Criterion 2 – Programme Structure and Content

Criterion 2 – Programme Structure and Content

Operational Results

AUNQA requirements for Criterion 2
2.1 Transparency

The specifications of the programme and all its courses are shown to be comprehensive, up-to-date, and made available and communicated to all Stakeholders.

Diagnostic questions
  • How are the expected learning outcomes translated into the programme and courses?
  • What information is documented in the programme and course specifications?
  • How are their contents made up-to-date and comprehensive?
  • What is the process for reviewing the programme and courses specifications?
  • How are the programme specifications published and made available (or known) to stakeholders?
2.2 Alignment to learning outcomes

The design of the curriculum is shown to be constructively aligned with achieving the expected learning outcomes.

Diagnostic questions
  • Do the contents of the programme reflect the ELOs?
  • How are teaching and learning methods and student assessment selected to align with achieving the ELOs?
2.3 Stakeholders’ input

The design of the curriculum is shown to include feedback from stakeholders, especially external stakeholders.

Diagnostic questions
  • What are the roles of the stakeholders in the design of the curriculum?
  • What are external stakeholders’ feedback related to the curriculum?
  • How are the feedback incorporated in designing the curriculum?
2.4 Course contribution

The contribution made by each course in achieving the expected learning outcomes is shown to be clear.

Diagnostic questions
  • Does the content of each courses reflect the expected learning outcomes?
  • How are the expected LOs allocated to the courses?
  • How do the CLOs of each courses contribute to achieving PLOs?
2.5 Courses progression

The curriculum is required to show that all its courses are logically structured, properly sequenced (progression from basic to intermediate to specialized courses), and are integrated.

Diagnostic questions
  • How are the courses logically structured and sequenced (progression from basic to advanced courses)?
  • How are the courses integrated?
  • Is there a logical relationship among the basic courses, intermediate courses and advanced courses? What is it?
2.6 Curriculum options

The curriculum is shown to have option(s) for students to pursue major and/or minor specializations.

Diagnostic questions
  • How does the programme offer major and minor specialisations?
  • Is there a proper balance between the specific and general courses?
  • What is the explanation for the programme structure?
2.7 Curriculum review and improvement

The programme and its curriculum is reviewed periodically following an established procedure and that it remains up-to-date and relevant to industry.

Diagnostic questions
  • What is the procedure for periodical review of the curriculum?
  • How are the programme and courses evaluated? Is the evaluation systematic?
  • How are the academic staff and students involved in evaluating the curriculum and courses?
  • How are the programme and curriculum revised to remain up-to-date and industrial relevant? Is the external stakeholders involved?
  • Is benchmarking used in the review and revision of the curriculum? What benchmark?
Scoring for TRSU QA
TRSU-QA score12345
Items showing
QA practice
1 item2-3 items4-5 items6 items6 items + 2.7
AUNQA scoring rubrics

A seven-point rating scale used for AUNQA assessment is described below.

1. Absolutely inadequate

The QA practice to fulfil the criterion is not implemented
There are no plans, documents, evidences or results available. 
Immediate improvement must be made.

2. Inadequate and improvement is necessary

The QA practice to fulfil the criterion is still at its planning stage or is inadequate where improvement is necessary. 
There is little document or evidence available. 
Performance of the QA practice shows little or poor results.

3. Inadequate but minor improvement will make it adequate

The QA practice to fulfil the criterion is defined and implemented but minor improvement is needed to fully meet them. Documents are available but no clear evidence to support that they have been fully used. Performance of the QA practice shows inconsistent or some results.

4. Adequate as expected

The QA practice to fulfil the criterion is adequate and evidences support that it has been fully implementedPerformance of the QA practice shows consistent results as expected.

5. Better than adequate

The QA practice to fulfil the criterion is better than adequate. Evidence supports that it (the QA practice) has been efficiently implemented. Performance of the QA practice shows good results and positive improvement trend.

6. Example of best practice

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be example of best practices in the field. Evidences support that it has been effectively implemented
Performance of QA practice shows very good results and positive improvement trend.

7. Excellent (example of world-class or leading practice)

The QA practice to fulfil the criterion is considered to be excellent or is an example of world-class practices in the field. Evidences support that it has been innovatively implemented. 
Performance of the QA practice shows excellent results and outstanding improvement trends.

Guide to writing a self-assessment report (SAR)
  • The report is the account of the self-assessment. It is not only descriptive but also analytical. It identifies and evaluates the problems and also provides an indication of how the problems identified will be dealt with. (Use the diagnostic questions provided in each of the AUN-QA criteria to do this.)
  • Illustrate clearly what, where, when, who, and how the QA mechanisms or instruments are implemented and managed to fulfil the criteria. This will help to piece all related information together.
  • Focus on information and data (objective evidences) that directly address the criteria. The report has to be concise and factual. Provide trends and statistics to show achievement and performance.
What is the QA practice to fulfil the criterion?

Quality assurance practice should mean QA plan that evaluates and/or modifies organization’s procedures to ensure that they provide the desired results. The QA plan documents the planning, implementation and assessment procedures for a project, process or any QA activity.
The QA plan should provide information about some or all of the following.

  • An overview of the project or process describing background, need, scope, activities, and deadlines;
  • Quality objectives to be attained (for example, characteristics, effectiveness, cycle time, cost, etc.);
  • Steps in the process that constitute the operating practice or procedures of the organization;
  • Allocation of responsibilities, authority, and resources for different phases of the project/process;
  • Specific document describing standards, practices, procedures, and instructions to be applied;
  • Suitable testing, inspection, examination, and audit programs at appropriate stages;
  • A documented procedure for changes and modifications to a quality plan as a process is improved;
  • A method for measuring the achievement of the quality objectives;

    (Source: https://asq.org/quality-resources/quality-plans)

2.1 The specifications of the programme and all its courses are shown to be comprehensive, up-to-date, and made available and communicated to all stakeholders.

การดำเนินการ

สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินโดยตรง
ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์หลักของประเทศไทย และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งประเทศไทยมีแนวนโยบายในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต หรือ New S curve ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุดบนพื้นฐานของประเทศไทยกอปรไปด้วย 1)  อุตสาหกรรมหุ่นยนต์  2)  อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3)  อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ  4)  อุตสาหกรรมดิจิตอล และ 5)  อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ประจำปีการศึกษา 2565 – 2570 และออกแบบรายวิชาให้ครอบคลุม ทั้งการให้บริการการควบคุมจราจรทางอากาศ การให้บริการภาคพื้น การให้บริการหลุมจอด การให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ และรายวิชาต่าง ๆ ดังนี้

  1. ปรับเนื้อหาวิชาเพื่อให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสม จำนวน 8 วิชา

1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 6 รายวิชา ได้แก่

223 104 กฎหมายด้านการบิน 3(3-0-6)

223 105 กฎจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 106 การบริการจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 111 การให้บริการข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

223 114 มนุษยปัจจัยในการควบคุมจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 116 การบริหารหลุมจอดสายการบิน 3(3-0-6)

1.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 222 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศ 8(0-16-8)

1.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 326 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน 3(3-0-6)

  1. การปรับจำนวนหน่วยกิต เนื่องจากเนื้อหามีความสำคัญ

2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

223 107 หลักการบิน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

223 116 การบริหารหลุมจอดสายการบิน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

