Criterion 1 – Expected Learning Outcomes

Criterion 1 – Expected Learning Outcomes

AUNQA requirements for Criterion 1

TRSU QA uses each of AUNQA criterion requirements below to assess the relevant QA practice of a program.

1.1 Outcomes formulation

The expected learning outcomes are appropriately formulated in accordance with an established learning taxonomy, are aligned to the vision and mission of the university, and are known to all stakeholders.

Diagnostic questions
  • What is the purpose of the study program?
  • How are the expected learning outcomes formulated?
  • How do we measure the ELOs, or know they are achieved?
  • How are they aligned to the university’s vision and mission?
  • Do employers have specific requirements for the graduates to meet?
  • Are the ELOs tuned to the need of employers? By what means?
1.2 Outcomes alignment

The expected learning outcomes for all courses are appropriately formulated and are aligned to the expected learning outcomes of the program.

Diagnostic questions
  • How are the ELOs of courses or CLOs formulated?
  • How are they aligned with the ELOs of the program or PLOs?
  • How are the CLOs measured? How do we know they are achieved?
  • How are CLOs made known to the staff and students?
1.3 Transferability

The expected learning outcomes consist of both generic outcomes (related to written and oral communication, problem-solving, information technology, team-building skills, etc) and subject specific outcomes (related to knowledge and skills of the study discipline).

Diagnostic questions
  • How are the subject specific outcomes formulated?
  • How are the generic outcomes formulated?
  • How are they measured? How do we know they are achieved?
  • Are both the outcomes equally important? Or which outcomes are given more emphasis than the other? Why?
  • Are the generic outcomes valued more to employers than the subject specific outcomes? Or the other way round?
1.4 Stakeholders’ input

The requirements of the stakeholders, especially the external stakeholders, are gathered, and that these are reflected in the expected learning outcomes.

Diagnostic questions
  • How are the requirements of external stakeholders gathered?
  • How are the requirements used to formulate the ELOs?
  • How do the PLOs or CLOs reflect the stakeholders’ requirements?
  • To what extent are the ELOs influenced by the labor market?
  • Is there a well-defined job profile?
1.5 Student achievement

The expected learning outcomes are achieved by the students by the time they graduate.

Diagnostic questions
  • How is the achievement of the learning outcomes measured?
  • To what extent have the learning outcomes been achieved?
  • How are the learning outcomes translated to concrete requirements of the graduates?
  • Are the learning outcomes reviewed periodically? What changes or improvement are considered?
Scoring for TRSU QA
TRSU-QA score12345
Items showing
QA practice
1 item2 items3 items4 items5 items
AUNQA scoring rubrics

A seven-point rating scale used for AUNQA assessment is described below.

1. Absolutely inadequate

The QA practice to fulfil the criterion is not implemented
There are no plans, documents, evidences or results available. 
Immediate improvement must be made.

2. Inadequate and improvement is necessary

The QA practice to fulfil the criterion is still at its planning stage or is inadequate where improvement is necessary. 
There is little document or evidence available. 
Performance of the QA practice shows little or poor results.

3. Inadequate but minor improvement will make it adequate

The QA practice to fulfil the criterion is defined and implemented but minor improvement is needed to fully meet them. Documents are available but no clear evidence to support that they have been fully used. Performance of the QA practice shows inconsistent or some results.

4. Adequate as expected

The QA practice to fulfil the criterion is adequate and evidences support that it has been fully implementedPerformance of the QA practice shows consistent results as expected.

5. Better than adequate

The QA practice to fulfil the criterion is better than adequate. Evidence supports that it (the QA practice) has been efficiently implemented. Performance of the QA practice shows good results and positive improvement trend.

6. Example of best practice

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be example of best practices in the field. Evidences support that it has been effectively implemented
Performance of QA practice shows very good results and positive improvement trend.

7. Excellent (example of world-class or leading practice)

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be excellent or is an example of world-class practices in the field. Evidences support that it has been innovatively implemented. 
Performance of the QA practice shows excellent results and outstanding improvement trends.

Guide to writing a self-assessment report (SAR)
  • The report is the account of the self-assessment. It is not only descriptive but also analytical. It identifies and evaluates the problems and also provides an indication of how the problems identified will be dealt with. (Use the diagnostic questions provided in each of the AUN-QA criteria to do this.)
  • Illustrate clearly what, where, when, who, and how the QA mechanisms or instruments are implemented and managed to fulfil the criteria. This will help to piece all related information together.
  • Focus on information and data (objective evidences) that directly address the criteria. The report has to be concise and factual. Provide trends and statistics to show achievement and performance.
What is the QA practice to fulfil the criterion?

Quality assurance practice should mean QA plan that evaluates and/or modifies organization’s procedures to ensure that they provide the desired results. The QA plan documents the planning, implementation and assessment procedures for a project, process or any QA activity.
The QA plan should provide information about some or all of the following.

