/สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ) และ (3) กิจกรรมสาขา (ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ ความเป็นพลเมือง การมีจิตสาธารณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21)

            หลังดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ หลักสูตรฯตรวจสอบโดยการประเมินกิจกรรมในโครงการ
ต่าง ๆ   และรายงานผลการดำเนินการและผลการประเมินกิจกรรม / โครงการต่อคณะและวิทยาลัยเป็นลำดับ
            หลังจากนั้นหลักสูตรฯ ได้พัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแผนการพัฒนานักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป ผลคือ ระบบและกลไกการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ในปีการศึกษา 2565 ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นนั้นสนับสนุนต่อความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 ทางหลักสูตรฯเห็นควรคงกิจกรรมต่าง ๆ ไว้ ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป โดยกิจกรรมทุกกิจกรรมต่างมีตัวชี้วัดย่อยที่ระบุอยู่ในเอกสารโครงการ หากกิจกรรมใดไม่บรรลุผลตามตัวชี้วัดย่อยที่ระบุไว้ ให้พิจารณาแก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้บรรลุได้ในปีการศึกษาถัดไป

หลักฐาน

  1. แผนพัฒนานักศึกษา
  2. กิจกรรมต่างๆ

5. กำหนดสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ

การดำเนินการ 

โดยการสนับสนุนของวิทยาลัยพิจารณาคัดเลือกและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณสมบัติ มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่นักศึกษา กำหนดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ที่จะนำมาใช้ในการให้บริการกับนักศึกษาและพัฒนากิจกรรมที่ประโยชน์เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้ค้นหาตัวตนที่อยากจะเป็นหรืออาชีพที่เหมาะสมกับนักศึกษาได้ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ห้องทะเบียน ผู้ที่คอยให้คำแนะนำกับนักศึกษาเกี่ยวกับวิชาที่เรียน และการลงเบียนในแต่ละภาคการศึกษา เจ้าหน้าห้องไอที ผู้ทีคอยช่วยเหลือนักศึกษาเกี่ยวสัญญาณอินเทอร์เน็ต ไฟฟ้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ด้านอาคารและสถานที่ ผู้ที่คอยช่วยเหลือและเตรียมสถานให้กับนักศึกษาได้ใช้ในการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายหลังเลิกเรียน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาในการทำงานและมาเรียน รวมทั้งการใช้ชีวิตในวิทยาลัยฯ

หลักฐาน

  1. แผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
  2. กิจกรรมนักศึกษา

6. ประเมินผลการให้การบริการและช่วยเหลือผู้เรียน และเทียบเคียงสมรรถนะเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ

หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการให้บริการ
ด้านต่าง ๆ ในหลาย ๆ รูปแบบ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการ แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ นักศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงการให้บริการ โดยหลักสูตรกำหนดเวลาที่นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เช่น ก่อนเปิดภาคเรียน กลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน

หลักฐาน

  1. แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

7. มีการรับฟัง วิเคราะห์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

การดำเนินการ

หลักสูตรนำความเห็นต่าง ๆ ของนักศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดเกี่ยวกับการบริการเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หลักสูตรร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงข้อร้องเรียนที่นักศึกษาต้องการ เช่น การปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์ การเพิ่มเก้าอี้และโต๊ะในห้องปฏิบัติการจำลองทางอากาศ การเพิ่มไฟส่องสว่างระหว่างการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการจำลองทางอากาศ โดยมีอาจารย์ชวัลณัฐ หงส์วาณิชวงศ์ เป็นผู้ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของนักศึกษากับฝ่ายบำรุงรักษาของวิทยาลัยฯ และได้ติดตามผลการดำเนินงานจนแล้วเสร็จในการปรับปรุงความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ต การเพิ่มปริมาณและซ่อมแซมเก้าอี้ที่ชำรุดเสียหายให้กลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่มีปัญหาและเปลี่ยนหลอดไฟส่องส่องสว่างในห้องปฏิบัติการจำลองควบคุมจราจรทางอากาศให้กลับมามีประสิทธิภาพดังเดิม และแจ้งผลการพิจารณา แก้ไขปรับปรุงให้นักศึกษาได้รับทราบผ่านการประชุมนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา

หลักฐาน

  1. แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

8. มีการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสพความสำเร็จในการศึกษา

การดำเนินการ

หลักสูตรโดยอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่าง ๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการเรียนของนักศึกษา ผลการศึกษา ผลการเข้าชั้นเรียน ผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย โดยในกรณีที่พบปัญหา หลักสูตรจะให้คณาจารย์ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันช่วยเสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนและให้คำแนะนำนักศึกษาเพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามกรอบระยะเวลาของหลักสูตร โดยในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้มีนักศึกษาเข้ามาปรึกษาเรื่องรายวิชาที่ทำการสอบผ่าน ซึ่งทางอาจารย์ในสาขาได้ให้ความช่วยเหลือไปโดยจัดตารางเรียนให้เอื้อต่อการเรียนของนักศึกษากลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาสามารถออกฝึกงานได้ในภาคการศึกษาที่ 2/2565 และสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

หลักสูตรฯมีระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักเรียนเพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการศึกษาตามเวลาที่กำหนด โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังต่อไปนี้

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใหม่ (การปฐมนิเทศ)

              การปฐมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ โดยในการปฐมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ มีการจัดการปฐมนิเทศ ในวันที่ 08/06/2565 เวลา 13.30-16.30 น. ณ SMB Hall โดยมอบหายให้ อ.นพอนันต์ เพียรมั่นคง และ อ.อมรเทพ  อินทศร เป็นผู้ดำเนินการ ภายในการปฐมนิเทศก่อนเรียน ภาคเรียนที่ 1/2565 มีการแจกคู่มือนักศึกษา ซึ่งอธิบายถึงหลักสูตร ระเบียบและขั้นตอนการศึกษา การพบที่ปรึกษา ทุนการศึกษา ตลอดจนสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และปฏิทินการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

                  วิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80.95 (บรรลุตัวชี้วัดผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) และมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.50 (บรรลุตัวชี้วัดที่ระดับความพึงพอใจมากกว่า 3.51) และได้มีการนำข้อเสนอแนะจากปี 2564 ที่แนะนำว่าควรมีรุ่นพี่มาแบ่งปันประสบการณ์มากกว่านี้มาปรับใช้ ผลคือ นักศึกษาใหม่เกิดความพึงพอใจ ด้านปัญหาและอุปสรรค คือ (1)  อาจารย์บางท่านไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เนื่องจากติดภารกิจการสอนในวันและเวลาเดียวกัน

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษา (ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา)

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อดูแล ให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ชีวิตด้านวิชาการ และแนะแนว เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาใกล้จบ (ระบบที่ปรึกษาการทำเล่มจบ)

ระบบที่ปรึกษาโครงงาน เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตรฯสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยหลักสูตรฯมีการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาทุกคน / ทุกกลุ่ม

  1. ระบบการให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาก่อนจบ (การปัจฉิมนิเทศ)

การปัจฉิมนิเทศ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนจบ
โดยในการปัจฉิมนิเทศจะมีการให้ข้อมูล ให้คำปรึกษา ตลอดจนแนะแนวเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปรับตัวในการทำงาน และการวางแผนอนาคต เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษาอย่างมั่นใจและมีความสุข โดยการปัจฉิมนิเทศ ในภาคเรียนที่ 2/2565 ถูกจัดขึ้นในวันที่ 10/02/2566 เวลา 12.00-14.00 น. ที่ SMB Hall โดยมอบหมายให้ อาจายร์ประจวบ ตรีนิกรณ์  เป็นผู้ดำเนินการ

วิทยาลัยฯ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการสำเร็จตามแผน ผลคือ (1) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 53.71 ไม่บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุผู้เข้าร่วมไว้ที่ร้อยละ 80 (2) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยที่ 3.61 ส่งผลให้บรรลุตัวชี้วัดที่ระบุระดับที่ 3.51 (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ นักศึกษาจำนวนหนึ่งมีงานทำแล้ว จึงไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้

หลักฐาน

  1. รายงานสรุปผลการสำเร็จการศึกษา
  2. โครงการปฐมนิเทศ
  3. คู่มือนักศึกษา
  4. โครงการปัจฉิมนิเทศน์

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…6 ข้อ…

IQA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,4,5,6

ระดับ 4

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
7.1.1.1Website ของวิทยาลัย
7.1.1.2คุณสมบัติบุคลากรฝ่ายสนับสนุน
7.1.1.3 แผนปฏิบัติการ/แผนงบประมาณประจำปี 2565
7.1.1.4ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบ MIS
7.1.1.5ไลน์กลุ่มนักศึกษาแต่ละชั้นปี
7.1.1.6ตัวอย่างนักศึกษาที่ผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์และอาจจะจบการศึกษาไม่ทันตามเกณฑ์ที่กำหนด
7.1.1.7แผนพัฒนานักศึกษา
7.1.1.8แผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน
7.1.1.9กิจกรรมนักศึกษา
7.1.1.10แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
7.1.1.11กิจกรรมต่างๆ
7.1.1.12รายงานสรุปผลการสำเร็จการศึกษา
7.1.1.13โครงการปฐมนิเทศน์
7.1.1.14คู่มือนักศึกษา
7.1.1.15โครงการปัจฉิมนิเทศน์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 7.154

Leave a Reply