2.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

223 323 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

223 326 น้ำหนักและควบคุมความสมดุลของอากาศยาน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

  1. ยกเลิกรายวิชาที่มีเนื้อหาและผลลัพธ์การเรียนรู้ใกล้เคียงกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการบิน จำนวน 4 รายวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนร่วมกันได้ ได้แก่

3.1 กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ

223 201 ภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน 1 3(3-0-6)

เป็นวิชา 222 201 ภาษาอังกฤษการบิน 3(3-0-6)

223 203 ระบบการจัดการและปฏิบัติการท่าอากาศยาน 3(3-0-6)

เป็นวิชา 222 407 การจัดการท่าอากาศยาน 3(3-0-6)

223 208 อุตุนิยมวิทยาการบิน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 233 304 อุตุนิยมวิทยาทางการบิน 3(3-0-6)

223 210 การเดินอากาศ 2(2-0-4)

         เป็นวิชา 233 201 การเดินอากาศและการสื่อสาร 3(3-0-6)

  1. ยกเลิกและนำเนื้อหาวิชาไปรวมกับวิชาอื่น จ านวน 5 รายวิชา ได้แก่

4.1 กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ จ านวน 4 รายวิชาได้แก่

223 204 กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 209 องค์การการบินพลเรือน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 104 กฎหมายด้านการบิน 3(3-0-6)

223 211 การสื่อสารและการกำหนดชื่อย่อของสนามบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 212 การจัดการข้อมูลข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

เป็นวิชา 223 111 การให้บริการข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

223 215 การวางแผนการบิน 2(2-0-4) น าเนื้อหาวิชาไปรวมกับ

223 406 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 326 น้ าหนักและการควบคุมความสมดุลของ
อากาศยาน 3(3-0-6)

223 213 นิรภัยและการรักษาความปลอดภัยการบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 404 ระบบการจัดการความปลอดภัย 2(2-0-4)

เป็นวิชา 222 213 นิรภัยการบิน 3(3-0-6)

4.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 402 การบินและสิ่งแวดล้อม 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 403 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 323 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

  1. การยกเลิก 2 รายวิชาเพื่อให้หลักสูตรมีความกระชับ

5.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 202 ภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน 2 3(3-0-6)

5.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 408 การจัดการสายการบินและสินค้า 2(2-0-4)

  1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างชั่วโมงการเรียนการสอน จ านวน 4 รายวิชา ได้แก่

6.1 กลุ่มวิชาชีพบังคับ

223 222 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศสนามบิน

จากเดิม 8(0-24-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 8(0-16-8)

223 224 ปฏิบัติการจ าลองการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

223 226 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออกสนามบินด้วยเรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

223 228 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน  และตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ  ช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต โดยเนื้อหาในหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่จะเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21   เช่น   ทักษะการคิดวิเคราะห์   ทักษะการแก้ปัญหา   ทักษะการสื่อสาร   ทักษะการทำงานเป็นทีม   ทักษะการคิดสร้างสรรค์   และทักษะการใช้เทคโนโลยี เน้นใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย ผสมผสานการเรียนรู้ในชั้นเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการเรียนรู้แบบออนไลน์ ช่วยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น พร้อมทั้งเน้นการพัฒนาด้านบุคลิกภาพของนักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม   จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขในสังคมยุคปัจจุบัน

ภายหลังจากจากการปรับปรุงหลักสูตรและผ่านการเห็นชอบจาก สป.อ.ว. แล้ว ทางสาขาวิชาฯ ได้สื่อสารให้กับคณาจารย์ผู้รับผิดหลักสูตรทุกท่านทราบผ่านการประชุมภายในของสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศ สื่อสารให้กับนักศึกษาทุกชั้นปีทราบผ่านการปฐมนิเทศน์และชั่วโมงของการพบที่ปรึกษาประจำสัปดาห์ สื่อสารให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาทุกท่านทราบผ่านการประชุมโปรโมทหลักสูตรของทางมหาวิทยาลัยฯ สื่อสารให้กับอาจารย์แนะแนวทั่วทั้งประเทศรับทราบเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯ ผ่านโครงการ Open House ของคณะครูจาก กทม. ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสื่อสารให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และผู้ปกครองทั่วประเทศให้ทราบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ และPlatform โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของทางสาขาวิชาฯ อาทิ Facebook Instragram และ Tiktok เพื่อโปรโมทสาขาวิชาฯและหลักสูตรให้ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต่อเข้ามาสมัครและทำการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป            จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ทางสาขาวิชาฯ ร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ จึงมีความพร้อมเป็นอย่างสูงในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เพื่อส่งออกสู่ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมการบินของไทย และเมื่อทำการตรวจเทียบเคียงหลักสูตรของสาขาวิชานี้กับหลักสูตรอื่น พบว่ายังมีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันเหมือนกัน

หลักฐาน

  1. การเทียบเคียงรายวิชาที่เปิดสอนกับหลักสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกัน
  2. ภาคผนวก ซ. ตารางเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเดิม พ.ศ. 2560 กับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
  3. กำหนดการ Open House ของคณะครูแนะแนวทั่วประเทศ
  4. ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
  5. Tiktok การโมทหลักสูตร
  6. โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร

2.2 The design of the curriculum is shown to be constructively aligned with achieving the expected learning outcomes.

การดำเนินการ

สาขาวิชาฯ ได้ออกแบบหลักสูตรให้เป็นการบูรณาการเนื้อหารายวิชาต่างๆ กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้ง 5 ด้าน กล่าวคือ การเรียนในเนื้อหาแต่ละรายวิชา สามารถวัดผล ประเมินผลผลการเรียนรู้ ทั้งในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแต่ละรายวิชา ได้ระบุผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ไว้ใน มคอ.5 ร่วมกับการส่งผลการเรียนในแต่ละรายวิชาเข้าไปในระบบส่วนกลางของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบของทางคณะกรรมการ ผู้บริหาร และการเข้าถึงข้อมูลของนักศึกษาเพื่อเช็คผลการเรียนของแต่ละภาคการศึกษา โดยหลักสูตรได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่ระบุไว้ในหลักสูตร โดยผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสำหรับสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 2 หมวดวิชา ได้แก่

  1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม

1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

(1) เสียสละ ทุ่มเท มุมานะในการเรียน แบ่งเวลาเรียนกับเวลาส่วนตนได้อย่างเหมาะสม

 (2) ยอมรับเงื่อนไขและกฎระเบียบเชิงวิชาการ

 (3) ปฏิบัติตนตามระเบียบทางสังคม และสื่อสารในสังคมอย่างมีมารยาท

1.2 กลยุทธ์การสอน 

(1) ฝึกให้ผู้เรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ได้ผลงานวิชาการและกิจกรรมที่เนื้อหาถูกต้อง ลึกซึ้ง และประณีต

(2) ฝึกให้ผู้เรียนสร้างผลงานวิชาการที่ได้รับมอบหมายด้วยความถูกต้องตามหลักวิชาการ
จรรยาบรรณ และลิขสิทธิ์  

(3) ฝึกให้ผู้เรียนปฏิบัติตนและวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะทั้งในห้องเรียนและ
นอกห้องเรียน