  • An overview of the project or process describing background, need, scope, activities, and deadlines;
  • Quality objectives to be attained (for example, characteristics, effectiveness, cycle time, cost, etc.);
  • Steps in the process that constitute the operating practice or procedures of the organization;
  • Allocation of responsibilities, authority, and resources for different phases of the project/process;
  • Specific document describing standards, practices, procedures, and instructions to be applied;
  • Suitable testing, inspection, examination, and audit programs at appropriate stages;
  • A documented procedure for changes and modifications to a quality plan as a process is improved;
  • A method for measuring the achievement of the quality objectives;

    (Source: https://asq.org/quality-resources/quality-plans)

1.1 The programme to show that the expected learning outcomes are appropriately formulated in accordance with an established learning taxonomy, are aligned to the vision and mission of the university, and are known to all stakeholders.

การดำเนินการ
สาขาวิชาฯ ได้ทำการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยการเชิญให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยได้เชิญ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ใช้บัณฑิต คณบดีคณะบริหารธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน เข้ามาทำการร่วมรับฟังและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและวิพากย์หลักสูตร เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เป็นประโยชน์และส่งผลที่ดีที่สุดให้แก่นักศึกษาหลังจากจบการศึกษาในแต่ละชั้นปี หลังจากนั้นได้ทำการทวนสอบกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอีกครั้งผ่านการวิพากย์หลักสูตร 
เพื่อทำให้มั่นใจว่าหลักสูตรได้มาตรฐานและตรงตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อสิ้นปีการศึกษาของแต่ละรายชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 
(1) มีความรับผิดชอบและบุคลิกภาพที่ดี สามารถแสดงออกในการติดต่อสื่อสารได้ถูกต้องและ เหมาะสมในสังคม
(2) มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษด้านการพูด การฟัง การเขียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในชั้น เรียนที่สูงขึ้นต่อไปการเรียนในหลักสูตร และศัพท์เทคนิคทางด้านการบิน 
(3) สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ในห้องฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ
(4) มีความรู้พื้นฐานทั่วไปด้านกฎการจราจรทางอากาศ เพื่อนำไปใช้และปฏิบัติในการให้การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงระบบการจัดการท่าอากาศยานซึ่งมีความสัมพันธ์กับการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน 

ชั้นปีที่ 2
(1) สามารถอ่าน เข้าใจและตีความภาษาอังกฤษที่มีความยาวและซับซ้อนมากขึ้น เขียนรายงาน และ นำเสนอได้ถูกต้องตามระบบ 
(2) มีความรู้พื้นฐานด้านการให้บริการข่าวสารการบิน และอุตุนิยมวิทยาทางด้านการบิน เพื่อ ให้บริการอากาศยาน ใช้ในการเดินอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 
(3) มีความรู้เรื่องพื้นฐานและทฤษฎีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการการควบคุมจราจรทางอากาศ แก่อากาศยานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 
(4) สามารถให้การปฏิบัติในการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานในการขึ้น-ลง บริเวณ สนามบินและอากาศยานเข้า-ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์ในห้องฝึกปฏิบัติการจำลองควบคุมได้ อย่างถูกต้องและตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ICAO กำหนด

ชั้นปีที่ 3
(1) มีความรู้เรื่องกฎหมายด้านการบิน ว่าด้วยบุคลากรที่จะดำเนินการด้านการบิน อาทิ นักบิน เจ้าหน้าที่การควบคุมจราจรทางอากาศ และเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาอากาศยาน และกฎหมายการ บินว่าด้วยการกระทำความผิดด้านอาญาทางด้านการบิน อาทิ การจี้อากาศยาน การวางระเบิด อากาศยาน การก่อวินาศกรรมอากาศยาน 
(2) มีความรู้และเข้าใจในพื้นฐานด้านมนุษยปัจจัย ที่มีผลต่อบุคคลที่จะเข้าสู่สายงานด้านการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาด และเป็นอันตรายต่อการ เดินอากาศ ตามข้อกำหนดของ ICAO ที่ระบุไว้ใน ANNEX1 
(3) มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับนิรภัยการบิน และการบริการหลุมจอดสายการบิน เพื่อความปลอดภัย ขณะให้บริการในลานจอดและพื้นที่ขับเคลื่อนบริเวณสนามบิน ตามข้อกำหนดของสนามบินได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด 
(4) มีความรู้พื้นฐานทฤษฎี และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออก สนามบินด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ โดยฝึกปฏิบัติการจำลอง

ชั้นปีที่ 4
(1) สามารถปฏิบัติงานการให้บริการการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานเข้า-ออกสนามบิน ด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ รวมถึงการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์ ได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด 
(2) มีทักษะประสบการณ์กับงานอาชีพด้านการบินจริงจากการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษานอก หน่วย ณ สถานประกอบการจริงโดยสามารถนำเสนอและรายงานการฝึกปฏิบัติทั้งด้วยวาจาและ เอกสารเป็นรูปเล่มตามที่วิทยาลัยกำหนดได้อย่างถูกต้อง 
(3) มีทักษะด้านวิชาชีพจากการฝึกประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการสมัครสอบแข่งขันเข้าสู่ อาชีพงานด้านการบินต่อไป

โดยการจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและหลักสูตรทั้งหมด เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ศักยภาพ สมรรถนะ และคุณสมบัติที่พึ่งประสงค์ เพื่อส่งออกสู่ตลาดแรงงานและเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรมบินต่อไปในอนาคต และเพื่อสานต่อวิสัยทัศน์ (Vision) ของทางมหาวิทยาลัยฯ ที่กล่าวว่า “เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ” และมีพันธกิจ (Mission) ของมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องดำเนินการคือ 1. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูงด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ 2. พัฒนางานวิจัยและผลงานวิชาการให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ 3. พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และภาษาอังกฤษ 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและนานาชาติให้เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และ 5. บริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

หลังจากนั้นได้นำหลักสูตรที่มีการปรับปรุงแก้ไขจากการวิพากย์ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว เสนอขออนุมัติหลักสูตรจากทาง สป.อ.ว. เพื่อพิจารณาอนุมัติ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ  (หลักสูตรนานาชาติ) Bachelor of Science Program in Air Traffic Control (International Program) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) และหลังจากหลักสูตรได้ผ่านการเห็นชอบจาก สป.อ.ว. แล้ว ทางสาขาวิชาฯ ได้สื่อสารให้กับคณาจารย์ผู้รับผิดหลักสูตรทุกท่านทราบผ่านการประชุมภายในของสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ สื่อสารให้กับนักศึกษาทุกชั้นปีทราบผ่านการปฐมนิเทศน์และชั่วโมงของการพบที่ปรึกษาประจำสัปดาห์ สื่อสารให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาทุกท่านทราบผ่านการประชุมโปรโมทหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัย และสื่อสารให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และผู้ปกครองทั่วประเทศให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ และPlatform โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของทางสาขาวิชาฯ อาทิเช่น Facebook Instragram และ Tiktok เพื่อโปรโมทสาขาวิชาฯและหลักสูตรให้ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต่อเข้ามาสมัครและทำการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป

หลักฐาน

                         1. รายงานการวิพากย์หลักสูตร

                       2. Mapping PLOs แต่ละรายวิชา

3. การประชุมภายในหลักสูตร ATC

                        4. รายงานการปฐมนิเทศน์นักศึกษา

                        5. ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร

                        6. Tiktok การโมทหลักสูตร

                        7. โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร            

1.2 The programme to show that the expected learning outcomes for all courses are appropriately formulated and are aligned to the expected learning outcomes of the programme.

การดำเนินการ
หลักสูตรได้ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นการบูรณาการเนื้อหาในวิชาต่าง ๆ ภายในหลักสูตรของแต่ละชั้นปี โดยใช้ตารางแสดงการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบผลการเรียนรู้สู่รายวิชาในการออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาเฉพาะ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 

หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป
1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(1) เสียสละ ทุ่มเท มุมานะในการเรียน แบ่งเวลาเรียนกับเวลาส่วนตนได้อย่างเหมาะสม
(2) ยอมรับเงื่อนไขและกฎระเบียบเชิงวิชาการ
(3) ปฏิบัติตนตามระเบียบทางสังคม และสื่อสารในสังคมอย่างมีมารยาท

1.2 กลยุทธ์การสอน
(1) ฝึกให้ผู้เรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ได้ผลงานวิชาการและกิจกรรมที่เนื้อหาถูกต้อง ลึกซึ้ง และประณีต
(2) ฝึกให้ผู้เรียนสร้างผลงานวิชาการที่ได้รับมอบหมายด้วยความถูกต้องตาม
หลักวิชาการ จรรยาบรรณ และลิขสิทธิ์ 
(3) ฝึกให้ผู้เรียนปฏิบัติตนและวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

1.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ผลงานวิชาการและกิจกรรมมีเนื้อหาถูกต้อง ลึกซึ้ง และประณีต 
(2) ผลงานวิชาการเป็นผลงานสร้างสรรค์ ไม่ละเมิดผลงานผู้อื่นและตนเอง
(3) สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

2. ด้านความรู้
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(1) รู้และเข้าใจศาสตร์และแนวคิดที่สำคัญของรายวิชา สามารถอ่านและแสดงความเข้าใจประยุกต์ใช้ และเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆ
(2) เรียนรู้หรือเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตนเอง 
(3) สามารถสื่อสารความเข้าใจ ความคิดอ่าน หรือแสดงให้เห็นได้ว่าตนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.2 กลยุทธ์การสอน
(1) การแสดงความคิดเห็นด้านวิชาการทั้งจากการโต้ตอบทั่วไป และจากการสอบ
(2) ผลการเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่มีรายวิชาใดที่ผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ
(3) การแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในเวทีต่าง ๆ ได้

2.3 กลยุทธ์การประเมิน
(1) การสอบ
(2) การแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน(3) การจัดให้มีเวที (Forum) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น

3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(1) คิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(2) ใช้กลยุทธ์การเรียนที่เหมาะกับตนเองเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ ปรับทัศนคติหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของตนให้เหมาะสม
(3) เชื่อมโยง ประยุกต์แนวคิดทางทฤษฎี เพื่อนำสู่การปฏิบัติ

3.2 กลยุทธ์การสอน
(1) ฝึกให้แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา สถานการณ์จริง และฝึกภาคสนาม
(2) ฝึกให้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning) 

3.3 กลยุทธ์การประเมิน
(1) ผลงานวิชาการที่ได้รับจากการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา สถานการณ์จริง และฝึกภาคสนาม
(2) ผลงานวิชาการที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) มีทัศนคติที่ดีต่อหมู่คณะ และคิดบวก 
(2) ยอมรับความเห็นของส่วนรวม ร่วมมือร่วมใจ เป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดี และรับผิดชอบในผลการกระทำของกลุ่ม            
(3) มีบุคลิกภาพ และความมีเหตุผล เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมงาน หรืออาจารย์

4.2 กลยุทธ์การสอน
(1) การจัดให้มีกิจกรรมกลุ่มทั้งกลุ่มวิชาการและกลุ่มกิจกรรมทั่วไป เพื่อฝึกการสร้างทัศนคติที่ดีและการคิดบวกต่อกันและต่อส่วนรวม การเป็นผู้นำและผู้ตาม บุคลิกภาพและความมีเหตุผล

4.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) การจัดให้มีสัปดาห์วิชาศึกษาทั่วไป เพื่อให้มีการนำเสนอผลงานของกิจกรรมกลุ่ม

5. ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) ใช้ภาษาอังกฤษและไทยเพื่อการเรียนและการสื่อสารทางวิชาการ
(2) ตีความหมายของข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ
(3) นำเครื่องมือ สื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการเรียนและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 กลยุทธ์การสอน
(1) การจัดให้มีเวที (Forum) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น
(2) การจัดให้มีนิทรรศการ 

5.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ผลงานจากการแสดงในวันสัปดาห์วิชาการศึกษาทั่วไป ที่ประกอบด้วยเวทีแสดงความคิดเห็น และนิทรรศการ

การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน มาตรฐานผลการเรียนรู้ของหมวดวิชาเฉพาะ
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(1) ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้ตามและ ผู้นำที่ดี สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถลำดับความสำคัญและแก้ไขข้อขัดแย้ง
(3) เคารพกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(4) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการควบคุมจราจรทางอากาศต่อบุคคล องค์กรและสังคม
(5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.2 กลยุทธ์การสอน
(1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น เป็นต้น
(2) นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นสมาชิกกลุ่มและผู้นำกลุ่ม
(3) อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เล่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม 

1.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและไม่คัดลอกงานจากผู้อื่น
(2) ประเมินจากการมีวินัย และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
(3) ประเมินจากพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

2. ด้านความรู้
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
(2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา และใช้หลักปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ
(3) สามารถบูรณาการความรู้ด้านการควบคุมจราจรทางอากาศที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ  
(4) สามารถชี้แจงปัญหา และการแก้ไขปัญหาพร้อมคำสั่งที่ถูกต้องอย่างชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้องในการบริการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ
(5) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุงระบบการจัดการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศตรงตามข้อกำหนด ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการด้านการควบคุมจราจรทาง อากาศที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

2.2 กลยุทธ์การสอน
(1) ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์   ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
(2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
(3) ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ

2.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) การทดสอบย่อย
(2) การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการจำลอง (Simulator)
(3) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(4) ประเมินจากรายงาน โครงการหรือโครงงานที่นักศึกษาจัดทำและนำเสนอในชั้นเรียน 
(5) ประเมินจากรายงานวิชาสหกิจศึกษา

3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
(1) มีแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณรอบคอบ สามารถรวบรวมข้อมูล อย่างมีระบบให้เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ
(2) สามารถศึกษา วิเคราะห์ความต้องการและสรุปประเด็นปัญหา พร้อมกับวิธีแก้ไขปัญหา
(3) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์
(4) มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

3.2 กลยุทธ์การสอน
(1) ใช้กรณีศึกษา
(2) ใช้การอภิปรายกลุ่ม
(3) ใช้การปฏิบัติจริง

3.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
(2) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือการสัมภาษณ์ เป็นต้น

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) สามารถปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนหลากหลายระดับและหลากหลายวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ของกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงานและผู้นำ
(3) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม รวมทั้งมีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
(4) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

4.2 กลยุทธ์การสอน
(1) ใช้วิธีการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดมีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น
(2) สอนให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
(3) สอนเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไปและภาวะผู้นำ                            

4.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาจากผลสอบภาษาอังกฤษการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
(3) ความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ใช้ในการบริการการควบคุมจราจรทางอากาศ

5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) มีทักษะในการคำนวณตัวเลขระดับความสูง-ต่ำ ความเร็ว และระยะทางในการบริการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ
(2) สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษของเทคนิคการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอในขั้นสูงได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่าง
(3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายข้อมูลอย่างระมัดระวัง และไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น
(4) สามารถผลิตสื่อด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อประกอบการนำเสนอหรือประโยชน์อื่น โดยไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น และมีลิขสิทธ์ถูกต้อง