1.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ผลงานวิชาการและกิจกรรมมีเนื้อหาถูกต้อง ลึกซึ้ง และประณีต 

(2) ผลงานวิชาการเป็นผลงานสร้างสรรค์ ไม่ละเมิดผลงานผู้อื่นและตนเอง

(3) สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

2.ด้านความรู้

2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

(1) รู้และเข้าใจศาสตร์และแนวคิดที่สำคัญของรายวิชา สามารถอ่านและแสดงความเข้าใจประยุกต์ใช้ และเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆ

(2) เรียนรู้หรือเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตนเอง 

(3) สามารถสื่อสารความเข้าใจ ความคิดอ่าน หรือแสดงให้เห็นได้ว่าตนสามารถบรรลุผล
การเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.2 กลยุทธ์การสอน

(1) การแสดงความคิดเห็นด้านวิชาการทั้งจากการโต้ตอบทั่วไป และจากการสอบ

(2) ผลการเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่มีรายวิชาใดที่ผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ

(3) การแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในเวทีต่าง ๆ ได้

2.3 กลยุทธ์การประเมิน

(1) การสอบ

(2) การแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน

(3) การจัดให้มีเวที (Forum) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น

3.ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(1) คิดวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ

(2) ใช้กลยุทธ์การเรียนที่เหมาะกับตนเองเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ ปรับทัศนคติหรือ
เปลี่ยนพฤติกรรมของตนให้เหมาะสม

(3) เชื่อมโยง ประยุกต์แนวคิดทางทฤษฎี เพื่อนำสู่การปฏิบัติ

3.2 กลยุทธ์การสอน

(1) ฝึกให้แก้ปัญหาจากกรณีศึกษา สถานการณ์จริง และฝึกภาคสนาม

(2) ฝึกให้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning) 

3.3 กลยุทธ์การประเมิน

(1) ผลงานวิชาการที่ได้รับจากการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา สถานการณ์จริง และฝึกภาคสนาม

(2) ผลงานวิชาการที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง

4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

(1) มีทัศนคติที่ดีต่อหมู่คณะ และคิดบวก 

(2) ยอมรับความเห็นของส่วนรวม ร่วมมือร่วมใจ เป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดี และรับผิดชอบใน
ผลการกระทำของกลุ่ม            

(3) มีบุคลิกภาพ และความมีเหตุผล เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมงาน หรืออาจารย์

4.2 กลยุทธ์การสอน

(1) การจัดให้มีกิจกรรมกลุ่มทั้งกลุ่มวิชาการและกลุ่มกิจกรรมทั่วไป เพื่อฝึกการสร้างทัศนคติที่ดีและการคิดบวกต่อกันและต่อส่วนรวม การเป็นผู้นำและผู้ตาม บุคลิกภาพและความมีเหตุผล

4.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) การจัดให้มีสัปดาห์วิชาศึกษาทั่วไป เพื่อให้มีการนำเสนอผลงานของกิจกรรมกลุ่ม

5.ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(1) ใช้ภาษาอังกฤษและไทยเพื่อการเรียนและการสื่อสารทางวิชาการ

(2) ตีความหมายของข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ

(3) นำเครื่องมือ สื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการเรียนและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 กลยุทธ์การสอน

(1) การจัดให้มีเวที (Forum) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น

(2) การจัดให้มีนิทรรศการ 

5.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ผลงานจากการแสดงในวันสัปดาห์วิชาการศึกษาทั่วไป ที่ประกอบด้วยเวทีแสดงความคิดเห็น และนิทรรศการ

  1. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน มาตรฐานผลการเรียนรู้ของหมวดวิชาเฉพาะ

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม

1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

(1)  ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

(2)  มีวินัย ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้ตามและ ผู้นำที่ดี สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถลำดับความสำคัญและแก้ไขข้อขัดแย้ง

(3)  เคารพกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม เคารพสิทธิและรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น

(4)  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการควบคุมจราจรทางอากาศต่อบุคคล องค์กรและสังคม

(5)  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.2 กลยุทธ์การสอน

(1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้น
การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น เป็นต้น

(2) นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นสมาชิกกลุ่มและผู้นำกลุ่ม

(3) อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้ง
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เล่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ
ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม

1.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
ที่มอบหมายและไม่คัดลอกงานจากผู้อื่น

(2) ประเมินจากการมีวินัย และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

(3) ประเมินจากพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

2.ด้านความรู้

2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

(1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา

(2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา และใช้หลักปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาทางด้านการควบคุมจราจร
ทางอากาศ

(3) สามารถบูรณาการความรู้ด้านการควบคุมจราจรทางอากาศที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ 

(4) สามารถชี้แจงปัญหา และการแก้ไขปัญหาพร้อมคำสั่งที่ถูกต้องอย่างชัดเจนกับผู้เกี่ยวข้อง
ในการบริการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ

(5) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุงระบบการจัดการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ
ตรงตามข้อกำหนด ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการด้านการควบคุมจราจร
ทางอากาศที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

2.2 กลยุทธ์การสอน

(1) ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง

(2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง

(3) ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ

2.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) การทดสอบย่อย

(2) การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการจำลอง (Simulator)

(3) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

(4) ประเมินจากรายงาน โครงการหรือโครงงานที่นักศึกษาจัดทำและนำเสนอในชั้นเรียน

(5) ประเมินจากรายงานวิชาสหกิจศึกษา

3.ด้านทักษะทางปัญญา

3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

(1) มีแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณรอบคอบ สามารถรวบรวมข้อมูล อย่างมีระบบให้เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ

(2) สามารถศึกษา วิเคราะห์ความต้องการและสรุปประเด็นปัญหา พร้อมกับวิธีแก้ไขปัญหา

(3) สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

(4) มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

3.2 กลยุทธ์การสอน

(1) ใช้กรณีศึกษา

(2) ใช้การอภิปรายกลุ่ม

(3) ใช้การปฏิบัติจริง

3.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา

(2) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือ
การสัมภาษณ์ เป็นต้น

4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(1) สามารถปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนหลากหลายระดับและหลากหลายวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ของกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงานและผู้นำ

(3) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม รวมทั้งมีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

(4) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

4.2 กลยุทธ์การสอน

(1) ใช้วิธีการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดมีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม
การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น

(2) สอนให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

(3) สอนเรื่องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไปและภาวะผู้นำ               

4.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาจากผลสอบภาษาอังกฤษการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน

(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ

(3) ความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ใช้ในการบริการการควบคุมจราจรทางอากาศ

5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(1) มีทักษะในการคำนวณตัวเลขระดับความสูง-ต่ำ ความเร็ว และระยะทางในการบริการด้าน
การควบคุมจราจรทางอากาศ

(2) สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษของเทคนิคการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอในขั้นสูงได้อย่างเหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่าง

(3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การแปลความหมายข้อมูลอย่างระมัดระวัง และไตร่ตรองในการแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่น

 (4) สามารถผลิตสื่อด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อประกอบการนำเสนอหรือประโยชน์อื่น
โดยไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น และมีลิขสิทธ์ถูกต้อง

5.2 กลยุทธ์การสอน

(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง
และสถานการณ์เสมือนจริงในห้องปฏิบัติการจำลอง (Simulation)