5.2 กลยุทธ์การสอน
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริงในห้องปฏิบัติการจำลอง (Simulation)
(2) สอนการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษขั้นสูง ศัพท์เทคนิคการบิน และการใช้ดิจิทัลต่างๆ
(3) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
(4) เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์หลักการต่างๆ ในสถานการณ์ที่ผิดไปจากการปฏิบัติงานประจำ

5.3 กลยุทธ์การประเมินผล
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์ และสถิติที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินจากผลสอบภาษาอังกฤษ และการสื่อสารในการฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบการนำเสนอ
(3) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

ผลลัพธ์ของผู้เรียน 3 ด้าน คือ เป็นบุคคลรอบรู้ทางวิชาการ เป็นผู้คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้เพิ่มเติมและความรู้ความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษและด้านทักษะศตวรรษที่ 21 โดยแต่ละรายวิชาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนผ่านสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยหลังจากการออกแบบหลักสูตรและได้รับการอนุมัติหลักสูตรฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว ทางสาขาวิชาฯได้มีการสื่อสารเรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไปยังอาจารย์ผู้สอนของแต่ละรายวิชาผ่านการประชุมภายในของสาขาวิชาฯ อ้างอิงตามตารางแสดงการกระจายน้ำหนักผลลัพธ์การเรียนรู้ในเล่ม มคอ. 2 เพื่อให้อาจารย์แต่ละท่านได้ทำการสอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ได้มีการกำหนดไว้ในหลักสูตร รวมถึงทำให้อาจารย์สามารถจัดการเรียนการสอนได้ง่ายและได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนการสอนภายในหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ พบว่า เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วนั้น สามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผ่านการประเมินของผู้ใช้บัณฑิตหรือนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามกลับมายังคณะ และผลจากการเดินทางมาจัดทำ MOU ของผู้ประกอบการจาก บริษัท Bangkok Flight Service ที่ได้เล็งเห็นถึงความสามารถและทักษะด้านต่างๆ ของนักศึกษาและเชื่อมั่นว่านักศึกษาของสาขาเราสามารถปฏิบัติงานให้แก่องค์กรของตนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าหลักสูตรของเรามีการจัดการเรียนรู้ที่ดี รายวิชาต่าง ๆ มีความทันสมัยและมีความรู้ที่ดี นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังกราฟภาวะการมีงานทำของบัณฑิตสาขาวิชาการควบคุมจราจรทาสงอากาศ ดังนี้

โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนการสอนภายในหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ พบว่า เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วนั้น สามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผ่านการประเมินของผู้ใช้บัณฑิตหรือนายจ้างที่ตอบแบบสอบถามกลับมายังคณะ และผลจากการเดินทางมาจัดทำ MOU ของผู้ประกอบการจาก บริษัท Bangkok Flight Service ที่ได้เล็งเห็นถึงความสามารถและทักษะด้านต่างๆ ของนักศึกษาและเชื่อมั่นว่านักศึกษาของสาขาเราสามารถปฏิบัติงานให้แก่องค์กรของตนได้เป็นอย่างดี จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าหลักสูตรของเรามีการจัดการเรียนรู้ที่ดี รายวิชาต่าง ๆ มีความทันสมัยและมีความรู้ที่ดี นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดีตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังกราฟภาวะการมีงานทำของบัณฑิตสาขาวิชาการควบคุมจราจรทาสงอากาศ ดังนี้

        ภาวะการมีงานทำ ATC ปี 2563 – 2565

หลักฐาน

  1. รายงานการประชุมภายใน เรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  2. ตารางการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  3. Satisfaction of employees to graduates 2023
  4. ภาวะการมีงานทำ ATC ปี 2563 – 2565

1.3 The programme to show that the expected learning outcomes consist of both generic outcomes (related to written and oral communication, problem solving, information technology, teambuilding skills, etc) and subject specific outcomes (related to knowledge and skills of the study discipline).

การดำเนินการ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ  (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) สามารถจำแนกผลการเรียนรู้ที่คาดหวังออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ผลลัพธ์ทั่วไป (Generic Outcomes) ประกอบไปด้วย 

1.1การสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน และเขียน โดยทางสาขาวิชาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการพัฒนานักศึกษามาอย่างเนื่องในเรื่องของการพูดสื่อสาร ฟัง อ่าน และการเขียน เนื่องจากเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน และการทำงานหลังจากจบการศึกษาในอนาคต โดยปลูกฝังให้นักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นของนักศึกษาแต่ละคน ทั้งด้านการพูด ฟัง อ่าน และเขียน ตั้งแต่เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยการจัดการเรียนการสอน Intensive Course เพื่อเป็นการปูพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้ามาศึกษาใหม่ในภาคเรียน Summer และจัดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 – 4 ในระหว่างการศึกษาในชั้นปีที่ 1 และ 2 ของการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ  (หลักสูตรนานาชาติ) ควบคู่ไปกับกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ  โดยนักศึกษาจะได้เรียนและศึกษาภาษาอังกฤษในบริบทต่าง ๆ ที่จำเป็นทั้งในการใช้ชีวิตประจำและการทำงานในสาขาวิชาชีพ 
เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการการพูด ฟัง อ่าน และเขียน  ทักษะการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการสืบค้นข้อมูล และ ทักษะการทำงานเป็นทีม ดังรายละเอียด ดังนี้

  • ด้านการพูด นักศึกษาจะได้นำเสนองานด้วยวาจาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการฝึกด้านการพูด การออกเสียง และพัฒนาสำเนียงด้านการพูดกับอาจารย์ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ 
  • ด้านการฟัง นักศึกษาจะได้ฟังภาษาอังกฤษจากการเรียนการเรียนทั้งจากอาจารย์ชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อเป็นการฝึกฟัง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสื่อสารต่อไป ตามคำสั่งของอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
  • ด้านการอ่าน นักศึกษาจะได้อ่านบทความหรือตำราเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการฝึกด้านการตีความและความเข้าใจของประโยค (Comprehension)
  • ด้านการเขียน  นักศึกษาจะได้เขียนรายงาน บทความ และข้อสอบ เพื่อเป็นการฝึกฝนในการสะกดคำศัพท์และทดสอบความเข้าใจด้านภาษาอังกฤษ ทั้งในชั้นเรียนและในห้องสอบ เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
  • ด้านการแก้ปัญหา นักศึกษาจะได้ฝึกการวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหา เพื่อคิดหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้อย่างสร้างสรรค์ และตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในแต่เหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น

    ปัญหา: นักเรียนไม่สามารถเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
    แนวทางการแก้ปัญหา:
    – สอนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
    – จัดกิจกรรมฝึกใช้โปรแกรมต่างๆ
    – จัดให้มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน
    – เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาบรรยาย
    ตัวชี้วัดผลลัพธ์:
    – นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว
    – นักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ด้านทักษะการทำงานเป็นทีม นักศึกษาจะได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้สอนให้ทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมเพื่อนำเสนอในหัวข้อการเรียนการสอนต่าง ๆ ส่งผลให้นักศึกษาสามารถ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อสารและประสานงานกับสมาชิกในทีมได้เป็นอย่างดี แบ่งปันความคิดและรับฟังผู้อื่น และรับผิดชอบต่อหน้าที่และร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างสมาชิกในทีม ตัวอย่างกิจกรรมเช่น 1. เกมปริศนา: แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันแก้ปริศนา โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนฝึกทักษะการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจ 2. กิจกรรมระดมสมอง: ตั้งคำถามหรือโจทย์ปัญหา ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน 3. โครงการกลุ่ม: มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มทำร่วมกัน เช่น การจัดทำวิดีโอ การเขียนรายงาน หรืองานวิจัย กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนฝึกทักษะการวางแผน การจัดการเวลา การแบ่งงาน การทำงานร่วมกัน และความรับผิดชอบ

2. ผลลัพธ์เฉพาะสาขาวิชา (Specific Outcomes)

2.1 สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้มาตรฐานตามที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน (Specific Outcomes) การเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่กล่าวว่า 1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศและมีทักษะในการใช้งานของอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการจราจรทางอากาศเพื่อสื่อสารให้นักบินสามารถเดินทางจากต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย 2. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะและไหวพริบ ตัดสินใจได้ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบอาชีพในสายงานการควบคุมการจราจรทางอากาศ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินได้  โดยนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในสาขาวิชาฯนี้ จะมีผลลัพธ์เฉพาะด้าน ได้แก่ 

  • ด้านความรู้และความเข้าใจ:
    • หลักการพื้นฐานของการควบคุมจราจรทางอากาศ
    • กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจรทางอากาศ
    • ประเภทของอากาศยานและสมรรถนะของอากาศยานในแต่ละรุ่น
    • เทคโนโลยีที่ใช้ในการควบคุมจราจรทางอากาศ (Radar, AFTN, Satellite, Radiotelephony, Computer, etc.)
    • ภูมิประเทศและอากาศวิทยา
    • ภาษาทางการบิน
    • ระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน
    • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • ด้านทักษะ:
    • การสื่อสารกับนักบินและเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
    • การวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
    • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
    • การทำงานเป็นทีม
    • การจัดการกับความเครียด
    • การสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมรอบตัวและการตื่นตัว
    • การรับรู้สถานการณ์
  • ด้านทักษะเฉพาะทาง:
    • ควบคุมการจราจรทางอากาศบนพื้นดินและในอากาศ
    • วางแผนเส้นทางการบิน
    • แจ้งเตือนนักบินเกี่ยวกับอันตราย
    • ให้ความช่วยเหลือแก่นักบินในกรณีฉุกเฉิน
    • ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบควบคุมจราจรทางอากาศ
    • การควบคุมการปริมาณอากาศยานในพื้นที่ความรับผิดชอบ
    • การจัดลำดับความสำคัญของงาน และอากาศยานที่ควบคุม
    • การจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ตัวอย่างผลลัพธ์เฉพาะสาขาวิชา:
    • นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการพื้นฐานของการควบคุมจราจรทางอากาศได้
    • นักศึกษาสามารถระบุประเภทและสมรรถนะของอากาศยานได้
    • นักศึกษาสามารถสื่อสารกับนักบินและเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจเกี่ยวกับการจราจรทางอากาศได้
    • นักศึกษาสามารถควบคุมการจราจรทางอากาศบนพื้นดินและในอากาศได้
    • นักศึกษาสามารถวางแผนเส้นทางการบินได้
    • นักศึกษาสามารถแจ้งเตือนนักบินเกี่ยวกับอันตรายได้
    • นักศึกษาสามารถให้ความช่วยเหลือแก่นักบินในกรณีฉุกเฉินได้
    • นักศึกษาสามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบควบคุมจราจรทางอากาศได้
    • นักศึกษาสามารถควบคุมการปริมาณอากาศยานในพื้นที่ความรับผิดชอบได้
    • นักศึกษาสามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน และอากาศยานที่ควบคุมได้
    • นักศึกษาสามารถจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้