(2) สอนการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษขั้นสูง ศัพท์เทคนิคการบิน และการใช้ดิจิทัลต่างๆ

(3) นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

(4) เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์หลักการต่างๆ ในสถานการณ์ที่ผิดไปจากการปฏิบัติงานประจำ

5.3 กลยุทธ์การประเมินผล

(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์ และสถิติที่เกี่ยวข้อง

(2) ประเมินจากผลสอบภาษาอังกฤษ และการสื่อสารในการฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจร
ทางอากาศ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบการนำเสนอ

(3) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน

และมีความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษาต่อนักศึกษารายชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1

(1) มีความรับผิดชอบและบุคลิกภาพที่ดี สามารถแสดงออกในการติดต่อสื่อสารได้ถูกต้องและ เหมาะสมในสังคม

(2) มีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษด้านการพูด การฟัง การเขียน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในชั้น เรียนที่สูงขึ้นต่อไปการเรียนในหลักสูตร และศัพท์เทคนิคทางด้านการบิน

(3) สามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ในห้องฝึกปฏิบัติการควบคุมจราจรทางอากาศ

(4) มีความรู้พื้นฐานทั่วไปด้านกฎการจราจรทางอากาศ เพื่อนำไปใช้และปฏิบัติในการให้การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ รวมถึงระบบการจัดการท่าอากาศยานซึ่งมีความสัมพันธ์กับการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน

ชั้นปีที่ 2

(1) สามารถอ่าน เข้าใจและตีความภาษาอังกฤษที่มีความยาวและซับซ้อนมากขึ้น เขียนรายงาน และ นำเสนอได้ถูกต้องตามระบบ

(2) มีความรู้พื้นฐานด้านการให้บริการข่าวสารการบิน และอุตุนิยมวิทยาทางด้านการบิน เพื่อให้บริการอากาศยาน ใช้ในการเดินอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

(3) มีความรู้เรื่องพื้นฐานและทฤษฎีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการการควบคุมจราจรทางอากาศ
แก่อากาศยานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

(4) สามารถให้การปฏิบัติในการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานในการขึ้น-ลง บริเวณ สนามบินและอากาศยานเข้า-ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์ในห้องฝึกปฏิบัติการจำลองควบคุมได้ อย่างถูกต้องและตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ICAO กำหนด

ชั้นปีที่ 3 

(1) มีความรู้เรื่องกฎหมายด้านการบิน ว่าด้วยบุคลากรที่จะดำเนินการด้านการบิน อาทิ นักบิน เจ้าหน้าที่การควบคุมจราจรทางอากาศ และเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาอากาศยาน และกฎหมายการ บินว่าด้วยการกระทำความผิดด้านอาญาทางด้านการบิน อาทิ การจี้อากาศยาน การวางระเบิด อากาศยาน การก่อวินาศกรรมอากาศยาน

(2) มีความรู้และเข้าใจในพื้นฐานด้านมนุษยปัจจัย ที่มีผลต่อบุคคลที่จะเข้าสู่สายงานด้านการ ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาด และเป็นอันตรายต่อการ เดินอากาศ ตามข้อกำหนดของ ICAO ที่ระบุไว้ใน ANNEX1

(3) มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับนิรภัยการบิน และการบริการหลุมจอดสายการบิน เพื่อความปลอดภัย ขณะให้บริการในลานจอดและพื้นที่ขับเคลื่อนบริเวณสนามบิน ตามข้อกำหนดของสนามบินได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด

(4) มีความรู้พื้นฐานทฤษฎี และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออก สนามบินด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ โดยฝึกปฏิบัติการจำลอง

ชั้นปีที่ 4

(1) สามารถปฏิบัติงานการให้บริการการควบคุมจราจรทางอากาศแก่อากาศยานเข้า-ออกสนามบิน ด้วยเรดาร์และไม่ใช้เรดาร์ รวมถึงการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์ ได้ อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานตามที่ ICAO กำหนด

(2) มีทักษะประสบการณ์กับงานอาชีพด้านการบินจริงจากการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษานอก หน่วย ณ สถานประกอบการจริงโดยสามารถนำเสนอและรายงานการฝึกปฏิบัติทั้งด้วยวาจาและ เอกสารเป็นรูปเล่มตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้อย่างถูกต้อง

(3) มีทักษะด้านวิชาชีพจากการฝึกประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการสมัครสอบแข่งขันเข้าสู่ อาชีพงานด้านการบินต่อไป

ซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละด้านทั้งทั้งจากหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษาต่อนักศึกษาจะสะท้อนออกมาในรูปการวัดผลโดยใช้เกณฑ์ผลคะแนนในการให้คะแนนเป็นตัวกำหนดคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาแต่ละคน ดังกราฟแสดงผลคะแนนการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศชั้นปีที่ 1- 4 ด้านล่าง

ผลคะแนนการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศชั้นปีที่ 1- 4

หลักฐาน

  1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตลอดหลักสูตร น.23
  2. ภาคผนวก ก. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
  3. ผลคะแนนการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศชั้นปีที่ 1- 4 รายบุคคล
  4. TQF 5

2.3 The design of the curriculum is shown to include feedback from stakeholders, especially external stakeholders.

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเมื่อสิ้นสุดปีที่ 4 ของการใช้หลักสูตร จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่น ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน สถานประกอบการที่รับบัณฑิตเข้าทำงานหรือผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์ประจำหลักสูตร  ร่วมกับข้อมูลใหม่ๆที่ทันสมัยมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและแต่ละรายวิชามีข้อมูลใหม่ๆที่อัพเดต เพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและสอดคล้องกับคำแนะนำของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลักสูตร

โดยตัวแทนศิษย์เก่าของสาขาวิชาฯ ได้เสนอแนะให้สาขาวิชาฯ ดำเนินการปรับรายวิชาที่ไม่ทันสมัยออก พร้อมทั้งอัพเดตเนื้อหาในรายวิชาให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่นักศึกษาในอนาคตที่จะเข้ามาศึกษาต่อในสาขาวิชาฯนี้ ซึ่งทางสาขาวิชาฯ ได้นำข้อเสนอแนะนี้มาปรับปรุงเรียบร้อยแล้วตามคำแนะนำของศิษย์เก่า โดยได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565 ดังนี้

1.ปรับเนื้อหาวิชาเพื่อให้ครอบคลุมและมีความเหมาะสม จำนวน 8 วิชา

1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 6 รายวิชา ได้แก่

223 104 กฎหมายด้านการบิน 3(3-0-6)

223 105 กฎจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 106 การบริการจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 111 การให้บริการข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

223 114 มนุษยปัจจัยในการควบคุมจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

223 116 การบริหารหลุมจอดสายการบิน 3(3-0-6)

1.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 222 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศ 8(0-16-8)

1.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 326 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน 3(3-0-6)

2.การปรับจำนวนหน่วยกิต เนื่องจากเนื้อหามีความสำคัญ

2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

223 107 หลักการบิน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

223 116 การบริหารหลุมจอดสายการบิน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

2.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

223 323 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

223 326 น้ำหนักและควบคุมความสมดุลของอากาศยาน จากเดิม 2(2-0-4)