หลักฐาน

            1. รายวิชาตลอดหลักสูตร

            2. ผลการศึกษา Pre-Test and Post-Test

            3. ผลการเรียนของนักศึกษารายชั้นปี

            4. ผลคะแนนโทอิคนักศึกษาชั้นปีที่ 4

            5. ภาวะการมีงานของบัณฑิต ATC

          

1.4 The programme to show that the requirements of the stakeholders, especially the external stakeholders, are gathered, and that these are reflected in the expected learning outcomes.

การดำเนินการ
สาขาวิชาฯ ดำเนินการตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ สถานประกอบการ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้บรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565 โดยได้ปรับปรุงรายวิชาที่มีอยู่ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้น และปรับลดรายวิชาที่อาจจะไม่จำเป็นและล้าสมัยลง เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอบแข่งขันหรือไปปฏิบัติงานหลังสำเร็จการศึกษาตามคำชี้แนะของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิเช่น รายวิชา 223 116 Airline Ramp Control ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาภายในให้ทันสมัยและนำความรู้เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ระบบ VDGS (Visual Docking Guidance System) รายวิชา 222 407 Airport Operation Management ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี และอุปกรณ์อัตโนมัติในสนามบินเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือการเดินทางได้ถูกต้อง เช่นระบบเช็คอินด้วยเอง ระบบโหลดกระเป๋าอัตโนมัติ ระบบปริ้นบัตรโดยสารด้วยเครื่อง KIOSK รายวิชา 223 226 Radar Approach Control Simulation ได้มีการเพิ่มเติมหาเกี่ยวกับ ระบบ GPS,  RNAV,  GNSS, and Satellite เข้ามาในการเรียนการสอนในการฝึกปฏิบัติ ณ ห้องปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ
สำหรับการนิเทศน์ศึกษาทางสถานประกอบการ และหัวหน้างานได้เสนอแนะให้ทางสาขาวิชาฯ ขยายระยะเวลาการฝึกงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้งานได้อย่างเต็มที่และมีความพร้อมในการปฏิบัติงานจริงหลังจากจบการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะให้ทางสาขาวิชาฯ ดำเนินการเพิ่มเติมรายวิชาที่เกี่ยวกับโดรนเข้ามาบรรจุในหลักสูตรด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน โดรนได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อวงการการบินเพิ่มมากขึ้น ทั้งเชิงพาณิชย์ที่ใช้โดรนในการขนส่ง ทางด้านบรรเทิงที่ใช้โดรนในการถ่ายทำหนังหรือภาพยนต์  และทางด้านการเกษตรที่ใช้โดรนในการฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชหรือว่านเมล็ดข้าว ซึ่งโดรนเหล่านี้อาจจะไปรบกวนพื้นที่ที่ใช้ในการทำการบินได้ ดังนั้น กพท. หรือ กรมการบินพลเรือนระหว่างประเทศ จึงได้ออกกฎหมายข้อบังคับการใช้โดรนออกมา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติและการสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพสินธ์ระหว่างการชนกันของอากาศยานและโดรน ดังนั้น นักศึกษาที่เรียนเกี่ยวข้องกับการควบคุมจราจรทางอากาศ การจัดการการบิน หรืออุตสาหกรรมการบินควรจะรู้กฎระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นให้แก่ตนเองอีกทางหนึ่งด้วย ส่วนในเรื่องด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะเฉพาะทาง นักศึกษาสาขาวิชาควบคุมจราจรทางอากาศสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปปรับใช้ระหว่างการฝึกงานได้เป็นอย่างดี เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีม การวางแผนเส้นทางการบิน การสื่อสารระหว่างรุ่นพี่ เพื่อนร่วมงาน และพนักงานคนอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ที่นักศึกษาพึ่งมีหลักจากจบการศึกษาของหลักสูตร
สาขาวิชาฯ ได้มีการประชุมภายในเกี่ยวกับเรื่องนี้และเห็นสมควรให้มีการบรรจุรายวิชาที่เกี่ยวกับโดรนเข้ามาในหลักสูตรเพิ่มอีก 1 วิชา ในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งถัดไป เพื่อเป็นการเตรียมความรู้และความพร้อมให้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบ และวิธีการใช้โดรนให้ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกันนี้ยังได้ปรึกษาหารือกับอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาควบคุมจราจรทางอากาศทุกท่านเกี่ยวกับารขยายระยะเวลาการฝึกงานออกไปตามข้อเรื่องร้องของสถานประกอบการ โดยการข้อสรุปจากการประชุมในครั้งนี้เห็นควรให้ขยายระยะเวลาการฝึกสหกิจศึกษาออกไปจาก 3 เดือน เป็น 4 เดือน เพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยและเรียนรู้งานกับสถานประกอบการให้เต็มที่และพร้อมปฏิบัติงานเมื่อสำเร็จการศึกษา