ปรับเปลี่ยนเป็น 3(3-0-6)

3.ยกเลิกรายวิชาที่มีเนื้อหาและผลลัพธ์การเรียนรู้ใกล้เคียงกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการบิน จำนวน 4 รายวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนร่วมกันได้ ได้แก่

3.1 กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ

223 201 ภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน 1 3(3-0-6)

เป็นวิชา 222 201 ภาษาอังกฤษการบิน 3(3-0-6)

223 203 ระบบการจัดการและปฏิบัติการท่าอากาศยาน 3(3-0-6)

เป็นวิชา 222 407 การจัดการท่าอากาศยาน 3(3-0-6)

223 208 อุตุนิยมวิทยาการบิน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 233 304 อุตุนิยมวิทยาทางการบิน 3(3-0-6)

223 210 การเดินอากาศ 2(2-0-4)

เป็นวิชา 233 201 การเดินอากาศและการสื่อสาร 3(3-0-6)

4.ยกเลิกและนำเนื้อหาวิชาไปรวมกับวิชาอื่น จ านวน 5 รายวิชา ได้แก่

4.1 กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ จ านวน 4 รายวิชาได้แก่

223 204 กฎหมายและข้อก หนดเกี่ยวกับการบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 209 องค์การการบินพลเรือน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 104 กฎหมายด้านการบิน 3(3-0-6)

223 211 การสื่อสารและการกำหนดชื่อย่อของสนามบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 212 การจัดการข้อมูลข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

เป็นวิชา 223 111 การให้บริการข่าวสารการบิน 3(3-0-6)

223 215 การวางแผนการบิน 2(2-0-4) นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ

223 406 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 326 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน 3(3-0-6)

223 213 นิรภัยและการรักษาความปลอดภัยการบิน 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 404 ระบบการจัดการความปลอดภัย 2(2-0-4)

เป็นวิชา 222 213 นิรภัยการบิน 3(3-0-6)

4.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 402 การบินและสิ่งแวดล้อม 2(2-0-4)

นำเนื้อหาวิชาไปรวมกับ 223 403 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ 2(2-0-4)

เป็นวิชา 223 323 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)

5.การยกเลิก 2 รายวิชาเพื่อให้หลักสูตรมีความกระชับ

5.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 202 ภาษาอังกฤษเทคนิคการบิน 2 3(3-0-6)

5.2 กลุ่มวิชาชีพเลือก จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่

223 408 การจัดการสายการบินและสินค้า 2(2-0-4)

6.การปรับเปลี่ยนโครงสร้างชั่วโมงการเรียนการสอน จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่

6.1 กลุ่มวิชาชีพบังคับ

223 222 ปฏิบัติการจ าลองการควบคุมจราจรทางอากาศสนามบิน

จากเดิม 8(0-24-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 8(0-16-8)

223 224 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

223 226 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศเข้า-ออกสนามบินด้วยเรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

223 228 ปฏิบัติการจำลองการควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์

จากเดิม 5(0-15-0) ปรับเปลี่ยนเป็น 5(0-10-5)

ศิษย์ปัจจุบันของสาขาวิชาฯ กล่าวว่า อยากให้ทางหลักสูตรดำเนินการจัดหาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสอนในบางรายวิชา เพื่อมความรู้และความเข้าใจในรายวิชานั้น ๆ ทางสาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาเรียบร้อยแล้ว โดยการเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินจากภายนอกมาบรรยายร่วมอาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยฯ อาทิ อาจารย์ ปรีชา สุขชัย อาจารย์จินตวัชร เพชรเรียง อาจารย์ ดร. ประพนธ์ จิตตะปุตตะ เป็นต้น เพื่อเป็นการแชร์ประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงาน กล่าวว่า อยากให้ทางสาขาวิชาฯ ดำเนินการจัดเรียนการสอนโดยใช้โค้ดของ IATA ควบคู่ไปกับ ICAO ด้วย เนื่องจากทางด้านการบินมีตัวย่อหรือโค้ดย่อจำนวนมาก
จึงอยากเสนอแนะให้ทางหลักสูตรดำเนินการจัดการเเรียนการสอนเรื่องตัวย่อหรือโค้ดย่อควบคู่กันไปด้วยกันระหว่าง IATA Codes และ ICAO Codes เพราะปัจจุบันทางสาขาวิชาฯ ดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้โค้ดของ ICAO เป็นหลัก ทำให้นักศึกษาที่เขามาฝึกปฏิบัติวิชาชีพไม่ค่อยมีความคุ้นชินเรื่องตัวย่อหรือโค้ดย่อของ IATA มากนัก ส่งผลให้เวลาทำงานอาจเกิดความล่าช้าได้ เนื่องจากต้องกลับไปเปิดตำราเรียน หรือหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมก่อนการปฏิบัติงาน ทางสาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานเรียบร้อยแล้ว โดยการปรับเนื้อหาในรายวิชาต่าง ๆ ที่ต้องใช้โค้ดหรือตัวย่อในการเรียนการสอน ให้อาจารย์ผู้สอนใช้ทั้ง IATA Codes และ ICAO Codes ในระหว่างการเรียนการสอนด้วย อาทิ รายวิชา Airport Operations Management, Aeronautical Information Service, and Aerodrome Control Service, Aircraft Weight and Balance Control เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และสร้างความเคยชินให้แก่นักศึกษาในการใช้งานเมื่อต้องไปฝึกปฎิบัติงานหรือปฏิบัติงานในสถานที่จริง

สถานประกอบการที่รับบัณฑิตเข้าทำงานหรือผู้ใช้บัณฑิต กล่าวว่า อยากให้ทางสาขาวิชาฯ ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน และเน้นการทำงานเป็นทีม เนื่องจากในสถานที่ทำงานจริงนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งผู้ที่มาอายุมากกว่า และผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ดังนั้นหากนักศึกษาไม่สามารถปรับตัวหรือทัศนคติให้เข้ากับทีมได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับการทำงานในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งข้อเสนอแนะนี้ทางสาขาวิชาฯร่วมกับทางมหาวิทลัยฯได้ดำเนินการมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยเน้นให้นักศึกษาทำงานกันเป็นกลุ่ม ผลัดกันเป็นผู้นำและผู้ตามทั้งในรายวิชาศึกษาทั่วไปและรายวิชาเฉพาะ ที่ระบุไว้ในข้อ

2.1.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

2.1.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                  (1) มีทัศนคติที่ดีต่อหมู่คณะ และคิดบวก

(2) ยอมรับความเห็นของส่วนรวม ร่วมมือร่วมใจ เป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดี และรับผิดชอบในผลการกระทำของกลุ่ม           

(3) มีบุคลิกภาพ และความมีเหตุผล เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมงาน หรืออาจารย์2.2.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

2.2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

(1) สามารถปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนหลากหลายระดับและหลากหลายวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ของกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงานและผู้นำ

(3) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม รวมทั้งมีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

(4) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

หลักฐาน

  1. ภาคผนวก ซ. ตารางเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเดิม พ.ศ. 2560กับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
  2. CV อาจารย์พิเศษ
  3. ตัวอย่างผลงานวิชา Aircraft Weight and Balance Control เกี่ยวกับตัวย่อหรือโค้ด
  4. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน น.23

2.4 The contribution made by each course in achieving the expected learning outcomes is shown to be clear.

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้จัดลำดับรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร โดยรายวิชาในหมวดวิชาพื้นฐาน และรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ลำดับให้เรียนในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เทอม 1 รายวิชาที่เป็นรายวิชาชีพหลัก รายวิชาชีพเฉพาะที่เป็นทฤษฏีให้ศึกษาในชั้นปีที่ 2 เทอม 2 และชั้นปีที่3 รายวิชาที่เป็นรายวิชาชีพหลัก รายวิชาชีพเฉพาะที่เป็นทฤษฏีและปฏิบัติ หรือปฏิบัติให้ศึกษาในชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 เทอม 1  จากนั้นออกฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการในชั้นปีที่ 4  เทอม 2 โดยแต่ละรายวิชาได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้อย่างชัดเจนในแต่ละรายวิชา ใน TQF 3 ยกตัวอย่างเช่น รายวิชา 223 104 Air Law and Legislation มีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ ดังนี้

Domain

Moral and Ethical

Knowledge

Cognitive / Intellectual

Interpersonal Skills and Responsibility

Numerical and Information Literacy

Major

1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

Demonstrate personal adherance to the academic and professional codes of ethics

2.3 สามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา เข้าใจและ สนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศอย่างต่อเนื่อง

Apply knowledge, techniques and tools appropriately to solve problems; show on-going enthusiasm to advance practical understanding and expertise in air traffic control discipline

3.3 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

Apply knowledge and techniques appropriately and creatively to solve typical problems of air traffic control

4.3 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม รวมทั้งมีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม

Show on-going responsibility toward self learning and professional advancement; use subject and technical knowldge to lead the society in some issues; show responsibility (by reflection and response) toward the consequence or outcome of own performance and those of the team

5.3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม

Communicate effectively in both verbal and written means while using approriate methods for presentation

Major

1.1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

Show awareness through adherance or appreciation of moral and ethical values particularly integrity and self sacrifice

1.2. มีวินัย ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ

PO1.2 Demonstrate self discipline, punctuality and responsibility toward oneself and the society; work effectively as a leader or member of the team to resolve conflicts or prioritized tasks

1.3. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

Adhere to codes, regulations and policies of the organization or society; respect or honor human right and opinion of the others

1.4. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดการควบคุมจราจรทางอากาศต่อบุคคล องค์กร และสังคม

Take responsibility for the consequence or impacts that air traffic control has toward to individuals, organization and the society

2.1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา

Show genuine understanding (by verbal and written interaction or presentation) about important principles, theoretical and practical concepts of the subject matters

2.2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ

Analyze typical problems based on conceptual understanding and explain necessary requirements for the air traffic controllers

2.4. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ปรับปรุงระบบการจัดการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศตรงตามข้อกำหนด ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการด้านการควบคุมจราจรทางอากาศอย่างต่อเนื่อง

Analyze, design and improve techniques or systems of air traffic control procedures and management per specifications; acquire and share up-to-dated knowledge and technology advancement in air traffic control

2.5. สามารถบูรณาการความรู้ด้านการควบคุมจราจรทางอากาศที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ

Show (by written or verbal interactions) inter-related knowledge and understanding between the air traffic control and the other subjects or disciplines

3.1. พัฒนาแนวคิดอย่างมีวิจารณญาณรอบคอบ ภายใต้ความเพียงพอของข้อมูลและอย่างมีระบบ

Develop and propose critical idea based on thorough, informed and systematic thinking

3.2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ

Collect, study and analyze information to summarize key issues, problems and solution requirements

3.4. มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์

Demonstrate intellectual leadership through devising and maintaining effective learning based on creativity and vision

4.1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

Communicate effectively with a variety of people and situation using Thai and English language

4.2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่ม ทั้งในบทบาทของผู้นำ และผู้ร่วมทีมทำงาน

Facilitate or provide essential support for a team to solve problems in various situation as an active leader or member

4.4. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม

Show self initiative and viewpoint to identify and resolve problems or issues for the good of oneself and the others in the community

5.1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Demonstrate practical and skillful use of computers and technological tools to perform air traffic control tasks

5.2. สามารถประเมินสารสนเทศและแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหา สถานการณ์ทั้งปกติและที่ผิดปกติไปจากการปฏิบัติงานประจำ โดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์

Analyze and interpret numerical or statistical information intuitively to identify effective solutions to both routine and non-routine problems or issues

5.4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารในการปฏิบัติงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศอย่างเหมาะสมและนำมาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Determine key information and use effective communication technology to creatively perform air traffic control or problem solving tasks

หลักฐาน

  1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (TQF 3) แต่ละรายวิชา ปีการศึกษา 2566

2.5 The curriculum to show that all its courses are logically structured, properly sequenced (progression from basic to intermediate to specialised courses), and are integrated.

การดำเนินการ

สาขาวิชา ได้จัดลำดับรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร โดยรายวิชาในหมวดวิชาพื้นฐาน และรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ลำดับให้เรียนในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เทอม 1 รายวิชาที่เป็นรายวิชาชีพหลัก รายวิชาชีพเฉพาะที่เป็นทฤษฏีให้ศึกษาในชั้นปีที่ 2 เทอม 2 และชั้นปีที่3 รายวิชาที่เป็นรายวิชาชีพหลัก รายวิชาชีพเฉพาะที่เป็นทฤษฏีและปฏิบัติ หรือปฏิบัติให้ศึกษาในชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 เทอม 1  จากนั้นออกฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการในชั้นปีที่ 4  เทอม 2 ดังแผนการศึกษาตามกรอบระยะเวลา 4 ปีตลอดหลักสูตร

ชั้นปี

ภาคเรียน 1

หน่วยกิต

ภาคเรียน 2

หน่วยกิต

1

100 201   ศิลปะการคิด

100 209   ทักษะการเรียนรู้

100 302   ภาษาไทยเพื่อการ
              สื่อสาร

100 303   ภาษาอังกฤษ 1

100 502   การพัฒนาบุคลิกภาพ

222 201   ภาษาอังกฤษการบิน

3(3-0-6)

2(1-2-3)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

1(0-2-1)

3(3-0-6) 

100 304  ภาษาอังกฤษ 2

100 406  แคลคูลัสในชีวิตประจำวัน

100 407  คอมพิวเตอร์ประยุกต์

222 407  การจัดการท่าอากาศยาน

223 105  กฎจราจรทางอากาศ

223 106  การบริการจราจรทางอากาศ

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

 

รวม

     15

รวม

18

ชั้นปี

ภาคเรียน 1

หน่วยกิต

ภาคเรียน 2

หน่วยกิต

2

100 103   กฎหมายกับสังคม

100 305   ภาษาอังกฤษ 3

223 107  หลักการบิน

233 304 อุตุนิยมวิทยาทางการบิน

233 201  การเดินอากาศและการ
             สื่อสาร

223 111  การให้บริการข่าวสาร
             การบิน

223 221  การควบคุมจราจรทาง
             อากาศสนามบิน

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

2(2-0-4)

100 306  ภาษาอังกฤษ 4

223 222  ปฏิบัติการจำลองการควบคุม
             จราจรทางอากาศสนามบิน

223 223  การควบคุมจราจรทางอากาศ
             เข้า–ออกสนามบินไม่ใช้เรดาร์

3(3-0-6)