หลักฐาน

1. ตารางเปรียบแทบรายวิชาระหว่างหลักสูตรเก่าและหลักสูตรปรัปรุง 2565

2. รายงานการประชุมเรื่องเพิ่มเติมรายวิชาเกี่ยวกับโดรนและการขยายระยะเวลาการฝึกงาน
3. แบบประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษาและข้อเสนอแนะจากสถานประกอบการ

1.5 The programme to show that the expected learning outcomes are achieved by the students by the time they graduate

การดำเนินการ
ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาฯ มีจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาจากสาขาวิชาฯ นี้จำนวน 16 คน และมีบัณฑิตที่มีงานทำแล้ว จำนวน 14 คน ประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 1 คน ยังไม่มีงานทำจำนวน 1 คน (โดยบัณฑิตที่มีงานทำแล้ว จำนวน 9 จาก 14 คน มีงานทำทันทีหลังฝึกปฏิบัติวิชาชีพเสร็จและยังไม่ได้ใบรับรองคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย) ทางสาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามไปยังสถานประกอบการทุกแห่งที่บัณฑิตได้เข้าไปทำงานด้วยหลังสำเร็จการศึกษา จำนวน 14 แห่ง/คน และได้รับความอนุเคราะห์ตอบกลับมาจากสถานประการทั้งหมด 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของบัณฑิตที่จบการศึกษาปีการศึกษา 2565 จากการตอบกลับของสถานประกอบการพบว่ามีอัตราการตอบกลับเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลจากการประเมินจากสถานประกอบการต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. Learning Outcomes 5 Domain มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21
2. Learning Outcome 3 indicator มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22
3. Basic skill in English 21st Learning outcome มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21
รวมค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 4.21 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดี”
โดยจากสถิติตัวเลขการตอบกลับของผู้ใช้บัณฑิต สามารถแปลตีความได้ว่าบัณฑิตสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศมีทักษะและความรู้ที่ครบถ้วนพร้อมปฏิบัติงานหลังจบการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ว่า เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะและไหวพริบ ตัดสินใจได้ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรมและคุณธรรมในการประกอบอาชีพในสายงานการบินและการควบคุมการจราจรทางอากาศ และพร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน

หลักฐาน

                        1. Satisfaction of employees to graduates 2023                        
2. ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
1.1-1รายงานการวิพากย์หลักสูตร
1.1-2Mapping PLOs แต่ละวิชา
1.1-3การประชุมภายในหลักสูตร ATC
1.1-4รายงานการปฐมนิเทศน์นักศึกษา
1.1-5ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
1.1-6TikTok การโปรโมทหลักสูตร
1.1-7โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร
1.2-1รายงานการประชุมภายใน เรื่องผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.2-2ตารางการกระจายน้ำหนักความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.2-3Satisfaction of employees to graduates 2023
1.2-4ภาวะการมีงานทำ ATC ปี 2563 – 2565
1.3-1รายวิชาตลอดหลักสูตร
1.3-2ผลการศึกษา Pre-Test and Post-Test
1.3-3ผลการเรียนของนักศึกษารายชั้นปี
1.3-4ผลคะแนนโทอิคนักศึกษาชั้นปีที่ 4
1.3-5ภาวะการมีงานของบัณฑิต ATC
1.4-1ตารางเปรียบเทียบรายวิชาระหว่างหลักสูตรเก่าและหลักสูตรปรับปรุง 2565
1.4-2รายงานการประชุมเรื่องเพิ่มเติมรายวิชาเกี่ยวกับโดรนและการขยายระยะเวลาการฝึกงาน
1.4-3แบบประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษาและข้อเสนอแนะจากสถานประกอบการ
1.5-1Satisfaction of employees to graduates 2023
1.5-2ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต

Self-Assessment

RequirementsResultScore
1.1 The programme to show that the expected learning outcomes are appropriately formulated in accordance with an established learning taxonomy, are aligned to the vision and mission of the university, and are known to all stakeholders./1
1.2 The programme to show that the expected learning outcomes for all courses are appropriately formulated and are aligned to the expected learning outcomes of the programme./1
1.3 The programme to show that the expected learning outcomes consist of both generic outcomes and subject specific outcomes./1
1.4 The programme to show that the requirements of the stakeholders, especially the external stakeholders, are gathered, and that these are reflected in the expected learning outcomes./1
1.5 The programme to show that the expected learning outcomes are achieved by the students by the time they graduate/1
Overall5

Leave a Reply