8(0-16-8)

2(2-0-4)

 

รวม

20

รวม

13

ชั้นปี

ภาคเรียน 1

หน่วยกิต

ภาคเรียน 2

หน่วยกิต

3

223 104  กฎหมายด้านการบิน

222 213  นิรภัยการบิน

223 114  มนุษยปัจจัยในการ
             ควบคุมจราจรทางอากาศ

223 224  ปฏิบัติการจำลองการ  
             ควบคุมจราจรทางอากาศ
             เข้า–ออกสนามบิน
             ไม่ใช้เรดาร์

223 225  การควบคุมจราจรทาง
             อากาศเข้า–ออก
             สนามบินด้วยเรดาร์

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

5(0-10-5)

2(2-0-4) 

223 116  การบริหารหลุมจอดสายการบิน

223 226  ปฏิบัติการจำลองการควบคุม

             จราจรทางอากาศ เข้า – ออก
             สนามบินด้วยเรดาร์

223 227  การควบคุมจราจรทางอากาศ
             ตามเส้นทางบินไม่ใช้เรดาร์

223 3xx  (วิชาชีพเลือก)   

xxx xxx  (วิชาเลือกเสรี)

3(3-0-6)

5(0-10-5)    

2(2-0-4) 

3(3-0-6)

3(3-0-6)

 

รวม

    16

รวม

     16

4

223 228  ปฏิบัติการจำลองการ
             ควบคุมจราจรทางอากาศ 
             ตามเส้นทางบิน
             ไม่ใช้เรดาร์

223 3xx  (วิชาชีพเลือก) 

223 3xx  (วิชาชีพเลือก) 

xxx xxx  (วิชาเลือกเสรี)

5(0-10-5)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

223 4xx  (เลือกเรียนทดแทนสหกิจศึกษา)

223 4xx  (เลือกเรียนทดแทนสหกิจศึกษา)

223 4xx  (เลือกเรียนทดแทนสหกิจศึกษา)

                             หรือ

223 411  เตรียมฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา

223 412  ฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา

3(3-0-6) 

3(3-0-6)

3(3-0-6)

1(1-0-2)

     8

 

รวม

     14

รวม

9

ซึ่งจากตารางจะสังเกตได้ว่านักศึกษาจะได้เรียนรู้รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ ด้านการพูด ฟัง อ่าน และเขียน  ให้เกิดความชำนาญก่อนที่จะขยับไปเรียนในหมวดหมู่รายวิชากลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ กลุ่มวิชาชีพเลือก กลุ่มวิชาเลือกเสรี และกลุ่มวิชาสหกิจศึกษา ตามลำดับ จนจบการศึกษาตลอดระยะเวลา 4 ปี โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังจะถึงสะท้อนออกมาในรูปแบบคะแนนหรือเกรดในแต่ละภาคการศึกษา ดังตัวอย่างของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศต่อไปนี้

หลักฐาน

  1. แผนการเรียนของหลักสูตร
  2. ผลการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี นักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565 รายบุคคลและรายวิชา

2.6 The curriculum to have option(s) for students to pursue major and/or minor specialisations.

การดำเนินการ

สาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศร่วมกับทางมหาวิทยาลัยฯ เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ต้องการเรียนวิชาที่ตนเองสนใจสามารถดำเนินการเขียนคำร้องหรือเลือกวิชาเรียนตามความถนัดของตนเองได้ตามรายวิชาที่บรรจุอยู่ในหลักสูตร ได้แก่ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต โดยมีรายวิชาที่สามารถเลือกลงได้ ประกอบไปด้วย

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์    3   หน่วยกิต   เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้

100 101 มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม.                                                         3(3-0-6)

Man, Society and Environment

         100 103 กฎหมายกับสังคม                                                                           3(3-0-6)

                    Law and Society

         100 104 จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน                                                                3(3-0-6)

                    Psychology in Everyday Life   

กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์  5  หน่วยกิต  เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้

         100 201 ศิลปะการคิด                                                                                   3(3-0-6)

                    The Art of Thinking

         100 202 ปรัชญาและศาสนา                                                                         3(3-0-6)

                    Philosophy and Religions        

         100 203 การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์                                                         3(3-0-6)

                    Communication and Human Relations

         100 208 จริยศาสตร์เบื้องต้น                                                                        3(3-0-6)

                    Introduction to Ethics                                                        

         100 209 ทักษะการเรียนรู้                                                                             2(1-2-3)

                    Learning Skills

         100 210 ศิลปะและดนตรี                                                                               2(1-2-3)

                    Arts and Music    

กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์    15   หน่วยกิต เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้

         100 301 ภาษาไทยเพื่อนักศึกษาต่างชาติ                                                     3(3-0-6)

                    Thai for International Students

         100 302 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                                                               3(3-0-6)

                    Thai for Communication

         100 303 ภาษาอังกฤษ 1                                                                               3(3-0-6)

                    English 1

         100 304 ภาษาอังกฤษ 2                                                                              3(3-0-6)

                    English 2

         100 305 ภาษาอังกฤษ 3                                                                              3(3-0-6)

                    English 3

  100 306 ภาษาอังกฤษ 4                                                                            3(3-0-6)

  English 4

  100 307 ภาษาอังกฤษเพื่อการเฉพาะ                                                         3(3-0-6)

         100 308 ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารด้านสุขภาพ                                  3(3-0-6)

                   English for Communication in Health

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  6   หน่วยกิต เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้

         100 401 คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กับมนุษย์                                              3(3-0-6)

                    Mathematics, Science and Man

         100 402 สถิติในชีวิตประจำวัน                                                                     3(3-0-6)

                    Statistics in Everyday Life

100 404 ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน                                                                   3(3-0-6)

                    Physics in Everyday Life

         100 405 เคมีในชีวิตประจำวัน                                                                      3(3-0-6)

                    Chemistry in Everyday Life

         100 406 แคลคูลัสในชีวิตประจำวัน                                                              3(3-0-6)

                    Calculus in Everyday Life

         100 407 คอมพิวเตอร์ประยุกต์                                                                     3(3-0-6)

                    Computer Applications

         100 408 วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ                                                                3(3-0-6)

                    Science for Health  

         100 409 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน                                                         3(3-0-6)

                    Everyday Mathematics

กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต  1   หน่วยกิต เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้

         100 502 การพัฒนาบุคลิกภาพ                                                                      1(0-2-1)

                    Personality Development 

         100 503 กีฬา                                                                                                 1(0-2-1)

                    Sports

หมวดวิชาชีพเฉพาะ

กลุ่มวิชาชีพเลือก  9  หน่วยกิต  จากรายวิชา  5 วิชา ต่อไปนี้

223 321 ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศ                                3(3-0-6)                   

                    English Language Proficiency for Air Traffic Controllers 

223 323 การวางแผนบริการจราจรทางอากาศ                                                           3(3-0-6)                   

                     Air Traffic Service Planning                                                     

223 325 การบริหารการจัดการเที่ยวบิน                                                                     3(3-0-6)

                     Flight Operation Management                                                  

223 326 น้ำหนักและการควบคุมความสมดุลของอากาศยาน                                     3(3-0-6)    

   Aircraft Weight and Balance Control                             

223 327 ระบบขนส่งทางอากาศ                                                                                 3(3-0-6)                                          

   Air Transport Systems 

กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา  9  หน่วยกิต  จากรายวิชา  2 วิชา ต่อไปนี้                                

223 411 เตรียมฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา                                                                         1(1-0-2)       

  Pre-Cooperative Education                                           

223 412 ฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา                                                                                   8 หน่วยกิต

  Cooperative Education                                                                           

             หรือในกรณีที่นักศึกษาไม่ประสงค์จะลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษา ให้เลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาเหล่านี้ จำนวน 9 หน่วยกิต  โดยเลือกจากรายวิชาดังต่อไปนี้

223 414 การติดต่อสื่อสาร การเดินอากาศ                                                                 3(3-0-6)
                การติดตามสำหรับการจัดการการจราจรทางอากาศ

    Communication, Navigation, Surveillance for Air Traffic Management 

223 415 อุปกรณ์ติดตามตำแหน่งอากาศยานระบบใหม่สำหรับการจราจรทางอากาศ 3(3-0-6)       

    Advanced equipment for Air Traffic Service Surveillance System           

223 416 ระบบติดต่อสื่อสารแบบส่งผ่านข้อมูล                                                             3(3-0-6)                                          

   Controller Pilot Data Link Communication (CPDLC) System       

223 417 ปัญหาเฉพาะเรื่องทางการจัดการจราจรทางอากาศ                                       3(3-0-6)

   Special Problems in Air Traffic Management                             

223 418 หัวข้อศึกษาขั้นสูงทางการจัดการจราจรทางอากาศ                                      3(3-0-6)

  Advanced Topics in Air Traffic Management                             

223 419 การจัดการความคล่องตัวจราจรทางอากาศ                                                  3(3-0-6)                    

  Air Traffic Flow Management   

หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า  6  หน่วยกิต

             ให้เลือกเรียนวิชาใดๆ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา โดยไม่ซ้ำกับวิชาที่เรียนมาแล้ว

หลักฐาน

  1. รายวิชาในหลักสูตร
  2. รายวิชาที่นักศึกษาลงเรียนตลอดระยะเวลา 4 ปี หรือ ตลอดหลักสูตร (นักศึกษาชั้นปีที่ 4 รายบุคคล)

2.7 The programme to show that its curriculum is reviewed periodically following an established procedure and that it remains up-to-date and relevant to industry.

การดำเนินการ

สาขาวิชาฯ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในปีการศึกษา 2565 เพื่อเพิ่มความทันสมัยของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและความต้องการตำแหน่งงานในอนาคต
โดยในปีการศึกษา 2565 ได้มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจาก มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570 ที่กล่าวว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย และยังเป็นแหล่งสร้างรายได้สำคัญให้แก่เศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย 2.99 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 36 จาก 117 ประเทศ และอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 117 ประเทศ ในปี 2562 โดยในปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งสำคัญ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศ ที่อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมการบินจะต้องการบุคคลากรจำนวนมาก เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวและด้านการบินเป็นจำนวนมาก โดยทางสาขาวิชาฯได้มีการปรับปรุงรายวิชาที่มีอยู่ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยและสอดแทรกเนื้อหาให้มีความเข้มข้นมากขึ้น พร้อมทั้งปรับลดรายวิชาที่อาจจะไม่จำเป็นและล้าสมัยออกจากหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานหลังสำเร็จการศึกษา ตามคำชี้แนะของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ รายวิชา 223 116 Airline Ramp Control ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาภายในให้ทันสมัยและนำความรู้เรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ระบบ VDGS (Visual Docking Guidance System) รายวิชา 222 407 Airport Operation Management ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี และอุปกรณ์อัตโนมัติในสนามบินเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือการเดินทางได้อย่างถูกต้อง เช่นระบบเช็คอินด้วยเอง ระบบโหลดกระเป๋าอัตโนมัติ ระบบปริ้นบัตรโดยสารด้วยเครื่อง KIOSK รายวิชา 223 226 Radar Approach Control Simulation ได้มีการเพิ่มเติมหาเกี่ยวกับ ระบบ GPS,  RNAV,  GNSS, and Satellite เข้ามาในการเรียนการสอนในการฝึกปฏิบัติ ณ ห้องปฏิบัติการ และเพื่อให้เป็นผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละรายวิชาที่ระบุไว้ใน TQF 3

หลักฐาน

  1. รายงานการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร/การวิพากย์หลักสูตร
  2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละรายวิชาในหลักสูตร

Evidence

ID_EvidenceName_Evidence
2.1-1การเทียบเคียงรายวิชาที่เปิดสอนกับหลักสูตรอื่นที่ใกล้เคียงกัน
2.1-2ภาคผนวก ซ. ตารางเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเดิม พ.ศ. 2560 กับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
2.1-3กำหนดการ Open House ของคณะครูแนะแนวทั่วประเทศ
2.1-4ภาพ วิดีโอ และเว็บไซต์โปรโมทหลักสูตร
2.1-5Tiktok การโมทหลักสูตร
2.1-6โบชัวร์ โปรโมทหลักสูตร
2.2-1ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตลอดหลักสูตร น.23
2.2-2ภาคผนวก ก. แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
2.2-3ผลคะแนนการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศชั้นปีที่ 1- 4 รายบุคคล
2.2-4TQF 5
2.3-1ภาคผนวก ซ. ตารางเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเดิม พ.ศ. 2560กับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
2.3-2CV อาจารย์พิเศษ
2.3-3ตัวอย่างผลงานวิชา Aircraft Weight and Balance Control เกี่ยวกับตัวย่อหรือโค้ด
2.3-4การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน น.23
2.4-1ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (TQF 3) แต่ละรายวิชา ปีการศึกษา 2566
2.5-1แผนการเรียนของหลักสูตร
2.5-2ผลการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี นักศึกษาสาขาวิชาการควบคุมจราจรทางอากาศปีการศึกษา 2565 รายบุคคลและรายวิชา
2.6-1รายวิชาในหลักสูตร
2.6-2รายวิชาที่นักศึกษาลงเรียนตลอดระยะเวลา 4 ปี หรือ ตลอดหลักสูตร (นักศึกษาชั้นปีที่ 4 รายบุคคล)
2.7-1รายงานการประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร/การวิพากย์หลักสูตร
2.7-2ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของแต่ละรายวิชาในหลักสูตร

Self-Assessment

Requirements Result Score
2.1 The specifications of the programme and all its courses are shown to be comprehensive, up-to-date, and made available and communicated to all stakeholders. / 1
2.4 The contribution made by each course in achieving the expected learning outcomes is shown to be clear. /
2.2 The design of the curriculum is shown to be constructively aligned with achieving the expected learning outcomes. / 1
2.3 The design of the curriculum is shown to include feedback from stakeholders, especially external stakeholders. /
2.5 The curriculum to show that all its courses are logically structured, properly sequenced and integrated. / 1
2.6 The curriculum to have option(s) for students to pursue major and/or minor specialisations. / 1
2.7 The programme to show that its curriculum is reviewed periodically following an established procedure and that it remains up-to-date and relevant to industry. / 1
Overall 5

Leave a Reply